จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เลขทะเบียน 162/2523

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เลขทะเบียน 162/2523

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2566 05:54:37 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เลขทะเบียน 162/2523

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นน. 52, 162/2523, จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2440

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 12 บรรทัด

วัตถุจารึก

ไม้ลงรักปิดทอง

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย

ขนาดวัตถุ

ฐานกว้าง 6.5 ซม. สูง 6.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นน. 52”
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน กำหนดเป็น “162/2523”
3) ในหนังสือ เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ กำหนดเป็น “จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย”

ปีที่พบจารึก

6 กรกฎาคม พ.ศ. 2529

สถานที่พบ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

ผู้พบ

กรมศิลปากร

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

พิมพ์เผยแพร่

เมืองน่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2530), 326-329.

ประวัติ

นายสุรศักดิ์ ศรีสำอาง ภัณฑารักษ์งานวิชาการ กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และนายเทิม มีเต็ม นักภาษาโบราณ งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ ร่วมกันสำรวจโบราณวัตถุในจังหวัดน่าน 2 ครั้ง ครั้งแรกระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม ถึง 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 2-12 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ได้พบจารึกฐานพระพุทธรูปจำนวน 43 องค์ จารึกบนหีบพระธรรม 3 ใบ และจารึกบนบานประตูวิหาร 2 บาน จารึกดังกล่าวมีทั้งที่จารด้วยอักษรไทย สมัยสุโขทัย อักษรฝักขาม และอักษรธรรมล้านนา สำหรับจารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยนี้ ถูกพบในการสำรวจครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 โดยมีการตีพิมพ์คำอ่านในหนังสือ “เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ” ซึ่งกรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2530

เนื้อหาโดยสังเขป

หนานอภิวังสะและภรรยาชื่อว่านางบัวเรียมและพี่น้องทุกคนร่วมกันสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ เมื่อจุลศักราช 1259 (พ.ศ. 2440) โดยขอให้ได้พบกับสุข 3 ประการซึ่งมีนิพพานเป็นยอด

ผู้สร้าง

หนานอภิวังสะและภรรยาชื่อว่านางบัวเรียมและพี่น้องทุกคน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏในจารึกคือ จุลศักราช 1259 ตรงกับ พ.ศ. 2440 ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งขณะนั้นมีพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ครองเมืองน่าน (ระหว่าง พ.ศ. 2436-2461)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
เทิม มีเต็ม, “ฐานพระพุทธรูป ฝาหีบพระธรรมและบานประตูที่พบในเมืองน่าน,” ใน เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2530), 245-333.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2530)