จารึกบนพระพิมพ์พบที่เมืองศรีเทพ

จารึก

จารึกบนพระพิมพ์พบที่เมืองศรีเทพ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2567 13:46:02 )

ชื่อจารึก

จารึกบนพระพิมพ์พบที่เมืองศรีเทพ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกบนพระพิมพ์ พบที่ เมืองศรีเทพ, ลบ. 10

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ, จีน

ศักราช

พุทธศตวรรษ 13-14

ภาษา

สันสกฤต, จีน

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 3 บรรทัด ด้านหน้า มีอักษรหลังปัลลวะ 2 บรรทัด ด้านหลังมีอักษรจีน 1 แถว

วัตถุจารึก

ดินเผา

ลักษณะวัตถุ

พระพิมพ์

ขนาดวัตถุ

สูง 8.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลบ. 10”
2) ในหนังสือ จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง กำหนดเป็น “จารึกบนพระพิมพ์ พบที่ เมืองศรีเทพ”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 และหนังสือ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ กำหนดเป็น “จารึกบนพระพิมพ์”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2524

สถานที่พบ

เมืองโบราณศรีเทพ ตำบลศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้พบ

นายภาวาส บุนนาค

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

พิมพ์เผยแพร่

1) จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2524), 99-101.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 247-250.
3) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2550), 138.
4) จารึกในประเทศไทย เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2559), 353-355.

ประวัติ

ราวปี พ.ศ. 2524 นายภุชงค์ จันทวิช เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ งานวิชาการ กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้แจ้งเรื่องการค้นพบจารึกบนพระพิมพ์ที่เมืองศรีเทพ ซึ่งเป็นสมบัติของนายภาวาส บุนนาค จึงได้มีการอ่านและตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือ จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง เนื่องจากพระพิมพ์อยู่ในสภาพที่ชำรุดแตกหักหายไปครึ่งองค์ เหลือเพียงส่วนบนตั้งแต่พระเศียรลงมาถึงพระอุระเท่านั้น จึงทำให้การอ่านในครั้งนั้น อ่านได้ใจความไม่สมบูรณ์นัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาจีน ซึ่งปรากฏเหลืออยู่ 2 ตัวครึ่ง ก็เขียนด้วยลายมือหวัดจึงทำให้ตีความตัวอักษรได้ยาก จึงยังไม่มีการสรุปคำอ่านภาษาจีน แม้แต่การตีพิมพ์ครั้งต่อมาคือ พ.ศ. 2529 ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 ก็ไม่ได้มีการศึกษาเพิ่มเติม ต่อมาปี พ.ศ. 2539 Robert L. Brown ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ The Dvaravati wheels of the law and the indianization of South East Asia ซึ่งภายในเล่มได้กล่าวถึงพระพิมพ์ดินเผาองค์หนึ่งที่มีสภาพสมบูรณ์ เป็นสมบัติของ Fogg Art Museum ที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด พระพิมพ์องค์นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระพิมพ์ที่พบที่เมืองศรีเทพมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านหน้ามีจารึกอักษรหลังปัลลวะ และด้านหลังมีอักษรจีน 4 ตัว ซึ่ง 2 ตัวแรกนั้น เหมือนกันกับที่พบบนพระพิมพ์จากเมืองศรีเทพทุกประการ Robert L. Brown สันนิษฐานว่าพระพิมพ์ที่ Fogg Art Museum นี้น่าจะได้มาจากเมืองศรีเทพ ได้ขอให้ผู้เชี่ยวชาญภาษาจีนที่ท่านรู้จักคือ Lewis Lancaster, Junghee Lee, Julia K. Murray และ Paul Wheatley ช่วยกันอ่านแปลข้อความภาษาจีน ซึ่งสรุปได้ว่าอักษร 2 ตัวแรกเป็นคำจีนที่เลียนเสียงภาษาบาลีว่า “ภิกขุ” ส่วนอักษรอีก 2 ตัวต่อมาเป็นชื่อเฉพาะ ดังนั้นอักษรทั้ง 4 ตัวนี้จึงเขียนว่า “ภิกขุเหวินเซียง”

เนื้อหาโดยสังเขป

ด้านหน้าเป็นภาษาสันสกฤต แต่ข้อความไม่สมบูรณ์ ด้านหลังมีภาษาจีน เมื่อเปรียบเทียบกับพระพิมพ์องค์สมบูรณ์แล้วอ่านได้ว่า “ปี่ชิวเหวินเซียง” แปลว่า “พระภิกษุเหวินเซียง”

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

รูปแบบของตัวอักษรเป็นอักษรหลังปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร (2547) ; นวพรรณ ภัทรมูล, แก้ไขเพิ่มเติม (2557), โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., จาก :
1) กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, “จารึกเมืองศรีเทพ,” ใน อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2550), 129-143.
2) ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกบนพระพิมพ์,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 : อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12-14 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 247-250.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 26 สิงหาคม 2547