จารึกบนตราดินเผา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ทะเบียนเลขที่ 1721/2518

จารึก

จารึกบนตราดินเผา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ทะเบียนเลขที่ 1721/2518

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2566 12:53:15 )

ชื่อจารึก

จารึกบนตราดินเผา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ทะเบียนเลขที่ 1721/2518

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ, พราหมีสมัยราชวงศ์คุปตะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 10-11, 11-12

ภาษา

สันสกฤต, บาลี

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 2 บรรทัด (ด้านละ 1 บรรทัด)

วัตถุจารึก

ดินเผา

ลักษณะวัตถุ

ตรา (sealings) สีน้ำตาล สภาพชำรุด

ขนาดวัตถุ

เส้นผ่าศูนย์กลาง 3.7 ซม. หนา 2 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ กำหนดเป็น “1721/2518”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

เมืองโบราณอู่ทอง ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

พิมพ์เผยแพร่

การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับ สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547), 136-137.

ประวัติ

จารึกนี้อยู่ทางด้านหน้าและด้านข้างของตราดินเผา โดยมีลักษณะเป็นรอยนูนต่ำขึ้นมาจากพื้นผิว  จารึกทางด้านหน้าเป็นอักษรพราหมีสมัยราชวงศ์คุปตะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 10-11 ภาษาสันสกฤต ด้านบนของข้อความจารึกมีภาพนูนต่ำ ซึ่งควรจะมีภาพโคนอนหมอบอยู่ทางด้านซ้าย  ด้านบนของรูปโคควรเป็นรูปพระจันทร์ ตรงกลางเป็นภาพตรีศูล ภาพส่วนที่กล่าวแล้วหักหายไป เหลือเพียงส่วนที่เป็นรูปครุฑทางขวาสุดของตราดินเผา
สำหรับจารึกทางด้านข้างซึ่งเป็นอักษรปัลลวะ สันนิษฐานว่าเป็นภาษาบาลี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 จารึกทั้ง 2 ด้านอ่านและแปลโดย Prof. Dr. Ravindra Vasishtha จากมหาวิทยาลัย Delhi ผศ. ดร. จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ผศ. กรรณิการ์ วิมลเกษม และอาจารย์ชัยณรงค์ กลิ่นน้อย จากภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อย่างไรก็ตามคำอ่านและคำแปลดังกล่าวยังไม่เป็นที่ยุติ
ข้อมูลรวมทั้งคำอ่าน-คำแปลของจารึกนี้ปรากฏในวิทยานิพนธ์เรื่อง "การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับ สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี" ของ อนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับ ซึ่งเป็นการศึกษาความหมายและลักษณะทางประติมานวิทยา เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของตราประทับ ที่พบในเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี กับเมืองโบราณอื่นๆ ตราประทับที่พบมีทั้งที่ปรากฏตัวอักษรและเป็นรูปภาพต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตราประทับ (seals) คือตราที่ต้องนำไปประทับบนวัสดุอื่น จึงจะได้ภาพหรืออักษรที่เกิดจากการกดประทับในด้านกลับกัน และตรา (sealings) ซึ่งมีรูปหรืออักษรในด้านที่สามารถอ่านได้โดยไม่ต้องกดประทับ

เนื้อหาโดยสังเขป

เนื้อหาของจารึกทางด้านหน้ากล่าวถึงพระนามของพระศิวะผู้ยิ่งใหญ่ ส่วนจารึกทางด้านข้างเป็นข้อความที่อาจหมายถึง “บรรจุแล้ว”

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากรูปแบบอักษรพราหมีสมัยราชวงศ์คุปตะ และอักษรปัลลวะ ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 10-11 และ 11-12 ตามลำดับ

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
อนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับ, การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547), 93-194.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547)