จารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ 2)

จารึก

จารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ 2)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2566 20:37:12 )

ชื่อจารึก

จารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ 2)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Lŏp’bŭri (Sαn Sung) (K. 410), หลักที่ 20 ศิลาจารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ 2), จารึกที่ 20 ศิลาจารึก (ซึ่งแตกหัก) ที่ศาลสูง, K.410, ลบ. 19

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 16

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 11 บรรทัด ชิ้นที่ 1 ด้านที่ 1 มี 4 บรรทัด ชิ้นที่ 1 ด้านที่ 2 มี 5 บรรทัด ชิ้นที่ 2 ด้านที่ 1 มี 1 บรรทัด ชิ้นที่ 2 ด้านที่ 2 มี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

หลักจารึกชำรุดแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย

ขนาดวัตถุ

จารึกชำรุด กว้าง สูง และหนาไม่เท่ากัน จึงมีขนาดไม่แน่นอน

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลบ. 19”
2) ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge vol. VIII กำหนดเป็น “Lŏp’bŭri (Sαn Sung) (K. 410)”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2 กำหนดเป็น “หลักที่ 20 ศิลาจารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ 2)”
4) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 กำหนดเป็น “จารึกที่ 20 ศิลาจารึก (ซึ่งแตกหัก) ที่ศาลสูง”
5) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 กำหนดเป็น “จารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ 2)”
6) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ กำหนด "ล.2165"

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2440-2450

สถานที่พบ

โบราณสถาน ศาลสูง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

ผู้พบ

พระครูสังฆภารวาหะ วัดเสาธงทอง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี (สำรวจเมื่อ 17-20 มีนาคม 2560)

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2472), 29-30.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2504), 15-16.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 249-252.

ประวัติ

พระครูสังฆภารวาหะ วัดเสาธงทอง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ได้พบศิลาจารึกหลักนี้ที่ใต้ต้นไม้ทางทิศเหนือของศาลสูงเมืองลพบุรี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเดิมอยู่ที่ได ครั้นเมื่อมีการจัดตั้งลพบุรีพิพิธภัณฑ์ขึ้นที่พระที่นั่งจันทรพิศาลเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2466 จึงได้ยกไปตั้งไว้ในพิพิธภัณฑ์นั้นและอยู่ต่อมาจนถึงปัจจุบัน

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความในจารึกไม่สมบูรณ์ ชิ้นที่ 1 ระบุชื่อข้าราชการและตำแหน่ง ส่วนชิ้นที่ 2 มีเพียงอักษรไม่กี่ตัว จับใจความไม่ได้

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

หอสมุดแห่งชาติได้กำหนดไว้ว่าจารึกหลักนี้เป็นจารึกขอมโบราณ อายุพุทธศตวรรษที่ 16

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร และนวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ยอร์ช เซเดส์, “จารึกที่ 20 ศิลาจารึก (ซึ่งแตกหัก) ที่ศาลสูง,” แปลโดย ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล และฉ่ำ ทองคำวรรณ, ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 : จารึกทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้ = Recueil des inscriptions du Siam deuxieme partie : inscriptions de Dvaravati, de Crivijaya et de Lavo ([กรุงเทพฯ] : กรมศิลปากร, 2504), 15-16.
2) ยอร์ช เซเดส์, “จารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ 2),” แปลโดย ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล และฉ่ำ ทองคำวรรณ, ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 15-16 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 249-252.
3) ยอร์ช เซเดส์, “หลักที่ 20 ศิลาจารึกภาษาเขมรที่ศาลสูง (หลักที่ 2),” ใน ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2 : จารึกกรุงทวารวดี เมืองละโว้ และประเทศราชขึ้นแก่กรุงศรีวิชัย ([กรุงเทพฯ] : โรงพิมพ์พิพรรฒนากร, 2472), 29-30.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-19, ไฟล์; LB_011p1f1, LB_011p1f2, LB_011p2f1 และ LB_011p2f2)