จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพวกแต้ม

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพวกแต้ม

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2567 11:05:31 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพวกแต้ม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

231 วัดพวกแต้ม, ชม. 133

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2475

ภาษา

สันสกฤต, บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด

วัตถุจารึก

สำริด

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระพุทธรูปไสยาสน์

ขนาดวัตถุ

ยาว 205 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 133”
2) ในหนังสือ คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ กำหนดเป็น “231 วัดพวกแต้ม”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพวกแต้ม ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ด้านหน้าเจดีย์ภายในวัดพวกแต้ม ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

พิมพ์เผยแพร่

คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 187-188.

เนื้อหาโดยสังเขป

พ.ศ. 2475 พระอภัยสารทนพีสีบุราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ พระครูวิเชียรปัญญา พระขัตติยะ เจ้าอาวาสวัดพวกแต้ม ขุนบริบาลและผู้มีศรัทธาทั้งหลาย ร่วมกันหล่อพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้น ตอนท้ายระบุนามช่างที่ทำการหล่อ รวมถึงนามผู้สร้างวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปคือ นางบัวชำ

ผู้สร้าง

พระอภัยสารทนพีสีบุราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ พระครูวิเชียรปัญญา พระขัตติยะ เจ้าอาวาสวัดพวกแต้ม ขุนบริบาลและผู้มีศรัทธาทั้งหลาย

การกำหนดอายุ

กำหนดจากศักราชที่ปรากฏในจารึกคือ จุลศักราช 1294 ตรงกับ พ.ศ. 2475 ในสมัยพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐครองเมืองเชียงใหม่ (ระหว่าง พ.ศ. 2454-2482)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ฮันส์ เพนธ์, “231 วัดพวกแต้ม,” ใน คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 187-188.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519)