จารึกซับจำปา 4

จารึก

จารึกซับจำปา 4

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 09:03:03 )

ชื่อจารึก

จารึกซับจำปา 4

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกเมืองซับจำปา 4, ลบ. 22

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 13-14

ภาษา

บาลี

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน ด้าน 1 มี 4 บรรทัด ด้าน 2 มี 2 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

เสาแปดเหลี่ยม (ชำรุด)

ขนาดวัตถุ

กว้าง 28 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลบ. 22”
2) ในหนังสือ จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง กำหนดเป็น “จารึกเมืองซับจำปา 4”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 กำหนดเป็น “จารึกซับจำปา 4”

ปีที่พบจารึก

วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2523

สถานที่พบ

เมืองโบราณซับจำปา ตำบลซับจำปา อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี

ผู้พบ

นายผ่าย บุญรอด

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี (สำรวจเมื่อ 17-20 มีนาคม 2560)

พิมพ์เผยแพร่

1) จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2524), 28-29.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 241-243.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2559), 332-334.

ประวัติ

ภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้สำรวจพบว่า จารึกชิ้นนี้ ค้นพบโดยนายผ่าย บุญรอด ขณะที่กำลังไถพรวนดินเพื่อทำไร่ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2523 ในเขตเมืองโบราณซับจำปา

เนื้อหาโดยสังเขป

ถึงแม้ว่าเนื้อความจะชำรุดขาดหายไปเกือบหมด แต่จากเนื้อความที่เหลืออยู่ 4 บรรทัด ซึ่งก็ไม่สมบูรณ์ทั้งบรรทัดเช่นกัน ก็พอทำให้ทราบว่า บรรทัดแรกเป็นเนื้อความของ “คาถาเยธมฺมาฯ” บรรทัดที่ 2 เป็นเนื้อความของ “คำพรรณนาถึงพระอริยสัจ 4” ส่วนบรรทัดที่ 3 และ 4 นั้น เป็นเนื้อความของ “พุทธอุทาน” จากรูปแบบของหลักธรรมเหล่านี้ทำให้นึกถึง “จารึกเสาแปดเหลี่ยม 1 (ซับจำปา)” (ลบ. 17) จารึกด้วยอักษรปัลลวะ ซึ่งประกอบด้วยหลักธรรม 4 บท คือ คาถาเยธมฺมาฯ คำพรรณนาถึงพระอริยสัจ 4 พุทธอุทาน และ คาถาธรรรมบท ดังนั้นเนื้อความที่สมบูรณ์แต่เดิมนั้นคงเป็นไปในทำนองเดียวกันกับจารึกเสาแปดเหลี่ยม 1 (ซับจำปา) (โปรดดูเนื้อหาของหลักธรรมแต่ละข้อใน “จารึกเสาแปดเหลี่ยม 1 (ซับจำปา)” (ลบ. 17))

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

รูปแบบของตัวอักษรเป็นอักษรหลังปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) G. Cœdès, “Une Roue de la Loi avec inscription en Pāli provenant du site de P’ra Pathom,” Artibus Asiae XIX, 3/4, (1956), 221.
2) “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร : ญาณทัสสนะมีรอบ 3 มีอาการ 12,” ใน พระวินัยปิฎก เล่ม 4 มหาวรรค ภาค 1 และ อรรถกถา, แปลโดย มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2536), 47-48.
3) ยอร์ช เซเดส์, “ภาคผนวก : พระธรรมจักรศิลา จารึกภาษาบาลี ได้มาจากจังหวัดนครปฐม,” แปลโดย ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล และฉ่ำ ทองคำวรรณ, จาก Note sur les Inscriptions de Brah Pathamacetiya ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 : จารึกทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้, พิมพ์ครั้งที่ 2 [แก้ไขใหม่], (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 46-52.
4) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส, ปฐมสมโพธิกถา (กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2540), 122-123.
5) อัญชนา จิตสุทธิญาณ, “จารึกซับจำปา 4,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 : อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12-14 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 241-243.
6) อัญชนา จิตสุทธิญาณ, “จารึกเมืองซับจำปา 4,” ใน จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2524), 28-29.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)