จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกบนพระพิมพ์พบที่เมืองศรีเทพ

จารึก

จารึกบนพระพิมพ์พบที่เมืองศรีเทพ ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2564 เวลา 17:33:47

ชื่อจารึก

จารึกบนพระพิมพ์พบที่เมืองศรีเทพ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกบนพระพิมพ์ พบที่ เมืองศรีเทพ, ลบ. 10

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ, จีน

ศักราช

พุทธศตวรรษ 13-14

ภาษา

สันสกฤต, จีน

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 3 บรรทัด ด้านหน้า มีอักษรหลังปัลลวะ 2 บรรทัด ด้านหลังมีอักษรจีน 1 แถว

ผู้อ่าน

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2524), (พ.ศ. 2529)

ผู้แปล

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2524), (พ.ศ. 2529)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529), (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

วิจารณ์รูปอักษร โดย ชะเอม แก้วคล้าย
1. “อิ” เป็นสระลอย เหมือนกับรูปสระอิ ใน จารึกวัดมเหยงค์ (THe Wat Maheyong Inscription) ซึ่งประมาณอายุไว้ในพุทธศตวรรษที่ 12 หน้า plate XXII a หนังสือ Indian Palaeography by A. H. Dani
2. คำว่า “ชา” และคำว่า “ปฺร” เหมือนกับคำว่า ชา และ ปฺร ในป้ายจารึกเกทะระ ที่ 2 (Kedah No. 2 tablet ins.) ซึ่งมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 หน้า XXI a-b หนังสือ Indian Palaeography by A. H. Dani
3. คำว่า “ปฺรชาวลํ” เส้นล่างของอักษร ช หนามาก และมีปลายเล็กลงล่างเล็กน้อย คล้ายกับจะให้เป็นอักษร ญ ซ้อนอยู่ แต่เนื้อที่จารึกแคบเกินไป ถ้าเป็นอย่างนี้ คำอ่านจะต้องเป็น ปฺรชฺญาวลํ ซึ่งแปลว่า กองทัพปรัชญา (ธรรม) หรือกองทัพธรรม แต่ อักษร ญ ไม่ชัด จึงขออ่านเป็น ปฺรชาวลํ
4. คำว่า “ปฺรชา” แปลว่า สันตติ (ความสืบต่อ) คำว่า วลํ แปลว่า กองทัพ แต่พจนานุกรมสันสกฤต-อังกฤษ ของ นายวิลเลียมส์ หน้า 927 ได้ให้ความหมายว่า วลํ เท่ากับ วลี ซึ่งแปลว่า วงศ์