ชุดข้อมูลจารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

ชุดข้อมูลจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์

ชุดข้อมูลจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์

ชุดข้อมูลนี้ได้รวบรวมข้อมูลจารึกที่ถูกเก็บรักษาไว้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในจังหวัดต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับสำรวจเบื้องต้นว่าพิพิธภัณฑสถานแห่งนี้มีจารึกอะไรบ้าง แต่ข้อมูลอาจจะไม่สมบูรณ์ครบถ้วน เนื่องด้วยข้อมูลจารึกที่ได้รับการอ่าน-แปลและเผยแพร่ในฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย มีน้อยกว่าจารึกที่เก็บรักษาไว้ในสถานที่จริง

เวลาที่โพส
โพสต์เมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2565 17:21:27 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2565 12:13:14 )
title type description subject spatial temporal language source.uri
1

จารึกเหรียญเงินทวารวดี (เมืองพรหมทิน)

ปัลลวะ

เหรียญเงินนี้ มีสัญลักษณ์มงคล 3 อย่างคือ ด้านหน้าเป็นรูปสังข์ ล้อมรอบด้วยจุดไข่ปลาส่วนด้านหลังเป็นรูปศรีวัตสะ และทางด้านซ้ายของศรีวัตสะมีสัญลักษณ์คล้ายรูปกากบาท ซึ่งน่าจะเป็นสัญลักษณ์แทนรูปบัลลังก์ (ภัทรบิฐ) หรือ ทัมรุ (กลอง 2 หน้า) แต่อย่างไรก็ตาม สัญลักษณ์คล้ายกากบาทนี้ อ. ก่องแก้ว วีรประจักษ์ ได้อธิบายโดยอ้างอิงบทความของ ศ. ยอร์ช เซเดส์ ใน Inscriptions du Cambodge เล่ม 3 ว่า อาจหมายถึงจำนวนเลข 10 สิ่งที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือ ทางด้านขวามือของรูปศรีวัตสะก็น่าที่จะมีสัญลักษณ์มงคลอีกรูปหนึ่ง แต่อาจลบเลือนไป ทั้งนี้เนื่องจาก เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับเหรียญเงินอื่นๆ ด้านที่มีรูปศรีวัตสะแล้ว จะพบว่าทางด้านซ้ายและขวาของรูปศรีวัตสะ จะนิยมทำรูปสัญลักษณ์ไว้ด้วยกันทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้เกิดความสมดุลย์ของภาพ “รูปศรีวัตสะ” เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึง “ที่ประทับของศรี” เทพีศรีเป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์และความรุ่งเรือง ศรีวัตสะจึงเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศรี หรือพระลักษมีที่ทรงอยู่ในรูป “คช-ลักษมี” โดยมีองค์ประกอบคือ พระลักษมีประทับนั่งบนดอกบัวตรงกลาง ทางด้านซ้ายและขวาของพระองค์จะมีช้าง 2 เชือก เทน้ำรดพระเศียรของพระองค์ รูปศรีวัตสะบนเหรียญเงินนี้ น่าจะเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และความมั่งคั่งของรัฐที่ประทานโดยพระศรี “รูปบัลลังก์” หรือ “ภัทรปิฏะ” หรือ “ภัทรบิฐ” เป็นสัญลักษณ์ 1 ใน 108 มงคล ของอินเดียโบราณ รูปบัลลังก์ที่พบส่วนใหญ่บนเหรียญเงินทวารวดีนั้น นิยมทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในรูปสี่เหลี่ยมจะทำเป็นกากบาทไว้ แต่อย่างไรก็ตาม รูปลักษณะเช่นนี้ก็สามารถมองเป็นทัมรุ (กลอง 2 หน้า) ได้เช่นกัน ด้านล่างของรูปศรีวัตสะมีจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต แต่ว่ารูปอักษรนั้น จารึกแบบตัวกลับด้าน แสดงว่าประโยชน์ของเหรียญเงินนี้นั้น อาจใช้เป็นที่ประทับตราเพื่อประโยชน์บางประการ เนื่องจากเมื่อนำเหรียญเงินด้านที่มีจารึกนี้ไปประดับลงบนดินเหนียวแล้ว ก็จะได้ข้อความที่สมบูรณ์ว่า “ลพฺธวร” หรือ “ผู้ได้รับประโยชน์” นอกจากนี้ การเขียนอักษรตัวกลับที่ปรากฏอยู่บนเหรียญนี้ ทำให้เกิดแนวคิดการสังเกตรูปรอยหอยสังข์ ซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่งของเหรียญจะเห็นว่ามีลักษณะเป็นเส้นเหมือนสระอุ ที่เป็นสระลอยหัวกลับ ซึ่งเขียนอยู่ภายใต้เส้นสามเส้นเป็นรูปโค้งเกลียวก้นหอย และมีจุดกลมๆ อยู่ตรงกลางข้างบน รูปที่ปรากฏบนเหรียญนั้นคือ เครื่องหมายของ “โอม” ที่แฝงอยู่ภายในรูปหอยสังข์อันแสดงถึงความเป็นมงคล เป็นที่รวมแห่งความเจริญหรือคุณความดีต่างๆ สำหรับความหมายของรูปสังข์นั้นคือ เป็นสัญลักษณ์ของน้ำ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของความอุดมสมบูรณ์เป็นหนึ่งในสมบัติ 8 ประการ (อัษฏนิธิ) ของพระนางศรีลักษมี ซึ่งเป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ และต่อมาก็เป็นสมบัติของเทพกุเวร (เทพแห่งความมั่งคั่ง) ในประเทศอินเดีย สัญลักษณ์รูปสังข์มักปรากฏบนตราประทับของกษัตริย์สมัยคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 9-11) และสมัยหลังในความหมายว่าเป็นสังข์ของพระวิษณุ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า “รูปสังข์” ที่ปรากฏบนเหรียญหมายถึงความมั่งคั่งที่ประทานโดยศรี ซึ่งพำนักอยู่ในพระมหากษัตริย์ที่มีทศพิธราชธรรม โดยจะนำความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์มาสู่บ้านเมืองที่พระองค์ปกครอง สัญลักษณ์รูปสังข์ปรากฏไม่มาก มักพบบนเหรียญโบราณของอินเดีย และมักไม่ปรากฏเดี่ยวๆ แต่จะปรากฏร่วมกับสัญลักษณ์อื่นๆ เท่าที่พบก็ปรากฏเป็นสัญลักษณ์ประกอบรูปดอกบัว บนเหรียญของพวกกทัมพะกษัตริย์พื้นเมืองของอินเดียใต้ และต่อมาก็ปรากฏบนด้านหลังของเหรียญรูปวัว ของกษัตริย์ราชวงศ์ปัลลวะ (พุทธศตวรรษที่ 11-15) จากลักษณะเหรียญที่มีตัวอักษรเว้าโค้งลงเล็กน้อยเหมือนท้องกะทะ สันนิษฐานว่า คงทำขึ้นเพื่อความสะดวก สำหรับใช้เป็นด้านที่มีการกดทับบ่อยๆ ฉะนั้นเหรียญอันนี้จึงน่าจะใช้เป็นแม่พิมพ์สำหรับกดทับดินเหนียว หรือวัตถุอื่นที่ใช้เป็นอุปกรณ์ในการกดประทับตรา เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น อาจจะใช้เป็นเครื่องหมายตอบรับแทนใบเสร็จ หรือใบรับรองหรือเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ในการรับส่งวัสดุสิ่งของ ทั้งนี้เพื่อมุ่งประโยชน์ในการค้าขาย หรือแลกเปลี่ยนสิ่งของเป็นต้น อีกประการหนึ่ง อาจใช้เป็นเครื่องหมายในการผ่านด่านหรือผ่านทาง เพื่อการสัญจรไปมาระหว่างสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ทำนองเดียวกับหนังสือเดินทางในปัจจุบัน

จารึกเหรียญเงินทวารวดี (เมืองพรหมทิน), จารึกบนเหรียญเงินประทับตรารูปสังข์ ศรีวัตสะ สวัสดิกะ ทัมรุ (บัณเฑาะว์), จารึกอักษรปัลลวะบนเหรียญเงิน 5 (เมืองพรหมทิน),จารึกอักษรปัลลวะบนเหรียญเงิน 5 (เมืองพรหมทิน), ลบ. 21, ลบ. 21, จารึกเมืองพรหมทิน 3, จารึกเมืองพรหมทิน 3, เงิน, เหรียญรูปกลมแบน, บ้านพรหมทินใต้, ตำบลหลุมข้าว, อำเภอโคกสำโรง, จังหวัดลพบุรี, ทวารวดี, หอยสังข์, ศรีวัตสะ, ภัทรบิฐ, ภัทรปิฏะ, ฑมรุ, กลองสองหน้า, กลองบัณเฑาะว์, ตรงใจ หุตางกูร, ก่องแก้ว วีระประจักษ์, ชะเอม แก้วคล้าย, จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง, ภูธร ภูมะธน, จารึกในประเทศไทย เล่ม 1, ศิลปวัฒนธรรม, เมธินี จิระวัฒนา, ศิลปากร, ผาสุข อินทราวุธ, ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี, จารึกบนเหรียญเงิน, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 12, ยุคสมัย-จารึกอาณาจักรทวารวดี, วัตถุ-จารึกบนเงิน, ลักษณะ-จารึกบนเหรียญเงิน, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี (สำรวจเมื่อ 17-20 มีนาคม 2560)

พุทธศตวรรษ 12

สันสกฤต

https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/699?lang=th

2

จารึกเมืองพรหมทิน 1

หลังปัลลวะ

คาถา เย ธมฺมาฯ นี้ นับว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เป็นคาถาคัดมาจากพระวินัยปิฎก มหาวรรค มหาขันธกะ ตอนพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบรรพชา โดยมีเรื่องย่อว่า “สมัยนั้น สัญชัยปริพาชก (ปริพาชก คือ นักบวชที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา) อาศัยอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยบริษัทปริพาชกหมู่ใหญ่ จำนวน 250 คน และสมัยนั้น สารีบุตรและโมคคัลลานะประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสัญชัยปริพาชก ต่างทำกติกากันว่า ใครได้บรรลุอมตธรรมก่อน จงบอกแก่อีกคนหนึ่ง สารีบุตรปริพาชกได้เห็นพระอัสสชิเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาต มีความเลื่อมใสในความสงบเสงี่ยมเรียบร้อยของท่าน จึงรอจนได้โอกาสก็เข้าไปถามถึงหลักธรรมในศาสนาที่ท่านบวช ท่านกล่าวหลักธรรมเพียงย่อๆ ให้ฟังว่า ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น สารีบุตรได้ฟังก็ได้ดวงตาเห็นธรรม แล้วนำมาเล่าให้โมคคัลลานะฟัง โมคคัลลานะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม จึงพากันไปลาปริพาชก 250 คน เพื่อจะไปบวชในสำนักพระบรมศาสดา แต่ปริพาชกเหล่านั้นขอไปด้วย จึงพร้อมกันไปลาสัญชัยผู้เป็นอาจารย์ สัญชัยขอให้อยู่กันบริหารหมู่คณะถึง 3 ครั้ง แต่สาริบุตรกับโมคคัลลานะไม่ยอม คงลาไป พร้อมทั้งปริพาชก อีก 250 คน สัญชัยเสียใจ ถึงอาเจียนเป็นโลหิต เมื่อปริพาชกทั้งหลาย ได้ไปเฝ้าทูลขอบวชในพระพุทธศาสนาต่อพระผู้มีพระภาคก็ได้รับพระพุทธานุญาตให้เป็นภิกษุ ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา (พระไตรปิฎกฉบับประชาชน ภาค 4 ความย่อแห่งพระไตรปิฎก เล่ม 4, 2539, หน้า 217)”

จารึกเยธมฺมาฯ 9 (เมืองพรหมทิน), จารึกเยธมฺมาฯ 9 (เมืองพรหมทิน), จารึกเมืองพรหมทิน 1, จารึกเมืองพรหมทิน 1, ลบ. 16, ลบ. 16, ศิลา, สี่เหลี่ยมผืนผ้า, บ้านพรหมทิน, ตำบลหลุมข้าว, อำเภอโคกสำโรง, จังหวัดลพบุรี, ทวารวดี, พระตถาคตเจ้า, พระพุทธเจ้า, พระมหาสมณเจ้า, พุทธศาสนา, เยธัมมา, เยธรรมมา, ธรรม, ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย, ดอกรัก พยัคศรี, ยอร์ช เซเดส์, ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล, ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 : จารึกทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้, พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 : จารึกทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้, เทิม มีเต็ม, แสง มนวิทูร, จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง, เทิม มีเต็ม, แสง มนวิทูร, จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 : อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12-14, สุชีพ ปุญญานุภาพ, พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน, มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, พระวินัยปิฎก เล่ม 4 มหาวรรค ภาค 1 และ อรรถกถา, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 12, ยุคสมัย-จารึกสมัยทวารวดี, วัตถุ-จารึกบนหิน, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกบ้านพรหมทินใต้ ลพบุรี, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา-เยธมฺมาฯ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี (สำรวจเมื่อ 17-20 มีนาคม 2560)

พุทธศตวรรษ 13

บาลี

https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/154?lang=th

3

จารึกอักษรมอญโบราณบนพระพิมพ์ 3

มอญโบราณ

กล่าวถึงพระอรหันต์ นามว่า ภัททิยะ ซึ่งเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในจำนวน 80 องค์ เดิมเป็น กษัตริย์ศากยวงศ์ โอรสของนางกาฬิโคธา เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ครองครองราชย์สมบัติทรงพระนามว่า “พระเจ้าภัททิยราชา” ต่อมาได้สละราชสมบัติ แล้วออกบวชพร้อมกับพระเจ้าอนุรุทธะผู้เป็นพระสหาย พระองค์ได้สำเร็จอรหัตตผล และเป็นเอตทัคคะภิกษุผู้มาจากตระกูลสูง

จารึกอักษรมอญโบราณบนพระพิมพ์ 3, จารึกอักษรมอญโบราณบนพระพิมพ์ 3, 24/2523, 24/2523, ดินเผา, พระพิมพ์, อำเภอสารภี, จังหวัดเชียงใหม่, หริภุญไชย, ภัททิยะเถระ, พระอรหันต์, มหาสาวก, พุทธศาสนา, เอตทัคคะ, พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, Christian Bauer, The Journal of the Siam Society LXXIX, มหามงกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, พระสูตรและอรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ 8 ภาคที่ 2, ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะในประเทศไทย, ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ทวารวดี : ศิลปกรรมยุคแรกเริ่มในดินแดนไทย, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 17, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 18, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 17-18, ยุคสมัย-จารึกอาณาจักรหริภุญชัย, วัตถุ-จารึกบนดินเผา, ลักษณะ-จารึกบนพระพิมพ์, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์, เรื่อง-การสรรเสริญบุคคล-ภัททิยะ, บุคคล-ภัททิยะ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

พุทธศตวรรษ 17-18

มอญโบราณ

https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/558?lang=th

4

จารึกอักษรมอญโบราณบนพระพิมพ์ 2

มอญโบราณ

กล่าวถึงพระอรหันต์ นามว่า ปิณโฑลภารทวาชเถระ ซึ่งเป็นพระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาลภารทวาชโคตร ในกรุงราชคฤห์ เมื่อเรียนจบไตรเพทแล้วออกบวชในพระพุทธศาสนา จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ที่บริบูรณ์ด้วยสติ สมาธิ ปัญญา เป็นเอตทัคคะในทางบันลือสีหนาท คือ เปล่งออกมาด้วยความมั่นใจในอรหัตผลที่บรรลุ เนื่องจากท่านได้ประกาศอย่างองอาจว่า หากผู้ใดมีความสงสัยในเรื่องของมรรคผล นิพพานให้ถามท่านได้ นอกจากนี้ยังมีอิทธิฤทธิ์ และความสามารถในการแสดงธรรมเป็นเลิศ

จารึกอักษรมอญโบราณบนพระพิมพ์ 2, จารึกอักษรมอญโบราณบนพระพิมพ์ 2, 23/2523, 23/2523, ดินเผา, อำเภอสารภี, จังหวัดเชียงใหม่, หริภุญไชย, พระพิมพ์, ปิณโฑลภารทวาชเถระ, พระอรหันต์, มหาสาวก, พุทธศาสนา, เอตทัคคะ, พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, Christian Bauer, The Journal of the Siam Society LXXIX, มหามงกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, มหามงกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, พระสูตรและอรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ 8 ภาคที่ 1, ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะในประเทศไทย, ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ทวารวดี : ศิลปกรรมยุคแรกเริ่มในดินแดนไทย, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 17, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 18, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 17-18, ยุคสมัย-จารึกอาณาจักรหริภุญชัย, วัตถุ-จารึกบนดินเผา, ลักษณะ-จารึกบนพระพิมพ์, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์, เรื่อง-การสรรเสริญบุคคล-ปิณโฑลภารทวาชเถระ, บุคคล-ปิณโฑลภารทวาชเถระ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

พุทธศตวรรษ 17-18

มอญโบราณ

https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/560?lang=th

5

จารึกหลังพระพุทธรูปนาคปรก

ขอมโบราณ

บันทึกไว้ว่าศรจมัทยาหินได้เป็นผู้ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิไว้ที่ต้นโพธิ์ (พระศรีมหาโพธิ)

จารึกหลังพระพุทธรูปนาคปรก, ลบ. 13, ลบ. 13, Lopburi, K. 995, หลักที่ 36 จารึกด้านหลังพระพุทธรูปนาคปรก, หลักที่ 36 จารึกด้านหลังพระพุทธรูปนาคปรก, พ.ศ. 1756, ม.ศ. 1135, พ.ศ. 1756, ม.ศ. 1135, พุทธศักราช 1756, มหาศักราช 1135, พุทธศักราช 1756, มหาศักราช 1135, ศิลา, พระปฤษฎางค์พระพุทธรูปนาคปรกไม่มีพระเศียร, บริเวณศูนย์การทหารราบ, ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช, อำเภอเมือง, จังหวัดลพบุรี, ขอมสมัยพระนคร, พระพุทธสมาธิ, พระพุทธรูปปางสมาธิ, พระศกจันทสวารัตน์, ศรัจมัทยาหิน, ศรจมัทยาหนิ, ศรัจมัทยาหนิ, ศรีมหาโพธิ์, พระศรีมหาโพธิ, พุทธศาสนา, การประดิษฐานพระพุทธรูป, นวพรรณ ภัทรมูล, ฉ่ำ ทองคำวรรณ, ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3, ก่องแก้ว วีระประจักษ์, จารึกในประเทศไทย เล่ม 4, อายุ-จารึก พ.ศ. 1756, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 18, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร-พระเจ้าชัยวรมันที่ 7, วัตถุ-จารึกบนหิน, ลักษณะ-จารึกที่หลังพระพุทธรูป, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระพุทธรูป, บุคคล-ศรจมัทยาหิน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี (สำรวจเมื่อ 17-20 มีนาคม 2560)

พุทธศักราช 1756

สันสกฤต,เขมร,ไทย

https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/487?lang=th

6

จารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ 2)

ขอมโบราณ

ข้อความในจารึกไม่สมบูรณ์ ชิ้นที่ 1 ระบุชื่อข้าราชการและตำแหน่ง ส่วนชิ้นที่ 2 มีเพียงอักษรไม่กี่ตัว จับใจความไม่ได้

จารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ 2), ลบ. 19, ลบ. 19, Lopburi (San Sung), K. 410, หลักที่ 20 ศิลาจารึกศาลสูง ภาษาเขมร (หลักที่ 2), จารึกที่ 20 ศิลาจารึก (ซื่งแตกหัก) ที่ศาลสูง, หลักที่ 20 ศิลาจารึกศาลสูง ภาษาเขมร (หลักที่ 2), จารึกที่ 20 ศิลาจารึก (ซื่งแตกหัก) ที่ศาลสูง, ศิลา, โบราณสถานศาลสูง, จังหวัดลพบุรี, ขอมสมัยพระนคร, พระกระลา, วาบสด, วาบปัญจควยะ, พระบาญชี, พระบัญชี, ตำรวจวิษัย, โขลญ, ตรงใจ หุตางกูร, นวพรรณ ภัทรมูล, ยอร์ช เซเดส์, ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2, ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล, ฉ่ำ ทองคำวรรณ, ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2, จารึกในประเทศไทย เล่ม 3, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 16, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, วัตถุ-จารึกบนหิน, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, เรื่อง-การเมืองการปกครอง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี (สำรวจเมื่อ 17-20 มีนาคม 2560)

พุทธศตวรรษ 16

เขมร

https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/383?lang=th

7

จารึกพุทธอุทานบ้านพรหมทิน

หลังปัลลวะ

เนื้อความที่ปรากฏบนจารึกหลักนี้ คือ “พุทธอุทาน” ซึ่งเป็นคาถาอยู่ในพระวินัยปิฎก เล่ม 4 มหาวรรค ภาคที่ 1 มหาขันธกะ เรื่องโพธิกถา ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ โดยมีเนื้อเรื่องโดยย่อว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ใหม่ ประทับ ณ โคนไม้โพธิริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลา พระองค์ประทับนั่งเสวยวิมุติสุข ณ โคนไม้โพธิตลอด 7 วัน ในเวลาปฐมยามแห่งราตรี ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท (ธรรมที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุปัจจัย) สายเกิด แล้วทรงเปล่งอุทาน ความว่า “เมื่อธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เขาย่อมสิ้นความสงสัย เพราะรู้ธรรมพร้อมทั้งต้นเหตุ” ในเวลามัชฌิมยามแห่งราตรี ทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาทสายดับ แล้วทรงเปล่งอุทาน ความว่า “เมื่อธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เขาย่อมสิ้นความสงสัย เพราะได้ทราบถึงความสิ้นไปแห่งปัจจัย” ในเวลาปัจฉิมยามแห่งราตรี ทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท ทั้งโดยอนุโลม (ตามลำดับ) และ โดยปฏิโลม (ย้อนกลับ) แล้วทรงเปล่งอุทานความว่า “เมื่อธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ พราหมณ์นั้น ย่อมกำจัดมารพร้อมทั้งเสนาเสียได้ดั่งดวงอาทิตย์ทำท้องฟ้าให้สว่างฉะนั้น”” จะเห็นว่าความในพระไตรปิฎกนั้น มีด้วยกัน 3 บท ส่วนความในจารึกนั้น แตกหักไปเป็นส่วนมาก จึงเหลือไว้เพียงบทที่ 2

จารึกพุทธอุทานบ้านพรหมทิน, ลบ. 24, ลบ. 24, จารึกเมืองพรหมทิน 2, จารึกเมืองพรหมทิน 2, ศิลา, หินดินดาน, แผ่นสี่เหลี่ยม, บ้านพรหมทินใต้, ตำบลหลุมข้าว, โคกสำโรง, จังหวัดลพบุรี, ทวารวดี, พราหมณ์, พระพุทธเจ้า, พุทธศาสนา, ธรรม, ตรงใจ หุตางกูร, ชะเอม แก้วคล้าย, จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง, จารึกในประเทศไทย เล่ม 1, มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, พระวินัยปิฎก เล่ม 4 มหาวรรค ภาค 1 และ อรรถกถา, สุชีพ ปุญญานุภาพ, พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 13, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 14, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 13-14, ยุคสมัย-จารึกอาณาจักรทวารวดี, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินดินดาน, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา-พุทธอุทาน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี (สำรวจเมื่อ 17-20 มีนาคม 2560)

พุทธศตวรรษ 13-14

บาลี

https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/929?lang=th

8

จารึกบนแผ่นไม้บุษบกธรรมาสน์ วัดมณีชลขัณฑ์

ไทยอยุธยา

กล่าวถึงประวัติการสร้างบุษบกธรรมาสน์หลังนี้เมื่อ พ.ศ. 2225 และรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย

จารึกบนแผ่นไม้บุษบกธรรมาสน์วัดมณีชลขัณฑ์, ลบ. 32, ลบ. 32, กพช. 85/2225, กพช. 85/2225, พ.ศ. 2225, พ.ศ. 2225, อยุธยาตอนปลาย, พระนารายณ์มหาราช, วัดมณีชลขัณฑ์ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี, ขุนศรีเทพบาลราชรักษา, บัน, แม่ออกบัน, พุทธศาสนา, พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, กรมศิลปากร, สมเด็จพระนารายณ์และพระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 : บทวิเคราะห์ทางวิชาการเกี่ยวกับสัมพันธภาพไทย-ฝรั่งเศส รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 23, อายุ-จารึก พ.ศ. 2225, ยุคสมัย-จารึกสมัยอยุธยา, ยุคสมัย-จารึกสมัยอยุธยา-สมเด็จพระนารายณ์มหาราช, วัตถุ-จารึกบนไม้, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างธรรมาสน์, มีภาพถ่ายจากการสำรวจภาคสนาม, ภาพถ่ายจารึกจาก : สมเด็จพระนารายณ์และพระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 : บทวิเคราะห์ทางวิชาการเกี่ยวกับสัมพันธภาพไทย-ฝรั่งเศส รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2530), roman

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี (สำรวจเมื่อ 17-20 มีนาคม 2560)

พุทธศักราช 2225

ไทย

https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/2447?lang=th

9

จารึกบนวงพระธรรมจักร

ปัลลวะ

เนื้อความที่จารอยู่บนชิ้นส่วนธรรมจักรองค์นี้ ไม่สมบูรณ์ เป็นคาถาท่อนสั้นๆ สันนิษฐานว่าเดิมธรรมจักรเต็มองค์นั้น น่าจะมีคาถาจารอยู่โดยรอบวงล้อ เสา และฐานรอง เหมือนๆ กับธรรมจักรอื่นๆ ที่พบในเขตวัฒนธรรมทวารวดี แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากคาถาแล้ว มีความเหมือนกันกับที่พบบนธรรมจักรที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท (ชน. 14) หรือ จารึกธรรมจักร 2 (มโนรมย์) คือคาถาที่คัดลอกมาจาก “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” คาถาบทนี้เป็นความที่คัดมาจาก ข้อที่ 16 ของเรื่องปฐมเทศนา ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มีเนื้อหาโดยย่อว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงกรุงพาราณสีแล้ว ครั้งแรกภิกษุปัญจวัคคีย์ แสดงอาการกระด้างกระเดื่อง แต่เมื่อทรงเตือนให้นึกถึงว่า เมื่อก่อนพระองค์ไม่เคยตรัสบอกเลยว่าตรัสรู้ บัดนี้ตรัสบอกแล้ว จึงควรตั้งใจฟัง ก็พากันตั้งใจฟัง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โดยมีความตอนที่เกี่ยวข้องกับคำจารึกแปลได้ว่า [15] “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกอริยสัจนี้นั้นแลความกำหนดรู้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทยอริยสัจนี้นั้นแล เราได้ละแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล เราทำให้แจ้งแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว”

จารึกธรรมจักร 3 (ลพบุรี), จารึกธรรมจักร 3 (ลพบุรี), จารึกบนวงพระธรรมจักร, ลบ. 6, ลบ. 6, ศิลา, ธรรมจักร, วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ, ตำบลท่าหิน, จังหวัดลพบุรี, ทวารวดี, พุทธศาสนา, ความรู้แจ้ง, ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย, ดอกรัก พยัคศรี, เทิม มีเต็ม, ประสาร บุญประคอง, จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง, จารึกในประเทศไทย เล่ม 1, สุชีพ ปุญญานุภาพ, พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน, ชะเอม แก้วคล้าย, โบราณคดีเมืองอู่ตะเภา, มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, พระวินัยปิฎก เล่ม 4 มหาวรรค ภาค 1 และ อรรถกถา, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 12, ยุคสมัย-จารึกสมัยทวารวดี, วัตถุ-จารึกบนหิน, ลักษณะ-จารึกบนธรรมจักร, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา-อริยสัจ 4

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี (สำรวจเมื่อ 17-20 มีนาคม 2560)

พุทธศตวรรษ 12

บาลี

https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/162?lang=th

10

จารึกบนพระพิมพ์พบที่เมืองศรีเทพ

หลังปัลลวะ,จีน

ด้านหน้าเป็นภาษาสันสกฤต แต่ข้อความไม่สมบูรณ์ ด้านหลังมีภาษาจีน เมื่อเปรียบเทียบกับพระพิมพ์องค์สมบูรณ์แล้วอ่านได้ว่า “ปี่ชิวเหวินเซียง” แปลว่า “พระภิกษุเหวินเซียง”

จารึกบนพระพิมพ์ (เมืองศรีเทพ), ลบ. 10, ลบ. 10, จารึกบนพระพิมพ์ พบที่เมืองศรีเทพ, ดินเผา, พระพิมพ์, เมืองศรีเทพ, อำเภอศรีเทพ, จังหวัดเพชรบูรณ์, เมืองโบราณศรีเทพ, ทวารวดี, พระภิกษุเหวินเซียง, สันตติวงศ์, โลก, ตรงใจ หุตางกูร, นวพรรณ ภัทรมูล, ชะเอม แก้วคล้าย, จารึกในประเทศไทย เล่ม 1, กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 13, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 14, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 13-14, ยุคสมัย-จารึกสมัยทวารวดี, วัตถุ-จารึกบนดินเผา, ลักษณะ-จารึกบนพระพิมพ์, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, บุคคล-พระภิกษุเหวินเซียง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

พุทธศตวรรษ 13-14

สันสกฤต,จีน

https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/1000?lang=th

11

จารึกบนตราดินเผาเมืองจันเสน 4 (เลขทะเบียน 1612/36)

ปัลลวะ,พราหมีสมัยราชวงศ์คุปตะ

เนื้อหาจากการอ่าน-แปลของ Prof. Dr. Ravindra Vasishtha และ ผศ. ดร. จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา หมายถึง “ผู้หญิงที่สามารถ (มีอำนาจ)” ส่วนของ ผศ. กรรณิการ์ วิมลเกษม และอาจารย์ ชัยณรงค์ กลิ่นน้อย หมายถึง “บอกแล้ว”

จารึกบนตราดินเผา พบที่เมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ เลขทะเบียน 1612/36, จารึกบนตราดินเผา พบที่เมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ เลขทะเบียน 1612/36, จส. 1612/36, จส. 1612/36, ตรา (sealings) ดินเผา สีดำ รูปทรงค่อนข้างกลม, เมืองจันเสน ตำบลจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์, 4/11 ตราดินเผา เลขทะเบียน 1612/36, 4/11 ตราดินเผา เลขทะเบียน 1612/36, ทวารวดี, พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, อนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับ, การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 12, ยุคสมัย-จารึกสมัยทวารวดี, วัตถุ-จารึกบนดินเผา, ลักษณะ-จารึกบนตราดินเผา, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์, เหลือง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

พุทธศตวรรษ 12

สันสกฤต

https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/2066?lang=th

12

จารึกบนตราดินเผาเมืองจันเสน 3

พราหมีสมัยราชวงศ์คุปตะ

กล่าวถึงพระนามของพระศิวะผู้ยิ่งใหญ่

จารึกบนตราดินเผา พบที่เมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ (สภาพชำรุด หักหายไปครึ่งหนึ่ง), 3/31 ตราดินเผา ไม่ทราบเลขทะเบียน, 3/31 ตราดินเผา ไม่ทราบเลขทะเบียน, ดินเผา, ตรา (sealings) ดินเผา สีน้ำตาล สภาพชำรุด, เมืองจันเสน ตำบลจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์, ทวารวดี, พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, อนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับ, การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 10-11, ยุคสมัย-จารึกสมัยทวารวดี, วัตถุ-จารึกบนดินเผา, ลักษณะ-จารึกบนตราดินเผา, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์, เรื่อง-การสรรเสริญเทพเจ้า, เรื่อง-การสรรเสริญเทพเจ้า-พระศิวะ, เหลือง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

พุทธศตวรรษ 10-11

สันสกฤต

https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/2064?lang=th

13

จารึกบนตราดินเผาเมืองจันเสน 2

ปัลลวะ

ข้อความที่มีความหมายว่า “ขอให้ท่านจงชนะ” หรือ “ชนะแล้ว”

จารึกบนตราดินเผา พบที่เมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ (ทรงกลม สภาพชำรุด), 3/29 ตราดินเผา ไม่ทราบเลขทะเบียน, 3/29 ตราดินเผา ไม่ทราบเลขทะเบียน, ดินเผา, ตรา (sealings) ดินเผา รูปทรงค่อนข้างกลม, เมืองจันเสน ตำบลจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์, ทวารวดี, พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, อนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับ, การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 11-12, ยุคสมัย-จารึกสมัยทวารวดี, วัตถุ-จารึกบนดินเผา, ลักษณะ-จารึกบนตราดินเผา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์, เหลือง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

พุทธศตวรรษ 11-12

สันสกฤต

https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/2059?lang=th

14

จารึกบนตราดินเผาเมืองจันเสน 1

หลังปัลลวะ

เป็นข้อความที่น่าจะมีความหมายว่า “ไปสู่ถ้ำ”

จารึกบนตราดินเผา พบที่เมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ (รูปคนขี่ม้า 2 คน กำลังตีคลี), จารึกบนตราดินเผา พบที่เมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ (รูปคนขี่ม้า 2 คน กำลังตีคลี), ดินเผา, ตรา (sealings) ดินเผา สีน้ำตาลดำ รูปทรงกลมแบน, เมืองจันเสน ตำบลจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์, ทวารวดี, พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, อนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับ, การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 12, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 13, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 12-13, ยุคสมัย-จารึกสมัยทวารวดี, วัตถุ-จารึกบนดินเผา, ลักษณะ-จารึกบนตราดินเผา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์, เหลือง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

พุทธศตวรรษ 12-13

สันสกฤต

https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/2052?lang=th

15

จารึกบนซี่ล้อพระธรรมจักร

ปัลลวะ

ด้านที่ 1 มีข้อความที่จารึกว่า “สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส” พิจารณาตามรูปคำจารึกแล้ว เป็นภาษาบาลี ข้อความดังกล่าวนี้ เป็นอย่างเดียวกันกับข้อความที่มีปรากฏอยู่ในปาฐ “ปฏิจฺจสมุปฺปาท” หรือ อย่างที่เรียกกันว่า “ปัจยาการ” ที่ขึ้นต้นประโยคด้วยคำว่า “อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา ฯลฯ” ดังนี้เป็นต้น ส่วนข้อความที่จารึกว่า “เวทนานิโรธา ตณหานิโรโธ” พิจารณาตามรูปคำจารึกแล้วเป็นภาษาบาลีเช่นกัน และอยู่ใน “ปฏิจจสมุปปาท” เช่นกัน โดยคาถาทั้ง 2 บทนี้ รวมอยู่ใน พระวินัยปิฎก หมวดมหาขันธกะ มีเนื้อเรื่องโดยย่อว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ใหม่ ประทับ ณ โคนไม้โพธิริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลา พระองค์ประทับนั่งเสวยวิมุติสุข ณ โคนไม้โพธิตลอด 7 วัน ในเวลาปฐมยามแห่งราตรี ทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท (ธรรมที่เกิดขึ้นเพระอาศัยเหตุปัจจัย) สายเกิด แล้วทรงเปล่งอุทาน ความว่า เมื่อธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เขาย่อมสิ้นความสงสัย เพราะรู้ธรรมพร้อมทั้งต้นเหตุ ในเวลามัชฌิมยามแห่งราตรี ทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาทสายดับ แล้ว ทรงเปล่งอุทานความว่า เมื่อธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เขาย่อมสิ้นความสงสัย เพราะได้ทราบถึงความสิ้นไปแห่งปัจจัย ในเวลาปัจฉิมยามแห่งราตรี ทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท ทั้งโดยอนุโลม (ตามลำดับ) และโดยปฏิโลม (ย้อนลำดับ) แล้วทรงเปล่งอุทานความว่า เมื่อธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ พราหมณ์นั่นย่อมกำจัดมารพร้อมทั้งเสนาเสียได้ ดั่งดวงอาทิตย์ทำท้องฟ้าให้สว่างฉะนั้น” (พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน, หน้า 212) ข้อความเต็มของอนุโลมและปฏิโลมนั้นมีอยู่ในโพธิกถา ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ ความดังนี้คือ ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้ ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้

จารึกธรรมจักร 4 (ลพบุรี), จารึกธรรมจักร 4 (ลพบุรี), ลบ. 14, ลบ. 14, จารึกบนซี่ล้อพระธรรมจักร, ศิลา, ฐานสี่เหลี่ยม, วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ, จังหวัดลพบุรี, ตำบลท่าหิน, ทวารวดี, พุทธศาสนา, สฬายตนะ, ผัสสะ, ปัจจัย, ปฏิจจสมุปบาท, เวทนา, ตัณหา, นิโรธ, ความดับ, ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย, ดอกรัก พยัคศรี, เทิม มีเต็ม, จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง, สุชีพ ปุญญานุภาพ, พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน, จารึกในประเทศไทย เล่ม 1, มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, พระวินัยปิฎก เล่ม 4 มหาวรรค ภาค 1 และ อรรถกถา, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 12, ยุคสมัย-จารึกสมัยทวารวดี, วัตถุ-จารึกบนหิน, ลักษณะ-จารึกบนธรรมจักร, ลักษณะ-จารึกบนซี่ล้อธรรมจักร, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา-ปฏิจจสมุปบาท, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี (สำรวจเมื่อ 17-20 มีนาคม 2560)

พุทธศตวรรษ 12

บาลี

https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/164?lang=th

16

จารึกฐานพระพุทธรูปยืนวัดมหาธาตุเมืองลพบุรี

หลังปัลลวะ

กล่าวถึงอธิบดีแห่งชาวเมืองตังคุระ นามว่า “อารชวะ” ผู้เป็นราชโอรสของพระราชาแห่งศามพูกะ เป็นผู้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้น

จารึกฐานพระพุทธรูปยืนวัดมหาธาตุเมืองลพบุรี, ลบ. 5, ลบ. 5, หลักที่ 16 จารึกบนฐานพระพุทธรูปยืนวัดมหาธาตุเมืองลพบุรี, หลักที่ 16 จารึกบนฐานพระพุทธรูปยืนวัดมหาธาตุเมืองลพบุรี, Lopburi Wat Mahathat K. 577, ศิลา, หินปูนสีเทาแก่, ฐานพระพุทธรูปยืน, รุปกลีบบัว, มุมกำแพงชั้นนอก, วัดมหาธาตุ, จังหวัดลพบุรี, ทวารวดี,นายก, อธิบดี, อารชวะ, พระมุนี, ตังคุระ, ศามพูกะ, ตรงใจ หุตางกูร, ยอร์ช เซเดส์, ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2, ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2, George Cœdès, Inscriptions du Cambodge vol. VIII, จารึกในประเทศไทย เล่ม 1, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 13, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 14, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 13-14, ยุคสมัย-จารึกสมัยทวารวดี, วัตถุ-จารึกบนหิน, ลักษณะ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินปูน, วัตถุ-จารึกบนหินปูนสีเทา, ลักษณะ-จารึกที่ฐานพระพุทธรูป, ลักษณะ-จารึกที่ฐานพระพุทธรูปประทับยืน, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระพุทธรูป, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองตังคุระ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี (สำรวจเมื่อ 17-20 มีนาคม 2560)

พุทธศตวรรษ 13-14

สันสกฤต

https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/923?lang=th

17

จารึกซับจำปา 4

หลังปัลลวะ

ถึงแม้ว่าเนื้อความจะชำรุดขาดหายไปเกือบหมด แต่จากเนื้อความที่เหลืออยู่ 4 บรรทัด ซึ่งก็ไม่สมบูรณ์ทั้งบรรทัดเช่นกัน ก็พอทำให้ทราบว่า บรรทัดแรกเป็นเนื้อความของ “คาถาเยธมฺมาฯ” บรรทัดที่ 2 เป็นเนื้อความของ “คำพรรณนาถึงพระอริยสัจ 4” ส่วนบรรทัดที่ 3 และ 4 นั้น เป็นเนื้อความของ “พุทธอุทาน” จากรูปแบบของหลักธรรมเหล่านี้ทำให้นึกถึง “จารึกเสาแปดเหลี่ยม 1 (ซับจำปา)” (ลบ. 17) จารึกด้วยอักษรปัลลวะ ซึ่งประกอบด้วยหลักธรรม 4 บท คือ คาถาเยธมฺมาฯ คำพรรณนาถึงพระอริยสัจ 4 พุทธอุทาน และ คาถาธรรรมบท ดังนั้นเนื้อความที่สมบูรณ์แต่เดิมนั้นคงเป็นไปในทำนองเดียวกันกับจารึกเสาแปดเหลี่ยม 1 (ซับจำปา) (โปรดดูเนื้อหาของหลักธรรมแต่ละข้อใน “จารึกเสาแปดเหลี่ยม 1 (ซับจำปา)” (ลบ. 17))

จารึกซับจำปา 4, จารึกซับจำปา 4, ลบ. 22, ลบ. 22, จารึกเมืองซับจำปา 4, จารึกเมืองซับจำปา 4, ศิลา, เสาแปดเหลี่ยม, เมืองโบราณซับจำปา, ตำบลซับจำปา, อำเภอท่าหลวง, จังหวัดลพบุรี, ทวารวดี, พระตถาคต, พุทธศาสนา, เยธัมมา, เยธรรมมา, ตรงใจ หุตางกูร, อัญชนา จิตสุทธิญาณ, จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง, จารึกในประเทศไทย เล่ม 1, G. Cœdès, Artibus Asiae, ยอร์ช เซเดส์, ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล, ฉ่ำ ทองคำวรรณ, ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2, พระวินัยปิฎก เล่ม 4 มหาวรรค ภาค 1 และ อรรถกถา, มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส, ปฐมสมโพธิกถา, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 13, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 14, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 13-14, ยุคสมัย-จารึกสมัยทวารวดี, วัตถุ-จารึกบนหิน, ลักษณะ-จารึกบนเสา, ลักษณะ-จารึกบนเสาแปดเหลี่ยม,ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา-เย ธมฺมาฯ, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา-อริยสัจ 4, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา-พุทธอุทาน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี (สำรวจเมื่อ 17-20 มีนาคม 2560)

พุทธศตวรรษ 13-14

บาลี

https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/927?lang=th

18

จารึกซับจำปา 3

ปัลลวะ

ศิลาจารึกชิ้นนี้คงจะเป็นชิ้นส่วนที่แตกหักจากเสาแปดเหลี่ยมที่ใช้เป็นเสารองพระธรรมจักร ซึ่งในวัฒนธรรมทวารวดีจะพบว่า เสาแปดเหลี่ยมที่ให้รองพระธรรมจักรนี้ จะนิยมจารึกพระธรรมไว้ ตัวอย่างที่สำคัญ เช่น จารึกซับจำปา 1 ซึ่งมีจารึกพระธรรมไว้ถึง 4 บท คือ เย ธมฺมาฯ คำพรรณนาถึงพระอริยสัจ 4 พุทธอุทาน และพระธรรมบท แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อความที่พบบนจารึกซับจำปา 3 นี้ ไม่ครบถ้วน และอ่านได้เป็นส่วนน้อย จึงไม่สามารถหาที่มาได้ว่าเป็นข้อความที่นำมาจากพระธรรมบทใด

จารึกซับจำปา 3, จารึกซับจำปา 3, ศิลา, ลบ. 8, ลบ. 8, เสาแปดเหลี่ยม, จารึกเมืองซับจำปา 3, จารึกเมืองซับจำปา 3, ศิลา, เสาแปดเหลี่ยม, บ้านซับจำปา, ตำบลซับจำปา, อำเภอท่าหลวง, จังหวัดลพบุรี, ทวารวดี, พระตถาคต, พระพุทธเจ้า, พุทธศาสนา, ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย, ดอกรัก พยัคศรี, ชะเอม แก้วคล้าย, จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง, จารึกในประเทศไทย เล่ม 1, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 12, ยุคสมัย-จารึกสมัยทวารวดี, วัตถุ-จารึกบนหิน, ลักษณะ-จารึกบนเสาแปดเหลี่ยม, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี (สำรวจเมื่อ 17-20 มีนาคม 2560)

พุทธศตวรรษ 12

สันสกฤต,บาลี

https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/292?lang=th

19

จารึกซับจำปา 2

หลังปัลลวะ

เนื่องจากจารึกชำรุดมาก จึงไม่ทราบว่าจารึกกล่าวถึงใคร แต่เนื้อความโดยรวมดูเหมือนว่าจะเป็นจารึกสรรเสริญคุณงามความดีของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นพระยาของเมืองนี้ โดยยกย่องว่าทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ทรงนับถือพระพุทธศาสนา เป็นผู้มีคำสัตย์ มีธรรม คือ ความเสียสละ และ ความกรุณา ทั้งยังเป็นผู้ที่มีความเคารพต่อครูอาจารย์

จารึกซับจำปา 2, จารึกซับจำปา 1, ลบ. 15, ลบ. 15, จารึกเมืองซับจำปา 2, จารึกเมืองซับจำปา 2วัตถุจารึก: ศิลา, หินทราย, หลักสูง, เมืองโบราณซับจำปา, ตำบลซับจำปา, อำเภอวังท่าหลวง, จังหวัดท่าหลวง , ทวารวดี, พุทธะ, ศุภคันทะ, แก้วมณี, ธรรม, ทาน, พุทธศาสนา, มวยผม, โลก, ตรงใจ หุตางกูร, ชะเอม แก้วคล้าย, จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง, จารึกในประเทศไทย เล่ม 1, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 13, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 14, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 13-14, ยุคสมัย-จารึกสมัยทวารวดี, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนหลักสูง, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การสรรเสริญบุคคล

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี (สำรวจเมื่อ 17-20 มีนาคม 2560)

พุทธศตวรรษ 13-14

สันสกฤต

https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/925?lang=th

20

จารึกซับจำปา 1

ปัลลวะ

จารึกเสาแปดเหลี่ยมหลักนี้ ประกอบด้วยคาถาจากพระไตรปิฎกที่สำคัญ 4 คาถา คือ (1) คาถาเย ธมฺมาฯ (2) คำพรรณนาถึงพระอริยสัจ 4 (3) พุทธอุทาน (4) คาถาธรรมบท

จารึกเสาแปดเหลี่ยม 1 (ซับจำปา), จารึกเสาแปดเหลี่ยม 1 (ซับจำปา), ลบ. 17, ลบ.17, จารึกหลักใหม่จากบริเวณจังหวัดลพบุรี, จารึกเมืองซับจำปา 1, จารึกซับจำปา 1, จารึกเมืองซับจำปา 1, จารึกซับจำปา 1, ศิลา, เสาแปดเหลี่ยม, บ้านซับจำปา, ตำบลซับจำปา, อำเภอท่าหลวง, จังหวัดลพบุรี, อำเภอชัยบาดาล , ทวารวดี, พระคถาคต, พระมหาสมณะ, พระพุทธเจ้า, พราหมณ์, มาร, เสนา, นายช่าง, พุทธศาสนา, เย ธมฺมาฯ, เย ธมมาฯ, เย ธัมมาฯ, อริยสัจ 4, อริยสัจ 4, พุทธอุทาน, ปฏิจจสมุปบาท, ธรรมบท, ธรรม, เหตุ, ทุกข์, ธรรมจักร, ญาณ, ความหยั่งรู้, ความจริง, กิจ, อาการ 12, อาการ 12, ปัจจัย, สังสารวัฏ, ชาติ, จันทัน, นิพพาน, ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย, อุไรศรี วรศะริน, อัญชนา จิตสุทธิญาณ, ศิลปและโบราณคดีในประเทศไทย เล่ม 2, จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง, จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 : อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12-14, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 12, ยุคสมัย-จารึกสมัยทวารวดี, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินสีเขียว, ลักษณะ-จารึกบนเสาแปดเหลี่ยม, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา-อริยสัจ 4, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา-เยธมฺมาฯ, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา-พุทธอุทาน, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา-ปฏิจจสมุปบาท

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี (สำรวจเมื่อ 17-20 มีนาคม 2560)

พุทธศตวรรษ 12

บาลี

https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/290?lang=th