จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

จารึกฐานพระพุทธรูปยืนวัดมหาธาตุเมืองลพบุรี

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปยืนวัดมหาธาตุเมืองลพบุรี

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 09:16:24 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปยืนวัดมหาธาตุเมืองลพบุรี

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลบ. 5, K. 577, หลักที่ 16 จารึกบนฐานพระพุทธรูปยืน วัดมหาธาตุเมืองลพบุรี, Lŏp’bŭri (Vαt Mάhαth’αt) (K. 577), จารึกที่ 16 จารึกบนฐานพระพุทธรูปยืน พบที่วัดมหาธาตุ เมืองลพบุรี, จารึกบนฐานพระพุทธรูปยืน วัดมหาธาตุเมืองลพบุรี

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 13-14

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินปูนสีเทาแก่

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระพุทธรูปยืน รูปกลีบบัว

ขนาดวัตถุ

กว้าง 59 ซม. สูง 10 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลบ. 5”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2 กำหนดเป็น “หลักที่ 16 จารึกบนฐานพระพุทธรูปยืน วัดมหาธาตุเมืองลพบุรี”
3) ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge vol. VIII กำหนดเป็น “Lŏp’bŭri (Vαt Mάhαth’αt) (K. 577)”
4) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 กำหนดเป็น “จารึกที่ 16 จารึกบนฐานพระพุทธรูปยืน พบที่วัดมหาธาตุ เมืองลพบุรี”
5) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 กำหนดเป็น “จารึกบนฐานพระพุทธรูปยืน วัดมหาธาตุเมืองลพบุรี”

ปีที่พบจารึก

28 มิถุนายน พ.ศ. 2467

สถานที่พบ

มุมกำแพงชั้นนอก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี

ผู้พบ

หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์)

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี (สำรวจเมื่อ 17-20 มีนาคม 2560)

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2472), 17-18.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2504), 5-6.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 229-231.
4) จารึกในประเทศไทย เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2559), 316-318.

ประวัติ

จารึกนี้ จารึกไว้ที่ฐานของพระพุทธรูปยืน ซึ่งหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์) ค้นพบใต้เนินดินเล็กๆ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคในกำแพงชั้นนอกของวัดมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี เมื่อ พ.ศ. 2467 รูปแบบทางศิลปะของพระพุทธรูปเป็นแบบทวารวดี ประทับยืนบนฐานกลีบบัว พระหัตถ์ขวาหักหายไป ซึ่งน่าจะแสดงอภัยมุทรา (ปางประทานอภัย) ส่วนพระหัตถ์ซ้ายทอดลงมาตามลำตัว พระเศียรหักหายไป สำหรับคำอ่านและคำแปลของจารึกหลักนี้ ศ. ยอร์ช เซเดส์ ได้อ่านและแปลตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2 (พ.ศ. 2472) และ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 (พ.ศ. 2504) ต่อมา หอสมุดแห่งชาติได้นำมาตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้ง โดยรวมอยู่ในหนังสือชุดจารึกในประเทศไทย เล่ม 1 (พ.ศ. 2529)

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงอธิบดีแห่งชาวเมืองตังคุระ นามว่า “อารชวะ” ผู้เป็นราชโอรสของพระราชาแห่งศามพูกะ เป็นผู้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้น

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

รูปแบบของตัวอักษรเป็นอักษรหลังปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) George Cœdès, “Liste Générale des Inscriptions du Cambodge : K. 577,” in Inscriptions du Cambodge vol. VIII (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1966), 170-171.
2) ยอร์ช เซเดส์, “จารึกที่ 16 จารึกบนฐานพระพุทธรูปยืน พบที่วัดมหาธาตุ เมืองลพบุรี,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 : จารึกทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้ = Recueil des inscriptions du Siam deuxieme partie : inscriptions de Dvaravati, de Crivijaya et de Lavo ([กรุงเทพฯ] : กรมศิลปากร, 2504), 5-6.
3) ยอร์ช เซเดส์, “จารึกบนฐานพระพุทธรูปยืนวัดมหาธาตุเมืองลพบุรี,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 : อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12-14 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 229-231.
4) ยอร์ช เซเดส์, “หลักที่ 16 จารึกบนฐานพระพุทธรูปยืน วัดมหาธาตุเมืองลพบุรี,” ใน ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2 : จารึกกรุงทวารวดี เมืองละโว้ และประเทศราชขึ้นแก่กรุงศรีวิชัย ([กรุงเทพฯ] : โรงพิมพ์พิพรรฒนากร, 2472), 17-18.

ภาพประกอบ

1) ภาพถ่ายจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)
2) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-19, ไฟล์; LB_005)