จารึกบนตราดินเผาเมืองจันเสน 1

จารึก

จารึกบนตราดินเผาเมืองจันเสน 1

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2567 18:04:55 )

ชื่อจารึก

จารึกบนตราดินเผาเมืองจันเสน 1

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 12-13

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

ดินเผา

ลักษณะวัตถุ

ตรา (sealings) สีน้ำตาลดำ รูปทรงกลมแบน รูปคนขี่ม้า 2 คน กำลังตีคลี

ขนาดวัตถุ

เส้นผ่าศูนย์กลาง 4.5 ซม. หนา 2.2 ซม.

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

เมืองจันเสน ตำบลจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

พิมพ์เผยแพร่

การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับ สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547), 127-128.

ประวัติ

จารึกนี้อยู่บริเวณด้านข้างของตราดินเผา ซึ่งด้านหน้ามีภาพนูนต่ำที่สันนิษฐานว่าเป็นรูปคนขี่ม้า 2 คนกำลังตีคลี ตัวอักษรในจารึกมีลักษณะเป็นรอยนูนต่ำขึ้นมาจากพื้นผิว ได้รับการอ่าน-แปลโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์กรรณิการ์ วิมลเกษม และ อาจารย์ชัยณรงค์ กลิ่นน้อย ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ข้อมูลรวมทั้งคำอ่าน-คำแปลของจารึกนี้ปรากฏในวิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับ สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี” ของ อนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับ ซึ่งเป็นการศึกษาความหมายและลักษณะทางประติมานวิทยา เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของตราประทับ ที่พบในเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี กับเมืองโบราณอื่นๆ ตราประทับที่พบมีทั้งที่ปรากฏตัวอักษรและเป็นรูปภาพต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตราประทับ (seals) คือ ตราที่ต้องนำไปประทับบนวัสดุอื่น จึงจะได้ภาพหรืออักษรที่เกิดจากการกดประทับในด้านกลับกัน และตรา (sealings) ซึ่งมีรูปหรืออักษรในด้านที่สามารถอ่านได้โดยไม่ต้องกดประทับ สำหรับตราดินเผาชิ้นนี้ อนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับ สันนิษฐานว่าน่าจะถูกทำขึ้นในท้องถิ่น โดยพิจารณาจากลักษณะของลวดลาย ตราดินเผาที่มีภาพนูนต่ำรูปคนตีคลีในลักษณะนี้ ถูกพบด้วยกันหลายชิ้น ส่วนใหญ่มีจารึกอักษรปัลลวะ-หลังปัลลวะปรากฏอยู่

เนื้อหาโดยสังเขป

เป็นข้อความที่น่าจะมีความหมายว่า “ไปสู่ถ้ำ”

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากรูปแบบอักษรหลังปัลลวะซึ่งมีอายุปลายพุทธศตวรรษที่ 12-13

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
อนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับ, การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547), 93-194.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : สังคมและวัฒนธรรมจันเสน เมืองแรกเริ่มในลุ่มลพบุรี-ป่าสัก (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, 2539)