จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

ชุดคำค้น 16 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2147, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 22, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้พม่า, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้พม่า-สาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ, วัตถุ-จารึกบนวัตถุสัมฤทธิ์, ลักษณะ-จารึกที่ฐานพระพุทธรูป, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน เชียงราย, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างรูปเคารพ, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี, เรื่อง-ประวัติและตำนาน-พระธาตุดอยตุง, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองเชียงแสน, บุคคล-พระมหาสมเด็จราชครู, บุคคล-พระสังฆโมลี,

จารึกฐานพระฤาษีวัชมฤค

จารึก

จารึกฐานพระฤาษีวัชมฤค

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2566 11:26:16 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระฤาษีวัชมฤค

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชร. 6, ประติมากรรมฤาษีกัมมะโล, ชร. 6 จารึกฐานพระฤาษีวัชมฤค พ.ศ. 2157, 1.4.3.2 ดอยตุง พ.ศ. 2148

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา, ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2147

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 18 บรรทัด มี 3 ส่วน ส่วนบนด้านหน้า มี 6 บรรทัด ส่วนบนด้านหลังมี 5 บรรทัด ส่วนล่างมี 7 บรรทัด

วัตถุจารึก

สำริดสีเขียว

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระฤาษีวัชมฤค ชำรุดมาก

ขนาดวัตถุ

สูง 65.5 ซม. ขนาดจารึก สูง 28 ซม. ความยาวรอบฐาน 123.7 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชร. 6”
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กำหนดเป็น “T. 62” และ “ช.ส. 58”
3) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน กำหนดเป็น “ประติมากรรมฤาษีกัมมะโล”
4) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ชร. 6 จารึกฐานพระฤาษีวัชมฤค พ.ศ. 2157”
5) ในหนังสือ ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 1 กำหนดเป็น “1.4.3.2 ดอยตุง พ.ศ. 2148”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2534

สถานที่พบ

ประดิษฐานอยู่ส่วนคอดของภูเขาข้างยอดดอยตุง คงจะตรงที่ตั้งวัดน้อยดอยตุงปัจจุบัน หรือบริเวณใกล้เคียง ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (สำรวจเมื่อ 31 กรกฎาคม 2557)

พิมพ์เผยแพร่

1) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 14-16.
2) ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 1 (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540), 189-210.

ประวัติ

เมื่อปี พ.ศ. 2528 จารึกฐานพระพุทธรูปนี้ถูกนำไปไว้ที่ห้องสุโขทัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และในปี พ.ศ. 2539 ได้ย้ายไปไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย จนถึงปัจจุบัน

เนื้อหาโดยสังเขป

พ.ศ. 2147 (สมเด็จ) บรมบพิตรพระเป็นเจ้าเมืองเชียงแสน พร้อมทั้งพระมหาสมเด็จราชครู วัดพระหลวง และพระสังฆโมลี ร่วมกันสร้างรูปพระฤาษีตนนี้ ต่อจากนั้นเป็นคำไหว้พระธาตุบนดอยตุง ตำนานพระธาตุดอยตุงโดยย่อ และคำอธิบายรูปที่ฐานรูปพระฤาษี

ผู้สร้าง

(สมเด็จ) บรมบพิตรพระเป็นเจ้าเมืองเชียงแสน, พระมหาสมเด็จราชครู วัดพระหลวง และพระสังฆโมลี

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกที่ส่วนบนด้านหน้า บรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 966 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2147 อันเป็นสมัยที่สาวถีนรตรามังซอศรีมังนรธาช่อปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2122-2150)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ชร. 6 จารึกฐานพระฤาษีวัชมฤค พ.ศ. 2147,” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 14-16.
2) สรัสวดี อ๋องสกุล, ประวัติศาสตร์ล้านนา (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, 2544), 254.
3) ฮันส์ เพนธ์, “1.4.3.2 ดอยตุง พ.ศ. 2148,” ใน ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 1 : จารึกในพิพิธภัณฑ์ฯ เชียงแสน (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540), 189-210.

ภาพประกอบ

1) ภาพถ่ายจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-18, ไฟล์; ChR_0600_p)
2) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 28 กรกฎาคม-1 สิงหาคม 2557