จารึกซับจำปา 2

จารึก

จารึกซับจำปา 2

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2566 07:50:07 )

ชื่อจารึก

จารึกซับจำปา 2

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกเมืองซับจำปา 2, ลบ. 15

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 13-14

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 12 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทราย

ลักษณะวัตถุ

เป็นหลักสูง ชำรุดมาก

ขนาดวัตถุ

กว้าง 12 ซม. สูง 59 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลบ. 15”
2) ในหนังสือ จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง กำหนดเป็น “จารึกเมืองซับจำปา 2”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 กำหนดเป็น “จารึกซับจำปา 2”

ปีที่พบจารึก

วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2523

สถานที่พบ

เมืองโบราณซับจำปา ตำบลซับจำปา อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี

ผู้พบ

ราษฎรในหมู่บ้านใกล้วัดซับจำปา

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี (สำรวจเมื่อ 17-20 มีนาคม 2560)

พิมพ์เผยแพร่

1) จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2524), 21-25.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 232-236.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2559), 3328-331

ประวัติ

จารึกชิ้นนี้ ราษฎรในตำบลซับจำปาพบในบริเวณตัวเมืองโบราณ และได้นำมาถวายให้แก่วัดซับจำปา ต่อมา เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2523 คณะสำรวจข้อมูลทางโบราณคดีของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ได้ออกสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเมืองโบราณซับจำปา จึงได้พบจารึกชิ้นนี้อยู่ที่วัดดังกล่าว และได้ได้คัดลอกสำเนาจารึกส่งให้กองหอสมุดแห่งชาติเพื่ออ่านและแปล ซึ่ง อ.ชะเอม แก้วคล้าย ผู้เชี่ยวชาญภาษาโบราณของหอสมุดแห่งชาติ ได้อ่านและแปลตีพิมพ์ลงในหนังสือ จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรี และใกล้เคียง (พ.ศ. 2524) และ ตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้งในหนังสือชุด จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 (พ.ศ. 2529) สำหรับเมืองโบราณซับจำปานั้น จากหลักฐานทางโบราณคดี อาจกล่าวได้ว่าเป็นเมืองโบราณในกลุ่มวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งเป็นวัฒนธรรมโบราณรุ่นแรกๆ ที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย ตัวเมืองโบราณซับจำปานี้ มีคูเมืองลึกมาก และมีกำแพงดินล้อมรอบถึง 2 ชั้น นอกจากนี้ ภายในบริเวณตัวเมืองยังพบโบราณวัตถุแบบทวารวดีเป็นจำนวนมาก เช่น กวางหมอบ เศียรพระพุทธรูป ชิ้นส่วนพระธรรมจักร รวมทั้งจารึกอีกหลายชิ้น

เนื้อหาโดยสังเขป

เนื่องจากจารึกชำรุดมาก จึงไม่ทราบว่าจารึกกล่าวถึงใคร แต่เนื้อความโดยรวมดูเหมือนว่าจะเป็นจารึกสรรเสริญคุณงามความดีของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นพระยาของเมืองนี้ โดยยกย่องว่าทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ทรงนับถือพระพุทธศาสนา เป็นผู้มีคำสัตย์ มีธรรม คือ ความเสียสละ และ ความกรุณา ทั้งยังเป็นผู้ที่มีความเคารพต่อครูอาจารย์

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

รูปแบบของตัวอักษรเป็นอักษรหลังปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกเมืองซับจำปา 2,” ใน จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2524), 21-25.
2) ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกซับจำปา 2,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 : อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12-14 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 232-236.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-19, ไฟล์; LB_002)