จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพวกแต้ม

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพวกแต้ม ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 เวลา 02:50:52

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพวกแต้ม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

231 วัดพวกแต้ม, ชม. 133

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2475

ภาษา

สันสกฤต, บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด

ผู้อ่าน

ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2519)

ผู้แปล

ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2519)

ผู้ตรวจ

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2519)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “จาฺร” เมื่อพิจารณาจากจารึกแล้วพบว่า เป็นตัวเชิง “น” ไม่ใช่ “ร” จึงควรเป็น “จาฺน” เข้าใจว่าอาจมีความผิดพลาดในขั้นตอนการพิมพ์
2. ฮันส์ เพนธ์ : “ศิริศุภมัสตุ” หมายถึง (ขอ) ความดีและความสุขจงมี (แด่ท่านทั้งหลาย)
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “จุลศักราชได้ 1294 ตัว” ตรงกับ พ.ศ. 2475 ในสมัยพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐครองเมืองเชียงใหม่ (ระหว่าง พ.ศ. 2454-2482)
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระวัสสา” หมายถึง ปี
5. ฮันส์ เพนธ์ : “พระอภัยสารทนพีสีบุราจารย์” เป็นชื่อเจ้าคณะจังหวัดในสมัยนั้นตามที่ทราบกันทั่วไป พระภิกษุรูปนี้เป็นรูปเดียวกับพระครูญาณลังการ์
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ในส่วนของคำอ่านไม่สามารถใส่สัญลักษณ์ เช่น จุดใต้พยัญชนะได้ทุกตำแหน่ง เนื่องจากจารึกบางส่วนค่อนข้างลบเลือน อีกทั้งมีร่องรอยของการบูรณะพื้นที่ตั้งพระพุทธรูปโดยปิดทับบางส่วนของบรรทัดที่ 2 ไป
7. ฮันส์ เพนธ์ : “สิกยม” คือ ลูกศิษย์
8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “เค้า” หมายถึง ประธาน
9. ฮันส์ เพนธ์ : พระครูปลัดมหาเถรานุวัตร เจ้าอาวาสวัดพวกแต้ม (ในคำจารึกใช้ว่าพระขัตติยะ) ได้อธิบายว่า วิหารที่นางบัวชำสร้าง เป็นวิหารชั่วคราวเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปองค์นี้