อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 12, ยุคสมัย-จารึกสมัยทวารวดี, วัตถุ-จารึกบนหิน, ลักษณะ-จารึกบนธรรมจักร, ลักษณะ-จารึกบนซี่ล้อธรรมจักร, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา-ปฏิจจสมุปบาท,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2567 21:52:07 )
ชื่อจารึก |
จารึกบนซี่ล้อพระธรรมจักร |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
จารึกซี่ธรรมจักรมีจารึกความส่วนหนึ่งของธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร, ลบ. 14 |
อักษรที่มีในจารึก |
ปัลลวะ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 12 |
ภาษา |
บาลี |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 4 บรรทัด คือทั้ง 2 ด้าน มีด้านละ 2 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา |
ลักษณะวัตถุ |
ซี่ล้อพระธรรมจักร |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 12 ซม. ยาว 15.5 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลบ. 14” |
ปีที่พบจารึก |
พุทธศักราช 2513 |
สถานที่พบ |
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี |
ผู้พบ |
เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี (สำรวจเมื่อ 17-20 มีนาคม 2560) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2524), 7-10. |
ประวัติ |
จารึกนี้เป็นชิ้นส่วนของซี่ล้อพระธรรมจักร ปรากฏลวดลายเป็นที่นิยมทำกันในศิลปะแบบทวารวดี พบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี บริเวณใกล้กับอาคารซึ่งรู้จักกันในชื่อว่า “ศาลาเปลื้องเครื่อง” ในคราวขุดแต่งวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมื่อ พ.ศ. 2513 โดย นายถวัลย์ พุทธเสถียร เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากร จังหวัดลพบุรีได้เก็บไว้และมอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2522 |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ด้านที่ 1 มีข้อความที่จารึกว่า “สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส” พิจารณาตามรูปคำจารึกแล้ว เป็นภาษาบาลี ข้อความดังกล่าวนี้ เป็นอย่างเดียวกันกับข้อความที่มีปรากฏอยู่ในปาฐ “ปฏิจฺจสมุปฺปาท” หรือ อย่างที่เรียกกันว่า “ปัจยาการ” ที่ขึ้นต้นประโยคด้วยคำว่า “อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา ฯลฯ” ดังนี้เป็นต้น ส่วนข้อความที่จารึกว่า “เวทนานิโรธา ตณหานิโรโธ” พิจารณาตามรูปคำจารึกแล้วเป็นภาษาบาลีเช่นกัน และอยู่ใน “ปฏิจจสมุปปาท” เช่นกัน โดยคาถาทั้ง 2 บทนี้ รวมอยู่ใน พระวินัยปิฎก หมวดมหาขันธกะ มีเนื้อเรื่องโดยย่อว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ใหม่ ประทับ ณ โคนไม้โพธิริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลา พระองค์ประทับนั่งเสวยวิมุติสุข ณ โคนไม้โพธิตลอด 7 วัน ในเวลาปฐมยามแห่งราตรี ทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท (ธรรมที่เกิดขึ้นเพระอาศัยเหตุปัจจัย) สายเกิด แล้วทรงเปล่งอุทาน ความว่า เมื่อธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เขาย่อมสิ้นความสงสัย เพราะรู้ธรรมพร้อมทั้งต้นเหตุ ในเวลามัชฌิมยามแห่งราตรี ทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาทสายดับ แล้ว ทรงเปล่งอุทานความว่า เมื่อธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เขาย่อมสิ้นความสงสัย เพราะได้ทราบถึงความสิ้นไปแห่งปัจจัย ในเวลาปัจฉิมยามแห่งราตรี ทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท ทั้งโดยอนุโลม (ตามลำดับ) และโดยปฏิโลม (ย้อนลำดับ) แล้วทรงเปล่งอุทานความว่า เมื่อธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ พราหมณ์นั่นย่อมกำจัดมารพร้อมทั้งเสนาเสียได้ ดั่งดวงอาทิตย์ทำท้องฟ้าให้สว่างฉะนั้น” (พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน, หน้า 212) ข้อความเต็มของอนุโลมและปฏิโลมนั้นมีอยู่ในโพธิกถา ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ ความดังนี้คือ ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้ ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้ |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุตามรูปแบบอักษรปัลลวะ ราวพุทธศตวรรษที่ 12 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2524) |