โลโก้ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรLogo
logo
  • รายชื่อพิพิธภัณฑ์
    • รายชื่อพิพิธภัณฑ์
    • List view
    • Map view
  • Online Exhibits
    • Online Exhibits
    • มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคใต้
    • มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง
    • มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคเหนือ
  • Research & learning
    • Research & learning
    • พิพิธภัณฑ์วิทยา
    • Research & Report
    • บทความวิชาการ
    • บล็อก
    • อินโฟกราฟฟิก
  • สื่อสิ่งพิมพ์
    • สื่อสิ่งพิมพ์
    • หนังสือ
    • จุลสาร
  • เทศกาล และข่าวสาร
    • เทศกาล และข่าวสาร
    • เทศกาล
    • ข่าวสาร
  • เกี่ยวกับโครงการ
    • เกี่ยวกับโครงการ
    • เกี่ยวกับโครงการ
    • ทีมงาน
    • ติดต่อเรา
    • สถิติพิพิธภัณฑ์
    • สถิติเว็บไซต์
  • กระบี่
  • กรุงเทพมหานคร
  • กาญจนบุรี
  • กาฬสินธุ์
  • กำแพงเพชร
  • ขอนแก่น
  • จันทบุรี
  • ฉะเชิงเทรา
  • ชลบุรี
  • ชัยนาท
  • ชัยภูมิ
  • ชุมพร
  • ตรัง
  • ตราด
  • ตาก
  • นครนายก
  • นครปฐม
  • นครพนม
  • นครราชสีมา
  • นครศรีธรรมราช
  • นครสวรรค์
  • นนทบุรี
  • นราธิวาส
  • น่าน
  • บึงกาฬ
  • บุรีรัมย์
  • ปทุมธานี
  • ประจวบคีรีขันธ์
  • ปราจีนบุรี
  • ปัตตานี
  • พระนครศรีอยุธยา
  • พะเยา
  • พังงา
  • พัทลุง
  • พิจิตร
  • พิษณุโลก
  • ภูเก็ต
  • มหาสารคาม
  • มุกดาหาร
  • ยะลา
  • ยโสธร
  • ระนอง
  • ระยอง
  • ราชบุรี
  • ร้อยเอ็ด
  • ลพบุรี
  • ลำปาง
  • ลำพูน
  • ศรีสะเกษ
  • สกลนคร
  • สงขลา
  • สตูล
  • สมุทรปราการ
  • สมุทรสงคราม
  • สมุทรสาคร
  • สระบุรี
  • สระแก้ว
  • สิงห์บุรี
  • สุพรรณบุรี
  • สุราษฎร์ธานี
  • สุรินทร์
  • สุโขทัย
  • หนองคาย
  • หนองบัวลำภู
  • อำนาจเจริญ
  • อุดรธานี
  • อุตรดิตถ์
  • อุทัยธานี
  • อุบลราชธานี
  • อ่างทอง
  • เชียงราย
  • เชียงใหม่
  • เพชรบุรี
  • เพชรบูรณ์
  • เลย
  • แพร่
  • แม่ฮ่องสอน
  • กฎหมายและราชทัณฑ์
  • การทหาร / สงคราม
  • การสื่อสาร / ไปรษณีย์
  • การแพทย์และสาธารณสุข
  • งานอนุรักษ์สถาปัตยกรรม
  • ชาติพันธ์ุ
  • ธรรมชาติวิทยา
  • บุคคลสำคัญ
  • บ้านประวัติศาสตร์
  • ประวัติศาสตร์
  • ผ้า / สิ่งทอ
  • พระป่า
  • วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ศาสนา ความเชื่อ และพิธีกรรม
  • ศิลปะ / การแสดง
  • อื่น ๆ
  • เครื่องปั้นดินเผา
  • เงินตรา / การเงินธนาคาร
  • โบราณคดี

  • บทความวิชาการ

บทความวิชาการ:

ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ

  • เรียงตามข้อมูลนำเข้าล่าสุด
  • เรียงตามการอ่านมากที่สุด
บทความทั้งหมด 26 บทความ

เด็กๆ เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุในบรรยากาศที่เป็นกันเอง

22 มีนาคม 2556

เด็กๆ ใช้เวลามากขึ้นในการสถานที่อย่างไม่เป็นทางการเช่นพิพิธภัณฑ์ มีงานวิจัยพยายามทำความเข้าใจว่า ประสบการณ์เช่นนั้มีผลต่อพัฒนาการทางสังคมและการรับรู้อย่างไร เพราะหากงานวิจัยในสนามดังกล่าวมีมากขึ้น ย่อมเป็นโอกาสที่พ่อแม่และนักการศึกษาจะเข้าใจกับการเรียนรู้จากประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้จากวัตถุเป็นที่ตั้ง การเรียนรู้จากการให้ข้อมูลเบื้องต้น การวิจักษณ์ต่อความงามและศิลปะ รวมถึงการเรียนรู้ในการใช้เทคโนโลยี ผลรวมของประสบการณ์จากบริบทเหล่านี้จะหล่อหลอมความคิด คุณค่า แรงบันดาลใจ ความเป็นสมาชิกกลุ่ม และตัวตนตลอดชีวิตของเด็กๆ การศึกษาสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นทางการและการเรียนรู้ จะเสริมงานวิจัยที่เคยทำกันมา ทั้งการศึกษาเด็กในบริบทของบ้าน โรงเรียน และบริบทอื่นในชีวิตประจำวัน เพื่อทำความเข้าใจกับแรงจูงใจ การเรียนรู้ทางสังคม และการสร้างเหตุและผล การวิจัยเด็กในลักษณะเช่นนี้ทำให้เราบูรณาการทฤษฎีปฏิบัติการเชิงบริบทกับ ทฤษฎีการสร้างความหมายเชิงสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี สนามการวิจัยใหม่เอื้อประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจพัฒนาการของเด็กและส่ง เสริมการเรียนรู้ของพวกเขา   การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็ก ประเด็นวิจัยพื้นฐานของนักจิตวิทยาพัฒนาการคือ การศึกษาและทำความเข้าใจกับบริบทต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และสัมพันธ์กับพัฒนาการของเด็ก ความสนใจต่อบริบททางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของพัฒนา ปรากฏอย่างเด่นชันในงานของ Vygotsky ที่แสดงให้เห็นความเชี่ยวชาญที่ได้พัฒนาขึ้นนั้นมาจากโอกาสในการเข้าไป สัมพันธ์กับสถานการณ์ต่างๆ และการร่วมทำกิจกรรมใดๆ ก็ตามกับผู้อื่น นัยสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและบริบททำให้นักวิชาการได้ข้อสรุปประการหนึ่ง เกี่ยวกับหน่วยของการวิเคราะห์ บุคคลในสถานการณ์หนึ่งที่ทำให้เขาหรือเธอลงมือกระทำการ “หีบห่อของพัฒนาการที่อยู่เหนือปัจเจกบุคคล” (supra-individual envelope of development) (Cole, 1995) ทฤษฎีพัฒนาการเชิงบริบทย้ำถึงความสัมพันธ์ของบริบทที่มีผลต่อการรับรู้และ การเรียนรู้มากกว่านักวิชาการที่มองบทบาทของบริบท ทั้งในงานของ Rogoff & Lave (1984) ที่ย้ำถึงการรับรู้ในชีวิตประจำวัน Resnick, Levine, & Teasley (1991) ที่กล่าวถึงการรับรู้ที่ร่วมกันในสังคม Brown, Collins, & Duguid (1989) ที่กล่าวถึงการฝึกฝนและการสร้างชิ้นงาน Lave & Wenger (1991) ที่กล่าวถึงนัยสัมพันธ์ของการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมที่แวดล้อม เป็นต้น Lave (1993) ได้แบ่งลักษณะวิเคราะห์ของทฤษฎีที่สัมพันธ์กับการทำความเข้าใจบริบทของ พัฒนาการเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ ทฤษฎีที่เน้นการกระทำ และทฤษฎีที่เน้นความหมาย ประเภทแรกจะเน้นการกล่าวถึงธรรมชาติของความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำและสิ่ง ถูกกระทำที่อยู่ในบริบทหนึ่ง ทั้งนี้ ทฤษฎีกิจกรรมจะเป็นพื้นฐานในการอธิบาย เมื่อกล่าวถึงบทบาทของประสบการณ์จะนึกถึงงานของ Dewey (Ansbacher, 1998; Cohen, 1998; Fenstermacher & Sanger, 1998) ส่วนทฤษฎีในแบบที่สอง หมายถึง ความหมายที่สร้างขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคม จะเห็นได้ในงานของ Vygotsky และทฤษฎีทางสังคมวัฒนธรรม (Palincsar, 1998; Wertsch, Tulviste, & Hagstrom, 1993) แต่หากเรานำทฤษฎีทั้งสองมาใช้ในการอธิบายและทำความเข้าใจ จะทำให้งานวิจัยพัฒนาการของเด็กนั่นมีคุณูปการมากขึ้น ดังที่ปรากฏในงานของ Goodnow, Miller, and Kessel (1995) นั่นเองที่นำไปสู่การวิเคราะห์ว่า เด็กกระทำการใดกับใครภายใต้เงื่อนไขใด และทำไปด้วยวัตถุประสงค์ใด ประเด็นของการตีความภายใต้บริบทจึงประกอบด้วย การศึกษาวิธีการที่เด็กลงมือกระทำเพื่อให้บรรลุ ความหมายที่เด็กๆ สร้างขึ้นจากประสบการณ์ และการเรียนรู้เช่นนั้นส่งผลประการใดต่อชีวิตของพวกเขา โดยทั่วไป การศึกษาเด็กๆ จะเน้นที่การสังเกตการณ์และการอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น แต่การวิเคราะห์ที่จะต้องเน้นมากขึ้นค่อการวิเคราะห์ไปยังตัวบริบทมากกว่า การมองเป็นเพียงตัวแปรเบื้องหลัง ฉะนั้นบริบทนำไปสู่การกระทำบางอย่าง ตีกรอบปฏิกริยากับวัตถุ รวมไปถึงการวางโครงสร้างสิ่งที่กระทำต่อไปให้เกิดพลวัตทางสังคม แต่เดิมนั้น นักจิตวิทยาพัฒนาการศึกษาบ้านและชุมชนในฐานะที่เป็น “บริบท” แต่แนวทางการศึกษาใหม่มองบริบทในแบบอื่นมากขึ้น โดยพิจารณาในรายละเอียดของสภาพแวดล้อมแบบหนึ่งกับการกระทำที่มีผลต่อ พัฒนาการของเด็ก ทั้งการวิเคราะห์สถานการณ์ในชีวิตประจำวัน ในงานของ Paris & Cross, 1983 เช่น การขายคุกกี้ของเนตรนารี (Rogoff, Baker-Sennett, Lacasa, & Goldsmith, 1995) หรือการใช้คณิตศาสตร์ทั้งในและนอกโรงเรียน (Nunes, Schliemann, & Carraher, 1993) การวิเคราะห์ที่อิงต่อบริบทเช่นนี้ทำให้เราได้ข้อมูลที่แตกต่างเกี่ยวกับ พัฒนาของเด็กมากกว่าการศึกษาด้วยการกระทำโดยฉับพลันหรือการจัดสถานการณ์ จำลอง คำถามหลักของลักษณะการศึกษาอยู่ที่ว่า เด็กรับรู้และแสดงออกเกี่ยวกับความรู้ ความเชื่อ และการกระทำของครอบครัวหรือชุมชนไปในบริบทเฉพาะอย่างไร หากเราพิจารณาเจตนาในเบื้องลึกของทฤษฎี กระบวนการศึกษามุ่งความสนใจไปพัฒนาการของเด็กในบริบท เรียกได้ว่าเป็นการสร้างทิศทางใหม่ให้กับการวิจัยพื้นฐาน การสร้างทฤษฎี การใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษา และนโยบายทางสังคม งานวิจัยใหม่นี้เกิดขึ้นในบริบทของชุมชนที่นอกเหนือไปจากบ้านและโรงเรียน เช่น พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ อุทยานประวัติศาสตร์ และสวนสาธารณะ เพราะประสบการณ์เมื่อเด็กเข้าไปสัมพันธ์ในลักษณะต่างๆ มีนัยสำคัญต่อชีวิตของเด็ก ผู้คนมากกว่า 500 ล้านคนที่เข้าชมพิพิธภัณฑ์ในสหรัฐอเมริกาต่อปี (Hein & Alexander, 1998) พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์กว่า 300 แห่งในสหรัฐอเมริกา และกว่าครึ่งของผู้ชมเป็นเยาวชนต่ำกว่าอายุ 18 ปี Cleaver (1992) กล่าวถึงพิพิธภัณฑ์ที่เน้นการทดลองทำ (hands-on museums) จำนวนถึง 265 แห่งที่สรัางขึ้นด้วยหลักพื้นฐานที่มองว่า “หากลงมือทำ ก็คือความคิดที่เกิดขึ้นตามด้วยเช่นกัน” (hands-on = minds-on) ปรัชญาดังกล่าวสัมพันธ์กับนักทฤษฎีหลายท่าน เช่น John Dewey, Maria Montessori, Jean Piaget, Eleanor Duckworth, and Howard Gardner พิพิธภัณฑ์เองได้รับการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อเด็กๆ เช่นเดียวกับอาคารที่จัดแสดงศิลปะ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และอื่นๆ สถานที่ที่ยกตัวอย่างมานี้อาจเรียกรวมๆ ว่า “สภาพแวดล้อมการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ” (informal learning environments - ILE) ซึ่งหมายถึงสถานที่ที่มีลักษณะเป็นชุมชน ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ สวนสัตว์น้ำ สวนสาธารณะ และสวนพฤกษศาสตร์ ILE อาจรวมถึงห้องสมุด โบสถ์ และศูนย์รวมของชุมชน หรือแม้แต่งานของชุมชน เทศกาลดนตรีและวัฒนธรรม และกลุ่มจากการรวมตัวบางประเภท ลูกเสือ และเยาวชน เพราะเหล่านี้เป็นการรวมตัวของกลุ่มคนนอกบริบทของบ้านและโรงเรียน เพื่อการสร้างประสบการณ์ร่วมกัน (Forman, Minick, & Stone, 1993; Villarruel & Lerner, 1994) บริบทที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ได้เปิดโอกาสทั้งรุ่มรวยและหลากหลายในการเรียนรู้ และแน่นอนส่งผลต่อชีวิตของเด็กๆ ข้อคิดสองประการที่ควรกล่าวถึงเกี่ยวกับ ILE ประการแรก ความยุ่งยากในการใช้ “การเรียนรู้” ในบริบทการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ เพราะจุดประสงค์มิได้อยู่ที่การได้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเสมอไป บางครั้งผู้ชมต้องการเล่น พักผ่อน และสนุกหรือการได้ออกมาพบปะผู้คน บางครั้งผลต่อเนื่องของประสบการณ์ไม่ได้เห็นอย่างเด่นชัด และยากที่ขับเคลื่อน ส่วนในบริบทอื่นๆ การเรียกรู้มักมีลักษณะการจัดการอย่างเป็นลำดับโดยครู ผู้รู้ หรือครอบครัว ด้วยเหตุนี้ การเรียนรู้ (ในความหมายทั่วไป) อาจเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ และการเรียนรู้ในความหมายเช่นนั้นไม่ใช่เป้าหมายของการอยู่ในบริบทการเรียน รู้อย่างไม่เป็นทางการ ประการที่สอง ILEs ไม่จะเป็นต้องเป็นสถานทีที่มีการจัดเตรียมหรือเป็นองค์ประกอบถาวร เพราะอาจเพียงปฏิสัมพันธ์ทางสังคม อย่างเช่น ผู้สอนมุสลิมที่สอนให้เด็กผู้ชายจดจำบางบทตอนจากคัมภีร์อังกุรอานถือได้ว่า เป็นชั่วขณะของชั้นเรียน หรือแม่ที่ช่วยลูกของเธอในการทำอาหารหรืองานครับ บรรยากาศเช่นนั้นมีลักษณะเป็นบริบทการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการด้วย ฉะนั้น ILEs จึงมีธรรมชาติของกิจกรรมทางสังคม หรือการเรียนรู้มีสถานภาพที่มากไปกว่าสถานที่เฉพาะ เราอาจสรุปว่าข้อคิดแรกคือสิ่งที่เรียกว่าการเรียนรู้ และข้อคิดที่สองคือสิ่งที่เรียกว่าสภาพแวดล้อมหรือบริบท และเป็นเรื่องยากที่จะกล่าวอย่าง “ฟันธง” ถึงความหมายของ ILEs แต่ความหมายจะต้องมากไปกว่าพิพิธภัณฑ์อย่างเข้าใจกันทั่วไป นอกจากนี้ ดังจะเห็นได้ว่าครอบครัวมองหาโอกาสของการเรียนรู้และการพักผ่อนหย่อนใจมาก ยิ่งขึ้น พวกเขาก็ใฝ่หา ILEs มากขึ้นด้วยเช่นกัน (Borun, Cleghorn, & Garfield, 1995) ทำไม? พ่อแม่หลายคู่มองว่าการเยี่ยมชมสถานที่สักแห่งเป็นประสบการณ์การศึกาของลูกๆ ในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และศิลปะ จากวัตถุจริงหรือผู้เชี่ยวชาญ ในขณะที่พ่อแม่อีกจำนวนไม่น้อยต้องการสร้างความใกล้ชิดภายในครอบครัว ด้วยการใช้เวลาร่วมกัน สร้างประสบการณ์ร่วมกัน เช่น การใช้เวลาในช่วงหยุดพักร้อนที่ควบคู่ไปกับการศึกษา และอีกหลายครอบครัวมองว่าการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์คือากรมีส่วนร่วมกับกิจกรรม ของชุมชน หรือกระทั่งมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นพลเมือง บริบทและความต้องการทบทวีมากขึ้น พ่อแม่พิจารณากิจกรรมว่าเป็นช่องทางของการส่งเสริมบุคลิกภาพ ความเหนี่ยวแน่นภายในครอบครัว หรือตัวตนทางวัฒนธรรม การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมในชิคาโก และพิพิธภัณฑ์ศิลปะสัมยใหม่นิวยอร์ก สร้างองค์ความรู้ต่างๆ ให้กับเด็กได้พอๆ กับการเยี่ยมชมเทพีเสรีภาพหรืออนุสรณ์สถานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ที่จะกระตุ้นความรู้สึกของความเป็นชาติและศาสนา ทั้งนี้ ต้องพึงระลึกว่า ไม่ใช่ว่าทุกครอบครัวจะมีค่านิยมในการใช้ประโยชน์จาก ILEs ดังที่กล่าวมาเสมอไป ครอบครัวอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่คุ้นชินกับ ILEs ในพื้นที่ หรือไม่ได้ใส่ใจต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการศึกษาของลุกๆ หรือการไม่ได้ใส่ใจต่อกิจกรรมของชุมชน กลุ่มบุคคลเช่นว่านี้คงจะเลี่ยงการเข้าชมพิพิธภัณฑ์เป็นอน่ (Hood, 1983) การวิจัยกลุ่มคนที่เลี่ยงการเยี่ยมชมแหล่งการเรียนรู้ย่อมมีความสำคัญไม่ น้อย อย่างไรก็ตาม ในบทนี้ ประเด็นของการพูดคุยจะเกี่ยวข้องกับการศึกษาในพิพิธภัณฑ์และพัฒนาการของเด็ก พร้อมไปกับการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและครอบครัวในเชิงสังคม การระลึกรู้ และการพัฒนาด้วยลักษณะต่างๆ ของสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ หรือ ILEs เป็นศัพท์ที่ยากต่อการนิยาม แต่อย่างน้อยที่สุดเราเข้าใจตรงกันได้ว่าเป็นโอกาสของการเรียนรู้ที่ไม่ เหมือนกับการเรียนในชั้นเรียนที่โรงเรียน ตัวอย่างเช่น Resnick (1987) ได้เขียนไว้ว่า การเรียนนอกโรงเรียนเป็นการพยายามสร้างความสำนึกร่วมเป็นเครื่องมือในการ สร้างชุดเหตุผลที่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ซึ่งเป็นลักษณะที่ตรงข้ามกับการเรียนรู้โดยตัวบุคคล และการเรียนรู้ที่รับทราบกันทั่วไปในโรงเรียน แต่ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในโรงเรียนหรือพิพิธภัณฑ์ ในบางครั้งบางสถานการณ์ ชุดการเรียนรู้ทั้ง 2 อย่างมีการลำดับและวางแผนไม่มากก็น้อย และมีความเป็นทางการไม่มากก็น้อยเช่นกัน ILEs จึงยากที่จะนิยาม เพราะเป็นคำที่มีความหายที่กว้างและนำไปสู่ผลที่แตกต่างกันไป การไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติสามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ (S.Kaplan, 1995) แต่สิ่งนั้นคือการเรียนรู้หรือไม่ การฝึกเนตรนารีที่ทำให้เด็กพัฒนาทักษะการจัดการและสำนึกพลเมือง แต่สิ่งนี้คือการเรียนรู้หรือไม่ (Edwards, 1994) การเข้าชมอนุสรณ์สถานเวียดนามทำให้คนจำนวนต้องเสียน้ำตา แต่สิ่งนี้คือการเรียนรู้หรือไม่ อย่างไรก็ดี ลักษณะสำคัญ 2 ประการที่จะบอกชี้ถึงความเป็น ILEs ประการแรก ILEs จะเปิดช่องทางให้ผู้เยี่ยมชมเกิดสัมพันธภาพทางสังคม วัตถุในพิพิธภัณฑ์ได้รับการเลือกในฐานะที่เป็นวัตถุที่มีคุณค่าในวัฒนธรรม หนึ่ง ไม่ว่าวัตถุจะเกี่ยวข้องกับความเป็นศิลปะ วิทยาศาสตร์ หรือประวัติศาสตร์ ในขณะเดียวกัน วัตถุเหล่านั้นย่อมสัมพันธ์กับบริบททางการเมืองและสังคม ซึ่งสะท้อนออกมาในตัวเลือกจากวัตถุทั้งความเป็นท้องถิ่นและความเป็นชาติ นอกจากนี้ ILEs ยังโน้มนำผู้ชมเข้าไปสู่ความรู้สึกถึงสำนึกทางตัวตนและการมีส่วนร่วมของ กลุ่มและค่านิยมเฉพาะกลุ่ม แต่ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนหรือพิพิธภัณฑ์ล้วนสร้างการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม ประการที่สอง ILEs เป็นสถานที่กระตุ้นให้เกิดการสำรวจและการค้นหาความรู้ การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเลือกที่จะปฏิบัติสิ่งใดหรือไม่นั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นที่โรงเรียน หากแต่ว่าบ่อยครั้งนักเรียนมักไม่มีโอกาสเลือก ในขณะที่ในพิพิธภัณฑ์ ผู้ชมมีโอกาสที่จะเลือกเส้นทางการเดินชมของตนเอง เลือกระยะของการเข้าไปมีส่วนร่วม หรือกระทั่งกลุ่มสังคมที่จะเข้าไปเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ ดังนั้น การเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์มีอิสระมากกว่าและมีการบังคับน้อยกว่าเช่นกัน ปัญหาของการกล่าวถึง ILEs สัมพันธ์กับการนิยามคำว่าการเรียนรู้ แต่ประเด็นปัญหาอีกประการหนึ่งคือ เส้นแบ่งระหว่างการเรียนรู้กับการพัฒนา การศึกษา และความบันเทิง การจดจำข้อมูลและความทรงจำต่อประสบการณ์ รวมถึงความรู้ที่ได้เพิ่มเติมและสิ่งที่งอกเงยจากการเข้าชมในครั้งนั้น แม้ว่าการจัดแบ่งประเภทต่างๆ ดังที่กล่าวจะมีความยากลำบาก แต่โดยทั่วไป ลักษณะของ ILEs เน้นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับวัตถุและประสบการณ์มากกว่าคำบรรยาย ตรงนี้อาจจะเป็นเส้นแบ่งระหว่างการเรียนที่โรงเรียนและการเรียนนอกโรงเรียน ILEs เปิดประสบการณ์ให้กับเด็กสัมผัสกับวัตถุต่างๆ และปล่อยให้เด็กวางวัตถุประสงค์ในการสำรวจ ค้นหา และเรียนรู้ด้วยตัวเด็กเอง Falk และ Dierking (1998) ชอบที่จะใช้คำว่า การเรียนรู้อย่างเป็นอิสระ (free-choice learning) ในการนิยามการเรียนอย่างไม่เป็นทางการ เพราะผู้ชมเป็นผู้เลือกและควบคุมสิ่งต่างๆ ใน ILEs Paris (1997) อธิบายการกระตุ้นการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์สัมพันธ์กับความกระตือรือร้นภายใน ลักษณะเช่นนี้กินความถึงการสร้างความหมายด้วยตนเอง การเลือก การควบคุม รวมไปถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมและการสนทนาในรูปแบบต่างๆ การปรับเปลี่ยนความท้าทายอย่างต่อเนื่อง และผลที่ได้รับ ทั้งหมดนี้มาจากประสิทธิภาพของตนเอง ณ จุดนี้ เราจะต้องกล่าวย้ำด้วยว่า แรงกระตุ้นภายในสามารถเกิดขึ้นในโรงเรียนอย่างเป็นทางการเช่นเดียวกัน วิธีการศึกษาจำนวนไม่น้อยย้ำให้ผู้เรียนตระหนักถึงสำนึกในการควบคุม ความรับผิดชอบ ความเป็นเจ้าของ และความร่วมมือต่างๆ ในสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ ตรงนี้เองเป็นจุดที่แยกให้เห็นอย่างชัดเจนระหว่างรูปแบบการเรียนรู้อย่าง เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โรงเรียนจะทำให้เด็กมีความสนใจต่อการศึกษามากขึ้น หากประยุกต์ใช้ลักษณะของILEs ดังที่ Gardner (1991) กล่าวไว้ว่า โรงเรียนจะดูเชื้อเชิญและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากได้รวบพิพิธภัณฑ์เข้าไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์ เขาได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และพิพิธภัณฑ์เด็กเป็น “แอ่งการเรียนรู้” ทั้งนิทรรศการ กิจกรรม และชิ้นงานที่ดึงเอาเด็กและเยาวชนให้เข้ามามีส่วนร่วม (p.202) โรงเรียนและพิพิธภัณฑ์สามารถประสานความร่วมมือเพื่อดึงจุดเด่นของแต่ละแห่ง มาใช้ให้เป็นประโยชน์ซึ่งกันและกัน (Paris & Ash. In press) การพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งที่คนๆ หนึ่งได้เรียนรู้จากการเยี่ยมชม ILE ซักแห่งหนึ่งต้องเริ่มต้นด้วยการบรรยายสถานการณ์และประสบการณ์ที่จะเกิดขึ้น ภายในสิ่งจัดแสดง การพรรณาการรับรู้มีความสำคัญ เพราะวัตถุแบหนึ่งก่อให้เกิดปฏิกิริยาและประสบการณ์ในแบบหนึ่ง เช่น หากผู้ชมยืนอยู่บนเรือจำลองเรือขนทาสหรือมุดอยู่ใต้เหมืองถ่านกินจำลอง ฉากดังกล่าวนำไปสู่ปฏิกิริยาทางอารมณ์ กล่าวได้ว่า สถานการณ์ได้รับการออกแบบเพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดปฏิกิริยา คุณลักษณะของสิ่งจัดแสดงและการกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาของ ILEs นำไปสู่ความรู้ที่ได้เพิ่มเติม เพราะมาจากการหลอมรวมระหว่างความรู้และปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ การหลอมรวมระหว่างการเรียนรู้และพัฒนาการในประสบการณ์นี้คือแก่นแกนสำคัญของ ทฤษฎีการเรียนรู้ที่อิงต่อสถานการณ์ (Lave & Wenger, 1991) และการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ (Rogoff, 1990) และยังสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ ILEs กับทฤษฎีพัฒนาการร่วมสมัย การศึกษา ILEs ควรสนใจมากไปกว่าการกระตุ้นและปฏิกิริยาที่ตอบสนอง การศึกษาควนกินความไปถึงการพิจารณาแรงจูงใจของบุคคลในสถานการณ์และวิธีการ ที่พวกเขาสร้างความหมาย จุดนี้เป็นการผนึกรวมระหว่างทฤษฎีทาสังคมและมานุษยวิทยาที่ว่าด้วยพฤติกรรม กับทฤษฎีการสร้างความหมายอย่างสร้างสรรค์ ตัวอย่างเช่น ทฤษฎีแรงจูงใจในเด็กร่วมสมัยมักอยู่บนพื้นฐานของการฟันฝ่าจนบรรลุผลสำเร็จ และหลีกเลี่ยงความผิดหลาด แต่แรงจูงใจเหล่านี้ผูกกับหลักสูตรและลำดับการสอนของโรงเรียน อย่างไรก็ดี การทำความเข้าใจกับแรงจูงใจที่นอกเหนือไปจากบริบทโรงเรียนช่วยให้เราเข้าใจ ต่อการเรียนรู้ของเด็กในบริบทของ ILEs ว่าเหตุใดเกจึงเลือกที่จะใช้เวลากับกลุ่มบางกลุ่ม กับกิจกรรมบางอย่าง และกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้บางอย่างที่อยู่นอกเหนือไปจากบริบท โรงเรียน เราต้องการให้ทำวิจัยบริบทของชุมชนในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น โดยก้าวข้ามบริบทของโรงเรียนและบ้าน (ครอบครัว) เพราะบริบทเหล่านี้จะนำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเรียนรู้ แรงจูงใจ และการขัดเกล่าทางสังคมที่มาจากประสบการณ์โดยตรงของเด็ก นอกเหนือไปจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและครอบครัวในพิพิธภัณฑ์ใน ช่วง 70 ปีที่ผ่านมา (ดู Hein & Alexander, 1998) แล้ว มีนักวิจัยจำนวนน้อยมากที่ให้ความสนใจกับการวิจัยที่เป็นระบบและสร้างทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องการสิ่งแวดล้อมอย่างไม่เป็นทางการ (เช่น Matusov & Rogoff, 1995; Schauble, Banks, Coates, Martin, & Sterling, 1996) หลักการสำคัญของความพยายามในการเปิดพื้นที่ใหม่นี้สัมพันธ์กับ (ก) เด็กใช้เวลาในการพักผ่อนหย่อนใจกับครอบครัวมากขึ้นใน ILEs (ข) เด็กในบริบท ILEs สัมพันธ์กับวัตถุและประสบการณ์ข้อมูลวัฒนธรรมที่จะนำไปสู่การสร้างและแบ่ง ปันความหมาย (ค) เด็กในบริบทของ ILEs มีโอกาสพบปะผู้เชี่ยวชาญ ครู ช่าง ศิลปิน และการสวมบทบาทต่างๆ สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถพบได้ในบริบทของบ้านและโรงเรียน (ง) ILEs เป็นสถานที่ที่ก่อให้เกิดการสานสัมพันธ์ของการเรียนรู้กันในครอบครัวและ ระหว่างชั่วอายุคน (จ) ILEs เป็นแหล่งที่จะสร้างทฤษฎีที่เพิ่มเติมจากทฤษฎีเกี่ยวกับกาเรียนรู้อย่างเป็น ทางการและแรงจูงใจในโรงเรียน (ฉ) ILEs ผลักดันให้เกิดการเรียนรู้กับเทคโนโลยี ด้วยการลงมือปฏิบัติและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และ (ช) ILEs สามารถส่งผลตลอดชีวิตต่อแรงบันดาลใจ ค่านิยม และความสนใจของผู้คน เราเน้นถึงพื้นที่สำหรับการวิจัยเกี่ยวกับเด็กในบริบทของ ILEs ซึ่งแสดงให้เห็นกระบวนการพัฒนาการและผลที่ได้รับเกิดขึ้นได้จากประสบการณ์ใน บริบทเหล่านี้ ขอบเขตของประเด็นในการวิจัยอาจพอแยกได้ดังนี้ (1) การเรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ (2) การเรียนรู้ที่มีการแนะแนว (3) การพัฒนาสุนทรียภาพ (4) ปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว (5) การใช้เทคโนโลยี และ (6) ประสบการณ์ส่วนบุคคลผันแปรไป   การเรียนรู้จากวัตถุ หลักการและเหตุผลของพิพิธภัณฑ์หลายแห่งคือ วัตถุสะสม ไม่ว่าวัตถุจะเกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชาการใด บุคคล หรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ แต่สิ่งหนึ่งที่พิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่มีอยู่ร่วมกันวัตถุสะสมและการจัดแสดง ซึ่งเป็นฐานความสัมพันธ์กับสาธารณชน (Carr, 1991) ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมากว่า ทำไมความใส่ใจต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กที่เกี่ยวข้อง สัมพันธ์ และผ่านวัตถุจึงมีอยู่น้อยเหลือเกิน Tudge and Winterhoff (1993) อภิปรายแนวคิดของ Vygotskian ที่ว่าด้วยธรรมชาติพัฒนาการการระลึกรู้ที่สัมพันธ์กับสังคมและวัฒนธรรม ได้กล่าวไว้ว่า “สถาบันทางสังคมและวัฒนธรรม เทคโนโลยี และเครื่องมือ เป็นช่องทางให้เห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งผลจากกิจกรรมนั้นนำไปสู่พัฒนาการของเด็กต่อกระบวนการคิดที่สูงมากขึ้น…” (p.66) การวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการมองไปที่การเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ มองหาความสัมพันธ์เบื้องต้นที่เด็กๆ ได้รับจากการเข้าไปสัมผัส แต่การพิจารณาเช่นว่านี้มองข้ามความชำนาญของเด็กต่อการมองวัตถุที่มีมากขึ้น หรือการการสร้างตรรกะระหว่างการใช้ประโยชน์และสิ่งที่ได้รับ บางครั้ง การพัฒนาความชำนาญการใจ้ารพินิจวัตถุอาจอธิบายด้วย การ “วิจักษ์” พิพิธภัณฑ์หรือการ “วิจักษ์” ภาพที่เห็น (museum literacy or visual literacy) แต่จริงแล้วมีประเด็นที่ให้พิจารณามากมาย เด็กเล่นสัมผัส พูดคุย และใช้ประโยชน์จากสิ่งของที่ให้จับต้องได้อย่างไร พวกเขาเรียนรู้วัตถุที่จับต้องไม่ได้อย่างไร เด็กใช้ความรู้พื้นเดิมมาใช้วิเคราะห์ สนทนา และตั้งคำถามเพื่อสร้างกระจ่างกับวัตถุที่อยู่ตรงหน้าอย่างไร คำตอบของคำถามคือแกนขอบเขตของการทำความเข้าใจวัตถุ (object-based epistemology) Evans, Poling and Mull อธิบายว่าแนวคิดดังกล่าวเข้ามาสัมพันธ์กับพิพิธภัณฑ์ตั้งแต่ปลายช่วงศตวรรษ ที่ 19 ความสนใจเกี่ยวข้องกับเรื่องราวธรรมชาติของวัตถุในพิพิธภัณฑ์และเรื่องราว ทางวัฒนธรรม ในส่วนแรกคือความเป็นวิชาการของพิพิธภัณฑ์ ส่วนหลังคือสถานการณ์ทางสังคมในชั้นของการตีความวัตถุ ขั้วตรงข้ามนี้ได้รับการอธิบายด้วยทฤษฎี 2 ชุดในแง่ของการสร้างความหมายหรือบริบทของวัตถุ (Lave, 1993) อาจกล่าวได้ว่า เด็กต้องเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งเรื่องราวธรรมชาติและวัฒนธรรมของวัตถุ ฉะนั้น สิ่งที่เราจ้องสนใจไม่ใช่เพียงแต่การสังเกตและการซึมซับต่อวัตถุ แต่เราจะต้องสนใจต่อวาทกรรมที่แวดล้อมวัตถุเหล่านั้นด้วย นักการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ทราบดีว่าวัตถุเป็นเพียงจุดเริ่มต้นไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ของการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ เพราะวัตถุกระตุ้นให้เกิดการคิดและการวิพากษ์ ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ วัตถุกลายเป็นนัยของความทรงจำเชิงสถาบันของเหตุการณ์ที่ผ่านมา แต่วัตถุนั้นกลับสัมพันธ์กับความทรงจำส่วนตัวที่สร้างขึ้นใหม่ในขณะนั้นเช่น กัน การพินิจพิเคราะห์วัตถุปล่อยให้ผู้ชมสร้างความทรงจำส่วนตัว และกลายเป็นเจ้าของประสบการณ์นั้น จากนั้น แบ่งปันเรื่องราวสู่ผู้อื่นๆ Gurian (1999) กล่าวว่า สิ่งที่ผมจะกล่าวต่อไปในบทความนี้ไม่ใช่การมองข้ามความสำคัญของวัตถุพิพิธภัณฑ์ และการดูแล หากแต่ผมต้องการที่จะบอกว่ามันมีสิ่งที่อยู่แวดล้อมวัตถุและมีความสำคัญเช่น กัน ทั้งเรื่องราวและวิธีการที่พิพิธภัณฑ์บอกเล่า วัตถุในฐานะที่เป็นสิ่งที่จับต้องได้ วัตถุได้เปิดโอกาสในการสร้างความหมายและกำหนดชุดความทรงจำ การครอบครองเรื่องราวจึงเป็นจุดในการพิจารณามากไปกว่าตัวชิ้นวัตถุเอง (หน้า 2) มโนทัศน์เรื่อง ราวสำคัญอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาความรู้ว่ามาจากวัตถุ เพราะนักการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ทราบเป็นอย่างดีว่าวัตถุที่จัดแสดงอาจตกอยู่ ในสภาพของข้อเท็จจริงที่อยู่บนหน้ากระดาษ การจัดแสดงวัตถุจำนวนไม่น้อยที่ออกแบบมาเพื่อนำไปสู่การสร้างเรื่องเดี่ยว ในขณะที่อักหลายแห่งได้ปล่อยให้ผู้ชมสร้างเรื่องราวของเขาและเธอที่เชื่อม โยงกับวัตถุนั้น Roberts (1997) อธิบายว่านิทรรศการที่กล่าวถึง Linnaeus (ระบบการศึกษาพฤกษศาสตร์) ณ สวนพฤกษศาสตร์ชิคาโก ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อบอกเล่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดแบ่งประเภทในทางพฤกษ ศาสตร์ แต่เป็นการเรียงร้อยเรื่องราวในการแก้ปัญหา นิทรรศการสร้างขึ้นด้วยแนวคิดของ Bruner (1986) ที่กล่าวถึงวิธีการสรางความหมายเชิงพรรณนา และให้ผู้ชมเรียนรู้ที่จะสร้างเรื่องเล่าเกี่ยวกับวัตถุด้วยตนเอง “การรู้จักที่จะสร้างความหายคือหัวใจของงานพิพิธภัณฑ์ และการบอกเล่าได้สร้างหนทางให้ก้าวแรกในการเปิดพิพิธภัณฑ์สู่ความหลากหลาย ของ “เสียง” หรือการบอกเล่า และมุมมองที่แตกต่างออกไป (p.152) เราเชื่อมั่นอย่างมากว่าการเรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุด้วยการสร้างเรื่องเป็น สิ่งที่ควรศึกษาเป็นอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมของ ILEs คำถามเกี่ยวกับการพัฒนาว่าเด็กในช่วงวัยและพื้นหลังที่ต่างกันจะสร้างเรื่อง เล่าเกี่ยวกับวัตถุไปอย่างไร การวิจัยเชิงพัฒนาการเกี่ยวกับความเข้าใจของเด็กในแง่วิชาการ คุณค่าและความหมายเชิงสุนทรียะ และพื้นที่ของคนๆ หนึ่งต่อเรื่องราว เรื่องเล่าเหล่านี้คือเส้นใยที่จะถักทอเด็กเข้าไปในเรื่องราวธรรมชาติและ วัฒนธรรมของวัตถุ ข้อมูลและการวิเคราะห์เหล่านี้จะนำไปสู่ความเข้าใจในการรับรู้และพัฒนาการ ทางสังคมของเด็ก ความอยากรู้ การรับข้อมูล และการสร้างความหมาย วัตถุในพิพิธภัณฑ์หาได้ยากและผิดแปลกไปจากชีวิตประจำวัน จึงทำให้วัตถุเหล่านั้นกลายเป็นสิ่งสะสมและทำไมพิพิธภัณฑ์ถึงเคยได้รับการ ขนานานามว่า “โถงแห่งความอยากรู้อยากเห็น” (Weil, 1995) คนโดยส่วนใหญ่เห็นด้วยว่า ILEs เป็นสถานที่ที่น่าสนใจเพราะที่เหล่านี้เก็บรักษาวัตถุที่มาจากความอยากรู้ และการสำรวจ คำถามที่เกิดขึ้นกับผู้ชมเป็นหลักฐานยืนยันได้ดี : อเวจีคืออะไร? นั่นนะศิลปะจริงๆ หรือ? ทำไมสัตว์ถึงทำอย่างนั้น? คำถามเผยให้เห็นว่าวัตถุเข้าไปกระตุ้นความอยากรู้ และกลายเป็นช่องทางให้ ILEs ใช้ความอยากรู้อยากเห็นดังกล่าวในการแนะแนวการเรียนรู้ หากกล่าวให้ถึงที่สุด พื้นฐานของการเรียนรู้เชิงการแนะแนวคือการผลักดันให้เด็กค้นหาความรู้ บางครั้งเด็กตั้งคำถาม แต่สิ่งที่เด็กได้อาจตกผลึกอยู่ภายในหรือเพิ่มมุมมองเชิงวิเคราะห์ การนำคำถามของเด็กมาเปิดเป็นประเด็น และสนทนาเกี่ยวกับวัตถุจะช่วยให้การอรรถาธิบายมีความชัดเจนมากขึ้น (Callanan, Jipson & Soennichsen, chapter 15, this volume) เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าพื้นฐานของการเรียนเชิงการแนะแนวในโรงเรียนปรากฏใน บริบทของ ILEs เช่นกัน และหากเราศึกษาบริบททั้งสอง เราจะได้ข้อมูลที่มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย เรารู้ต่อไปอีกว่าเด็กจะมีความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น ริเริ่มอยากเรียนรู้มากขึ้น เมื่อข้อมูลที่จะได้มาใหม่เชื่อมโยงกับความสนใจของพวกเขา (Renninger, 1992) ILEs เปิดโอกาสให้เด็กให้ความสนใจของตนเองผนวกเข้ากับทรัพยากรเพื่อให้ปรารถนาที่ จะสืบค้น ครูในห้องเรียนอาจพบความลำบากที่จะกระตุ้นให้เด็กอยากรู้อยากเห็นเรื่องของ เพชรและไดโนเสาร์ แต่การเข้าชมพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยากลับเปิดโอกาสนั้นมากกว่า พิพิธภัณฑ์อีกจำนวนมากพยายามสร้างประสบการณ์สำรวจและค้นหาด้วยตนเอง ผู้ชมจะเข้าไป “เล่น” กับชิ้นงาน เช่น สิ่งจัดแสดงที่โลกแห่งการสำรวจ (Exploratorium) ในซานฟรานซิสโก เชื้อเชิญให้ผู้เยี่ยมชมหรือกลุ่มผู้ชมเล็ก “เล่น” กับวัตถุ เช่น เลือกระจกแท่งผลึกที่มีรูปลักษณ์แตกต่างไปรอบๆ แหล่งกำเนิดแสง เงื่อนไขเช่นนี้ปล่อยให้ผู้ชมตัวคำถามและหาคำตอบจากการลงมือทดลอง การวิจัยที่ว่าด้วยการเรียนรู้ที่อิงกับปัญหาและวิชาการที่อิงกับการสำรวจเป็น ปัจจัยหลักที่จะทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมโดยตลอด (Blumenfeld et al., 1991; Krajcik et al., 1998) เงื่อนไขเหล่านี้ทรงพลังอย่างมากในการกำหนดลักษณะการเรียนรู้ (ก) คำถามจะหยั่งไปถึงปัญหาในโลกของความเป็นจริงที่จะกระตุ้นไปสู่การหาคำตอบ (ข) การเกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในระหว่างการสำรวจ (ค) วิธีการมากมายที่จะสาธิตความรู้และแสดงเนื้อหาวิชาการ ทั้งด้วยการสร้างวัตถุสิ่งของหรือกิจกรรมการเรียนรู้แบบอื่นๆ (ง) การใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่กระตุ้นให้คิดมากกว่าจะเป็นการให้ “คำตอบสุดท้าย” (จ) ทางเลือกบางอย่างหรือการกำหนดหัวข้อที่จะให้เรียนรู้ และวิธีการจะต้องนำไปสู่การสำรวจค้นหา (ฉ) การใช้สื่อและรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย และ (ช) การใช้เครื่องมือเทคโนโลยี Barron et al. (1998) ย้ำถึงความสำคัญของการใช้ระบบการเรียนรู้ที่เป็นการตั้งคำถาม และเปิดโอกาสในการคิดทบทวนระหว่างการค้นหา ทั้งนี้ กิจกรรมเน้นถึงการพึ่งตนเองและความเข้าใจ มากกว่าการเน้นถึงการทำกิจกรรมนั้นให้เสร็จสิ้นลงไป เราเชื่อว่า ILEs ที่จัดแสดงวัตถุและกำหนดเงื่อนไขของประสบการณ์ที่จะกระตุ้นความอยากรู้อยาก เห็นของเด็ก และสนับสนุนการเรียนรู้เชิงแนะแนว การวิจัยใน ILEs ต้องให้ข้อมูลต่อผู้ปกครองและนักการศึกษาเกี่ยววิธีการที่มีประสิทธิภาพและ รูปแบบการเรียนรู้อื่น แก่นหนึ่งของ ILEs คือวิธีการหลากหลายที่จะก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กและวัตถุ ทั้งนี้ สัมพันธภาพนี้จะเป็นไปตามความรู้และความสนใจของแต่ละคนอย่างที่ Gardner (1991) ได้กล่าวไว้ นอกจากนี้ ILEs ปล่อยให้ผู้คนเลือกสิ่งแวดล้อมที่ตนเองต้องการเข้าไปเรียนรู้ และปล่อยให้ผู้ชมเป็นนายของตัวเอง ฉ

ประวัติศาสตร์ บ้าน และอัตลักษณ์ภูมิภาค

22 มีนาคม 2556

  รัฐบาลอินโดนีเซียนำเสนอความหลากหลายทางวัฒนธรรมของหมู่เกาะในรูปแบบของการจัดแสดง เพื่อสะท้อนคามเป็นหนึ่งเดียวของชาติ Taman Mini Indonesia Indah เมืองจำลองที่สร้างขึ้นจาร์กาตา ในขณะเดียวกัน รัฐบาลท้องถิ่นได้สร้างเมืองจำลองในจังหวัดสุลาเวสีตอนใต้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวดำเนินตามแนวทางของนักวิชาการท้องถิ่น รูปแบบการจัดแสดงไม่แตกต่างไปจากเมืองจำลองที่จาร์กาตา บ้านทำหน้าที่บอกเล่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่พบในพื้นที่จังหวัด บทความจะพยายามแสดงให้เห็นถึงข้อคำนึงทางประวัติศาสตร์ที่จัดแสดงในเมืองจำลอง ทั้งของผู้สร้าง/วางแผน ผู้ที่อยู่อาศัย และใช้ประโยชน์ ผู้สร้าง/วางแผนพยายามหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุทดแทน หากกลับเน้น “ความจริงแท้” ทางวัฒนธรรมในการออกแบบ นักวางแผนใช้เมืองจำลองสะท้อนความเป็นภูมิภาคที่ผูกโยงกับความเป็นมาของพื้นที่ และอยู่ในกระแสของโลกสมัยใหม่ การแสดงออกถึงประเพณีในแบบดังกล่าวนี้แตกต่างไปจากการนำเสนอวัฒนธรรมของรัฐที่ไม่ได้ใส่ใจต่อกระบวนการวัฒนธรรมอย่างสิ้นเชิง เกริ่นนำ ในสังคมอินโดนีเซียร่วมสมัย รัฐมองความแตกต่างทางวัฒนธรรมให้อยู่ภายใต้ความสมานฉันท์แห่งชาติ ในขณะที่นโยบายรัฐกลับมีลักษณะของความขัดแย้งระหว่างความต้องการขจัดความแตกต่าง ซึ่งเป็นแนวทางของการรวมรัฐเป็นศูนย์กลาง กับการหาประโยชน์จากความแตกต่างเหล่านั้นภายใต้ความประสงค์ของรัฐ อาทิ การกล่าวถึงความสำคัญของความแตกต่างเพื่อการท่องเที่ยว และรายได้เข้ารัฐที่มาจากต่างประเทศ พิพิธภัณฑ์รัฐ (ซึ่งมีจำนวนประมาณ 140 แห่ง) พยายามแก้ไขความขัดแย้งที่กล่าวถึง เทเลอร์ (Taylor) นิยามแนวคิด nusantaraที่ปรากฏในพิพิธภัณฑ์ตามต่างจังหวัด (nusantara หมายถึงหมู่เกาะ แต่บ่อยครั้งใช้ในความหมายของชาติ) …ผู้ชมจะได้ชมลักษณะทางกายภาพ (ภูมิประเทศ) จากนั้นเป็นการเรียนรู้ความหลากหลายของพืชพรรณและสัตว์ในแต่ละเขตภูมิภาค ต่อมาพิพิธภัณฑ์นำเสนอวัตถุทางวัฒนธรรมและประวัติของแต่ละจังหวัด ในส่วนสุดท้าย ส่วนการจัดแสดง nusantaraเปรียบเทียบวัฒนธรรมท้องถิ่นในพื้นที่กับแห่งหนตำบลอื่นในอินโดนีเชีย แต่ความแตกต่างเหล่านี้ไม่ได้สร้างความแตกแยกเพราะอยู่ภายใต้อินโดนีเชียที่เป็นหนึ่ง (Taylor 1994:80-81) ภาพโดยทั่วไปนำเสนอด้วยตุ๊กตาชายและหญิงที่สวมใส่ชุดแต่งงานของวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ แต่ความแตกต่างเช่นนี้ปรากฏอยู่ภายใต้ Taman Mini Indonesia Indah(หรือเรียกได้ว่า “Beautiful Indonesia”) ในจาร์กาตา เพื่อเป็นทางออกให้กับความขัดแย้ง สถานที่ดังกล่าวในรูปแบบของเมืองจำลองจัดแสดง “เผ่าพันธุ์” หลากหลายของอินโดนีเชีย บ้านพื้นถิ่นต่างๆ ได้รับการจำลองและจัดวางอยู่รอบทะเลสาบที่ขุดขึ้นมา เกาะต่างๆ เป็นภาพตัวแทนของเกาะในดินแดนหมู่เกาะของอินโดนีเชีย การจัดแสดงวัตถุทางวัฒนธรรมและการแสดงพื้นบ้านเข้ามาเป็นสิ่งที่สร้างความสมบูรณ์ให้กับการนำเสนอ (Perberton 1994) จังหวัดสุลาเวสีตอนใต้ได้พัฒนาเมืองจำลอง “ขนาดย่อม” ของตนเอง แม้ว่าเมืองจำลองดังกล่าวจะเริ่มต้นด้วยแนวคิดของการสร้าง Taman Mini Sulawesi เนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับเกาะเพียง 4 เกาะ และขาดความสนใจต่อจังหวัดอีก 3 แห่ง จนในที่สุดเกิดเป็น “Sulawesi Selatan Dalam Miniatur” หรือ เมืองจำลองสุลาเวสีใต้ (South Sulawesiin Miniature) โดยการใช้บ้านเป็นตัวแทนชนเผ่า 4 กลุ่มหลัก (etnis) ของจังหวัดสุลาเวสีใต้ นอกจาก “ชนสี่กลุ่ม” (four etnis) ที่ได้วางแผนไว้แต่แรก เมืองจำลองยังจัดแสดงบ้าน ที่ทำหน้าที่เป็นภาพตัวแทนของอำเภออีก 23 แห่งในทำนองของ “Beautiful Indonesia” นโยบายที่มาควบคู่กับการจัดตั้งเมืองจำลองคือ กระแสของการ “สำรวจและขึ้นทะเบียน” จารีตประเพณี (inventarasasi) ด้วยกระบวนการสำรวจใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ 1980 และ 1990 ภูมิภาคต่างๆ ได้สำรวจและขึ้นทะเบียนความเชื่อและการปฏิบัติในท้องถิ่น ภายใต้โครงการของกระทรงการศึกษาและวัฒนธรรม  การดำเนินงานดังกล่าวได้สร้างชุดแบบแผนทางการของประเพณีวัฒนธรรมที่แท้ ชุดคำอธิบายนี้สร้างความแตกต่างของกลุ่มวัฒนธรรมที่ยังไม่ได้มีการสำรวจมาก่อน ในสุลาเวสีใต้กระบวนการสำรวจและขึ้นทะเบียนประเพณีที่แท้สามารถนิยามด้วย “Lagligologi”อันหมายถึงมหากาพย์ คำว่า I La Goligo อธิบายจุดกำเนิดของผู้ปกครองในยุคก่อนอาณานิคม และยังเป็นคำอธิบายสุวาเวสีตอนใต้ก่อนยุคสมัยใหม่ (นั่นหมายถึงช่วงเวลาก่อนวัฒนธรรมอิสลามและก่อนอาณานิคม) กระบวนการอธิบายประวัติศาสตร์เช่นนี้มาจากความคิดในการจัดวางลำดับเหตุการณ์ไปตามเหตุปัจจัยในแต่ละช่วงเวลา Errington (1989b) กล่าวว่าวิธีการสร้างความรู้ประวัติศาสตร์เกิดขึ้นพร้อมๆกับพัฒนาการของรัฐ-ชาติ ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมไปกับเรื่องราวของการกำเนิดรัฐ เหตุปัจจัยอีกประการหนึ่งของพัฒนาการอุทยานคือ การนำเอาวัฒนธรรมมารับใช้การท่องเที่ยว ปี 1991 ได้รับการประกาศให้เป็น “ปีการท่องเที่ยวอินโดนีเซีย” นี่เองที่เป็นตัวกระตุ้นสำคัญในการสำรวจและสร้าง “ประเพณี” ดังจะเห็นได้ว่าในปี 1990 ชาวสุลาเวสีตอนใต้เริ่มจัดงานวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว ด้วยการจัดแสดงวิถีชีวิตพื้นถิ่น ณ ย่านใจกลางเมือง Ujungpandang (Karabosi) เป็นเวลาแรมสัปดาห์ ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น (1990-1991) รัฐบาลสหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซียสนับสนุนการจัดเทศกาลอินโดนีเซียในสหรัฐอเมริกา นักแสดงและช่างหัตถศิลป์จำนวนมากจากสุลาเวสีตอนใต้เข้าร่วมงานดังกล่าวหลายสัปดาห์ หรือแม้แต่การแสดงงานต่อเรือโบราณ (perahu) ในวอชิงตัน ในปีเดียวกันนั้น อุทยานเมืองจำลองสุลาเวสีใต้เปิดตัวสู่สาธารณชน อิทธิพลการออกแบบ “Beautiful Indonesia” ปรากฏอย่างชัดเจนในรูปลักษณ์ของเมืองจำลอง ทะเลสาปที่เกาะสุลาเวสีปรากฏอยู่ตรงกลาง แผนผังอธิบายเส้นทางของรถเคเบิลให้บริการท่องเที่ยวทั่วพื้นที่ แม้ขนาดของเมืองจะย่อมกว่าก็ตามที แต่สิ่งที่สำคัญมากไปกว่านั้นคือ แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังการออกแบบอยู่ในทิศทางที่ต่างไปจาก “Beautiful Indonesia” อย่างสิ้นเชิง ความพยายามคำนึงถึงทั้งความเก่าและความทันสมัยในการออกแบบเมืองจำลองสุลาเวสีนี้เองย้ำถึงการสร้างความจริงแท้และความตระหนักเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงที่กรอบในการทำงานที่ต่างออกไป หากเราจะพูดอย่างรวบรัด อาจกล่าวได้ว่า “Beautiful Indonesia” ในจาการ์ตาคือตัวแทนการรวมอำนาจของรัฐบาลแห่งชาติ หรือการวาดภาพของประเพณีราชสำนักจนถึงการสร้างรูปแบบการแต่งกาย เมืองจำลองสุลาเวสีตอนใต้คือมุมมองที่มาจากปริมณฑล การริเริ่มโครงการมาจากนักวิชาการท้องถิ่น ทั้งนักมานุษยวิทยา นักโบราณคดี และนักประวัติศาสตร์ที่ต้องการพูดถึงประวัติศาสตร์ภูมิภาคจากมุมมองของท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์การต่อต้านลัทธิอาณานิคม มุมมองประวัติศาสตร์ไม่ได้สอดคล้องกับแนวคิดของ Pemberton ดังที่ปรากฏใน “Beautiful Indonesia” การสร้างประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นเช่นนี้เป็นเสมือนการต่อรองกับผู้ที่มีอำนาจจากส่วนกลาง เมืองจำลองสุลาเวสีตอนใต้ เมืองจำลองแห่งนี้ตั้งอยู่บนสันดอนสามเหลี่ยมของแม่น้ำ Jeneberangชานเมือง Ujungpandang(หรือที่เคยรู้จักกันในนาม Macassar) เมืองจำลองดังกล่าวสร้างในพื้นที่ที่เป็นป้อมศตวรรษที่ 17 Benteng Somba Opu ป้อมค่ายดังกล่าวเคยทำหน้าที่พิทักษ์ปากแม่น้ำ Jeneberangในขณะที่ยังคงเป็นศูนย์กลางของราชวงศ์ Goaเรียกได้ว่าเป็นเมืองท่าสำคัญในแผ่นดินตอนใต้ จนกระทั่งชาวดัตช์เข้ามามีอิทธิพลการค้าและยึดเมือง Macassar ได้ในที่สุดเมื่อปี 1669 ด้วยความช่วยเหลือของผู้ปกครองทางเหนือของชาวบูกี (Buginese) แห่งนคร Bone and Soppeng ป้อมค่าย Benteng Somba Opuอันหมายถึง “นครหลวงที่ป้องกันอย่างแน่นหนา” เป็นที่มั่นสุดท้ายในการสู้รบ เมื่อมีการทำสนธิสัญญา ป้อมค่ายนี้ได้รับการตกลงให้คงสภาพไว้ แต่หลังจากนั้นเพียง 2 ปี ป้อมค่ายกลับถูกทำลายด้วยกระบวนการต่อต้านของชาว Macassar และสัมพันธมิตร เลียวนาร์ด อันดายา (Leonard Andaya) บันทึกไว้เมื่อปี 1981 ว่า สงครามในครั้งนั้นยังคงเป็น “ความขื่นขม” สำหรับชาว Macassar เพราะอาณาจักรของอินโดนีเซียแท้กลับถูกทำลายด้วยชนอินโดนีเซียอื่นที่เข้าข้างชาวตัตช์หรือผู้ล่าอาณานิคม (1981:2) ในการประเมินประวัติศาสตร์ภายหลังอิสรภาพ และการเสาะหาวีรบุรุษแห่งชาติ ชาวบันกีและมากาซซาร์ได้โต้เถียงกันมาตลอดว่าระหว่างสุลต่านฮาซานุดดิน(Sultan Hasanuddin) แห่งเกา (Goa)กับ อารุง ปาลักกา (Arung Palakka) แห่งเมืองโบน-โซปเปง (Bone-Soppeng) ใครคือวีรบุรุษที่แท้ของอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตามนครสุดท้ายฮาซานุดดินได้รับการบูรณะและปรับปรุงเป็นอุทยานวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของสุลาเวสีตอนใต้ วิธีการจัดการโบราณสถานแห่งนี้มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย กำแพงเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ได้รับการขุดค้นและสร้างขึ้นใหม่ ในขณะที่ส่วนอื่นๆ ยังคงสภาพตามที่ได้พบครั้งแรก เพื่อสะท้อนให้เห็นความเสียหายจากสงครามกับชาวดัตช์ ลักษณะเช่นนี้ต่างออกไปจากแหล่งประวัติศาสตร์อื่นๆ ของอินโดนีเซียที่เป็นการสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด ดังเช่นบุโรพุทโธ นักโบราณคดีซ่อมแซมโบราณสถานด้วยความระมัดระวังให้สอดคล้องตามงานช่างที่ปรากฏ ป้อมค่ายพยายามสะท้อนวัฒนธรรมดั้งเดิมในรูปแบบของบ้านเรือนและการตีความอื่นๆ ที่ผูกโยงอดีตเข้ากับปัจจุบัน สภาพทั่วไปแสดงนัยของการเข้าสู่ยุคใหม่ของสุลาเวสีตอนใต้ สุลาเวสีจึงไม่ใช่ดินแดนที่เป็นเอกเทศอีกต่อไป แต่เป็นดินแดนที่เป็นอิสระในเครือข่ายการค้าและการพาณิชย์ของโลกสมัยใหม่ นอกจากนี้ อุทยานยังเสริมความรู้เกี่ยวกับอาณานิคมในอดีต พิพิธภัณฑ์เป็นศูนย์กลางจัดแสดงตึกอาณานิคมที่จำลองอย่างที่เรียกว่า “ทุกกระเบียดนิ้ว” อาคารดังกล่าวเป็นเรือนพักของข้าหลวงชาวดัตช์ เทคนิคการก่อสร้างสะท้อนความเป็นท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ตั้งชื่อตามปราชญ์กาเรียง ปาตติงกาโลงแห่งตาลโล (Karaeng Pattingaloang of Tallo) พันธมิตรหลักของแผ่นดินเกา (Goa) เขามีชื่อเสียง ทั้งการใช้ภาษายุโรปหลายภาษาและการทำสนธิสัญญาระหว่างเกาและพันธมิตรและประเทศมหาอำนาจต่างชาติ ในปัจจุบัน ป้อมค่ายยังคงกำแพงหลักไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายของขอบเขต ส่วนพื้นที่ด้านในอุทยานประกอบด้วยบ้านจำลองตามลักษณะของวัฒนธรรมชนเผ่า 4 กลุ่มใหญ่ (etnis) และพิพิธภัณฑ์กาเรียง ปาตติงกาโลง และหอประชุมใหญ่และพื้นที่สำหรับการแสดง หรือบารุงกา ซอมบา โอปู (Baruga Somba Opu) ทางเข้าอุทยานเป็นสะพานเชื่อมเหนือแม่น้ำเจเนเบรัง (Jeneberang River) ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมต่อกับพื้นที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวในบริเวญอูจุงปานดัง (Ujungpandang) เมื่อข้ามไปด้านใน คุณจะผ่านพื้นที่นิทรรศการที่ประกอบด้วยกระท่อมเล็กๆ (ที่ไม่ได้มีลักษณะเฉพาะทางสถาปัตยกรรมมากนัก) กลุ่มเรือนดังกล่าวเป็นส่วนการปกครองของรัฐบาล กองกำลังทหาร มหาวิทยาลัยท้องถิ่น และอื่นๆ จากนั้น ส่วนอยู่รอบนอกแสดงบ้านเรือนดั้งเดิมที่มาจากพื้นที่การปกครองย่อยหลายแห่งในสุลาเวสีตอนใต้ อาคารเหล่านี้นำเสนอความเป็นภูมิภาคมากกว่ากลุ่มทางวัฒนธรรม (etnis) เรือนที่จัดแสดงสะท้อนความหลากหลายของบ้านในพื้นที่อิสลามของสุลาเวสีตอนใต้ บ้านที่คัดเลือกมาจัดแสดงในอุทยานดูจะมีลักษณะเกี่ยวพันกับอำนาจเหนือธรรมชาติที่คล้ายคลึงกัน ส่วนการจัดแสดงดังกล่าวสะท้อนความหลากหลายของลักษณะปลีกย่อยของอาคาร แต่มีโครงสร้างหลักร่วมกัน รวมถึงการสะท้อนความแตกต่างของอาคารที่ตั้งอยู่ใจกลางอุทยานภายในป้อม ความหมายของ “ความเป็นดั้งเดิม” ดูจะไม่ทันสมัย บางสิ่งที่เป็นของหมู่บ้าน แต่ไม่ใช่ศูนย์กลางเมืองสมัยใหม่ ลักษณะเช่นนี้ตรงข้ามกับความจริงแท้ทางประวัติศาสตร์ จากบ้านของส่วนการปกครองย่อย เป็นที่ตั้งของหอศิลป์ที่สร้างขึ้นใหม่ โดยอาศัยคุณลักษณะสมัยใหม่ที่แตกต่างกัน มีส่วนที่เป็นเรือนชานและจตุรัสตรงกลางสำหรับการแสดงทางวัฒนธรรม พื้นที่ภายนอกกำแพงนี้เชื่อมโยงกับพื้นที่ตลาดศิลปะหรือปาซาร์ เสนี (Pasar Seni) เมื่อเดินต่อเข้าไปในป้อม คุณผ่านแถวบ้านที่มีขนาดเล็กและมีลักษณะการก่อสร้างที่เหมือนกัน ผนังรอบไม้ไผ่ ด้านหน้าเป็นไม้ และมุงหลังคาด้วยหญ้า กลุ่มอาคารดังกล่าวได้รับเงินสนับสนุนจากกระทรวงพัฒนาสังคม และเป็นเรือนพักของชาวบ้านที่ย้ายจากภายนอกป้อม เนื่องจากการเวนคืนที่ดินในการทำทางเข้าสู่อุทยาน ขนาดและรูปแบบบ้านที่ธรรมดานี้เปิดทางให้กับการจัดแสดงหลักของอุทยานที่นำเสนอวัฒนธรรม 4 กลุ่ม (etnis) ส่วนการจัดแสดงจะเน้นขนาดที่ใหญ่และเป็นการจำลองบ้านของผู้ปกครองและพ่อค้า ส่วนในของอุทยานใช้เส้นทางการชมด้วยถนนสายหลักที่มีการปลูกต้นปาล์มสลับกับทุ่งนาที่ยังคงมีการเพาะปลูก สะพานเป็นจุดเชื่อมทางเข้าไปในพื้นที่ส่วนใน และป้ายบอกทางสลักไว้ว่า Kawasan Rumah Adat(ส่วนจัดแสดงบ้านแบบดั้งเดิม/ประเพณี) ประกอบด้วย 4 กลุ่มวัฒนธรรมของสุลาเวสีตอนใต้ มากาสซาร์ (Macassar) บูกิส (Bugis) แมนดาร์ (Mandar) โตรายา (Toraja) Etnisยังคงเป็นคำที่ไม่ได้รับการบัญญัติ แต่เป็นคุณศัพท์ “ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสังคมหรือระบบวัฒนธรรมหรือสังคม ซึ่งมีความหมายหรือสถานภาพที่มาจากการปฏิบัติสืบเนื่อง ศาสนา หรือภาษา” ในอุทยาน Etnisใช้ในลักษณะที่เป็นคำนาม ซึ่งหมายถึงกลุ่มเฉพาะ หรืออย่างที่คาน (Kahn) เอ่ยถึงกรอบความคิดทางมานุษยวิทยาที่ว่าด้วยกลุ่มเฉพาะที่มีอัตลักษณ์ของตนเอง และแตกต่างไปจากกลุ่มสังคมอื่น ทั้งนี้ มาจาก “หน่วยวัฒนธรรม” (bits of culture) ที่บอกได้อย่างชัดเจน แนวคิดของการแบ่งกลุ่มสังคมวัฒนธรรมทางตอนใต้ของสุลาเวสีเป็น 4 กลุ่มพัฒนาขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970 ตัวอย่างเช่นเอกสารชิ้นหนึ่งที่พิมพ์ขึ้นในทศวรรษ 1970 ของกระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรม กล่าวถึงกลุ่มต่างๆ ในลักษณะที่พัฒนามาจาก “หน่อ” (rumpan) เดียวกันเฉกเช่นไผ่ แต่ละกลุ่มแยกย่อยออกไปแต่มีหน่วยที่ร่วมกันบางอย่าง อย่างไรก็ตาม เอกสารอีกชิ้นหนึ่งเมื่อปี 1985 จากหน่วยงานเดียวกันกลับกล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ 4 กลุ่มหรือ 4 suku bangsa utama ในช่วง 2 – 3 ทศวรรษมานี้ ทางการสร้างชุดอธิบายความแตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ 4 กลุ่มนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ตำแหน่งของการจัดวางบ้านจำลองยังสัมพันธ์กับลำดับความสำคัญของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสี่ เช่น บูกิสหันหน้าชนกับโทรายา เพื่อย้ำความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน แมนดาร์ตั้งใกล้กับมากาสซาร์ เพื่อบ่งบอกความสัมพันธ์ทางการเมืองที่มีมาแต่เดิม และเหนืออื่นใดแมนดาร์และมากาสซาร์ถูกจัดเป็นส่วนย่อยของบูกิสไปในขณะเดียวกัน ภายในส่วน Kawasan Rumah Adatปรากฏรูปแบบบ้านที่แตกต่างตามที่พบได้ในโทราจา“imposing, curving roofs atop an up-swept ridge pole”รวมถึงบ้านหลังคาทรงสูงที่เป็นของมุสลิม ดังที่ปรากฏในบูกิส มาคาสซาร์ และแมนดาร์ แม้ว่า “Beautiful Indonesia” จะเป็นเมืองจำลอง แต่ความยิ่งใหญ่กลับเป็นฉายานามของสุลาเวสีใต้ หรืออย่างน้อยที่สุดคุณศัพท์ดังกล่าวสามารถนิยามส่วนใจกลางของ Kawasan Rumah Adatเปมเบอร์ทัน (Pemberton) กล่าวถึงการจำลอง “BeautifulIndonesia” ไว้ว่า สถานที่แห่งนี้เป็นประหนึ่งอินโดนีเซียในอุดมคติ สถานที่อันสมบูรณ์ของการนำเสนอวัฒนธรรมด้วยการมองจากระยะไกล (1994:153)ในขณะที่สจ๊วร์ต (Stewart) แสดงความเห็นเกี่ยวกับการใช้เมืองจำลองในการกล่าวถึงประวัติศาสตร์ “สำหรับหน้าที่พื้นฐานของการจำลองคือการนำเหตุการณ์ประวัติศาสตร์กลับมามีชีวิตโดยปราศจากสื่อกลาง แต่นั่นกลับเป็นการลบประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์ และปล่อยเราให้จมอยู่กับสิ่งที่ปรากฏในปัจจุบันขณะ” (Stewart 1993:60) บ้านต่างๆ ใน Kawasan Rumah Adatมาจากความพยายามในการจำลองบ้านแบบเดิมให้ถูกต้องมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านขนาดใหญ่ของผู้ปกครอง คหบดี และพ่อค้า ในสุลาเวสีใต้ บ้านเป็นเครื่องหมายสำคัญของการจดช่วงชั้นและสถานภาพ ขนาดของบ้านเป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายอย่างยิ่ง บ้านที่แสดงฐานะทางสังคมที่แตกต่างขึ้นอยู่กับจำนวนเสาเรือน จำนวนฝาเรือน จำนวนของขั้นบันได หรือตำแหน่งของส่วนขยายเรือน (โปรดดู Robinson 1993) ขนาดของบ้านที่ใหญ่โตเมื่อเปรียบเทียบกับชาวบ้านทั่วไปเป็นเครื่องหมายสำคัญที่บ่งบอกฐานะช่วงชั้นทางสังคมในสุลาเวสีตอนใต้ ปราสาทของของชนชั้นสูงประกอบด้วยเครื่องทรงศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งย้อนกลับไปในสมัยก่อนอิสลาม เครื่องทรงเหล่านั้นเป็นสัญลักษณ์ของราชอำนาจ บ้านกำหนดพฤติกรรมของผู้ที่เข้าหา เพื่อการแสดงออกที่เหมาะสม เช่น จำนวนขั้นบันไดจะเป็นเลขคี่ เพื่อให้ผู้มาเยือนก้าวเท้าที่ถูกต้องเข้าสู่เคหสถาน ครั้นเมื่อเข้าสู่ชายคาเรือน ผู้เยี่ยมเยือนจะนั่งบน tampingเป็นเฉลียงที่อยู่ระดับต่ำกว่าพื้นห้องรับรอง (ชานเรือน – ผู้แปล) ผู้เยือนจะเข้ามาในบริเวณดังกล่าวเมื่อได้รับการเชื้อเชิญ ด้วยเหตุนี้เอง ตำแหน่งของผู้เข้าเยี่ยมจะอยู่ต่ำกว่าผู้ที่เป็นเจ้าของเรือน ผู้วางแผนเมืองจำลองในสุลาเวสีใต้ประกอบด้วยนักวิชาการหลายสาขา นักมานุษยวิทยา นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี และสถาปนิก โดยได้รับการแต่งตั้งจากผู้ปกครองเพื่อการสร้างบ้านที่เป็นตัวอย่างของ 4 ชาติพันธุ์ในสุลาเวสีใต้ นักวิชาการพยายามอย่างมากที่จะแสดงความจริงแท้ของวัฒนธรรม ความจริงแท้ที่ปรากฏอยู่ตามอาคาร อย่างไรก็ตาม ปัญหาบางประการเกิดขึ้น เพราะในช่วงปี 1950 – 1965 กบฎอิสลามได้จับกุมชาวบ้านและรื้อหรือเผาทำลายบ้านขนาดใหญ่ของคหบดี ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของศักดินา ผู้อำนวยการของอุทยาน (ในฐานะนักมานุษยวิทยาและนักประวัติศาสตร์) ได้พยายามซื้อบ้านที่ผุพัง เพื่อย้าย บูรณะใหม่ และนำมาจัดแสดง แต่การเจรจากับเจ้าของกลับไม่ประสบความสำเร็จ เขาได้จ้างให้สถาปนิกคัดลอกทุกรายละเอียดของตัวอาคาร อาทิ บ้านวาโย (Wajo House) ซึ่งเป็นเรือนที่มีความสวยของพ่อค้าชาวบูกิส เจ้าของคนปัจจุบันปฏิเสธที่จะขายบ้านแม้สภาพจะแย่เต็มที เพราะบางบ้านมีผู้พำนัก นั่นคือ วิญญาณของสุนัขที่คุ้มครองครอบครัวของเขา ฉะนั้นหากเราพิจารณาถึงทัศนคติในการทำงานของผู้อำนวยการ เราจะเล็งเห็นต้นขั้วของความพยายามในการพัฒนาอุทยานพิพิธภัณฑ์ที่คงบริบททางประวัติศาสตร์ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นทัศนคติในยุคใหม่ต่อการอนุรักษ์อดีต ตามแผนดั้งเดิมในการพัฒนาอุทยาน คณะกรรมการมีทุนในการสร้างบ้านจำนวน 4 หลัง (แต่ละหลังนำเสนอ/เป็นตัวแทนแต่ละกลุ่มหรือ etnis) และส่วนพิพิธภัณฑ์และอาคารขนาดใหญ่เพื่อการประชุมและการแสดง (the Baruga) Macassarese นำเสนอด้วยบ้านขนาดใหญ่ทีสร้างขึ้นโดยช่างจากพื้นที่คายัง[1] (Kajang)บ้านของพ่อค้าวาโย (Wajo) เป็นตัวแทนของชาวบูกิส (Bugis) และชาวโตรายา (Toraja) นำเสนอด้วยบ้านจำลองขนาดใหญ่ หรือที่เรียกว่า tongkonanในตำบลตานา โตรายา (Tana Toraja)  ส่วนภูมิภาคมานดาร์ (Mandar) กลับไม่ปรากฏบ้านที่มีลักษณะเฉพาะ เพราะการเกิดจลาจลขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวหลายต่อหลายครั้ง นักพัฒนาอุทยานแก้ปัญหาด้วยการใช้ Lontara หรือสมุดใบลานที่บันทึกความรู้ต่างๆ ก่อนยุคอาณานิคม สมุดนี้เป็นข้อมูลสาแหรกอ้างอิงอำนาจของชนชั้นปกครอง นักพัฒนาเหล่านั้นนำเอาเนื้อหาภายในมาประยุกต์ใช้ในการสร้างบ้านจำลองของชนชั้นปกครอง[2] ที่พำนักของชนชั้นสูงที่สร้างขึ้นกลายเป็นตัวแทนของศูนย์กลางการจัดช่วงชั้นทางสังคม เครื่องสูงภายในเรือนเป็นศูนย์รวมอำนาจของวิญญาณและพลังจักรวาล ด้วยเหตุนี้ สมุดใบลานจึงเป็นแหล่งอ้างอิงความจริงแท้ในสายสัมพันธ์ต่ออำนาจที่มีมาแต่อดีต และการบอกว่าสิ่งใดเป็นประเพณี การสร้างความชอบธรรมดังกล่าวกลายเป็นวิธีการในการสร้างความจริงแท้ไปกลายๆ บ้านในพื้นที่ คาวาซาน รูมาห์ อาดาท์ (Kawasan Rumah Adat) สร้างขึ้นโดยช่างฝีมือจากภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง ช่างยังคงยึดเทคนิคการก่อสร้างแบบเดิมและยังคงปฏิบัติพิธีกรรมให้ถูกต้องตลอดขบวนการก่อสร้าง สิ่งที่ผิดเพี้ยนไปจากขนบปฏิบัติได้แก่ การสร้างอาคารจากพิมพ์เขียวที่จัดเตรียมโดยสถาปนิก แต่ยังคงยึดความถูกต้องของบ้านที่จำลองมา ดังในกรณีของมานดาร์และโลนตารา ในขณะที่การสร้างปราสาทโซโลของพื้นที่ชวาตอนกลาง ซึ่งถูกเพลิงไหม้เมื่อ 1989 รูปแบบดั้งเดิม (asli) ของอาคารกลับแทนที่ด้วยเทคนิคสมัยใหม่(Pemberton 1994:185) เช่น เสาไม้ถูกแทนที่ด้วยเสาคอนกรีต ในอุทยานสุลาเวสีตอนใต้ เราพยายามใช้เทคนิคดั้งเดิม รวมไปถึงการปฏิบัติพิธีกรรมที่ถูกต้อง การดำเนินการเช่นนี้ช่วยสนองวิญญาณของไม้และ “วิญญาณ” ของเรือน (see Errington 1989a:74-5) ความจริงแท้ : ประเพณีประดิษฐ์ซ้ำ เรือนดั้งเดิม 4 หลังจากพื้นที่คาวาซาน รูมาห์ อเดท์ (Kawasan Rumah Adat) สร้างขึ้นจากกองทุนของรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์และหอประชุม เหล่านักวิชาการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาอุทยานให้สอดคล้องกับแนวคิดที่พวกเขาได้ตั้งไว้ นอกจากนี้ ในขั้นตอนการก่อสร้าง แต่ละตำบลได้รับการร้องขอให้บริจาคบ้านหนึ่งหลังเพื้อเป็นตัวแทนประเพณีของภูมิภาค ด้วยการออกจดหมายถึงรัฐบาลท้องถิ่นในปี 1990 กระทรวงการท่องเที่ยวเสนอแผน ด้วยการให้ภูมิภาคต่างๆ สร้างบ้านตามแบบการก่อสร้างพื้นๆ และใส่รายละเอียดการตกแต่งที่แตกต่าง แผนของกระทรวงการท่องเที่ยวต่างไปจากแนวคิดของผู้ริเริ่มอุทยานโดยสิ้นเชิง ยุทธวิธีการสร้างบ้านตาม “แบบแผน” ของรัฐบาลแห่งชาติแสดงให้เห็นถึงการมองประวัติศาสตร์แบบรวบ มากกว่าการสดุดีความหลากหลาย แต่เพื่อให้การทำงานปราศจากความขัดแย้ง คณะกรรมรับผิดชอบการสร้างอุทยานรวมกลุ่มบ้านประเภทที่ “ไม่จริงแท้” (unauthentic) ไว้ในพื้นที่ที่แยกออกไป โดยให้ชื่อว่า Kawasan Rumah Tradisional(ที่ตั้งของบ้านแบบประเพณี – Location for Traditional Houses)พื้นที่ดังกล่าวตั้งอยู่ภายนอกกำแพงเบนเตง โซมบา โอปู (Benteng Somba Opu) ตำบลหลายแห่งตอบรับต่อการบิดเบือนข้อกำหนดของกระทรวงการท่องเที่ยว การสร้างความจริงแท้มาจากการจำลองบ้านที่มีตัวตนจริงทางประวัติศาสตร์ เรือนเหล่านั้นจะอยู่ในเขตกำแพงรายล้อมไปกับเรือน 4 หลังที่เป็นตัวแทนของกลุ่มสังคม (etnis) และใช้ชื่อเรียกขานที่ต่างออกไปว่า Kawasan Rumah Adatหรือสถานที่สำหรับบ้าน อาดาท (adat หมายถึงขนบหรือประเพณี) ใน “บิวติฟูล อินโดนีเซีย” ที่จาการ์ตา Rumah Adatหมายถึงเรือนที่เลียนแบบของจริง โดยส่วนมากพบในลักษณะจำลอง ส่วนในสุลาเวสีใต้ กลับหมายถึงบ้านที่จริงแท้มากที่สุดในแง่ของการถอดแบบจากวัตถุที่มีอยู่จริงในอดีต ในขณะที่ Rumah Tradisionalกลับหมายถึงบางสิ่งที่เรียบเคียงอดีตมาใช้ในปัจจุบัน แต่กลับมีลักษณะพื้นๆ (โครงไม้ที่รองรับพื้นและหลังคา ระเบียงด้านหน้า หน้าต่าง 3 บานด้านหน้าพร้อมบานเกล็ดไม้ ความแตกต่างระหว่าง adat (ซึ่งหมายถึงประเพณี – tradition) และ tradisional อยู่ที่การสร้างความเชื่อมโยงกับอดีต ในบริบทของอุทยานสุลาเวสี คำยืม tradisional มีคุณค่าทางวัฒนธรรมน้อยกว่า adat เออริงตัน (Errington) ให้ความเห็นดังนี้ “การคิดค้นรัฐ-ชาติสร้างจุดเปลี่ยนความสัมพันธ์ของชุมชนกับสิ่งต่างๆ และกับอดีตของตนเอง” (1989b:51) สิ่งต่างๆ ที่หมายถึงในที่นี้เป็นช่องทางให้เราสร้างความสัมพันธ์กับอดีต เรื่องราวชีวิตของวัตถุโดยเฉพาะวัตถุที่เข้าไปเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์ สามารถเปลี่ยนแปลงความหมายไปได้อย่างมาก นั่นอาจจะหมายถึงเจ้าของวัฒนธรรมไม่สามารถควบคุมความหมายของสิ่งของนั้น (see Errington 1989b:56) บ้านที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ส่วนกลางของอุทยานเป็นกลุ่มวัตถุพิพิธภัณฑ์ที่แปลก บ้านเหล่านั้นยังคงคุณค่าความจริงแท้ (โดยเฉพาะคุณค่าทางวัฒนธรรม) เพราะสภาพของการก่อสร้าง ความถูกต้องในเทคนิคและขบวนพิธี (บ้านขนาดใหญ่คือสินทรัพย์ที่ศักดิ์สิทธิ์) การสร้างบ้านมานดาร์ข้ามเวลามีพลังอย่างมาก แม้ว่าบ้านดังกล่าวจะสูญหายไปจากความทรงจำร่วม แต่บ้านที่สร้างขึ้นใหม่นี้เผยสิ่งที่ซ่อนเร้นจากสาธารณชน เมื่อบ้านมีตัวตนขึ้นจริง บ้านนั้นกลายเป็นสัญลักษณ์เหนืออดีตของสิ่งใหม่ที่สร้างขึ้น นั่นคือ ตัวตนของมานดาร์ (Mandar identity) รูมาห์ มานดาร์ (Rumah Mandar) ไม่ได้มีสถานภาพเป็นวัตถุที่นำกลับมาสู่โลกปัจจุบัน หรือหมายถึงวัตถุที่เหลือรอดข้ามกาลเวลา แต่เป็นวัตถุที่อยู่เหนือความทรงจำประวัติศาสตร์ วัตถุที่สร้างขึ้นจากอดีตด้วยภาพที่เกี่ยวข้อง ในกระบวนการสร้างช่างให้ความระมัดระวังกับ “ความจริงแท้” ทั้งการใช้เทคนิคและพิธีกรรมที่เชื่อมโยง เช่น การเลือกตำแหน่งของเสากลาง ซึ่งเปรียบเสมือนจุดยึดเหนี่ยวลำนาวาชีวิตมนุษย์ (see Errington 1989a) หรือการแก้ปัญหาเชิงเทคนิคการตั้งเสาขนาดใหญ่ของโครงไม้ เพมเบอร์ตัน (Pemberton) อธิบายถึงพิพิธภัณฑ์ที่ “บิวติฟูลอินโดนีเซีย” ในฐานะที่เป็นทางเชื่อมระหว่างอดีตและอนาคตในปัจจุบันด้วยกระบวนการที่แบนราบคือ มีเพียงวัตถุใหม่เท่านั้น (1994:169) ในแนวคิด nusantaraเนื้อหาเริ่มด้วยการนำเราไปรู้จักกับภูมิศาสตร์โดยรวมของอินโดนีเซีย จากนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ และปิดท้ายด้วยสังคม (see Taylor 1994) เรื่องราวเกี่ยวกับสังคมนำเสนอด้วยภาพวาดขนาดใหญ่ของคู่บ่าวสาวที่แต่งกายชุดชวา แต่มีแขกที่มาร่วมจากทั่วทุกภูมิภาค (เราสังเกตจากเครื่องแต่งกายที่แตกต่างกัน) (Pemberton 1994) ในทางตรงข้าม พิพิธภัณฑ์ในเมืองจำลองของสุลาเวสีมีวัตถุที่ได้จากการขุดค้น อิฐจากป้อม โดยมากเคยเป็นส่วนประกอบของสูตรและตัวอย่างของจารึกมากาสารีสช่วงต้น สิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวันเช่นหม้อทำกับข้าวและหม้อต้มปลา และอาวุธ ลูกปืน และลูกปืนใหญ่ การจัดแสดงยิ่งย้ำถึงความรุนแรงด้วยการแสดงให้เห็นถึงความหายนะของกำแพงป้อมค่าย ภาพวาดที่ห้อยอยู่บนเพดานด้วยการมองภาพจากกระจกเป็นวัตถุชิ้นสำคัญ ภาพดังกล่าวเป็นการสำเนาภาพวาดป้อมค่ายของดัตช์ ฉะนั้น แทนที่พิพิธภัณฑ์จะลบเลือนอดีต หรือทำอดีต ปัจจุบัน และอนาคตให้แบนราบ พิพิธภัณฑ์กลับต้องเคารพต่ออดีตและนำมาสู่ปัจจุบัน จากที่กล่าวมาทั้งหมด อุทยานสุลาเวสีใต้ใช้เวลาเชื่อมต่ออดีตกับปัจจุบัน อุทยานเสนอประวัติศาสตร์จริงแท้ของสุลาเวสีใต้เรื่องหนึ่ง ซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดของการสร้างความกลมกลืน (homogenising definitions) ด้วยนิยามรัฐชาติ สถาปัตยกรรมของหอประชุม (Baruga) “อ้างอิง” จากรูปแบบดั้งเดิมของวิธีการก่อสร้างและขนาดอันใหญ่โตมโหฬารชวนให้ระลึกถึงปราสาทต่างๆ ในอดีต แม้ว่าสถาปนิกจะถอดแบบมาจากปราสาทด้วยการสร้างจั่ว 5 ตำแหน่งรองรับหลังเส้นหลังคา แต่จั่ว 3 ใน 5 นั้นเปิดรับผู้คนเข้าสู่ตัวอาคารด้วยความสบายใจ คือทำให้เป็นสถานที่เพื่อประชาชนมากขึ้น ขนาดของหอประชุมเป็นที่ประทับใจของผู้ชมชาวอินโดนีเซียอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากการถ่ายภาพกับบารูกาเป็นที่ระลึก อุทยานนำเสนอมุมมองเชิงวิชาการที่ไม่ได้ทิ้งมุมมองของคนทั่วไป การสร้างมุมมองประวัติศาสตร์แบบเดี่ยวไม่สามารถคงอยู่ได้เมื่อเผชิญกับมุมมองเชิงแข่งขัน ดังเรื่องราวของการเปรียบเทียบกาวาซา รูมาห์ (Kawasan Rumah) แม้ว่าผู้ที่สร้างอุทยานจะเห็นว่าส่วนสถานที่ตั้งบ้านดั้งเดิม (Kawasan Rumah Adat) เป็นส่วนที่มีแสดงความคิดทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมากที่สุด แต่ความผิดเพี้ยนยังคงเกิดขึ้นอยู่เนืองๆ ตัวอย่างเช่นบ้านที่เป็นตัวแทนของตำบลลูวู (Luwu) ไม่ได้มาจากการจำลองบ้านของลูวูที่มีอยู่จริง แต่เป็นมุมมองของผู้รู้ชาวลูวูทีทรงอิทธิพลต่อปราสาทลูวูที่ควรเป็น อาคารขนาดใหญ่ 2 หลัง (ครัวและเรือนหลัก) เชื่อมกันด้วยทางเดินที่มีโครงสร้างด้านบนเฉกเช่นสัญลักษณ์ของผู้ปกครองลูวู หรืออาจหมายถึงเขาพระสุเมรุตามตำนานฮินดู อันเป็นที่สถิตย์ของอำนาจศักดิ์สิทธิ์ เอกลักษณ์ของบ้านดังกล่าว หากเปรียบเทียบกับบ้านที่มาจากพื้นที่อื่น จะแสดงให้เห็นความคิดของลูวูที่เน้นความเป็นศูนย์กลาง แนวคิดนี้คือจุดกำเนิดขนบประเพณีสุลาเวสีใต้ที่เฉพาะ (ซึ่งได้รับอิทธิพลจากอินเดีย) บางทีอาจกล่าวได้ว่า การมองเช่นนี้บ่งชี้ “ความจริงแท้” ได้อีกทางหนึ่ง นั่นคือ อำนาจชอบธรรมของผู้รู้ที่จะนิยามว่าสิ่งใดคือประเพณีที่จริงแท้ การนิยามประเพณีเป็นได้อย่างชัดเจนจากการสร้างแบแผนเดี่ยวใน Kawasan RumahTradisional และกระบวนการสร้างสถาปัตยกรรมด้วยการตกแต่งให้เกิดความแตกต่างของแต่ละภูมิภาค ข้าพเจ้าเดินทางมาถึงอุทยานหลังจากการเดินทางเยือนเกาะซีเลยาร์ (Selayar) บนเกาะแห่งนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นบ้านเก่ามากมายที่เหลือรอดจากยุคจลาจลอิสลามดารูล (Darul Islam Rebellion) อย่างไรก็ตาม บ้านบนเกาะที่ปรากฏใน Kawasan RumahTradisional ไม่มีลักษณะเหมือนกับบ้านที่ข้าพเจ้าได้เห็นเลย หรือไม่เหมือนแม้กระทั่ง “บ้านจำลอง” ที่สร้างขึ้นในพิพิธภัณฑ์โดยรัฐบาลท้องถิ่นบนเกาะนั้น บ้านสร้างขึ้นจากการออกแบบมาตรฐานแต่ตกแต่งด้วยไผ่ ภายใน ห้องด้านหน้าเป็นพื้นที่ขอ

จดหมายเหตุเสียงที่พิพิธภัณฑ์เขตหก: งานที่ต้องเดินหน้าต่อไป

22 มีนาคม 2556

แอฟริกาใต้เป็นประเทศที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ เพราะเป็นประเทศที่มีทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่ก้าวหน้า แต่ขณะเดียวกันปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจขยายเป็นวงกว้าง ช่องว่างของผู้รับความช่วยเหลือจากการพัฒนาและความชำนาญการในการทำงานยังคง มีอยู่ แต่ในจุดนี้ กลับเป็นทั้งข้อท้าทายและโอกาสในการอนุรักษ์ภาพและและเสียง(Audiovisual preservation)   โครงการจดหมายเหตุเสียงเริ่มต้นขึ้นจากการประชุมในปี1988 ใน การเริ่มต้นการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ ทั้งนี้รูปแบบการทำงานมาจากแนวทางของจดหมายเหตุเสียงสาธารณะและชาติพันธุ์ของสหรัฐอเมริกาและที่อื่นๆ รวมทั้งสาขาวิชาการที่เข้ามาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการทำงานทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ สังคมศาสตร์ และดนตรีชาติพันธุ์วิทยา   แม้หน่วยงานของเราเป็นหน่วยงานเล็กๆ ที่เพิ่งเริ่มต้นการทำงาน แต่เป็นงานที่เต็มไปด้วยพลังของคณะกรรมการที่มีความกระตือรือร้น และสายสัมพันธ์กับนักเคลื่อนไหวในชุมชน นักการเมือง และนักวิชาการ ด้วยเหตุนี้ งานพิพิธภัณฑ์ของเราจึงไม่มีลักษณะของชนชั้นการบริหาร(เน้นโดยผู้แปล) นอกไปจากนี้ การทำงานอนุรักษ์ยังต่อรองกับความเป็นไปต่างๆ ในชุมชนได้อย่างยิ่งยวด นอกจากข้อท้าทายในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในการวิจัยจดหมายเหตุภาพและ เสียง พิพิธภัณฑ์ยังต้องพัฒนาความชำนาญการและการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพไปพร้อมๆ กัน อนึ่ง พิพิธภัณฑ์เขตหกได้กลายเป็นต้นแบบของการพัฒนาโครงการที่สร้างโอกาสความร่วม มือของคนในชุมชน   จดหมายเหตุเสียงในฐานะหน่วยย่อยความทรงจำ ในปี1994 มีการจัดนิทรรศการ "ถนน : รอยทางในเขตหก" ในขั้นตอนของการทำงาน เราได้เชิญผู้ที่เคยอาศัยอยู่ในเขตหกมาชี้ตำแหน่งของอาคาร ถนนหนทาง เพื่อนบ้านที่เคยพำนักอาศัยอยู่ในพื้นที่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาสร้างความทรงจำร่วมกัน (Public memory) นิทรรศการพยายามทำหน้าที่ของ "พาหนะแห่งการตีความ" (Interpretative vehicle) ที่จะนำพาความทรงจำส่งทอดไปยังคนรุ่นต่อไปในแอฟริกาใต้ เพ็กกี้ เดลพอร์ต (Peggy Delport) ภัณฑารักษ์ได้อธิบายไว้ว่ารูปแบบของนิทรรศการจะเน้นการออกแบบให้เกิดปฏิสัมพันธ์ พรมแดนของนิทรรศการเปิดออกสู่ผู้ชม และให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดแสดง… สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การสร้างความทรงจำใหม่จะเกิดขึ้นทุกเมื่อเชื่อวัน   นิทรรศการตรึงจินตภาพของผู้คน โดยเฉพาะผู้ที่เคยพำนักอาศัยในเขตหก พวกเขานำสิ่งที่กระตุ้นเตือนความทรงจำมากมายมาให้ผู้จัดงาน ภาพถ่ายครอบครัว ขวด ของเล่น และชิ้นส่วนของเครื่องเรือนและประตู อย่างไรก็ตาม พิพิธภัณฑ์ไม่สามารถจัดเก็บวัตถุไว้ในคลังสะสมไดทั้งหมดด้วยปริมาณวัตถุที่เอ่อล้น แต่เรายังคงให้วัตถุเข้ามาฝากไว้ เพื่อสานสัมพันธ์อันดีต่อสมาชิกของชุมชน   กระบวนการจัดนิทรรศการกลายเป็นกุญแจสำคัญ ของที่ฝากไว้ได้มาโดยมิได้คาดหวัง หากสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมหาศาล เช่น การให้ผู้เป็นเจ้าของบอกเล่าถึงคุณค่าของวัตถุเหล่านั้น แต่กิจกรรมเช่นนี้เป็นเรื่องในอนาคตที่รอการวางแผนและดำเนินการจัดเก็บอย่างเป็นระบบต่อไป ดังที่กล่าวไปแล้วว่านิทรรศการพยายามสร้างความทรงจำร่วม เราอาจนิยามพื้นที่นิทรรศการในลักษณะ"จุดประเด็น" เพราะความทรงจำเหล่านั้นสามารถนำไปสู่การอภิปรายในวงกว้างภายใต้แนวคิดพลเมือง   ในขณะนี้ ปัญหาที่จะต้องพูดคุยอยู่ที่ว่าพิพิธภัณฑ์จะจัดการจำแนก และลำดับวัตถุที่เกี่ยวโยงกับความทรงจำในการจัดแสดงอย่างไร และเราจะมีวิธีการจัดการต่อความทรงจำของผู้เคยพำนักอาศัยไปในลักษณะใด เพราะความทรงจำอาจเป็นการบรรยายให้เห็นถึงตำแหน่งแห่งที่ของถนน หรือภาพของตลาดในอดีต หรือสุนทรพจน์ของบุคคลสำคัญ กาซี กูลส์(Cassie Cools) หรือการร่ายรำ diba ขณะเดียวกัน ยังมีความเจ็บปวดของการสูญเสีย เรือนพักถูกทำลาย ความยากจน กำลังใจในการอาศัยอยู่ในเขตชานเมือง   แซนดรา โปรซาเลนดิส์(Sandra Prosalendis) หัวหน้าโครงการกล่าวถึงนิทรรศการ ถนน… ว่าเปรียบเสมือนกระชอนที่ร่อนความทรงจำให้สถิตในพื้นที่นิทรรศการเพื่อยุวชนรุ่นหลัง พื้นที่เช่นนี้จะดูดดึงผู้ชมให้เข้ามาถ่ายทอดและบันทึกความทรงจำในรูปของ เสียง จดหมายเหตุเสียงจึงเชื่อมต่อภาพที่ลางเลือน ฉะนั้น หากถามว่านิทรรศการ ถนน… ควรหยุดเมื่อใด คำตอบง่ายๆ คือ เมื่อเรารู้ว่าจะทำอะไรต่อไป   จดหมายเหตุเสียงในฐานะแหล่งกำเนิดความรู้ ความสำคัญอีกประการหนึ่งของจดหมายเหตุเสียงคือ การทำงานเชิงรุก ด้วยการกระตุ้นการผลิตองค์ความรู้ ฉะนั้น จดหมายเหตุจะเป็นจักรกลหลักของการจัดเก็บเอกสาร และเมื่อนั้นจะนำไปสู่ประวัติศาสตร์ของมหาชนที่เป็นจริงขึ้นได้ จดหมายเหตุเสียงอาจจัดเก็บเรื่องราวงานเทศกาลklopse หรือวงดนตรีประเภท marimba ในเมืองเคปทาวน์ หรือการบอกเล่า "ความเป็นผิวสี" ใน เรื่องราวที่แตกต่างออกไป เช่น เรื่องราวของคนแอฟริกันในเคปทาวน์ หรือส่วนอื่นๆ ของคาบสมุทร หรืออีกที่ เราสามารถบันทึกอิทธิพลทางดนตรีที่ส่งข้ามไป-มาระหว่างปลายคาบสมุทรและพื้นที่ส่วนอื่น ไม่ว่าจะเป็น Kimberly, Namaqualand, Mozambique เป็นต้น หรือกระทั่งการบันทึกความเคลื่อนไหวทางการเมืองของสาธารณชน โครงการที่สามารถดำเนินการได้เหล่านี้ สามารถดำเนินการด้วยการบันทึกภาพ-เสียงและการจัดเก็บที่สมบูรณ์ขึ้นอีก   ข้อท้าทายหนึ่งในการทำงานประเภทนี้คือ การสร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสถาบันการศึกษามืออาชีพและผู้เชี่ยวชาญAnthony Seeger นัก จดหมายเหตุเสียงผู้คร่ำหวอด เตือนเราถึงความสำคัญของการบันทึกจากสนาม การบันทึกเสียงเป็นทรัพยากรที่ประเมินค่าไม่ได้ไม่ว่าจะมาจากส่วนไหนของโลกก็ตาม การบันทึกจากสนามเพื่องานวิชาการมีคุณค่าที่เป็นเอกลักษณ์ และโดยส่วนใหญ่ มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เนื้อหาของการบันทึกไม่ได้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดหรือใส่ใจต่อผู้ฟัง การใช้งานไม่ได้เป็นไปตามกฏหมายลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ และโดยมากจะใช้เพื่อการวิจัย   อย่างไรก็ตาม หากเราจะดำเนินโครงการผลิตความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกเสียงใดๆ เราต้องระวังตนเองไม่ให้ตกอยู่ภายใต้กับดักของอดีตจักรวรรดินิยมและการล่าอาณานิคม จดหมายเหตุเสียงที่เคยเป็นมามีความใกล้ชิดกับการทำงานของมานุษยวิทยาการดนตรี(ethnomusicology) การบันทึกเสียงเป็นวิธีการที่ดีในการสร้างความรู้ แต่ก็มีอันตรายอย่างที่ประวัติศาสตร์นิพนธ์ ชาติพันธุ์วิทยา ชาติพันธุ์วรรณนา และมานุษยวิทยา ได้กระทำไว้ในช่วงการล่าอาณานิคม การบันทึกเสียงในห้วงเวลานั้นก่อตัวเป็นจักรวรรดิทางปัญญาและวัฒนธรรม การบันทึกเสียงกลายเป็นเครื่องมืออันดีเยี่ยมของเหล่านักมานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยาการดนตรี เพื่อเดินทัพและเข้าครอบครองวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ลายลักษณ์ของสถานที่ที่แปลกตา แต่กลับงดงาม (exotic places)   ในโลกหลังอาณานิคมอย่างทุกวันนี้ การบันทึกเสียงพยายามดิ้นร้นให้พ้นจากอดีตอาณานิคม การบันทึกเข้ามารับใช้ต่อชุมชนท้องถิ่น ด้วยวิธีการอันทรงพลังของกระบวนการชาติพันธุ์วรรณา ประวัติศาสตร์บอกเล่าและมานุษยวิทยาการดนตรีที่ได้มอบไว้ให้ จดหมายเหตุเสียงอาจกลายเป็นเครื่องมือทรงพลังสำหรับนักวิชาการ นักเคลื่อนไหว หรืออาสาสมัครของพิพิธภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ชุมชนมีความเข้มแข็งด้วยการสร้างมรดกภาพ-เสียงของตนเอง หรือแม้แต่การช่วยให้ชุมชนในโลกที่ 3 ต่อ รองในสิทธิการครอบครองมรดกวัตถุ จดหมายเหตุเสียงจำเป็นต่อการปกป้องผลประโยชน์ของชุมชนตามกฏหมายลิขสิทธิ์ ระหว่างประเทศ รวมถึงการส่งคืนมรดกวัตถุวัฒนธรรม   จดหมายเหตุเสียงกลายเป็นธนาคารของความทรงจำที่จะทำให้ชุมชนที่เคยถูกกดขี่และเบียด ขับออกไปจากสังคมให้กลับมามีความสำคัญ การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เขตหกเปรียบเหมือนกับการเรียกร้องสิทธิของผู้คน และผลักดันให้ชนชั้นล่างได้มีฐานะทางการเมืองและวัฒนธรรมในความเป็นเมืองเคปทาวน์ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ประกาศอย่างแรงกล้าที่จะช่วงชิงการจัดประเภท และการนำเสนอภาพเกี่ยวกับตนเอง คณะกรรมการพิพิธภัณฑ์กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า สมาชิกของเขตหกมีสิทธิที่จะควบคุมวิถีทางที่กล่าวถึงตนเอง นั่นหมายถึงเขาสามารถพูดได้"ด้วยตัวเขาเอง" ความทรงจำของทุกคนเกี่ยวกับเขตหก ตั้งแต่นักประวัติศาสตร์ที่ค้นคว้าเอง นักประพันธ์ ช่างทาสี หรือบุคคลธรรมดาทั้งชายและหญิงล้วนมีค่ายิ่งนัก ด้วยเหตุนี้ การบันทึกเสียงจากปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มได้สถาปนาหนทางใหม่ในการจัดการความ รู้ทางวัฒนธรรม   คลังสะสมมรดกภาพ-เสียงสะท้อนความเป็นอยู่ของเมืองในยุคแรกๆ นั่นคือภาพของเคปตะวันตก (West Cape) เช่น เขตหกมีความสำคัญเปรียบเหมือนสัญลักษณ์ของวรรณกรรมชนผิวดำแอฟริกาใต้และการแสดง ชื่อซึ่งเป็นรู้จัก ไม่ว่า ริชาร์ด ริฟ (Richard Rive) อเล็กซ์ ลา กูมู (Alex La Guma) อับดุลลาห์ อิบราฮิม (Abdullah Ibrahim) เบซิล โกเอซี (Basil Coetzee) โมเซส โกตาเน (Moses Kotane) และเกอร์ฮาร์ด เซโกโต (Gerhard Sekoto) ล้วน แต่มีความเกี่ยวข้องทั้งสิ้น เขตหกยังพ้องกับงานเทศกาล การเต้นรำ ศาสนดนตรี การแสดงหลากรูปแบบ การเมืองภาคประชาชน และนักคิดที่เป็นที่รู้จัก เขตหกจะเชื่อมโยงความเป็นอยู่ชีวิตคนงานในเมือง การต่อสู้กับเชื้อชาตินิยม (racism) ใน เมืองเคป ทาวน์ และการปลดปล่อยความทรงจำของการกดขี่หรือชีวิตเกย์ และอื่นๆ อีกมากมาย เรียกได้ว่าเป็นขุมประสบการณ์มนุษย์ให้เราได้สำรวจกันต่อไป   แม้ว่าการสืบค้นเริ่มต้นที่ชีวิตความเป็นอยู่ของชนชั้นแรงงาน แต่ความสนใจขยายเพิ่มออกไปเกี่ยวกับคนและสถานที่ที่หลากหลายมากขึ้น แน่นอนว่าสถานที่บางแห่งสัมพันธ์กับการแบ่งแยกสีผิว หรือการแบ่งแยกที่มาจากสาเหตุอื่น นิกาย ความเชื่อ ศาสนา หรือภาษา ด้วยเหตุนี้ จดหมายเหตุเสียงสามารถบันทึกเรื่องเล่าที่แตกต่างเกี่ยวกับอดีต และยังสามารถพัฒนาเป็นคลังความรู้สาธารณะเกี่ยวกับอดีตและปัจจุบันได้เป็น อย่างดี   จดหมายเหตุเสียงและชุมชน จดหมายเหตุเสียงทำหน้าที่เป็นธนาคารความทรงจำให้กับชุมชน การเก็บบันทึกมุ่งไปที่ประสบการณ์และแง่มุมของชนชั้นล่างและคนชายขอบ เพื่อเป็นกระจกสะท้อนรูปแบบของอำนาจทั้งที่เปิดเผยและปกปิดในเมือง ภารกิจหลักคือจัดเก็บและบันทึกประสบการณ์จากชีวิตของชุมชน ทั้งรากเดิมและความเปลี่ยนแปลง ทั้งชีวิตการทำงาน และชีวิตความเป็นอยู่ของชนชั้นแรงงาน เครื่องมือนี้จะเชื้อเชิญให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงออกและนำเสนอตน เอง   พิพิธภัณฑ์เขตหกมีทั้งเรื่องที่สรรเสริญและวิจารณ์ เช่นการจัดแสดงที่ทำขึ้นอย่างหยาบๆ ภาพครอบครัว และเทคนิคที่มีต้นทุนต่ำ อาทิ การใช้เอกสารสำเนาในฉากจำลอง และการจัดวางวัตถุ แผนที่ และเสื้อผ้าอย่างเรียบง่าย นิทรรศการ"ถนน" ที่ศิลปินอย่าง ทินา สมิธ (Tina Smith) และเพ็กกี้ เดล พอร์ต (Peggy Delport) เข้า ร่วม ได้แสดงถึงลักษณะเฉพาะของชุมชน อย่างไรก็ตาม โครงการจดหมายเหตุเสียงกลายเป็นข้อท้าทายใหม่ในการทำงานของโลกยุคดิจิตอล เพราะจุดประสงค์สำคัญคือ การจัดเก็บมรดกเสียงและเปิดโอกาสให้สมาชิกของชุมชนได้ใช้ประโยชน์ เราเปิดโอกาสให้กระบวนการทำงานมาจากทุกฝ่าย และอาศัยเทคโนโลยีระบบดิจิตอลเช่น แผ่นซีดี ซีดี-รอม หรือแผ่นดีวีดี   จดหมายเหตุเสียงของชุมชนมีบทบาทในระยะยาวและพัฒนาเคียงคู่ไปกับผู้คนที่บันทึกความทรงจำ จดหมายเหตุเสียงทำหน้าที่เป็น"รับฝาก" ความ ทรงจำเพื่อการใช้งานในอนาคต ดังกรณีในออสเตรเลีย จดหมายเหตุเสียงใช้ในกระบวนการตั้งถิ่นฐานและเรียกร้องที่ดินของชาวอะบอริจิ น เจ้าของวัฒนธรรมผู้แสดงบทเพลงที่เนื้อหาบอกเล่าประวัติของพื้นที่ ย่อมมีสิทธิเหนือดินแดนอันเป็นที่มาของบทเพลง   จดหมายเหตุเสียงของชุมชนจะช่วยเผยแพร่แหล่งทรัพยากรวัฒนธรรมไปในวงกว้าง การริเริ่มโครงการจดหมายเหตุใหม่ๆ ทำให้เกิดแรงผลักดันในการทำงาน ทั้งในแอฟริกาตะวันตกและในพื้นที่อีกหลายแห่งเช่นแซมเบีย(Zambia) ดังตัวอย่างของการทำงานของพิพิธภัณฑ์นายุมมิ (Nayume Province) ในจังหวัดตะวันตกของแซมเบีย ที่บันทึกดนตรีพื้นถิ่นในเขตชนบทของแซมเบีย นอกจากนี้ ความสนใจในดนตรีพื้นถิ่นหรือ world music ได้ ผลักดันเงินทุนและการสนับสนุนจากยุโรปและสหรัฐอเมริกา ล่าสุดเมื่อข้าพเจ้าเข้าชมหอจดหมายเหตุดนตรีพื้นถิ่นในบลุมิงตัน รัฐอินเดียนา (Bloomington, Indiana) ข้าพเจ้าได้ทำความรู้จักกับนักวิชาการชาวเซเนกัล (Senegal) เขาได้กลับมาที่มหาวิทยาลัย หลังจากที่ได้จบการศึกษา 20 ปี เขาได้สำเนาบันทึกภาคสนามในขณะเป็นนักศึกษาสาขามานุษยวิทยาการดนตรี เพื่อนำกลับไปยังประเทศของตน ลองคิดดูว่าเซเนกัลมีจดหมายเหตุเสียงที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์   อย่างไรก็ตาม มีเรื่องที่ควรระวังอยู่ไม่น้อย จดหมายเหตุของชุมชนควรตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนในในการใช้ประโยชน์ด้วย เช่นกัน สถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนได้จากภาพยนตร์เรื่องWatermelon Woman ผู้กำกับ เชอริล ดันนี (Cheryl Dunye) แสดงเป็นนักรณรงค์หญิงรักหญิง (lesbian activist) และผู้สร้างภาพยนตร์ เธอค้นหาชีวประวัติของนักแสดงหญิงชาวแอฟริกันอเมริกันในช่วงทศวรรษ 1940 จากภาพยนตร์ที่มีชื่อเดียวกัน Watermelon Woman ช่วงหนึ่งของภาพยนตร์กล่าวถึงตัวละครเอกที่เข้าไปค้นหาข้อมูลจดหมายเหตุของชุมชนหญิงรักหญิง (หรือในนามย่อ CLIT) นัก จดหมายเหตุได้โยนกล่องที่บรรจุภาพถ่ายและกระดาษลงพื้น แล้วเดินจากไป ปล่อยให้ตัวละครเอกค้นหาเอกสารต่างๆ และหลุดลอยไปกับข้อมูลในกล่องนั้น   ฉากที่หยิบยกมานี้พยายามสะท้อนถึงความสำคัญในการเข้าถึงข้อมูล ว่าอาจจะมีความสำคัญในอันดับต้นนอกเหนือไปจากการอนุรักษ์ ฉากได้ตั้งคำถามถึงความสมดุลย์ของความต้องการของชุมชนในระยะสั้นและการเก็บ รักษาในระยะยาว และแน่นอนว่าจดหมายเหตุของเขตหกเองไม่ได้เผชิญกับปัญหาดังกล่าวเป็นคนแรกๆ   อย่างไรก็ตาม จดหมายเหตุของชุมชนไม่ได้หมายถึงการปล่อยให้ความรับผิดชอบทุกอย่างตกอยู่กับเจ้าของวัฒนธรรม เราใช้เวลา18 เดือน ในการเตรียมการและพัฒนาความรู้พื้นฐานและระบบตามโครงการจดหมายเหตุที่ได้ริ เริ่มขึ้น รวมไปถึงการวางแผนและแนวทางปฏิบัติเชิงสถาบัน การดำเนินงานอย่างจริงจังทั้งการสืบค้นและจัดเก็บ การให้บริการและการอนุรักษ์จะเริ่มต้นในปี 2000 เมื่อจดหมายเหตุเปิดให้บริการกับสาธารณชน   เราจะจัดลำดับการทำงานและเชื่อมโยงกับหอจดหมายเหตุแห่งชาติ(National Archives) และหอภาพยนตร์ วีดิทัศน์ และจดหมายเหตุเสียงแห่งชาติ (National Film, Video and Sound Archives) เรา เชื่อว่าการทำงานจดหมายเหตุเสียงจะต้องอยู่ในลักษณะความร่วมมือเชิงนโยบาย และกลยุทธ์ เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนในการทำงาน เรายังมีหน่วยงานย่อยที่รับผิดชอบงานในลักษณะคล้ายคลึงกัน ทั้งศูนย์มายีบูย (Mayibuye Center) โครงการประวัติศาสตร์บอกเล่าของเคปตะวันตก (Western Cape Oral History Project) และซี เอ เอ็ม เอ (CAMA)   ท้ายนี้ เราเห็นว่างานจดหมายเหตุเสียงเป็นงานที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ลักษณะเด่นของโครงการอยู่ที่การอภิปรายและถกเกียงถึงเนื้อหาและรูปแบบการทำ งานอย่างไม่สิ้นสุดไปด้วยเช่นกัน คำถามที่ข้าพเจ้าปรารถนาจะทิ้งท้ายไว้คือ เราจะจัดสัดส่วนการทำงานเช่นใด ทั้งการจัดเก็บบันทึกความทรงจำ การสร้างองค์ความรู้ และการให้บริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและเอื้อประโยชน์ต่อสาธารณชนในระดับที่กว้างมากขึ้น?   แปลและเก็บความจาก Valmont Layne, "the Sound Archives at the District Six Museum: a work in progress" Archives for future, Global Perspectives on Audiovisual Archives in the 21st Century. Anthony Seeger and Shubha Chaudhuri (ed.). Calcutta: Seagull Books, 2004, pp. 183 - 195.  

การให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ ในเขตเมือง

20 มีนาคม 2556

อะไรคือการให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ การให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่เป็นแนวทางการศึกษา ซึ่งใช้สิ่งแวดล้อมภายในท้องถิ่นสำหรับการเรียนและการสอน วัตถุประสงค์แรกของการให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่คือ การสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ สนใจกับชุมชนในพื้นที่ของตนเอง และกระตุ้นให้เด็กเริ่มสนใจทำกิจกรรมเพื่อพัฒนอนาคตของชุมชน   โดยปกติแล้ว ในสหรัฐอเมริกา เมื่อผู้คนคิดถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับสถานที่ พวกเขามักคิดถึงการเข้าไปในพื้นที่ชนบทมากกว่าเมือง เพราะแนวการจัดกิจกรรมเพื่อการศึกษาโดยส่วนใหญ่อาศัยพื้นที่ในชนบทเป็นสำคัญ ดังที่เดวิด เกรินวาล์ด(David Gruenwald) ได้เขียนไว้ในบทความ “อสูรของโลกทั้งสอง การวิพากษ์เกี่ยวกับการให้ความรู้เนื่องด้วยสถานที่” (The Beast of Both Worlds: A Critical Pedagogy of Place) ว่า “ในงานเขียนทางวิชาการช่วงที่ผ่านมา นักการศึกษาอ้างอิงสถานที่ว่าเป็นพื้นที่เหมาะสมกับการเรียนรู้คือ สถานที่กลางแจ้ง แสดงให้เห็นสิ่งแวดล้อม และความเป็นชนบท ดังนั้น สถานที่เพื่อการเรียนรู้จึงไกลห่างจากเมือง ซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในที่เดียว อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้เกี่ยวกับสถานที่ไม่จำกัดอยู่ในพื้นที่ชนบทเท่านั้น สถาบันการศึกษาสามารถใช้การเรียนรู้เกี่ยวกับสถานที่ให้คนในเมืองใส่ใจต่อ ชีวิตความเป็นอยู่ของเมือง และกระตุ้นให้สำนึกพลเมืองใส่ใจต่อประเด็นของเมืองไปพร้อมกัน   Lower East Side Tenement Museum หรือ พิพิธภัณฑ์การเคหะฝั่งตะวันออกล่าง เมืองนิวยอร์ก เป็นสถาบันในเมือง ซึ่งสามารถพัฒนาโครงการให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ ด้วยการดึงให้กลุ่มคนที่หลากหลายเข้ามามีส่วนร่วมในปัญหาของเมืองในปัจจุบัน การเรียนรู้เกี่ยวกับสถานที่ของพิพิธภัณฑ์เป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมการมี ส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นของเมือง เพราะกิจกรรมดังกล่าวได้ผลักดันให้คนเข้าไปเผชิญกับปัญหาร่วมกัน เพื่อสร้างความหมายของชุมชน และเชื่อมต่อผู้คนให้จินตนาการอนาคตที่ร่วมกันของชุมชน   ความเชื่อมั่นต่อสถานที่เป็นหัวใจการทำงานของพิพิธภัณฑ์ และกลายเป็นสิ่งกำหนดภารกิจ กิจกรรมทางการศึกษาที่พิพิธภัณฑ์นำเสนอ และความสัมพันธ์ของผู้คนกับชุมชนที่อาศัยอยู่ อันได้แก่ ฝั่งตะวันออกล่างของแมนฮันตัน(Lower East Side of Manhattan)   ฝั่งตะวันออกล่างเป็นที่พำนักของชนอพยพในสหรัฐอเมริกา ตามประวัติแล้ว พื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่พักอาศัยของชาวยุโรป แต่ในปัจจุบัน เป็นชนอพยพจากเมืองจีนและสาธารณรัฐโดมินิกัน และประเทศอื่นๆ รวมถึงเปอเตอ ริโก จากสถิติ ผู้คนที่อาศัยในแถบนี้พูดภาษาอื่นๆ มากกว่าภาษาอังกฤษในเคหะสถาน ภาษาที่ใช้พูดกันยังรวมไปถึงภาษาถิ่นของจีนทั้ง4 ภาษาด้วย   ฝั่งตะวันออกล่างยังเป็นที่พำนักของพวกชนชั้นแรงงาน ตามประวัติแล้ว ผู้อพยพรุ่นใหม่เข้ามาในพื้นที่เพราะโครงการการเคหะ เรียกได้ว่าเป็นโครงการบ้านในเมืองที่เปิดโอกาสให้ครอบครองได้ไม่ยากนัก ทุกวันนี้ โครงการเคหะในลักษณะดังกล่าวยังดึงดูดผู้คนให้เข้ามาตั้งรกรากในพื้นที่เช่น เดิม รายได้โดยเฉลี่ยของครัวเรือนในพื้นที่ใกล้พิพิธภัณฑ์ประมาณ25,000 เหรียญ ต่อปี กว่าครึ่งของประชากรในพื้นที่ได้รายได้ต่ำกว่าเงินได้เฉลี่ย แต่มีเพียงครึ่งหนึ่งของประชากรในกลุ่มดังกล่าวที่ได้รับการสงเคราะห์ สาธารณะอื่นๆ   พิพิธภัณฑ์การเคหะฝั่งตะวันออกล่างตั้งขึ้นในปี1988 ด้วย วัตถุประสงค์ในการสร้างความอดทนและการยอมรับต่อประวัติศาสตร์และประสบการณ์ ของชนอพยพในแมนฮัตตันฝั่งตะวันออกล่าง ซึ่งเป็นประตูสู่อเมริกา ด้วยภารกิจเช่นนี้ พิพิธภัณฑ์จึงตั้งอยู่ในชุมชนท้องที่แถบนั้น และมีหน้าที่สำคัญในการบอกเล่าเรื่องราวของชุมชน เพราะการบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนจะยังผลให้เกิดการยอมรับความเป็นไปต่างๆ ในสังคม   พิพิธภัณฑ์เชื่ออย่างแรงกล้าว่า เรื่องราวของฝั่งตะวันออกล่างไกลไปกว่าพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กำหนดขอบเขต ของบริเวณอยู่อาศัย แม้กระทั่งในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกเอง การอพยพเข้ามาตั้งรกรากในเมืองของชนต่างชาติมีให้เห็นมากขึ้นอย่างไม่เคย ปรากฏมาก่อน ปรากฏการณ์ดังกล่าวมีความสำคัญต่อเรื่องราวของฝั่งตะวันออกล่างและในระดับ นานาชาติเช่นกัน   พิพิธภัณฑ์และประสบการณ์ของผู้อพยพ ผู้ที่ร่วมจัดตั้งพิพิธภัณฑ์หลายคนปรารถนาจะบอกเล่าเรื่องราวของชนอพยพผู้เข้ามาในเมืองนิวยอร์กในศตวรรษที่19 และต้นศตวรรษที่ 20 พวก เขายังปรารถนาให้ผู้ชมเชื่อมโยงประสบการณ์อพยพของตนเองกับประสบการณ์ของผู้ อพยพในพื้นที่อื่นๆ ของสหรัฐอเมริกา เหตุผลใหญ่สำหรับการนำเสนอเรื่องราวไปในทิศทางนี้ เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นดินแดนที่ผู้คนโหยไห้ต่ออดีตการอพยพในชั่วอายุคน ที่ผ่านมา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางชุมชนอพยพคือ ความเกลียดชังต่อผู้คนที่โยกย้ายเข้ามาใหม่ พิพิธภัณฑ์หวังที่จะท้าทายให้คนอพยพในรุ่นก่อนได้มองเห็นถึงความเหมือนและ ความแตกต่างของประสบการณ์การอพยพที่พวกเขาเคยประสบก่อนที่จะได้มาเป็น “อเมริกันชน” และสำหรับคนอพยพรุ่นใหม่แล้ว พสกเขาก็ต่อสู้และปรับตัวให้เข้ากับวิถีอเมริกันในทุกวันนี้ พิพิธภัณฑ์ ต้องการให้ผู้ชมตรวจสอบมุมมองของตนเองต่อการอพยพร่วมสมัย และสร้างบทสนทนาเกี่ยวกับนโยบายการอพยพของอเมริกา เช่น ใครบ้างควรจะเข้ามาในสหรัฐอเมริกา ใครบ้างควรได้สถานภาพพลเมืองอเมริกัน และทรัพยากรใดบ้างที่สามารถแบ่งปันให้กับผู้ที่มาใหม่   ข้อท้าทายคือการตีแผ่ให้เห็นว่าประสบการณ์อพยพได้มีอยู่เพียงชุดเดียว แต่มีเรื่องราวการอพยพมากมายเท่าทวีกับจำนวนผู้คนที่อพยพเข้ามา ชนอพยพเหล่านี้มาจากประเทศที่หลากหลาย ความเป็นมาที่แตกต่าง ชนชั้นที่สังคมที่ผิดแผก และประสบการณ์ไม่เหมือนกัน เราจะสร้างเรื่องเล่าอย่างไรที่ไม่ทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเรื่องเล่า ดาดๆ และจะจัดการอย่างไรให้ประสบการณ์อพยพเป็นเรื่องที่สำคัญ และถือเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นเสมอๆ   ผู้ที่ร่วมจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มีความคิดเห็นที่ตรงกันประการหนึ่ง ไม่ว่าคนอพยพเข้ามาในสหรัฐฯ ในศตวรรษที่19 หรือ 20 แต่สถานที่ที่พวกเขาอยู่อาศัยคือสิ่งที่มีอยู่ร่วมกัน คนอพยพที่เข้ามาเมืองนิวยอร์กในช่วงเวลาใดก็ตามระหว่างปี 1830 ถึง 1930 จะ อยู่ในตึกของการเคหะแมนฮัตตัน หรือที่รูจักกันนามฝั่งตะวันออกล่าง พลังของสถานที่ได้ยึดโยงผู้คน ไม่ว่าจะมาจากชาติ ภาษา หรือศาสนาใด การอาศัยในตึกของการเคหะร้อยรัดคนต่างชั่วอายุ ไม่ว่าพวกเขามาจากรัสเซียเมื่อ 1905 หรือ ฮ่องกงเมื่อ 2005   ด้วยเหตุนี้ พิพิธภัณฑ์จึงเริ่มต้นสืบค้นสถานที่เฉพาะ ตึกสักตึกของการเคหะตั้งอยู่ที่เลขที่97 ถนนออร์คิด ใจกลางฝั่งตะวันออกล่าง ตึกดังกล่าวเป็นอาคารที่พักอาศัย 5 ชั้น ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ 1863 และมีคนเวียนมาพักอาศัยประมาณ 7,000 คนระหว่าง 1864 ถึง 1935 อันเป็นปีสุดท้ายอของการเป็นที่พักอาศัย อาคารดังกล่าวล้างจนกระทั่งปี 1988 ที่กลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์การเคหะ   โครงการให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ของพิพิธภัณฑ์การเคหะ เมื่อคำนวณไปแล้ว พิพิธภัณฑ์สำรวจคนที่เคยอยู่อาศัยในอาคารได้1,700 คน จากนั้น ได้ฟื้นฟูห้องพักอาศัยให้กับครอบครัว 5 กลุ่ม และให้พวกเขาไปอาศัยในอาคาร พวกเขาทำหน้าที่ให้ความรู้ ด้วยการบอกเล่าเรื่องราวของครอบครัวต่างๆ การนำชมจะแบ่งเป็นประเด็นทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัวของชนอพยพในอดีต และที่สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน   ตัวอย่างเช่นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคนอพยพและอุตสาหกรรมเสื้อผ้า การนำชมเริ่มต้นที่เรื่องราว2 ครอบ ครัว ประวัติของพวกเขาเป็นประตูไปสู่มุมมองเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับปัญหาแรง งานราคาถูกและสภาพการผลิตที่ย่ำแย่ในอุตสาหกรรมสิ่งทอในช่วงเวลาที่ต่างกัน ครอบครัวเลวีนทำงานในช่วงทศวรรษ 1890 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีการผลิตในอาคารการเคหะ และครอบครัวโรเกอสกีที่ทำงานในช่วงต้นทศวรรษ 1900 คน งานอุตสาหกรรมเสื้อผ้าเริ่มตระหนักถึงปัญญาดังกล่าว และหยิบมาเป็นประเด็นทางสังคม การนำเที่ยวแสดงให้เห็นพัฒนาการอุตสาหกรรมในเมืองนิวยอร์ก ผ่านสายตาของคนงาน 2 ครอบครัว และเปรียบเทียบประสบการณ์ของผู้เข้าชมเองกับประสบการณ์ทำงานของผู้อพยพในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าในปัจจุบัน   การนำชมหยิบยกประเด็นดังกล่าวมาเพราะฝั่งตะวันออกล่างเป็นพื้นที่กำเนิดอุตสาหกรรมเสื้อผ้าในยุคสมัยใหม่(ในปี 1900 มีร้านเสื้อผ้าถึง 20 ร้านในพื้นที่) และ เพราะจำนวนร้านเสื้อผ้ายังคงมีมากอยู่ในปัจจุบัน ในจำนวนร้านที่เปิดทำการในปัจจุบันมีอยู่จำนวนไม่น้อยเลยที่จัดอยู่ในประเภท การจ้างแรงงานราคาต่ำและสภาพการทำงานที่ย่ำแย่ เมื่อพิจารณาจากมาตรฐานโรงงานของกรมแรงงาน   พิพิธภัณฑ์ผลักดันให้ประวัติศาสตร์ไม่ใช่เรื่องราวที่ตีความมาจากมุมมองเชิงเดี่ยว แต่นำมุมมองที่หลากหลายของผู้ที่เกี่ยวข้องมาเป็นแนวทางในการสำรวจและบอกเล่าเรื่องราว รวมทั้งมุมเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลา การนำชมที่เกี่ยวข้องกับอุตสากรรมเสื้อผ้าพยายามเปิดให้เห็นมุมมองของผู้ผลิต เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก คนงาน ผู้บริโภค และผู้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่การผลิต การนำชมเริ่มต้นด้วยการฟังเสียงจากเครื่องบันทึกของผู้ที่เกี่ยวข้องในมุม มองต่างๆ ต่ออุตสาหกรรมเสื้อผ้าในเมืองนิวยอร์ก จากนั้น ผู้นำชมจะนำพาผู้เข้าชมย้อนกลับไปในปี1897 และสอดส่องมุมมองเกี่ยวกับอุตสาหกรรมในเวลานั้น   พิพิธภัณฑ์ชวนเชิญให้ผู้เข้าชมไตร่ตรองต่อเรื่องราวที่ได้เห็น ได้ฟัง ด้วยคำถามปลายเปิด เพื่อกลับไปสำรวจตรวจสอบต่อความรู้ ความเชื่อ และความคิดเห็นของตนเองที่มีต่อเรื่องราวนั้นๆ เช่น ในระหว่างการชมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ผู้นำชมจะถามผู้ชมว่า‘คุณคิดว่าสภาพการทำงานของคนงานในโรงงานทุกวันนี้ดีกว่า 100 กว่า ปีที่แล้วไหม’ และ ‘คุณคิดว่าการจ่ายค่าแรงของเจ้าของโรงงานต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำยุติธรรมหรือ ไม่ หากเจ้าของโรงงานสามารถหาคนงานที่ยินดีจะรับค่าแรงในราคานั้น’ ผู้ชมจะมีส่วนในการแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้นำชมและคนอื่นๆ ในระหว่างการเข้าชม ร่วมแบ่งปันมุมมอง แลกเปลี่ยนประสบการณ์ส่วนตัว และตรวจสอบเหตุผลว่าทำไมแต่ละคนจึงรู้สึกต่อเรื่องนั้นไปเช่นนั้น   นอกจากนี้ ยังมีการนำชมที่ใช้ชื่อว่า “แล้วก็เป็นไป : คนอพยพผู้ผ่านร้อนผ่านหนาว” (Getting By: Immigrants Weathering Hard Times) เป็นการเยี่ยมชมห้องพักของคนอพยพ 2 ครอบครัว ผู้ที่เคยอยู่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ครอบครัวกัมเพรท์ซในปี 1873 และครอบครัวบาลดิซิในปี 1935 การ ชมเริ่มจากการสำรวจความคิดเห็นสาธารณะที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลาว่าความ ช่วยเหลือใดที่คนอพยพต้องการ และใครควรเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจัดหาความช่วยเหลือนั้น ในระหว่างการชม ผู้ชมจะพูดคุยกันเกี่ยวกับสถานภาพของผู้อพยพว่ามีผลต่อการจัดความช่วยเหลือ ของรัฐหรือไม่ และบทบาทของผู้เข้าชมเองจะมีส่วนช่วยเหลือคนอพยพในชุมชนของตนเองหรือไม่   การชมในเส้นทางที่สามเป็นห้องพักของครอบครัวคอนฟิโนที่สร้างขึ้นใหม่ในปี1916 ผู้ชมจะสมมติบทบาทเป็นครอบครัวอพยพที่เพิ่งมาใหม่ และโต้ตอบกับคนที่เล่นบทบาทเป็นวิคเทอเรีย คอนฟิโน อายุ 14 ปี ชาวยิวนิกายเซฟาร์ดิก ซึ่งอยู่ภายใต้แนวคิดของอาชเคนซิ ผู้ชมจะได้เรียนรู้ความพยายามในการปรับตัวของเธอกับการอยู่ในฝั่งตะวันออก ล่าง ประสบการณ์ของเธอสะท้อนให้เห็นสถานภาพใหม่ที่ได้มาคือ เซฟาดิก-อเมริกัน ชน จากนั้น อภิปรายถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และการเป็นอเมริกันชนหมายถึงอะไร และระหว่างการยึดมั่นในมรดกทางวัฒนธรรมเดิมกับการกลายมาเป็น ‘อเมริกัน’ สิ่งใดดีกว่ากันแน่   ในขณะที่เมื่อกลุ่มนักเรียมเข้าร่วมกิจกรรมชมคอนฟิโน พวกเขาจะมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นว่าวัฒนธรรมอเมริกันคืออะไร และใครควรจะเป็นอเมริกันชน พวกเขาจะแบ่งออกเป็นกลุ่มเล็ก และร่วมอภิปรายความหมายของคำ “อเมริกัน” ซึ่งมีลักษณะที่ครอบคลุมความเป็นจริงในสังคมมากกว่าจะเป็นการกำหนดว่าสิ่งใด ใช่หรือไม่ใช่ เพราะพวกเขาควรตระหนักว่าวัฒนธรรมของประเทศกอปรขึ้นมาจากความหลากหลายของ เชื้อชาติ วัฒนธรรม และความเชื่อทางศาสนาที่แตกต่างกัน   หลังจากที่เข้าชมพิพิธภัณฑ์ตามแต่ละเส้นทางการชม ผู้เข้าชมจะกลับมาที่‘ห้องครัว’ และร่วมสนทนา “เรื่องครัวๆ” ที่จะมีผู้นำกิจกรรมที่ได้รับการฝึกฝนมาพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นที่หยิบยก ขึ้นมาในระหว่างการนำชม การสนทนาจะลำดับประเด็นต่างๆ จากสาเหตุของการอพยพย้ายถิ่นสู่การจัดสร้างสภาวะที่เหมาะสมสำหรับคนงานอพยพ การให้การศึกษาแบบสองภาษา รวมไปถึงประเด็นของการกลืนกลายทางวัฒนธรรมของชยอพยพเข้าสู่สังคมอเมริกัน หรือการคงไว้ซึ่งรากทางวัฒนธรรมของชนอพยพเอง บทบาทของผู้นำกิจกรรมช่วยเชื่อมต่อประสบการณ์ของผู้อพยพทั้งในอดีตและ ปัจจุบันกับผู้เข้าชม และกระตุ้นให้ผู้เข้าชมพินิจพิเคราะห์ถึงสถานการณ์ร่วมสมัย และคิดวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ ที่มาจากการเข้าชมสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวเหล่านั้น   พิพิธภัณฑ์ ยังจัดนำชมในสถานที่ทางต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งไม่ใช่การนำชมแบบเดิมๆ ที่เคยปฏิบัติมา แต่เป็นการหยิบยกเอาประเด็นร่วมสมัยของเมืองเข้ามาถกเถียง เส้นทางการชมที่น่าสนใจเส้นหนึ่งคือ โรงเรียนมัธยมที่สอนสองภาษา(อังกฤษ-จีน) เมื่อ ถึงจุดนี้ ผู้ร่วมเส้นทางจะได้พูดคุยถึงระบบการเรียนสองภาษา ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งได้แก่ โบสถ์ยิว ผู้นำกิจกรรมจะบอกเล่าถึงการตายของพระยิวเมื่อปี 1905 เพราะ คนงานชาวไอริชไม่พอใจการอพยพเข้ามาของชาวยุโรปตะวันออก พสกไอริชคิดว่าดินแดนฝั่งตะวันออกล่างควรจะเป็นที่พำนักของพวกเขาอย่างเดียว เท่านั้น ประเด็นนี้นำไปสู่การอภิปรายเกี่ยวกับความกดดันระหว่างกลุ่มของคนอพยพที่ เข้าสู่พื้นที่พำนักเดียวกัน ในท้ายที่สุด ผู้ชมในฐานะที่เป็นสมาชิกของชุมชนจะช่วยให้เกิดความเข้าใจระหว่างกลุ่มอย่าง ไร และจะเกิดความร่วมมือได้อย่างไร   เป้าหมายของการเรียนรู้สถานที่ต่างๆ อยู่ที่ การ ช่วยให้ผู้เข้าชมได้ใช้ประสบการณ์ส่วนตนเชื่อมโยงกบประเด็นทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนอพยพและคนย้ายถิ่น การ ย้ำถึงบทบาทสำคัญของคนอพยพและคนย้ายถิ่นต่อสังคมที่กำลังวิวัฒน์ไป ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและโดยภาพรวม ทั้งชุมชนที่พวกเขาอยู่อาศัยและในระดับของชาติรัฐ การ สร้างบทสนทนาที่ทรงพลังในประเด็นความเป็นอยู่และชีวิตของคนอพยพและคนย้าย ถิ่น เพื่อให้ผู้ชมได้คิดวิเคราะห์ถึงบทบาทของตนเองที่จะสร้างสรรค์สังคมไปในวัน ข้างหน้า การเชื่อมต่อประสบการณ์ที่หลากหลายของผู้คน และสร้างเวทีเรียนรู้ระหว่างผู้คนด้วยกันเอง   ผู้เขียนขอเสนอหลักการพื้นฐาน5 ประการสำหรับพิพิธภัณฑ์ที่ปรารถนาจะนำแนวทางการเรียนรู้สถานที่ต่างๆ ไปประยุกต์กับการสร้างความมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นของเมือง   ประการแรก การนำเสนอและตีความเรื่องราวของสถานที่ควรเป็นเรื่องที่ไม่ได้รับทราบกันมากนัก แต่มีความสำคัญและเปิดมุมมองใหม่ๆ ต่อประวัติศาสตร์ ก่อนที่พิพิธภัณฑการเคหะจะสร้างขึ้น อาคารที่ตั้ง ณ เลขที่ 97 ถนน ออร์ชาร์ด ไม่ใช่ตึกที่อยู่ในความสนใจและเรื่องราวของผู้เคยอยู่ที่นั่นไม่ได้สำคัญ อะไร ผู้ที่จัดตั้งพิพิธภัณฑ์เล็งเห็นร่วมกันว่า เรื่องราวของตึกและผู้คนเป็นตัวแทนเรื่องราวที่ไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ นิพนธ์อย่างที่กระทำกันมา นั่นคือ เรื่องราวความยากจนและชนชั้นแรงงาน เรื่องราวดังกล่าวจึงนำไปสู่มุมมองใหม่ๆ ต่อประวัติศาสตร์ ความสำคัญของอาคารได้รับการยอมรับเมื่อตึกแรกของโครงการการเคหะได้รับการ เลือกให้เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในระดับชาติ   ประการที่สอง วิธีการจัดกิจกรรมที่มีแนวทางของการใช้สถานที่ต่างๆ ไม่ได้เชื่อมโยงไปกับประเด็นต่างๆ ในระดับชุมชนเท่านั้น แต่จะต้องเชื่อมโยงไปยังพื้นที่อื่นๆ พิพิธภัณฑ์การเคหะไม่ได้เพียงบอกเล่าเรื่อราวของอาคารและผู้คนที่พำนัก แต่ได้เชื่อมเรื่องราวเหล่านั้นกับประเด็นที่ใหญ่กว่า เช่น สภาพการทำงานที่ยุติธรรมและการเข้าถึงสวัสดิการสาธารณะ และทำให้เรื่องราวเหล่านั้นสัมพันธ์ไปกับผู้มาเยือน ไม่ว่าเขาหรือเธอจะมีมาจากที่ใด ผู้ชมมีส่วนอย่างยิ่งในการพูดคุยและถกเถียงจากสิ่งที่ได้เรียนรู้และประเด็น ในชุมชนของแต่ละคน   ประการที่สาม เราจะต้องคำนึงถึงความซับซ้อนในเรื่องราวที่นำเสนอ ประวัติศาสตร์ของพื้นที่มาจากความหลากลายของมุมมอง เรื่องราวได้ผูกขึ้นมาจากภาพที่ซ้อนทับของคนที่เกี่ยวข้อง ความสนใจเช่นนี้อาจไม่เคยได้รับความใส่ใจมาก่อนต่อการเขียนประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์การเคหะไม่ได้บอกเรื่องราวจากมุมมองของใครคนเดียว แต่พยายามเสนอเรื่องราวที่ซับซ้อนและคลุมเครือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง พิพิธภัณฑ์พบว่าการนำเสนอเรื่องราวดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่ายต่อการจัดการ แต่กลับทำให้กะเทาะความเป็นจริงที่ยังคงมีความคลุมเครืออยู่ในปัจจุบัน การนำเสนอเรื่องราวเช่นนั้นทำให้ผู้เยี่ยมชม “เข้าไป” ถึงความซับซ้อนของประเด็นปัญหา   ประเด็นที่สี่ การเชื้อเชิญให้ผู้เข้าชมมีส่วนในการตีความ พิพิธภัณฑ์เปิดโอกาสให้ผู้ชมเข้ามามีบทบาทในระหว่างการเยี่ยมชม พวกเขาได้แบ่งปันประสบการณ์และมุมมอง รวมถึงประเด็นที่เชื่อมโยงกับสังคมในระดับกว้าง พิพิธภัณฑ์การเคหะไม่ได้แสดงบทบาทเป็นผู้ถือสิทธิ์ที่จะหยิบยกประเด็นนั้นๆ มาพูดคุยแต่ผู้เดียว ในทางตรงกันข้าม พิพิธภัณฑ์ยึดมั่นใน “เสียงที่หลากหลาย” (polyphonic representation) ใน การบอกเล่าประวัติศาสตร์ และมิติที่ซ้อนทับอยู่ในปัญหาร่วมสมัย พิพิธภัณฑ์เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ชมมีความรู้เป็นของตนเอง ความเชื่อและความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นเหล่านั้น ผู้ชมในฐานะเพื่อนร่วมทางจะเป็นผู้ให้ความหมายของประเด็นที่พูดคุย และผลักดันให้เขามีส่วนร่วมในความเป็นไปในปัจจุบันและอนาคต   ประการที่ห้าการเยี่ยมชมจะเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ชมร่วมลงมือลงแรง นั่นหมายถึง การทำให้ประเด็นทางสังคมลงไปสู่การลงมือสร้างสรรค์ชุมชนของตนเอง และนำความเปลี่ยนแปลงในทางบวกมาสู่ พิพิธภัณฑ์การเคหะมีส่วนในการสร้างเวทีให้ผู้ชมได้คิดและตรวจสอบประเด็นทาง สังคม สิ่งใดบ้างที่พวกเขาจะสร้างสรรค์ให้กับสังคม ความตั้งใจสำคัญของพิพิธภัณฑ์คือ การมอบให้ผู้ชมเป็นคนที่จะเข้ามาพัฒนาชีวิตในชุมชนของตนเอง   พิพิธภัณฑ์ในพื้นที่เมืองควรพิจารณาการเรียนรู้สถานที่ในลักษณะที่เป็นแนวทาง พิพิธภัณฑ์ควรมองหาประวัติศาสตร์หรือเรื่องราวที่ผูกพันกับสถานที่ต่างๆ ในชุมชน แต่ไม่เป็นที่รับทราบกันมากนัก แต่การนำเรื่องราวมาบอกเล่าได้ฉายให้เห็นประเด็นทางสังคมที่สืบเนื่องต่อไป พิพิธภัณฑ์ใดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองสามารถลองพิจารณาชุมชนในท้องที่ และพัฒนาเป็นแหล่งการเรียนรู้สถานที่ต่างๆ ด้วยการใช้แนวทางการทำงานที่แนะนำมานี้ วิธีการเช่นนี้จะก่อให้เกิดการพูดคุยประเด็นต่างๆ ของเมือง และนำไปสู่การผลักดันให้พลเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในประเด็นเหล่านั้น   Maggie Russell-Ciardi ได้ รับปริญญามหาบัณฑิตด้านละตินอเมริกาศึกษาจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และปริญญาบัณฑิตด้านแรงงงานศึกษาและสเปนจากวิทยาลัยโอเบอร์ลิน ขณะนี้ เธอรับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการด้านการศึกษาให้กับ Lower East Side Tenement Museum ก่อน การเข้าประจำตำแหน่งดังกล่าว เธอเคยทำโครงการสร้างความเข้มแข็งกับชุมชนคนอพยพใหม่ ในปัจจุบัน เธอยังปฏิบัติภารกิจที่ปรึกษาศูนย์สิทธิคนอพยพ (Center for Immigrant Rights) และการจัดตั้งกลุ่มคนงานอพยพในประเภทงานเกษตรกรรม   แปลและเรียบเรียงจาก Maggie Russell-Ciardi, “Placed-based Education in an Urban Environment” Museum International, No. 231 (Vol. 58, No. 3, 2006) pp. 71 – 77.  

ความเป็นอื่นในตู้จัดแสดง

20 มีนาคม 2556

บทคัดย่อ เราจะกล่าวถึง “ความเป็นอื่น” อย่างไรที่จะไม่เหยียบย่ำ? จากคำถามดังกล่าว เราจะสำรวจภาพลักษณ์ของการกล่าวถึงผู้เกิดและอาศัยอยู่บนแผ่นดินอัลเจรี (Alg?rie) ที่ปรากฏในพิพิธภัณฑ์ จากพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ทรอกาเดโร (Mus?e d’Ethnographie du Trocad?ro) ถึงพิพิธภัณฑ์มนุษยชาติ (Mus?e de l’ Homme) ในที่นี้ ผู้เขียนพยายามตั้งคำถามต่อความสัมพันธ์ระหว่างพิพิธภัณฑ์หลายๆ แห่งกับระบบอาณานิคม รวมทั้งการวิพากษ์ต่ออดีตที่ผ่านมาของพิพิธภัณฑ์   “ณ ดินแดนแห่งนี้ ประกอบด้วย ภูมิอากาศที่แสนวิเศษ ดินแดนอันน่าตรึงใจ หากแต่ขาดซึ่งอารยธรรม” ผู้ที่ร่วมเดินทางสำรวจอัลเจรี (ออกเสียงตามการสะกดในภาษาฝรั่งเศส l’Alg?rie) ได้กล่าวไว้ ภายหลังจากที่ดินแดนดังกล่าวตกเป็นอาณานิคม มุมมองเช่นนี้สะท้อนให้เห็นแนวคิดหนึ่งในศตวรรษที่ 19 เมื่อ ชนตะวันตกมองผู้อื่น จากวัตถุสิ่งของที่ได้จากความอยากรู้อยากเห็นสู่วัตถุที่ได้รับการวิเคราะห์อย่างเป็นวิชาการ วัฒนธรรมที่มิใช่ตะวันตกวิวัฒน์ไปในที่ทางของตนเอง แต่อยู่ภายใต้กรอบการตีความของตะวันตกไปในขณะเดียวกัน พิพิธภัณฑ์ในยุคนั้นทำหน้าที่ไม่ได้ต่างจากสื่ออื่นๆ ที่เผยแพร่ภาพความเป็นอื่น โดยเฉพาะอย่างภาพของดินแดนใต้อาณัติ ภาพดังกล่าวมักเชื่อมยังกับการการดำเนินกิจกรรมอาณานิคม ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ความเชื่อมโยงเชิงวิชาการดังกล่าวมาจากงานศึกษาทางมานุษยวิทยาและชาติพันธุ์วิทยา ของบรรดานักวิชาการและนักวิจัยที่ทำงานอยู่กับพิพิธภัณฑ์ แต่สื่อที่ทรงพลังอย่างมากในการสร้างภาพตัวแทนดังกล่าวคือ วัตถุที่ได้มาจากการรวบรวมและสะสมระหว่างการสำรวจ ซึ่งมาจากแนวคิดสำคัญในการสถาปนาความเป็นสถาบันวิชาการอย่างยิ่งยวด   เมื่อพิพิธภัณฑ์ทางชาติพันธุ์ของฝรั่งเศสแห่งแรก พิพิธภัณฑ์ทรอคกาเดโร ได้เปิดประตูต้อนรับสาธารณชนเมื่อปี1880 อัลเจรีในยุคนั้นเป็นหนึ่งในประเทศอาณานิคมมาแล้วเกือบครึ่งศตวรรษ งานสะสมที่เกี่ยวข้องกับอัลเจรีให้ภาพของ “ความงดงามน่าทึ่ง” และดินแดนอันไกลโพ้น (image exotique et lointaine) จากนั้น พิพิธภัณฑ์มุนษยชาติได้รับการจัดแสดงในแนวคิดนั้นต่อมา และสร้างความซับซนระหว่างการกล่าวถึงดินแดนอัฟริกาเหนือหรือ Maghreb และคำว่า Mashrek ซึ่ง เป็นภาษาอาหรับที่หมายถึง ประเทศทางตะวันออกกลางบนคาบสมุทรอาหรับ รวมทั้งอียิปต์ทางตอนเหนือ โลกตะวันออกที่จัดแสดงย้ำถึงสภาพ “พื้นถิ่น” (condition << indig?ne >>) ใน อัลเจรี ด้วยเหตุนี้ หากเราทำความเข้าใจกับการเลือกรูปแบบและเนื้อหาในการจัดแสดงของสถาบันแห่งนี้ การวิเคราะห์จะเปิดให้เราเห็นกรอบคิดในบริบทของการล่าอาณานิคมและส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง   ความเป็นอื่น: วัตถุความรู้ วัตถุในตู้จัดแสดง ในระหว่างครึ่งแรกของศตวรรษที่19 เรา จะสังเกตได้ว่างานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอัฟริกาเหนือมีมากขึ้นในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพในอัลเจรี วิวัฒนาการของสถานการณ์ทางทหาร การเมือง และเศรษฐกิจ เป็นตัวอธิบายปรากฏการณ์ ณ ขณะนั้น มานุษยวิทยาในฐานะสาขาวิชาหลักในช่วงเวลานั้น สนใจกับรากเหง้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางชีวภาพและภาษา การจัดแบ่ง “เผ่าพันธุ์” สัมพันธ์กับการปกครองอาณานิคม  Arabe ,  Maure ,  Kabyle ,  Berb?re ,  Noirs  และ  Juifs  การจัดแบ่งเหล่านี้ ซึ่งเสมือป้ายในการควบคุมประเทศที่อยู่ภายใต้อาณานิคม กลายเป็นการผูก “ตำนาน” ของชนชาติต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  Kabylie  (พื้นที่ สูงทางตอนเหนือของประเทศอัลเจรี งานจำนวนมากได้สร้างภาพตัวแทนที่ตายตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาติพันธุ์ที่แตก ต่างกัน กลุ่มกาบียใหญ่ผิวขาวเผชิญหน้ากับกลุ่มอาหรับเล็กผิวเข้ม หรือเป็นการสร้างภาพความแตกต่างทางศาสนา เช่น ชาวกาบียคริสเตียนและชาวอาหรับมุสลิม และยังได้กล่าวถึงความสัมพันธ์กับประเทศแม่ ชาวกาบียในฐานะที่เป็นลูกหลานของ Berb?res คริสเตียน (กลุ่มตระกูลภาษาแบรแบร์สที่กระจายอยู่ทางเหนือของแอฟริกา) ในครั้งอดีต กลายเป็นสัมพันธมิตรกับฝรั่งเศส ตัวอย่างของงานเขียนทางวิชาการในยุคนั้นพยายามย้ำอุดมการณ์ระบบอาณานิคม   นอกจากนี้ ยังมีนักวิจัยที่ให้ความสนใจกับการผลิตวัตถุ และพยายามที่จะเผยแพร่แนวคิดชาติพันธุ์วิทยา ซึ่งดูจะไม่ได้รับความสนใจมากนั้น เมื่อปี1878 Ernest Th?odore Hamy ผู้ อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ได้ขออนุญาตกระทรวงศึกษาธิการดำเนินโครงการรวบรวมวัตถุต่างๆ เพื่อใช้ในการจัดแสดงนิทรรศการสากลในปีเดียวกัน แนวคิดดังกล่าวมีความสำคัญอย่างมาก เพราะในขณะนั้นวัตถุดูกระจัดกระจายไปในทุกที่ ไม่มีสถานที่หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดูแลรักษาโดยตรง เมื่อได้รับอนุญาต การทำงานรวบรวมวัตถุจึงเริ่มดำเนินการ ในรายงานความก้าวหน้าโครงการ Hamy ได้กล่าวถึงการรวบรวมวัตถุที่เกี่ยวข้องกับอัลเจรี “เราสามารถจะนำเสนอพิพิธภัณฑ์อัลเจเรียนจากวัตถุที่ล้ำค่าที่เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมอาหรับและกาบีย คงไม่มีสถาบันอื่นใดในยุโรปทำได้เยี่ยงนี้” (Hamy, p.9)   ในที่สุดพิพิธภัณฑ์ได้เข้าประดิษฐานอยู่ในทรอคดาเดโร ที่อาคารมีแบบฉบับของไบแซนไทน์ใหม่และมีปีกของอาคารแยกเป็นสองด้าน การก่อนสร้างดังกล่าวนำไปสู่ข้อถกเถียงสาธารณะอย่างมาก แต่แล้วในปี1880 พิพิธภัณฑ์เปิดต้อนรับสาธารณชน และเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมากจากจำนวนผู้ชมวันละ 4,000 คน ที่ต้องการเข้ามาชื่นชมกับวัตถุที่มาจากอัฟริกาและอเมริกา แต่สำหรับในยุคนั้นแล้ว วัตถุที่จัดแสดงเป็นเพียงการรวบรวม “ความงามที่น่าตื่นตา” ภาพที่หายากที่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลานั้นแสดงให้เห็นสิ่งของได้รับการจัดแสดงเป็นจำนวน มากในพื้นที่แคบๆ และมีเพียงป้ายอธิบายขนาดเล็กที่ไม่ได้สลักสำคัญมากนัก การจัดแสดงกักขังวัตถุให้อยู๋ในลักษณะของจำลองบริบททางวัฒนธรรม แต่ก็เน้นมุมมองเชิงคติชน การจัดแสดงวัตถุชาติพันธุ์แสดงให้เห็นอย่างน้อยที่สุดว่ามีความสำคัญมากกว่า เพียงวัตถุเพื่อการตกแต่ง   ในช่วงเวลาดังกล่าว แนวคิดของการจัดลำดับขั้นวิวัฒนาการของมนุษย์ยังได้รับการยอมรับ “คนขาว” อยู่ตำแหน่งสูงสุดของวิวัฒนาการ การจัดแสดงของ Hamy ย้ำ ทฤษฎีทางวิชาการเช่นนั้น ในแนวคิดดังกล่าวนั้น ผู้ชมจะได้พบกับการนำเสนอเรื่องราวชีวิตประจำวันของชนในประเทศอาณานิคม และในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 “วัฒนธรรมอาณานิคม” แพร่หลายอย่างมากในสังคมฝรั่งเศส แต่โครงการของ Hamy ได้ หยุดลงด้วยสาเหตุหลายประการ แม้จะมีแนวคิดในการจัดแสดงจะมีความน่าสนใจอยู่ ทั้งสาเหตุของการจัดเก็บเอกสารที่ไม่เพียงพอ ข้อจำกัดในแนวคิดของการจัดแบ่งประเภท วิธีการจัดแสดงที่จำเพาะ รวมไปถึงการที่สาธารณเริ่มไม่ให้ความสนใจ และงบประมาณที่ลดจำนวนลง แม้ Ren? Verneau จะเข้ามาสานงานต่อเมื่อปี 1907 แต่ไม่ปรากฏความเปลี่ยนแปลงมากนัก จนกระทั้งการเข้ามารับตำแหน่งของ Paul Rivet และทีมงานของเขาที่จะเปิดศักราชใหม่   ในระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้ง ปัจจัยหลายประการได้ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของชนพื้นถิ่น แต่ยังอยู่ในแนวคิดของความดีงานของอารยธรรม ดังจะเห็นได้จากความเคลื่อนไหวของกิจกรรม “พื้นถิ่น” ระหว่างสงครามโลกครั้งแรก ศิลปะ “คนของผิวดำ” ที่ประสบความสำเร็จ ความถึงแนวเพลงบลูและความนิยมในดนตรีแจ๊ส สำหรับ Paul Rivet เห็น ว่าพิพิธภัณฑ์จะต้องมีความเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งยวด ทั้งในแน่ของปรัชญาและการดำเนินการ เมื่อเข้าขึ้นรับตำแหน่ง เขาได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร เขาได้เชื้อเชิญผู้เชี่ยวชาญจากสาขาอื่นๆ ทั้งศิลปะและวัฒนธรรม มาทำงานกับพิพิธภัณฑ์ในการศึกษาและเผยแพร่ความรู้จากคลังวัตถุทางชาติพันธุ์ Georges-Henri Rivi?re ได้ เปิดแนวทางใหม่ให้กับการพิพิธภัณฑ์ การนำเสนอวัตถุในแบบที่แตกต่างออกไป และมุมมองที่เห็นว่าวัตถุคือประจักษ์พยานของสังคม การจัดแสดงที่อาศัยฉากได้หายไปจากพื้นที่จัดแสดง วัตถุได้รับการจัดวางตามเขตวัฒนธรรม พร้อมไปกับคำอธิบายและแผนที่แสดงที่ตั้งของกลุ่มวัฒนธรรม และภาพถ่าย การจัดแสดงเช่นนี้เริ่มต้นตั้งแต่ 1937 ในการเปิดพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ “พิพิธภัณฑ์มนุษยชาติ”   อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความพยายามในการกล่าวถึงวัฒนธรรมนอกยุโรปด้วยความคิดที่เป็นวัตถุวิสัยมากขึ้น แต่ความพยายามดังกล่าวดูจะไม่สามารถเปลี่ยนสายตาในการมองวัฒนธรรมพื้นถิ่นตามที่เคยเป็นมา ลองพิจารณาการจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์มนุษยชาติอย่างที่จัดแสดงจนถึงปี2003 เพราะ การจัดแสดงในตู้หลายๆ แห่งแทบไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเลยตั้งแต่เมื่อเปิดพิพิธภัณฑ์ หากจะให้พิจารณาให้ชัดเจนลงไป “ร้อยปีอัลเจรี” เป็นภาพตัวแทนที่รับรู้กันในช่วงเวลานั้นมีสภาพที่คล้องไปกับมหาอำนาจ ฝรั่งเศสที่สัมพันธ์กับประเทศในอาณานิคม ร้อยปีของการโฆษณาชวนเชื่อในสังคมฝรั่งเศสไม่ใช่เพียงการสร้างภาพตัวแทน จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส แต่ยังย้ำถึงอาณาจักรที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ พิพิธภัณฑ์ตกเป็นเครื่องมือในการตอกย้ำถึงภาพดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 สถาบันแห่งนี้ได้พัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเทศในมาเกรบ (ประเทศในกลุ่มมาเกรบประกอบด้วยอัลเจรี ตูนีซี และมารอค – ผู้แปล) จึงยังผลให้มีคลังวัตถุที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น และเป็นโอกาสที่ผู้ชมจะได้พบกับความหลากหลายของชาติพันธุ์ในอัลเจรี, Kabyle, Cha’amba, Touareg, Chaouia   ความเป็นตะวันออกของ  Al-Djaza?r  ความแตกต่างของหญิงในมาเกรบและหญิงตะวันออก หากเราพิจารณาตั้งแต่ตัน พิพิธภัณฑ์มนุษยชาติกล่าวถึงความหลากหลาย แต่ความไม่ชัดเจนกลับปรากฏให้เห็นในการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับชนพื้นถิ่น ในประเทศที่เป็นอาณานิคม เราจะเห็นถึงการสร้าง “แบบตายตัว” พื้นที่ที่มีลักษณะตรงข้าม เมือง/ชนบท เหนือ/ใต้ และภาพที่คิดอย่างดาดๆ เกี่ยวกับตะวันออก ภาพของการแบ่งแบบสุดขั้วเช่นนี้ปรากฏในแนวคิด ป่าเถื่อน/อารยะ เลว/ดี ผลของการสร้างภาพเช่นนี้กลายเป็น “การตรา” ภาพที่ตายตัวเกี่ยวกับเผ่าพันธุ์ เพศ และศาสนา ในความหลากหลายตามที่มีการนำเสนอนี้ กรอบหลักที่ปรากฏไปทั่วคือ “ความเป็นตะวันออก” ดังจะเห็นได้จากอัฟริกาเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Al-Dajaza?r กลับถูกรวมเข้าไปอยู่ใน “โลกตะวันออก” ทั้งทีมีลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมที่ต่างไปจากกลุ่มวัฒนธรรมใหญ่   กรณีของการนำเสนอภาพลักษณ์ของสตรีเป็นตัวอย่างของการผสมปนเปทางวัฒนธรรม(amalgame culturel) ภาพ ของสตรีมาเกรบในพิพิธภัณฑ์มนุษยชาติแสดงให้เห็นโลกของสตรีที่ร่ำรวยและขัด แย้ง ระหว่างสตรีโมเรสก์ ยิว กาบีย์ ชาอู หรือกระทั่งตูอาเร็ก กลับปรากฏเรือนร่างเช่นเดียวกับหญิงในกลุ่มมาเกรบ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับสตรีในตะวันออกกลาง แต่ความคิดเหล่านี้ยังคงอยู่ในระดับที่แตกต่างกัน เพราะภาพในจินตนาการของโลกตะวันออก   ภาพของหญิงที่เราเรียกว่า “โมเรกส์” นำเสนออยู่ในตู้จัดแสดงในกลุ่มวัฒนธรรมแขกขาว (Afrique Blanche) ในส่วนจัดแสดง “ชุดชาวเมือง” ชุดของหญิงชาวยิวจัดแสดงเคียงคู่ไปกับกลุ่มภาพที่แสดงลักษณะของ “สตรีมุสลิม” พวกเธอใส่ผ้าคลุมหน้า/ศีรษะ หญิงเหล่านั้นคลุมหน้าในกรณีที่อยู่บ้านในขณะที่ต้องต้อนรับเพื่อน งานแต่งงาน หรือการตกแต่งร่างกายด้วยเฮนนา นอกไปจากรูปที่ให้ข้อมูลทางวัฒนธรรมแล้ว กลับไม่มีการอธิบายใดๆ ถึงชีวิตประจำวันหรือสถานภาพของสตรีในสังคมมาเกรบ ด้วยเหตุนี้ผู้ชมจะสร้างภาพจากสิ่งที่จัดแสดงนี้ ภาพดังกล่าวเป็นความสับสนระหว่างวัฒนธรรมมาเกรบและตะวันออก สตรีโมเรสก์ ซึ่งเป็นกลุ่มวัฒนธรรมที่ยากจะเข้าถึงในสมัยที่ยังคงเป็นชนเร่ร่อน กลายเป็นภาพตัวแทนของวัฒนธรรมตะวันออกดังที่ปรากฏในนิยายเรื่อง พันหนึ่งทิวา ภาพที่ปรากฏต่างๆ มีส่วนที่คล้ายคลึงกับโปสการ์ดในช่วงอาณานิคม หญิงในภาพปรากฏภาพลักษณ์ในทำนองภาพเขียนชื่อดังของเดอลาครัวซ์ หญิงแก่งอัลแชร์ในบ้านพักของเธอ ที่เขียนขึ้นศตวรรษก่อนหน้านั้น   หากกล่าวว่าภาพถ่ายเป็นส่วนสำคัญในการสร้างกรอบการจัดแสงนิทรรศการในการสร้างเรือน ร่างของสตรีเรสก์ การเลือกการจัดแสดงเช่นนี้นำไปสู่ข้อถกเถียงกัน ฉะนั้น เมื่อพิจารณาในเรื่องการนำเสนอเครื่องประดับ การตกต่างร่างกาย และการแต่งกาย การนำเสนอเช่นนั้นปิดกั้นสตรีโมเรสก์ไว้เพียงตัววัตถุจากภาพโปสการ์ด(ยุคอาณานิคม) ภาพ ลักษณ์เช่นนั้นไกลห่างจากความเป็นจริงทางสังคมและวัฒนธรรมของประเพณีมาเกรบ ที่สตรีจะมีบทบาทในครอบครัวอย่างยิ่ง อีกนัยหนึ่ง การแสดงเช่นนี้ไม่สามารถเป็นตัวแทนสตรีโดยรวม ตู้การจัดแสดง “กาบีย์ลี” มีลักษณะการนำเสนอที่แตกต่างออกไป ภาพที่จัดแสดงสร้างให้เห็นหญิงกาบีย์ในบริบททางวัฒนธรรมและชีวิตประจำวัน ด้วยการนำเสนอการผลิตเครื่องปั้นดินเผา การเตรียมดิน การเก็บฟืน การตกแต่งเครื่องปั้น ชาวบ้านกาบีย์ปรากฏตัวตนในมิติทางสังคม และไม่ใช่เพียงเครื่องประดับ นอกจากนี้ ยังไม่มีคำบรรยายประกอบภาพอื่นๆ ความเข้าใจที่ได้รับจากการจัดแสดงเป็นเพียงสภาพของสตรีในภูมิภาคอัลเจรี   สตรีชาวชาอูได้รับการนำเสนอที่มีลักษณะ “เป็นจริง” ด้วย ดังที่นักประวัติศาสตร์ David Prochaska เขียนไว้ในบทความบทหนึ่งว่า ภาพตัวแทนของอาณานิคมแตกต่างไปจากภาพที่ปรากฏในโปสการ์ด เขาได้ใช้การจัดนิทรรศการ “อูเรซ” (Aur?s) ซึ่งจัดขึ้นที่พิพิธภัณฑ์มนุษยชาติ เมื่อปี 1943 ภาพที่นำเสนอทั้งหมด 123 ภาพ ที่ถ่ายไว้ในช่วงการทำงานของ Germaine Tillon และ Th?r?se Rivi?re ภาพแสดงให้เห็นกิจกรรมต่างๆ ในวิถีชีวิตของชาวอูเรซ (กลุ่มชนอับเดอรามาน) ทั้งการเก็บอินทผลัม การเตรียมกูซกูซ (อาหารพื้นถิ่น – ผู้แปล) และการเตรียมเส้นใยจากแกะ (งานเฉพาะของสตรี) การ นำเสนอภาพที่ไม่ได้มาจากจินตนาภาพตะวันตก “หญิงงานแห่งโมเรสก์” เช่นนี้ จึงแสดงให้เห็นสภาพของหญิงชนบทในชีวิตประจำวัน เราออาจจะสันนิษฐานได้ว่า การที่ Th?r?se เป็นสตรีเพศย่อมเข้าถึงโลกของผู้หญิงได้มากขึ้น ข้อมูลจึงมีความใกล้เคียงสภาพของสังคมและเศรษฐกิจไปด้วย   หากกล่าวถึงหญิงชาวตูอาเร็ก การจัดแสดงกลับมีความคลุมเครือมากขึ้น เมื่อพิจารณาลักษณะทางภูมิศาสตร์ ทะเลทรายซาฮาราครอบคลุมเป็นแหล่งการดำรงชีวิต การมองอย่างกว้างๆ เช่นนี้ทำให้เกิดความสับสนการพูดถึงบริเวณทางภูมิศาสตร์ อันที่จริง พื้นที่ซาฮารามีความเกี่ยวข้องกับทะเลทรายอาระบี และทะเลทรายนี้เป็นจินตภาพสำคัญของโลกตะวันออก ภาพลักษณ์ของหญิงชาวตากูเร็ก หรือ ตาร์กัว(Targuia) เสนอ ไปในทำนองเดียวกับภาพของโลกตะวันออก โดยเป็นภาพของหญิงมาเกรบมากกว่าเป็นภาพของหญิงมุสลิม ดังนั้น จึงทำให้เข้าใจว่า แม้สตรีชาวตูอาเร็กจะมีสถานภาพตามศาสนาบัญญัติ แต่ด้วยความรู้และความสามารถทางศิลปะที่ปฏิบัติในชุมชน สตรีในกลุ่มชนชั้นสูงสามารถอ่านได้และเป็นเจ้าของฝูงสัตว์ การจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์มนุษยชาติ ตู้จัดแสดงหลายใบนำเสนอภาพวิถีชีวิต การแต่งกายของหญิงตูอาเร็ก หนึ่งในบรรดาตู้จัดแสดงนำเสนอชุดแต่งกายสามชุดพร้อมด้วยเครื่องดนตรี (imzade) แต่ ในเนื้อหาทั้งหมด ไม่มีส่วนที่กล่าวถึงสถานภาพของสตรีในเชิงสังคมและเศรษฐกิจ ในประเด็น เราจะเห็นชัดถึงสถานภาพ “ที่อยู่นอกขนบ” ของหญิงตากัว ในพื้นที่ทางสังคมและวัฒนธรรมของมุสลิม กลายเป็นภาพร่วมของความเป็นตะวันออกในโลกของตาอูเร็ก อย่างไรก็ตาม หากมองในมุมวิชาการหรือพิพิธภัณฑ์วิทยา ลักษณะเฉพาะที่สัมพันธ์กับวัตถุเป็นสิ่งที่ยากต่อการบอกเล่าสู่สาธารณชน   เชื้อชาติและวัฒนธรรม มาเกรบที่หาไม่พบ การสังเกตการณ์ที่เกิดขึ้นแรกๆ เมื่อนายทหารฝรั่งเศสเข้าไปในอัลเจรีคือ ความหลากหลายของประชากรที่มีการใช้ชื่อเรียกกลุ่มต่างๆ อาหรับ โมเรสก์ แบร์แบร์ส กาบีย์... ราย นามของการเรียกข่านแต่ละกลุ่มยังมีอีกมาก การให้ชื่อแบบนี้แสดงให้เห็นถึงการมองผู้คนผืนถิ่นในลักษณะของ “ชิ้นกระจกสีที่เชื่อมต่อผู้คน” (mosa?que de peuples) แต่การจัดแบ่งก็หมายรวมถึงการจัดลำดับและชนชั้น การจัดแบ่งนี้กลายเป็นจินตภาพภาพที่ติดตรึงกับสังคมฝรั่งเศสในการมองกลุ่มคน   เมื่อพิจารณากลุ่มชนพื้นถิ่นทั้งหมด ชาวตาอูเร็กได้รับการปฏิบัติที่ดีที่สุด แม้จะมีเรื่องชื่อทางการสงคราม ด้วยเหตุนี้ แม้ผู้คนทั่วไปจะมีภาพคลุมเครือเกี่ยวกับชนกลุ่มนี้ แต่กลับคิดไปใน“เชิงบวก” มากกว่า ด้วยถิ่นฐานของคนตาอูเร็ก กองทัพฝรั่งเศสจึงให้ความสนใจต่อชนกลุ่มนี้ไม่มากนัก ในระยะหลายทศวรรษของการล่าอาณานิคม กลุ่มอำนาจต่างๆ ให้ความสนใจกับปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทางเหนือของอัลเจรี จนปลายศตวรรษที่ 19 ที่ฝรั่งเศสให้มาให้ความสนใจทางทหารกับพื้นที่ขนาดใหญ่นี้ ในเหตุการณ์ปี 1880 ช่วงสุดท้ายของภารกิจฟลาเตอร์ที่สมาชิกถูกฆาตกรรมหมู่โดยกองกำลังเกล อาการ์ (KEl Ahaggar) กลายเป็นที่กล่าวขานถึงอย่างมากในฝรั่งเศส แต่กลับไม่ได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ที่มีต่อชนกลุ่มตาอูเร็กมาก   ในบริบทนี้ ไม่มีสิ่งใดที่น่าสงสัยมากไปกว่าเรื่องการจัดแสดงชนกลุ่มนี้ในพิพิธภัณฑ์ การจัดแสดงในหลายตู้สะท้อนภาพของชนตูอาเร็กในลักษณะของพวกคลั่งสงคราม ผู้มีบุคลิกภาพที่น่าเคลือบแคลงสงสัย ยากที่จะติดตามและลึกลับ หุ่นที่แสดงถือดาบในมือและมีโล่ที่ใช้ในการสงคราม ผู้ชมได้เห็นภาพเช่นนี้ตั้งแต่ครึ่งหลังศตวรรษที่19 แต่ เราควรสังเกตด้วยว่าภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนจาก “นักรบแห่งทะเลทราย” สู่อัศวินแห่งทะเลทรายในอาหรับ ทั้งๆ ที่อยู่ในสิงแวดล้อม อุณหภูมิ และมีความกล้าหาญเฉกเช่นกัน แม่เราจะมองว่าชนตูอาเร็กมีวัฒนธรรมร่วม “ตะวันออก” แต่พวกเขามีความแตกต่างจกชนพื้นถิ่นอื่นๆ ในหลายๆ ด้าน การจัดระเบียบทางสังคม และการปฏิบัติทางศาสนา (ชนผิวขาวที่หันมานับถือคริสต์)   หนึ่งในตู้จัดแสดงที่สะท้อนให้เห็นความเป็น “เจ้าทะเลทราย” ดังที่ปรากฏในคำอธิบายดังนี้ “ตูอาเร็กเป็นชนผิวขาวที่ไม่ได้พบมากนัก พวกเขาเร่ร่อนอยู่ในทะเลทรายและเป็นพวกที่สู้รบ อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูเขาของซาฮารา ครอบคลุมไปถึงทางใต้ของซูดาน ภาษาของพวกเขา “ตามาเชก” ที่รากเดียวกับชนแบร์แบร์ ใช้กันในกลุ่มคนมากกว่าแสน การจัดระเบียบทางสังคมแบ่งไปตามพื้นที่ปกครองย่อยคล้ายๆ ระบบฟิวดัลในยุโรป พวกเขาเชี่ยวชาญในการอยู่กลางทะเลทราย พวกเขาเป็นชนนักรบที่น่าสงสัย แต่ก็สร้างอิทธิพลมากมายในซาฮารากลางเปรียบเสมือนเจ้าแห่งทะเลยทราย   ในป้ายบรรยายที่เกี่ยวข้องกับตูอาเร็ก ส่วนแรกของข้อความแสดงให้เห็นถึงรายละเอียดต่างๆ(ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ภาษาพูด การจัดระเบียบทางสังคม) และ ตรงข้ามกับส่วนที่สองที่สั้นกว่าแต่มีการเล่าเรื่องที่ใช้ภาพลักษณ์ที่แพร่ หลายในช่วงเวลานั้นมากกว่า หากจะเปรียบเทียบตัวอย่างที่กล่าวถึง “แอตลองติก” ของ Pierre Benoit ความคลุมเครือของพิพิธภัณฑ์ยิ่งเป็นการย้ำภาพจินตนาการ   การปฏิบัติศาสนกิจ: อิสลาม ตั้งแต่สงครามศาสนา ศาสนาได้เป็นางที่แบ่งแยกการกล่าวถึงอัตลักษณ์ระหว่างตะวันออกและตะวันตก สิ่งที่แบ่งแยกคือคำเรียก “โลกตะวันออก” สัมพันธ์กับความเป็นอิสลามที่นำเสนอในส่วนการจัดแสดงอัฟริกาเหนือและตะวัน ออกกลาง วัตถุจัดแสดงและภาพในตู้จัดแสดงเกี่ยวข้องกับอิสลาม (การปลงศพ สัญลักษณ์ที่ศาสนา ชาฮาลา ตัวอย่างคัมภีร์อัลกูลอาน) และคำอธิบายต่างๆ ที่แสดงให้เห็นธรรมเนียมปฏิบัติทางศาสนา บทบัญญัติ 5 ประการ ของอิสลามประกอบด้วยความเชื่อและศรัทธา การละหมาด การบริจาค การถือศีลอด และการจาริกแสวงบุญ พิธีกรรมเหล่านี้กำหนดไว้ในแต่ละช่วงชีวิต แต่สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือความหมาย ตัวอย่างเช่นการถือศีลอดที่หมายรวมถึงการอดซึ่งอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องหอม เครื่องยาสูบ ความสัมพันธ์ทางเพศ   การมองเพียงภาพรวมๆ และผิวเผินเช่นนี้สามารถสร้างความสับสนของการมองวัฒนธรรมระหว่างตะวันออกลาง และมาเกรบ อันที่จริง อิสลามในมาเกรบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอัลเจรีมีแบบแผนการปฏิบัติที่แตกต่างไป จากตะวันออกใกล้และตะวันออกลาง ดังจะเห็นได้ว่าไม่มีธรรมเนียมทางศาสนามาเกรบกล่าวไว้ในตู้จัดแสดงเลย การจัดแสดง “ค้อน” “ขวาน” และ “ดาบ” ทำให้ผู้ชมเข้าใจความหมายเชิงสัญลักษณ์ของสิ่งเหล่านี้ได้มากน้อยเพียงใด คำอธิบายกลับบอกเล่าถึงวัตถุเหล่านี้ว่าเป็นเพียง “ส่วนไม่สำคัญ” ของสังคมมาเกรบ หากแต่ในความเป็นจริงสิ่งเหล่านี้มีบทบาทสำคัญตราบเท่าปัจจุบัน ตู้จัดแสดงต่างๆ มีคุณสมบัติอยู่ 2 ประการในการกล่าวถึงความเป็นอิสลามคือ ความเคร่งต่อวิถีปฏิบัติทางศาสนา และธรรมเนียมเป็นแบบแผนเดียว   โดยสรุปแล้ว ช่องว่างเกิดขึ้นจากแนวคิดดั้งเดิมของพิพิธภัณฑ์และตัวเลือกของนักวิชาการ ผู้รับผิดชอบการจัดแสดง ในช่วงหลายทศวรรษแรกของพิพิธภัณฑ์ ตัวเลือกการจัดแสดงอยู่บนแนวคิดของการจัดประเภท “ชนพื้นถิ่น” ที่ไปสอดรับกับอคติของสาธารณชน แต่แนวคิดการทำงานจะเป็นอย่างอื่นไปได้อย่างไร ในเมื่อบริบททางวิชาการ การเมือง และความเป็นสถาบันอยู่ภายใต้แนวคิดของการมีอำนาจเหนือเช่นนั้น   ตั้งแต่ปี2003 วัตถุชาติพันธุ์ของพิพิธภัณฑ์ไม่ได้จัดแสดงอีกต่อไป การจัดแสดงเป็นแบบแผนการนำเสนอของศตวรรษที่ผ่านไป เป็นเรื่องยากต่อการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างน้อย วัตถุเหล่านั้นเปิดให้คนหลายชั่วอายุคนได้เรียนรู้กับรูปแบบทางวัฒนธรรมที่ แตกต่างออกไป   กรอบการทำงาน ทั้งวิธีการและอุดมการณ์เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ทางชาติพันธุ์ หากกล่าวกว้าง อาจพูดได้ว่าการจัดประเภทมาจากสัญญะที่ถูกเลือกใช้ในการนำเสนอภาพความเป็น อื่น เราคงอาจถามตนเองได้ในทุกวันนี้ในทุกวันนี้หากเราจะต้องให้ที่ทางความ สัมพันธ์ระหว่างตัวเราเองกับผู้อื่น/ความ เป็นอื่น ก็กลายเป็นการเลือกปฏิบัติหรือการยกคุณค่าประการใดประการหนึ่ง แล้วพิพิธภัณฑ์จะมีบทบาทอย่างไรเมื่อเผชิญกับคำถามนี้ จะทำอย่างไรเมื่อต้องพูดหรือกล่าวถึงความเป็นอื่น โดยไม่ไปกดทับ ทุกคำถามยังคงเป้นที่ถกเถียงของคนพิพิธภัณฑ์ นักวิชาการ และนักวิจัย ณ ห้วงเวลานี้ คือการวางสถานะของความเป็นสถาบันพิพิธภัณฑ์เสียใหม่ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การอพยพ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ยุโรปและเมดิเตอเรเนียน พิพิธภัณฑ์ เก บรองลี ตอบสนองต่อบริบทใหม่ๆ และความต้องการอื่นๆ ของสาธารณชน   จากประวัติศาสตร์อันยาวนานของการล่าอาณานิคม พิพิธภัณฑ์ฝรั่งเศสจะต้องศึกษาอย่างจริงจังเกี่ยวกับความทรงจำ ในยุคสมัยที่ฝรั่งเศสกลายเป็นสังคมพหุชาติพันธุ์ ทั้งชุมชนคนต่างชาติหรือชุมชนของคนมาจากประเทศอดีตอาณานิคม กลายเป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายทางวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ในทุกวันนี้เผชิญกับข้อท้าทายใหม่ๆ บทบาทหนึ่งที่สำคัญคือการย้อนกลับไปมองและวิพากษ์ต่อสิ่งที่ตนเองเคยกระทำ ตั้งแต่ระบบพิพิธภัณฑ์ที่เคยสัมพันธ์กับการล่าอาณานิคม พิพิธภัณฑ์จะต้องปรับเปลี่ยนตัวเองสู่พื้นที่ของการพบปะและแลกเปลี่ยน และเปิดโอกาสให้กับประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนเช่นนี้ จากอดีตที่เคยจำกัดตนเองเพียงพื้นที่ตอบสนองงานวิชาการและการเมือง นั่นหมายถึง การสร้างพื้นที่ความทรงจำร่วมที่แบ่งปัน    แปลและเรียบเรียงจาก H?dia Yelles-Chaouche, L’Autre dans la vitrine, La lettre de l’OCIM n?103, septembre 2006, p. 18 – 24.  

การตอบโต้ของโลกตะวันออก การท่องเที่ยว เสน่ห์ตะวันออก และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์

20 มีนาคม 2556

บทคัดย่อ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาการท่องเที่ยวเชิงวิพากษ์ ด้วยการใช้แนวคิด “แนวคิดนิยมตะวันออก” (Orientalism)1 ของ Edward Said บทความจะวิเคราะห์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ 3 แห่ง คือ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย ที่เชื่อมโยงกับตัวตนของความเป็นเอเชียนสิงคโปร์ สิงคโปร์กลายเป็นเมืองที่มีความทันสมัยและเป็นตะวันตกมากเกินไปสำหรับนัก ท่องเที่ยวชาวตะวันตกหลายๆ คน และทางการกำลังพัฒนาให้ประเทศมีความเป็นเอเชียมากขึ้น ในขณะที่งานการศึกษาจำนวนมากที่ใช้แนวคิดของซาอิดพยายามกล่าวถึงอิทธิพลของ ตะวันตกต่อตะวันออก แต่บทความนี้แย้งว่าโลกตะวันออกนั้นสามารถจะตอบโต้การมองอย่างผิวเผินของโลก ตะวันตกที่มีต่อพวกเขาได้ ในกรณีศึกษานี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั้งสามแห่งได้ปรับตัว เลือกรับ และสร้างความเป็นตะวันออก เพื่อสร้างลักษณะเฉพาะและความเหนือกว่าของสิงคโปร์ในฐานะเมืองท่องเที่ยวและ ในฐานะส่วนหนึ่งของสังคมเอเชีย วิธีการต่างๆ ที่สิงคโปร์เลือกใช้ในการสร้างตัวตนความเป็นเอเชีย ได้ตอบสนองต่อจุดมุ่งหมายในการสร้างชาติด้วยเช่นกัน   คำสำคัญ: การศึกษาการท่องเที่ยวเชิงวิพากษ์, มรดก,การสร้างชาติ,เสน่ห์ตะวันออก,วิศวกรรมทางสังคม   เกริ่นนำ นักวิจัยจำนวนมากให้ความสนใจกับผลกระทบทางสังคมของการท่องเที่ยว ทั้งนี้ ประกอบด้วยแนวทางการสิวิจัยกระแสหลักๆ มีอย่างน้อย3 แนว ได้แก่ แนวแรกซึ่งพบมากจะกล่าวถึงประเด็นที่สัมพันธ์กับปัญหาต่างๆ เช่น ปริมาณความหนาแน่นของแหล่งมรดก การลดคุณค่าของงานหัตถกรรมท้องถิ่น การขายวัฒนธรรมพื้นถิ่น การสร้างให้คติชนของชนพื้นถิ่นเป็นเรื่องน่าพิศมัย ไปจนถึงภาวะเงินเฟ้อและปัญหาการลักลอบขนถ่ายวัตถุวัฒนธรรม (Cohen 1988; Philo and Kearns 1993; Van der Borg, Costa and Gotti 1996; Watson and Kropachevsky 1994) หรือนักวิชาการบางคนถึงขนาดมองการท่องเที่ยวเป็นรูปแบบหนึ่งของการล่าอาณานิคมและ “การขายตัว” (Mathews 1975: 201)   แต่ใช่ว่าผลกระทบทางสังคมของการท่องเที่ยวจะเป็นไปในเชิงลบเสียทั้งหมด การศึกษาจำนวนหนึ่งแสดงให้เห็นว่าผลกระทบเชิงวัฒนธรรมที่เกิดจากการท่อง เที่ยวกลับได้รับความชื่นชมและการต้อนรับเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจุดหมายปลาย ทาง(Boissevain 1996; Erb 2000; Martinez 1996; Picard 1995) และนักวิจัยอีกหลายคนพยายามสร้างสรรค์แนวทางการจัดการที่สมดุลย์ในการพัฒนาการท่องเที่ยว (Chang 1997; Jenkins 1997; Newby 1994; Teo and Yeoh 1997)   งานวิจัยกระแสที่สองมองไปที่มิติทางการเมืองในการนิยามและจัดการสิ่งที่เรียก ว่าเป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวที่สมดุลย์และให้ความเป็นธรรม ในขณะที่นักวิจัยและผู้ปฏิบัติบางคนกลับไม่เห็นด้วยกับความต้องการที่จะ พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสมดุลย์ เพราะคำถามอยู่ที่ว่าแล้วจะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างไร ตัวอย่างเช่นการใช้แนวคิด “ทางเลือกที่สาม” ของกิดเดน ในงานเขียนของเบิร์น (2004) ได้กล่าวถึงมุมมองแบบแยกขั้วของการท่องเที่ยว ในมุมมองหนึ่ง หากมองแบบ “ซ้ายจัด” การพัฒนาต้องมาก่อน (leftist development first) นั่น หมายความว่า “การพัฒนามนุษย์อย่างยั่งยืนเป็นเป้าหมายสำคัญ โดยจะต้องมาจากคนในท้องถิ่นและความรู้จากถิ่นที่นั้น” คำถามหลักของการพัฒนาต้องมองว่า “สิ่งใดบ้างที่การท่องเที่ยวให้กับเราได้โดยไม่ทำร้ายเรา” (Burn 2004: 6) ส่วนมุมมองที่สองมองจาก “ขวาจัด” ที่การท่องเที่ยวต้องมาก่อน (rightist tourism first) มุม มองที่เน้นว่าการตลาดต้องได้ผลประโยชน์อย่างสูงสุด และทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักแพร่หลายที่สุด ผลิตภัณฑ์จากทุกแหล่งทุกลักษณะขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดการท่องเที่ยว ซึ่งกำหนดโดยนักวางแผนภายนอกและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติ (Burns 2004: 26)   ทางเลือกที่สามได้หาทางออกให้กับผลประโยชน์และเป้าหมายที่ต่างกันให้เป็น ฉันทามติร่วมกัน ทางเลือกที่สามของเบิร์นส์ยังคงเป็นแนวคิดที่ไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติ สังคมที่เป็นเจ้าบ้านที่ต้อนรับนักท่องเที่ยว(host society) แต่ละแห่งได้พบทางออกของตนเองในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตัวอย่างเปรียบเทียบระหว่างเดนมาร์กกับสิงคโปร์ กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวของเดนมาร์กเน้นไปที่การป้องกันผลกระทบทาง สังคมอันเกิดจากการท่องเที่ยว ในขณะที่ สิงคโปร์กลับซึมซับผลกระทบและจัดการสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยโครงการวิศวกรรมทาง สังคม2 (Ooi 2002a) ทั้งทางการสิงคโปร์และเดนมาร์กกล่าวอ้างถึงโครงการต่างๆ ของตนว่าได้สร้างความสมดุลย์ ระหว่างการท่องเที่ยวและความต้องการของท้องถิ่น (Ooi 2002a) วิถี ทางที่สมดุลย์ขึ้นอยู่กับบริบททางสังคมและการเมืองของสังคมที่เป็นเจ้าบ้าน กระบวนการทางการเมืองเข้ามามีอิทธิพลต่อการกำหนดผลประโยชน์ว่าจะตกแก่กลุ่ม ใด   กระแสการวิจัยที่สามที่ศึกษาผลกระทบของการท่องเที่ยวมองไปที่ว่า “ตะวันตก” จินตนาการอย่างไรถึงภาพของแหล่งการท่องเที่ยวที่ไม่ใช่ตะวันตกและที่มีว่า สภาพพัฒนาน้อยกว่า จินตนาการของสังคมตะวันตกส่งผลต่อสังคมเจ้าบ้านและกลายเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง การล่าอาณานิคม นอกไปจากงานเขียนจำนวนน้อยนิด เช่นงานของมอร์แกนและพริตชาร์ด (1998) อุย, คริสเตนเซน และพีเดอเซน (2004) เซวีน (1993) และซิลเวอร์ (1993) แนวทางการวิจัยแนวนี้ยังคงได้รับความสนใจอย่างจำกัด บทความนี้จัดวางตัวเองอยู่ในกระแสการวิจัยสายนี้ด้วยเช่นกัน   การศึกษาในกระแสดังกล่าวสนใจศึกษาผลกระทบที่ซับซ้อนของภาพลักษณ์แหล่งท่อง เที่ยวของสังคมเจ้าบ้าน ไม่ใช่เพียงภาพตื้นๆ และภาพที่มองอย่างล้อเล่น แต่เป็นภาพส่งอิทธิพลต่อสังคมเจ้าบ้าน และได้รับผลจากสิ่งที่เรียกว่าอิทธิพลตะวันตกต่อชุมชนเจ้าบ้านที่พัฒนาน้อย กว่า การศึกษาดังกล่าวนี้มาจากมุมมองเชิงวิพากษ์ของเอดเวิร์ด ดับเบิลยู. ซาอิด ที่กล่าวถึงแนวคิดนิยมตะวันออก (Orientalism) (Said 1979)   บทความชิ้นนี้จะเปรียบเทียบพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสิงคโปร์3 แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ (SHM) พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ (SAM) และพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย (ACM) ทั้ง สามแห่งนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นเอเชียและแตกต่างกันไปในแต่ละทิศทาง ผู้เขียนขอกล่าวว่ากระบวนการนี้เป็นการสร้างภาพของความเป็นตะวันออกด้วยตนเอง (self-Orientalization) ใน สิงคโปร์ บทความจะแสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวชาวตะวันตกเรียกร้องอย่างไรต่อแหล่ง ท่องเที่ยวอย่างสิงคโปร์ให้เป็นมากกว่าเอเชีย จุดเน้นของบทความจะอยู่ที่การพิจารณาว่าหน่วยงานการท่องเที่ยวสิงคโปร์และ รัฐบาลสร้างภาพความเป็นตะวันออกของสิงคโปร์ผ่านพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั้ง สามแห่งอย่างไร เพื่อตอบสนองการท่องเที่ยวและการสร้างชาติสิงคโปร์ บทความจะย้อนกลับไปตั้งคำถามตามมุมมองของซาอิดเกี่ยวกับอิทธิพลตะวันตกต่อ ตะวันออกในประเด็นที่ว่า สังคมเจ้าบ้านได้ยอมรับและประดิษฐ์สร้างภาพความเป็นตะวันออกในโครงการสร้าง อัตลักษณ์ของตนเองอย่างไร การอภิปรายแนวคิดนิยมตะวันออกไม่ควรจำกัดอยู่เพียงการมองว่าตะวันตกส่ง อิทธิพลต่อตะวันออกที่ “อยู่ใต้อาณัติ” อย่างไร กลุ่มอำนาจในสังคมแหล่งท่องเที่ยวได้เลือกรับและปรับใช้ภาพความเป็นตะวันออก ที่จะยังประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการสร้างภาพอัตลักษณ์ท้อง ถิ่นขึ้นใหม่อย่างไร การสร้างภาพของความเป็นตะวันออกของสังคมเจ้าบ้านจะต้องได้รับการศึกษาและทำ ความเข้าใจจากบริบททางสังคมและการเมืองของท้องถิ่นแห่งนั้น   ในลำดับถัดไป ผู้เขียนจะกล่าวถึงการท่องเที่ยวในฐานะที่เป็นรูปแบบของอิทธิพลภายในกรอบการ มองของซาอิด ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจะนำเสนอกรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์3 แห่งของสิงคโปร์ พิพิธภัณฑสถานสามแห่งนี้จัดตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการการท่องเที่ยวสิงคโปร์ (STB) เพื่อ สร้างสิงคโปร์ให้เป็นเอเชียมากขึ้น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ได้สร้างให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความโดน เด่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ผลักดันให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางด้านศิลปะของเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ และพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียได้ขุดรากเหง้าของบรรพชนสิงคโปร์ที่เชื่อมโยง กับจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง   จากนั้น เป็นการสำรวจว่าพิพิธภัณฑ์แต่ละแห่งสร้างภาพความเป็นตะวันออกของสิงคโปร์ อย่างไร และแต่ละแห่งสร้างเรื่องเล่าใหม่เพื่อปั้นแต่งจินตนาการสนองการท่องเที่ยว และท้องถิ่นอย่างไร ในทำนองเดียวกัน การจะเข้าใจเรื่องเล่าเหล่านี้จะต้องคำนึงสภาพและเงื่อนไขทางสังคม วัฒนธรรม และการเมืองของสิงคโปร์ ส่วนสุดท้ายจะสรุปข้อโต้แย้งและข้อสนับสนุนความเข้าใจที่คลุมเครือของการ ท่องเที่ยวในฐานะที่เป็นรูปแบบทรงอิทธิพลในการศึกษาการท่องเที่ยวเชิง วิพากษ์   การท่องเที่ยวและแนวคิดนิยมตะวันออก จากแนวทางการวิพากษ์ของฟูโกต์ ซาอิด(1979) ได้ ตั้งคำถามและท้าทายแนวคิดนิยมตะวันออก ซาอิดได้ควบเกลียวของจักรวรรดินิยมทั้งทางวัฒนธรรมและการเมืองเข้าด้วยกัน และได้กล่าวว่า ผู้ที่สร้างภาพของความเป็นตะวันออก ทั้งนักเขียนและนักวิชาการ ‘ตะวันตก’ ผู้ที่ศึกษาความเป็นตะวันออก ได้เคยเสนอภาพที่ผิดพลาด และยังคงนำเสนอภาพที่ผิดพลาดของโลกอิสลามในตะวันออกกลางในลักษณะที่ดูเหมือน ว่าตะวันตกจะครอบงำความเป็นตะวันออกได้ง่ายดาย ซาอิดเชื่อว่าความเป็นตะวันออกไม่ใช่เพียงสาขาวิชา แต่เป็นวาทกรรมเชิงอุดมการณ์ที่ยังคงพันเกี่ยวกับอำนาจของโลกตะวันตกอย่าง ไม่สิ้นสุด ซาอิดให้เหตุผลว่า นักวิชาการตะวันตกที่ศึกษาตะวันออกได้นำเสนอและแพร่ขยายภาพเฉพาะบางอย่างของ โลกตะวันออก โดยเน้นที่ความแตกต่างของจิตวิญญาณของโลกตะวันออกที่ต่างออกไปจากsinvตรง ข้ามกับจิตวิญญาณของโลกตะวันตก ภาพเช่นนั้นได้สร้าง คัดสรร และกล่าวถึงโลกตะวันออกในลักษณะที่เกินจริง และภาพต่างๆ ไม่ได้เป็นไปตามความจริงเชิงประจักษ์ และลดทอนความสำคัญของความหลากหลายทางภาษา วัฒนธรรม รูปแบบสังคม และโครงสร้างการเมืองในสิ่งที่เรียกว่าเป็นตะวันออก แนวคิดที่ซ่อนไว้เมื่อกล่าวถึงความเป็นตะวันออก จึงเป็นภาพของความต่ำต้อย การแสดงอำนาจบาทใหญ่ และไร้ซึ่งอารยธรรม   ตรรกะและหลักการที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีของซาอิดเกี่ยวกับความเป็นตะวันออก บันดาลใจให้นักวิชาการหลายคนได้ขบคิดเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับการที่ผู้คนคิดกับ สังคมอื่นอย่างไร และผู้คนเหล่านั้นจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจอย่างไรในกิจกรรมต่างๆ การอภิปรายด้วยแนวคิดนิยมตะวันออกได้จับประเด็นการศึกษาในพื้นที่ต่างๆ แอฟริกา(Jeyifo 2000; Mazuri 2000) เอเชียตะวันออก (Clarke 1997; Dirlik 1996; Hill 2000; Hung 2003) และยุโรปตะวันออก (Ash 1989; Kumar 1992; Ooi et al. 2004) การ วิเคราะห์ด้วยมุมมองนิยมตะวันออกยังผลักดันให้นักวิชาการกำหนดกรอบการนำเสนอ ความเป็นอื่นอย่างผิดพลาดและกล่าวอย่างกวาดรวมๆ ไป ทั้งเรื่องเพศและเพศสภาพ (ในงานของ Albet-Mas and Nogue-Font 1998; Lewis 1996; Mann 1997; Prasch 1996) เชื้อชาติและสำนึกชาติพันธุ์ (Jeyifo 2000; Mazrui 2000) และศาสนา (Amstutz 1997; Burke III 1998; Kahani-Hopkins and Hopkins 2002; Zubaida 1995) การ จัดแบ่งระหว่างความเป็นตะวันตกและตะวันออกไม่ได้แตกต่างไปจากการแยกขั้ว ระหว่างเหนือกับใต้และความจนกับความรวย ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดการตอบโต้ต่อโลกาภิวัตน์ ทั้งอิทธิพลทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของโลกตะวันตก (Chua 2003; Klein 2000; Shipman 2002) นักวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเช่น Clifford (1997) Echtner และ Prasad (2003) Morgan และ Pritchard (1998) Ooi และคณะ (2004) และ Silver (1993) ล้วนได้แรงบันดาลใจมาจากแนวคิดของซาอิดทั้งสิ้น   ข้อท้าทายของซาอิดต่อแนวคิดนิยมตะวันออกมีความสำคัญและมีนัยทางการเมือง มุมมองเชิงวิพากษ์แสดงให้เห็นว่าใครได้ประโยชน์ ใครถูกทำลาย ใครเป็นผู้แพร่ภาพ/ แนว คิดเกี่ยวกับตะวันตก และผลจากการรับภาพนั้น แนวทางในการวิเคราะห์จึงเป็นการมองหาสารที่อยู่ในภาพจากการเผยแพร่และความ หมายเชิงอุดมการณ์ที่อยู่ในสารดังกล่าว สารทั้งหมดถูกพิจารณาในฐานะของความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน ระหว่างกลุ่มที่นำเสนอภาพความเป็นอื่นอย่างผิดพลาดและตัวผู้ที่ “เป็นอื่น” นั้นเอง คำบางคำจะถูกเลือกเพื่อนำเสนอในสาร ความหมายถูกทำให้เข้มข้นขึ้น แต่ขณะเดียวกันมีความหมายหลายอย่างที่ถูกเลือกทิ้งไป อย่างเช่นภาพของสิงคโปร์ที่ถูกกล่าวถึงในสถานีวิทยุอังกฤษเกี่ยวกับรายการ ท่องเที่ยวพักร้อน งานเขียนของ Morgan และ Pritchard (1998: 225-228) แสดงให้เห็นความน่าตื่นเต้นเกี่ยวกับว่าสิงคโปร์ถูกสร้างขึ้นอย่างไร ภาพอดีตอาณานิคม ยาแผนจีน (สัตว์เลื้อยคลาน ม้าน้ำ และแมงป่องตากแห้ง) และ กฎเกณฑ์ที่เด็ดขาดเข้มงวด วิทยุไม่ได้พูดถึงว่ารัฐบาลปัจจุบันเป็นหนึ่งในพรรคการเมืองที่ขับไล่เจ้า อาณานิคมอังกฤษออกไปในช่วงทศวรรษที่ 1950 และ มีคนสิงคโปร์จำนวนน้อยมากที่ใช้แพทย์แผนจีนเพื่อการรักษาเป็นทางเลือกแรกใน ปัจจุบัน ส่วนกฎและระเบียบต่างๆ ที่เข้มงวดก็ปรากฏในทุกประเทศรวมทั้งอังกฤษด้วย ฉะนั้น ภาพที่ปรากฏในสื่อจึงเป็นการเสนอว่า สิงคโปร์คือความสำเร็จของอาณานิคมที่ชอบธรรม (ขอบคุณอังกฤษ) สิงคโปร์ ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางที่เปี่ยมด้วยเสนอเอเชียอย่างไม่เสื่อมคลาย และสิงคโปร์ไม่เป็นประชาธิปไตย คนที่มองภาพของสิงคโปร์จะเห็นถึงประสบการณ์ของมรดกอาณานิคมอังกฤษในสิงคโปร์ ได้มองเห็นการเยียวยารักษาของคนเอเชีย และชีวิตที่อยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการ ภาพและสารประเภทนี้จะเร้าผู้ชม ขายจุดมุ่งหมายการท่องเที่ยว และให้ภาพของสังคมเจ้าบ้านอย่างดาดๆ   ภาพเช่นว่านี้มีลักษณะที่เป็นแนวคิดนิยมตะวันออก(การสร้างภาพของเสน่ห์ตะวันออก) ประการ แรกภาพดังกล่าวมีลักษณะที่ผิวเผินและมาจากการนำเสนอภาพที่ผิดพลาด แต่กลับถูกนำเสนอด้วยสื่อที่น่าเชื่อถือและปรากฏในลักษณะที่เป็นข้อเท็จจริง ประการที่สอง ภาพดาดๆ ดังกล่าวมุ่งหมายในการย้ำภาพกว้างๆ ของ “ความเป็นอื่น” อยู่แล้ว ในกรณีของสิงคโปร์ก็คือเป็นมรดกอาณานิคมที่ยังคงมีความเคลื่อนไหว ชาวสิงคโปร์ชอบการรักษา “แปลกๆ” และสิงคโปร์ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยเสียทีเดียว ประการที่สาม การนำเสนอภาพที่ผิดพลาดกลับได้รับการเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวางและผ่านสถาบัน ต่างๆ รวมทั้งสื่อมวลชน กิจกรรมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว และสิ่งที่ได้ยินอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ประการที่สี่ สารที่สร้างความเป็นอื่นถูกสร้างผ่านมุมมองของสังคมตะวันตกสมัยใหม่ และอาจกล่าวได้ว่าเป็นการตัดสินคนอื่นจากสายตาของโลกตะวันตก ผู้เขียนขอชี้แจงดังนี้   สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศแล้ว การได้รู้จักกับสังคมที่พวกเขาจะเดินทางไปนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทาย ทั้งนี้เพราะการเดินทางมีระยะสั้น พวกเขาขาดความรู้ท้องถิ่น และได้รับข้อมูลที่ผ่านการกรองแล้วจากสื่อการท่องเที่ยวต่างๆ(Ooi 2002b) นัก ท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีภาพที่ฉาบฉวย ซ้ำซาก และคัดสรรมาแล้วเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในต่างประเทศ เพราะภาพเหล่านั้นสร้างขึ้นจากแหล่งข้อมูลจำเพาะ จากบทความแนะนำการท่องเที่ยว เรื่องในข่าว หนังสือท่องเที่ยว และเรื่องเล่าจากครอบครัวและเพื่อน แหล่งข้อมูลเหล่านี้จำนวนมากไม่น่าเชื่อถือ เช่น ภาพยนตร์ที่สร้างความน่าสนใจและสร้างเรื่องเล่าต่างๆ เพื่อกระตุ้นความปรารถนาที่จะไปยังสถานที่นั้นๆ ภาพยนตร์อย่างเรื่อง Braveheart และ Lord of the Ring ทำ ให้สก็อตแลนด์และนิวซีแลนด์กลายเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยว แต่ใช่ว่าภาพยนตร์ทุกเรื่องจะสร้างเรื่องและภาพในเชิงบวกและถูกต้องตามที่ เป็นจริง ภาพยนตร์ทำเงินของฮอลลีวูด เช่น Tomb Raider ได้ใช้สถานที่บางส่วนของนครวัด (กัมพูชา) และนำไปเชื่อมโยงสถานที่ลึกลับ (ที่ไม่มีจริง) แต่กลับปรากฏอักษรภาพอียิปต์ (ในศาสนสถานทางพุทธศาสนา!) และเป็นสถานที่ของคนพื้นถิ่น (ที่ไปสัมพันธ์กับคนเลว) สำหรับ นักอนุรักษ์ การอ้างอิงเช่นนี้สร้างเรื่องเล่าใหม่สำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งความพยายามในการอนุรักษ์ศาสนสถานทางพุทธศาสนา และเป็นวิถีทางที่จะชักนำให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Winter 2003)   ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกมุ่งมองหาภาพเสน่ห์ตะวันออก ภาพเหล่านี้ก็ได้การสร้างอย่างเป็นทางการและส่งเสริมโดยองค์กรในประเทศนั้นๆ เอง ส่วนหนึ่งเพราะจำนวนของนักท่องเที่ยวที่ร่ำรวยมีบทบาทสำคัญยิ่งกับ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในท้องถิ่น และการที่นักท่องเที่ยวมีภาพฝังใจเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวเป็นดังที่ว่านี้ จึงกลายเป็นปัจจัยหนึ่งในการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นไปในทิศทางดัง กล่าว เช่น สิงคโปร์มีความสะอาด ได้รับการพัฒนา และพร้อมที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยว แต่การโฆษณาที่พูดถึงเฉพาะความทันสมัยกลับไม่เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ มาเยือนสิงคโปร์(Ooi 2002b) ทั้ง ที่ความสะดวกสบายทันสมัยเยี่ยงในทุกวันนี้ ยังมีความสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย คือ ภาพความเป็นเอเชียยังเป็นส่วนหนึ่งของการเสนอขายการท่องเที่ยวให้กับนักท่อง เที่ยวชาวตะวันตก แน่นอนว่าความทันเสมัยและความสะดวกสบายเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่ใช่ปัจจัยเดียว (Ooi 2002b: 127) นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกจำนวนมากที่สนใจไปเยือนสถานที่ที่แตกต่างและไม่ถูกปรับเปลี่ยนไปกับความเป็นสมัยใหม่ (Errington and Gewertz 1989; Jacobsen 2000; MacCannell 1976; Silver 1993; Srrensen 2003) และภาพที่ได้รับการเผยแพร่ยิ่งย้ำเข้าไปใน “ความสำนึกของตะวันตก” (Silver 1993:303)   นอกไปจากภาพนำเสนอตามที่นักท่องเที่ยวต้องการ ตัวแทนส่งเสริมการท่องเที่ยวเรียนรู้ภาพที่ตรึงอยู่ในความคิดของนักท่อง เที่ยวว่าส่งผลต่อประสบการณ์ท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวมองหาภาพในจินตนาการระหว่างการท่องเที่ยวของเขา(McLean and Cooke 2003; Prentice 2004; Prentice and Andersen 2000; Waller and Lea 1999) แต่ ภาพในจินตนาการของนักท่องเที่ยวไม่ได้เป็นไปแบบเดี่ยวหรือแข็งทื่อ ตัวแทนส่งเสริมการท่องเที่ยวจึงพยายามมองหาภาพในจินตนาการที่ชาวตะวันตกหวัง จากแหล่งท่องเที่ยวนั้น ตัวแทนเหล่านี้อาศัยความช่วยเหลือของบริษัทโฆษณาที่มีฐานอยู่ในประเทศตะวัน ตก ดังที่ Pritchard และ Morgan (2000) ได้สำรวจความต้องการที่หลากหลายของนักท่องเที่ยวตะวันตก (และมิใช่ตะวันตก) ตัว แทนเหล่านี้ไม่เพียงนำเสนอภาพของเสน่ห์ตะวันออก แต่ยังทำภาพเหล่านั้นให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น นั่นคือการสร้างผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็น “ความจริงแท้” เพื่อนักท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีตั้งแต่การแสดง “วูดู” ในไฮติ (Goldberg 1983) จนถึงการขายวัตถุ “ทางศาสนา” ของยิว (เช่น หมวกครอบศีรษะและเทียน) ในอิสราเอล (Shenhav-Keller 1995) และการเยี่ยมเยือนหมู่บ้านมังกาไร “ดั้งเดิม” ในอินโดนีเซีย (Allerton 2003) ภาพลึกลับและน่าพิศมัย (exotic images) แช่ แข็งสังคมที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวไว้กับอดีต และไม่ได้สนใจความเปลี่ยนแปลงและสังคมที่เคลื่อนไปสู่การพัฒนา ภาพและการสร้างให้เป็นรูปธรรมเช่นนี้ได้ย้ำจินตนาการของนักท่องเที่ยวที่ใฝ่ หาเสน่ห์ตะวันออก ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยอย่าง Echter และ Prasad (2003) และ Silver (1993) วิเคราะห์ ให้เห็นว่าภาพตัวแทนที่นำเสนอเกี่ยวกับโลกที่สามในการท่องเที่ยวจัดช่วงชั้น ความสัมพันธ์ของประเทศกำลังพัฒนาไว้ในลักษณะที่ด้อยกว่า สถานที่ต่างๆ มีสภาพที่ล้าหลัง ผู้คนกระตือรือร้นที่จะให้บริการ และแหล่งท่องเที่ยวเช่นนั้นก็เป็นเพียงสนามเด็กเล่นทางวัฒนธรรม   แม้กระทั่งพิพิธภัณฑ์ ซึ่งถือเป็นสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นวิชาการ ยังคงตอกย้ำกับภาพจินตนาการเสน่ห์ตะวันออก พิพิธภัณฑ์ทำหน้าที่เป็น“บริเวณสัมพันธ์” (contact zones) (Clifford 1997: 188-219) บริเวณสัมพันธ์คือสถานที่ที่ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของกลุ่มถูกแยกออกไปจากกัน ทั้งๆ ที่ยังคงมีความสัมพันธ์กันต่อเนื่อง Clifford (1997) ได้ กล่าวถึงสังคม “ดั้งเดิม” ที่ถูกนำเสนอในพิพิธภัณฑ์ “อารยะ” การจัดแสดงได้ผลิตซ้ำภาพของชนเผ่า “ดั้งเดิม” ตามที่คนในสังคม “อารยะ” รับรู้ผ่านพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์สร้างภาพของความเป็นอื่นด้วยข้อสมมติฐานและโลกทัศน์ของตนเอง และความเป็นอื่นกลับสร้างภาพของตนเองตามสิ่งจัดแสดงนั้น และสนองตอบต่อการจัดแสดงเช่นนั้น พิพิธภัณฑ์กลายสภาพเป็นพื้นที่ที่ผู้คนสร้างจินตนาการว่าเขาเป็นใคร และแม่พิมพ์ที่อยู่เบื้องหลังตัวตนที่จัดแสดงนั้นมาจากจินตนาการที่มีต่อผู้ อื่น   โดยสรุปแล้ว นักวิจัยแสดงให้เห็นว่าการท่องเที่ยวเป็นรูปแบบของอิทธิพล ไม่ใช่เพียงแค่การปรากฏตัวของนักท่องเที่ยวหรือความต้องการต่างๆ แต่การท่องเที่ยวยังได้สืบทอดวาทกรรมที่ไม่เที่ยงตรงและการนำเสนอภาพที่ผิด เพี้ยนของประเทศด้อยพัฒนาและไม่ใช่ตะวันตก(Morgan and Pritchard 1998; Ooi et al. 2004; Selwyn 1993; Silver 1993)   ผลลัพธ์หนึ่งคือ“ตลาดการท่องเที่ยวกลายเป็นรูปแบบหนึ่งของการนำเสนอภาพของโลกที่สาม ซึ่งในบางครั้งเป็นไปอย่างซับซ้อน แต่ไม่จริงจัง ภาพที่สืบทอดและย้ำเน้นภาวะอาณานิคมและความสัมพันธ์เชิงอำนาจ” (Echtner and Prasad 2003: 672) ไม่ ทางใดก็ทางหนึ่ง ภาพที่นำเสนออย่างหยาบๆ สร้างแหล่งข้อมูลพื้นฐานให้แหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ใช่ตะวันตกได้จินตนาการ ประดิษฐ์สร้าง และเปลี่ยนแปรตัวพวกเขาเอง (Morgan and Pritchard 1998; Ooi et al. 2004)   เมื่อพิจารณาการท่องเที่ยวในรูปแบบของจักรวรรดินิยม แนวโน้มของการวิเคราะห์มักมองอิทธิพลของนักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อแหล่งท่อง เที่ยว ประหนึ่งว่าสังคมที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวเป็นฝ่ายตั้งรับและยอมจำนนแต่เพียง แง่เดียว การมองสังคมต้อนรับในลักษณะของฝ่ายตั้งรับและยอมจำนนอาจไม่ถูกต้องนัก ดังที่จะได้แสดงให้เห็นว่าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในสิงคโปร์ได้สร้างเสน่ห์ ตะวันออกให้กับรัฐเมือง(city-state) อย่างไร โลกตะวันออกตอบโต้ในเชิงรุกและเป็นไปอย่างสร้างสรรค์   การสร้างความเป็นเอเชียให้กับสิงคโปร์อย่างเป็นรูปธรรม ในปี1995 ขณะที่สิงคโปร์เผชิญหน้ากับการแข่งขันในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว3 คณะกรรมการสนับสนุนการท่องเที่ยวสิงคโปร์ (Singapore Tourist Promotion Board – STPB)4 และกระทรวงข่าวสารและศิลปะ (Ministry of Information and the Arts – MITA) แถลงแบบโครงร่างการพัฒนาสิงคโปร์ให้เป็น “นครแห่งศิลปะ” (Global City for the Arts) หนึ่งในโครงการต่างๆ คือ สิงคโปร์จะมีพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์5 พิพิธภัณฑ์ศิลปะ สิงคโปร์6 และพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย7 (Chang 2000; Chang and Lee 2003; STPB and MITA 1995; STPB 1996) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั้งสามแห่งจะแสดงอัตลักษณ์จำเพาะของรัฐเมืองที่ตั้งอยู่บนเกาะ ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1980 สิงคโปร์ ค้นพบว่าภาพของความทันสมัยลดความดึงดูดลง นักท่องเที่ยวกลับเดินทางไปดินแดนที่มีความน่าตื่นตาตื่นใจอื่นๆ ในภูมิภาคอุษาคเนย์ (National Tourism Plan Committees 1996) สิงคโปร์จึงกลายเป็นดินแดนที่เคยถูกมองและยังคงได้รับการพิจารณาว่าเป็นเมืองที่ทันสมัยเมืองหนึ่งเท่านั้น   แรงผลักของกลยุทธ์การท่องเที่ยวตั้งแต่กลางทศวรรษที่1990 คือการสื่อสารภาพของสิงคโปร์ในฐานะของแหล่งท่องเที่ยวที่ความทันสมัยคลุกเคล้าไปกับความเก่าแก่ ตะวันออกกลั้วไปกับตะวันตก (Ooi 2004) แม้ จะพบเห็นความทันสมัยอย่างดาดดื่นทั่วสิงคโปร์ แต่คณะกรรมการการท่องเที่ยวสิงคโปร์พยายามสร้างภาพของโลกตะวันออกที่น่าพิศ มัยและฝังอยู่ในการพัฒนาและความก้าวหน้าของสิงคโปร์ ตัวอย่างเช่น นักท่องเที่ยวจะได้รับการบอกเล่าถึงตึกระฟ้าในสิงคโปร์ในทำนองของการสร้าง ตามหลักฮวงจุ้ยของจีนโบราณ ร้านค้ามากมายที่ให้บริการอาหารตะวันตกกับเครื่องเทศเอเชีย และชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาอังกฤษในแบบฉบับของตนเอง (อย่างที่รู้จักกันว่า Singlish) นอกไปจากภาษาอังกฤษแบบมาตรฐาน ความพยายามอื่นๆ ที่ทำให้สิงคโปร์มีความเป็นเอเชียมากขึ้น ด้วยการอนุรักษ์และส่งเสริมเขตจีน (Chinatown) อินเดียน้อย (Little India) และ หมู่บ้านมาเลย์ รวมไปถึงการขายทัวร์นำเที่ยวไปสัมผัสกับวิญญาณเอเชียท่ามกลางเมืองที่ทัน สมัย รวมไปถึงการผลิตของที่ระลึกซึ่งตอกย้ำความเป็นเอเชีย (Chang and Teo 2001; Leong 1997; Ooi 2002b) การ สร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสามแห่งยังเป็นความพยายามในการสร้างสิงคโปร์ที่ มีความเฉพาะตัวและเป็นเอเชียมากขึ้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั้งสามแห่งได้รับการจัดการโดยคณะกรรมการมรดกแห่งชาติ (National Heritage Board) พิพิธภัณฑ์ เหล่านี้จะกล่าวถึงคนท้องถิ่นและชาวต่างประเทศเกี่ยวกับ “ความเป็นเอเชีย” แบบสิงคโปร์ แต่ละพิพิธภัณฑ์ก่อร่าง ตีความ และสร้างความเฉพาะตัวของความเป็นเอเชียที่แตกต่างกันไปสำหรับสิงคโปร์   อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อคณะกรรมการมรดกแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของคณะกรรมการมรดกแห่งชาติLim Siok Peng กล่าวในรายงานประจำปีขององค์กรของเธอ ดังนี้   ในเดือนพฤษภาคม2003 มีโรคซาร์ (Severe Acute Respiratory Syndrome) ระบาด จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงถึง 177,808 คน หรือมากกว่า 70% เมื่อเทียบกับเดือนเมษายนในปี 2002 สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์มีจำนวนลดลงตามไปด้วย คือมีจำนวนผู้เข้าชมเพียง 17,073 คนในเดือนพฤษภาคม จำนวนดังกล่าวน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้เข้าชมโดยเฉลี่ยต่อเดือน (NHB 2004: 4)   เธอยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงการตลาดของคณะกรรมการมรดกแห่งชาติและการประสานงาน กับกรมการคมนาคมสื่อสารที่ร่วมมือกับหน่วยงานการท่องเที่ยวอื่น ได้พยายามดึงดูดนักท่องเที่ยวมากขึ้นในช่วงวิกฤต   เราได้ร่วมมือกับคณะกรรมการการท่องเที่ยวสิงคโปร์ด้วยโปรแกรม ก้าวสู่! สิงคโปร์ ได้รับการตอบรับอย่างดีจากองค์กรต่างๆ สายการบินสิงคโปร์มีข้อเสนอพิเศษสำหรับเที่ยวบิน เทศกาลสินค้าลดราคา และโปรแกรมการท่องเที่ยวต่างๆโดยสมาคมแหล่งท่องเที่ยวสิงคโปร์ (Association of Singapore Attractions - ASA) (NHB 2004: 4)   และนอกไปจากนี้คณะกรรมการมรดกแห่งชาติยังพยายามตอบสนองต่อนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ เช่น ตลาดนักท่องเที่ยวจากเมืองจีน   เพื่อการทำตลาดกับนักท่องเที่ยวชาวจีน เราได้ผลิตแผ่นพับทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน เอกสารหนึ่งแสนชุดได้รับการจัดพิมพ์และแจกไปยังสมาคมแหล่งท่องเที่ยว ทั้งโรงแรม แหล่งท่องเที่ยวประเภทต่างๆ และศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยวสิงคโปร์ตามจุดต่างๆ แผ่นพับยังส่งไปยังศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวสิงคโปร์ทั่วทั้งทวีปเอเชีย(NHB 2004:4)   บททบทวนในรายงานประจำปีที่เขียนโดยเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงท่านนั้นยังเน้นถึงการท่องเที่ยวอย่างมาก(NHB 2004: 4-5) นอกจากนี้ยังมีเงินทุนสนับสนุนองค์กรต่างๆ สำหรับการจัดนิทรรศการด้วย   พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์เป็นอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแบบนีโอ-คลาสสิค พิพิธภัณฑ์มีประวัติที่ยาวนานต่อเนื่องตั้งแต่การเริ่มตั้งเมื่อปี 1887 และเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ภายใต้ชื่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเมื่อปี 1965 ภายหลังจากที่สิงคโปร์ได้รับอิสรภาพ ต่อมาจึงปรับเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ในปี 1996 และในปี 2006 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รับการขนานนามอีกครั้งว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนและขยายรูปทรงอาคาร (SHM 2005)   พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ตอบโต้ต่อภาพที่ผู้คนมักคิดถึงสิงคโปร์ในลักษณะที่ เหมือนๆ กับประเทศอื่นในเอเชีย พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์แสดงแนวโน้มและพัฒนาการสร้างบุคลิกภาพและ ส่งอิทธิพลต่อความเป็นสิงคโปร์ ด้วยการเน้นย้ำถึงสิงคโปร์ร่วมสมัย(STPB and MITA 1995: 17) อดีตอาณานิคมของสิงคโปร์ (ค.ศ. 1819 – ค.ศ. 1963) สงครามโลกครั้งที่ 2 และ การต่อสู้เพื่อการปกครองตนเองจากเจ้าปกครองอาณานิคมอังกฤษ ประวัติศาสตร์ที่ผันผวนกับประเทศมาเลเซียและการเรียกร้องอิสรภาพของสิงคโปร์ เมื่อปี 1965 เรื่อง ราวเหล่านี้เป็นจุดเน้นของพิพิธภัณฑ์ เมื่อเปรียบเทียบกับพิพิธภัณฑ์อีกสองแห่ง พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์มีส่วนร่วมในโปรแกรมการศึกษาแห่งชาติมากที่ สุด พิพิธภัณฑ์ได้ต้อนรับกลุ่มนักเรียนจำนวนมาก นิทรรศการทำหน้าที่เป็นบทเรียนเสริมประวัติศาสตร์ที่สอนกันในโรงเรียน   อัตลักษณ์เฉพาะของสิงคโปร์ถูกไล่เรียงไปตามลำดับ ดังนี้ สิงคโปร์ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ แต่อังกฤษไม่สามารถปกป้องสิงคโปร์ได้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่2 สิงคโปร์ ตกอยู่ในสภาพที่หดหู่ระหว่างการครอบงำของญี่ปุ่น และดิ้นรนเพื่อให้รอดพ้นจากเงื้อมมือของอังกฤษ จนเปลี่ยนสถานภาพของตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์รัฐมาเลเซีย (1963-1965) แต่ การณ์กลับไม่ดีขึ้น ในท้ายที่สุด แนวคิดของการเป็นรัฐสิงคโปร์เบิกบาน และนำไปสู่การสร้างประเทศให้มีอำนาจอธิปไตยของตนเอง นี่เองแสดงให้เห็นว่า สิงคโปร์ไม่ใช่ทั้งของอังก

นิทรรศการที่บอกเล่าด้วยตนเอง ประวัติศาสตร์คำบอกเล่าและพิพิธภัณฑ์

20 มีนาคม 2556

พิพิธภัณฑ์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสะสมและนำเสนอคำพยานของบุคคลมากว่า20 ปี และพิพิธภัณฑ์บางแห่งได้วางนโยบายการจัดเก็บและกลยุทธ์นิทรรศการแห่งประวัติศาสตร์คำบอกเล่าอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวัตถุจัดแสดงนั้นขาดไปหรือเมื่อต้องการสร้างภาพที่ยุติธรรมในประวัติศาสตร์ของสาธารณชน ที่มักถูกบิดพลิ้วไปด้วยเรื่องของการก่อการร้ายและการกดดันจากรัฐ เรื่องราวในบทความนี้เกี่ยวข้องกับนิทรรศการที่มาจากการทำงานของชุมชน และจะแสดงให้เห็นอย่างกระชับและชัดเจนถึงผลกระทบของประวัติศาสตร์คำบอกเล่า Anna Green เป็นหัวหน้าสำนักสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ผู้เขียนเคยเสนอบทความนี้ในงานประชุมสมาคมประวัติศาสตร์คำบอกเล่า สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนตุลาคม 1996 และเคยตีพิมพ์ในวารสาร Oral History Review, Winter 1997, vol. 24, no. 2, pp. 53-72.   เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะสร้างนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ด้วยเสียงและการเล่าเรื่อง? นี่เป็นคำถามที่เราเผชิญในช่วงต้นปี 1995 ภายหลังจากที่โครงการขนาดใหญ่ว่าด้วยประวัติศาสตร์คำบอกเล่าของชุมชนที่ชุมทางรถไฟแฟรงก์ตัน (Frankton Junction) ประเทศนิวซีแลนด์เสร็จสิ้นลง ตลอดเวลากว่าสิบแปดเดือนก่อนหน้านั้น นักศึกษาของผู้เขียนในชั้นเรียนประวัติศาสตร์ระดับบัณฑิตศึกษาได้บันทึก เรื่องราวของชายและหญิงกว่าสองร้อยชีวิต ผู้เคยอาศัยและทำงานในชุมชนทางรถไฟ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นชุมชนรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในนิวซีแลนด์ นอกเหนือไปจากการสัมภาษณ์ เรายังได้รับอนุญาตให้ยืมและสำเนารูปถ่ายที่แสดงให้เห็นชีวิตประจำวันจาก อัลบั้มรูปถ่ายของครอบครัว แม้ว่ากลุ่มแรงงานสร้างทางรถไฟจะค่อยๆ แยกย้ายกันไปในหลายทศวรรษที่ผ่านไป แต่โครงการกลับได้รับการตอบรับอย่างท่วมท้น และเมื่อนำคำพยานกับภาพถ่ายมาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน เรื่องราวชีวิตชนชั้นแรงงานของชุมชนทางรถไฟในช่วงทศวรรษที่ 1920 ถึง 1970 ก็ กลับมาได้อย่างสมบูรณ์ ทุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมและมรดกของคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลนิวซีแลนด์ ทำให้เรื่องราวของชุมชนกลับมาอีกครั้งในรูปของนิทรรศการ   ตามที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการนิทรรศการจากประวัติศาสตร์คำบอกเล่า แต่ไม่เคยมีประสบการณ์ทำงานในพิพิธภัณฑ์มาก่อน ผู้เขียนเริ่มต้นวิจัยด้วยกลุ่มทำงานเล็กๆ ที่ประกอบด้วยนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เราเริ่มต้นด้วยการสำรวจวารสารและคู่มือต่างๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สังคมในพิพิธภัณฑ์ มีนิทรรศการสักกี่มากน้อยที่ก่อร่างสร้างขึ้นจากคำพยานที่เป็นเสียงโดยตรง ไม่ใช่การถอดความจากเสียง? แต่เราไม่พบข้อมูลใดเลยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ความคิดเห็นของ Stuart Davie เมื่อปี 1994 ที่ว่า ‘ในพิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์คำบอกเล่ามีสถานภาพที่คลุมเครือ อึดอัด และเปราะบาง’ ดูจะเป็นคำกล่าวที่ไม่เกินจริงนัก1 ตัวอย่าง เช่น หนังสือคู่มือสำหรับวิชาชีพพิพิธภัณฑ์ที่มักอ้างอิงงานเขียนจากอังกฤษและ นิวซีแลนด์ ส่วนมากจะมีเนื้อหาเพียงสั้นๆ ในส่วนที่ว่าด้วยประวัติศาสตร์คำบอกเล่า และสองในสามของเนื้อหาส่วนนี้กลับกล่าวถึงธรรมชาติของความทรงจำที่บกพร่อง และไม่น่าเชื่อถือ และท้ายที่สุดคู่มือมักสรุปว่า ประวัติศาสตร์คำบอกเล่ามีคุณค่าที่จำกัด และควรที่จะได้รับการนำเสนอโดยกำหนดเนื้อหาอย่างเข้มงวดในพื้นที่ “ห้องสมุด” ที่แยกเฉพาะ2   บทความต่างๆ ในวารสารแสดงให้เห็นว่าภัณฑารักษ์ในพิพิธภัณฑ์ที่ทำงานเกี่ยวกับประวัติ ศาสตร์สังคมใช้ประวัติศาสตร์คำบอกเล่าอย่างมากที่สุดก็เพียงในฐานะที่เป็น ข้อมูลเพิ่มเติมให้กับวัตถุพิพิธภัณฑ์‘สภาพการณ์ของประวัติศาสตร์ที่ปราศจากวัตถุนั้น อาจเป็นและยังคงเป็นสิ่งอื่น…วัตถุสร้างพิพิธภัณฑ์’ ภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งได้เขียนไว้เช่นนั้นเมื่อปี 19933 บทบาทของวัตถุในการกระตุ้นความหวนคำนึงของผู้ชมส่วนใหญ่ได้รับความชื่นชม4 แต่ เมื่อประวัติศาสตร์คำบอกเล่าถูกนำไปใช้ในนิทรรศการ ถ้อยคำที่มาจากคำพูดมักได้รับการถ่ายทอดในรูปของบทเขียนบนผนัง และยังผลให้คำพูดสูญเสียความซับซ้อนในมิติต่างๆ รวมถึงความมีชีวิตชีวาของการบอกเล่า ในอีกหลายวาระมีการใช้ประวัติศาสตร์คำบอกเล่าด้วยเสียงจากการสัมภาษณ์ ในนิทรรศการที่บอกเล่าเรื่องราวชีวิตสังคมและการทำงาน แต่เสียงกลับถูกกดทับด้วยสิ่งจัดแสดงจำนวนมากๆ แล้วกลายเป็นเสียงจอแจอยู่เบื้องหลัง สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้เสริมสถานภาพของประวัติศาสตร์คำบอกเล่า และไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของความทรงจำในฐานะตัวเชื่อมอดีตและ ปัจจุบันอย่างมีชีวิตชีวา ความทรงจำไม่ใช่เขม่าติดก้นหม้อหรือเศษเสี้ยวของอดีตที่ตายไปนานแล้ว อย่างที่ Michael Frisch ได้ แนะนำไว้ว่า เราต้องการ ‘ดึงให้ผู้คนเข้ามามีส่วนในการตรวจสอบว่าสิ่งใดที่มีความหมายต่อการจดจำ และสิ่งใดที่จะเสริมให้ความทรงจำนั้นมีชีวิตและยังดำรงชีวิตอยู่ ซึ่งเป็นสภาวะที่ตรงข้ามกับวัตถุสะสม’5   เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ความทรงจำจักต้องเป็นแก่นแกนของนิทรรศการ ทีมงานนิทรรศการแฟรงก์ตันตัดสินใจใช้คำพยานในฐานะทรัพยากรคำบอกเล่า หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เสียงและการฟังต้องมีบทบาทนำหน้าสายตาและการมอง เราเห็นพ้องต้องกันว่าการจัดแสดงที่ประกอบด้วยรายละเอียดมากๆ จะทำให้ผู้ชมไม่สนใจฟังคำพยาน นอกจากนี้ เราไม่ต้องการให้วัตถุที่ตกทอดหรือภาพถ่าย มากำหนดทิศทางและเนื้อหาของนิทรรศการ คำพยานเน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนทั้งที่บ้านและที่ทำงาน เพื่อวาดให้เห็นประสบการณ์ของผู้คนโดยรวม ในทางตรงข้าม ภาพถ่ายมักบันทึกโอกาสพิเศษหรือความสุขสันต์ของครอบครัว การทำงานของเพศชายหรือวัฒนธรรมกีฬา มีภาพเพียงชุดเดียวที่ช่างภาพมืออาชีพถ่ายภรรยาของตนเอง ได้บันทึกประสบการณ์ของผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว ซึ่งสัมพันธ์กับงานบ้าน ภาพถ่ายจึงมีลักษณะตรงข้ามกับพลังของความทรงจำจากคำบอกเล่า ในขณะที่มีภาพเด็กๆ กำลังเล่น เรากลับไม่เห็นภาพของการลงโทษ หรือ “การแซว” ระหว่างการเดินทางไปโรงเรียนของกลุ่มนักเรียนที่นับถือคาทอลิกและโปรแตส เตนท์ ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ ประเด็นต่างๆ ในนิทรรศการจึงมาจากคำบอกเล่า และมีคำอธิบายสั้นๆ ในคู่มือนำชมนิทรรศการ ที่ช่วยเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่ได้ยินกับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ทางสายตา ในแต่ละส่วนของการจัดแสดง   นิทรรศการประวัติศาสตร์คำบอกเล่า นิทรรศการเป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่มทำงานของพิพิธภัณฑ์ศิลปะและประวัติศาสตร์ไวกาโต(Waikato Museum of Art and History) การออกแบบ ภาพถ่าย และเทคนิคต่างๆ ของพวกเขาเป็นสิ่งที่ประเมินค่ามิได้6 ผู้ เขียนขอขอบคุณนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษากลุ่มหนึ่งในการจัดทำนิทรรศการร่วมกับผู้เขียน บทบาทของพวกเขาในการทำงานของแต่ละคนและของกลุ่มต่อโครงการนั้นเป็นสิ่งที่มี ค่ายิ่ง7 ลักษณะของพื้นที่นิทรรศการ และการจัดแบ่งส่วนนิทรรศการต่างๆ ออกเป็น5 ส่วน ได้กำหนดแผนการดำเนินงานท้ายสุด ดังแสดงไว้ในแผนภาพที่ 1  ปัญหาเชิงเทคนิคปัญหา หลักเชิงเทคนิคที่เราต้องเผชิญคือ การทำให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงและได้ยินประวัติศาสตร์คำบอกเล่า ในขณะที่เสียงจะต้องไม่เล็ดลอดไปรบกวนบรรยากาศโดยรวมของนิทรรศการ และเราก็ไม่ต้องการให้อุปกรณ์อื่นใด เช่น หูฟัง มาขวางกั้นระหว่างผู้ชมและประวัติศาสตร์คำบอกเล่า ยิ่งกว่านั้น ผู้ชมควรรู้สึกผ่อนคลายในขณะฟัง เงื่อนไขที่กล่าวมานี้กำหนดให้นิทรรศการต้องมีพื้นที่สำหรับนั่ง เราโชคดีที่มีโอกาสยืมที่นั่งในรถไฟเก่าสีแดงจากสมาคมการรถไฟและรถจักรแห่ง นิวซีแลนด์ สาขาไวกาโต ซึ่งในขณะนั้น ที่นั่งถูกเคลื่อนย้ายเป็นการชั่วคราวจากตู้รถไฟเพื่อการซ่อมแซม เราได้ติดตั้งเครื่องเล่นซีดีไว้ใต้ที่นั่งแต่ละตัว เรื่องราวคำบอกเล่าได้รับการถ่ายทอดผ่านลำโพงที่มีเครื่องขยายเสียงภายใน เสียงจะดังในระดับของหูจากด้านหลังพนักที่นั่ง การวางตำแหน่งของลำโพงไว้ในบริเวณดังกล่าวช่วยลดระดับเสียงให้พอดีกับการฟัง อย่างสบายๆ และเสียงจะไม่ไปรบกวนส่วนอื่นของนิทรรศการ เพื่อเน้นเสียงบอกเล่า การจัดแสงจึงอยู่ในระดับจำกัด ผนังทาสีเขียวเข้ม และมีเพียงดวงไฟส่องเฉพาะจุดที่นั่งรถไฟและภาพถ่ายที่รายล้อม เป้าหมายของนิทรรศการเราเริ่มจากเป้าหมายสามประการสำหรับการทำนิทรรศการประวัติศาสตร์คำบอกเล่าเพื่อนำเสนอคำพยานให้หลากหลายมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อผลักดันให้ผู้ชมย้อนกลับไประลึกถึงความทรงจำของตนเองเพื่อให้ผู้ชมบอกกล่าวถึงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นและความทรงจำของตนเองแต่ การที่จะไปถึงเป้าหมายเหล่านี้ได้ ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงหลักเกณฑ์ในการคัดเลือก การตัดต่อ และการจัดวางลำดับ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานกับคำบอกเล่าที่บันทึกในแถบบันทึก เสียง และจากคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ภัณฑารักษ์ เราได้ตกลงร่วมกันว่านิทรรศการควรใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงในการเยี่ยมชม นิทรรศการแต่ละส่วนจึงควรมีเสียงคำบอกเล่ายาวไม่เกินสิบนาที โดยสรุปแล้วเราต้องคัดเลือกประวัติศาสตร์คำบอกเล่าให้เหลือเพียงหกสิบนาที จากปริมาณคำสัมภาษณ์มากกว่าสามร้อยชั่วโมง! สำหรับ สี่ส่วนแรกของนิทรรศการที่ว่าด้วยเรื่องเด็ก วัยรุ่น ผู้หญิง ผู้ชาย เราตัดสินใจวางกรอบของเนื้อหาให้อยู่ในสามประเด็นกว้างๆ คือ ชีวิตครอบครัว การทำงาน และการพักผ่อน ด้วยเงื่อนไขเวลาเพียงสิบนาทีของเสียงในแต่ละส่วน จึงมีการอ้างอิงคำพูดเพียง 2 – 3 ชุด ในแต่ละหัวข้อ ตัวอย่างเช่นในส่วนที่ว่าด้วยเรื่องเด็ก ประกอบด้วยคำพูดจากคำบอกเล่าชุดย่อยยี่สิบชุด นั่นหมายถึงการได้ฟังเพียงครึ่งนาทีในแต่ละชุด การคัดเลือกความต้องการนำเสนอประสบการณ์จากประวัติศาสตร์คำบอกเล่าที่หลากหลายเป็นข้อปัญหา ใหญ่หลวงตั้งแต่เริ่มแรก ในเบื้องต้นเรากำหนดว่าจะรวบรวมประสบการณ์ตรงให้ได้มากที่สุด เงื่อนไขนี้จำกัดวงของข้อมูลให้แคบลงมาที่ประเภทของข้อมูลที่จัดการได้ คุณภาพของเสียงทำให้เราสามารถเลือกใช้เฉพาะแถบบันทึกเสียงบางส่วน และคุณภาพเสียงกลับเล่นบทบาทสำคัญในการคัดเลือกมากกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ เรายังพบด้วยว่าเสียงรบกวนจากภายนอกทำให้เรื่องราวจากการบันทึกบางส่วนไม่ สามารถนำมาใช้ได้ในนิทรรศการ เป็นต้นว่าเสียงหอบของสุนัข เสียงตีบอกเวลาของนาฬิกา และเสียงแทรกอื่นๆ ของผู้ให้สัมภาษณ์ แต่เรายังมีเรื่องราวอีกจำนวนมากพอที่จะนำมาใช้ในนิทรรศการ เรากำหนดเกณฑ์การเลือกเรื่องเล่าออกเป็นสองประเภท เกณฑ์แรกคือความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมในการจัดแสดงหรือนิทรรศการ และเป็นเนื้อหาที่ดึงดูดความสนใจของผู้คน เราพยายามเลือกเนื้อหาที่อยู่ในความสนใจของผู้เข้าเยี่ยมชม ด้วยเหตุนี้ เราจึงลงความเห็นร่วมกันในการใช้ประเด็นกว้างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ชีวิตครอบครัว และกิจกรรมการละเล่น/ ชุมชน เป็นแกนหลักของเนื้อหาในสี่ส่วนแรกของนิทรรศการ อย่างไรก็ดี เราต้องยอมรับว่ามีแง่มุมอื่นที่แตกต่างจากสิ่งที่เราเลือก การคัดเลือกเรื่องราวที่นำเสนอเหล่านี้มุ่งหมายให้เกิดความสัมพันธ์กับกลุ่ม ผู้เยี่ยมชมในปัจจุบันมากที่สุด นั่นคือเรื่องเล่าที่มีชีวิตชีวา ที่แสดงอารมณ์และความรู้สึก เกณฑ์ ที่สองของการเลือกเนื้อหาขึ้นอยู่กับน้ำหนักของหลักฐานเรื่องราวคำบอกเล่า เราตัดสินใจที่จะใช้เนื้อหาที่สามารถเป็นตัวแทนโดยรวมได้ เนื้อหาและมุมมองจากคำพยานได้รับการคัดเลือก(เชื่อมโยงด้วยการใช้คำบรรยายน้อยที่สุดที่ช่วยให้หัวข้อแต่ละประเด็นเกี่ยวเนื่องกันอย่างราบรื่น) แต่ การคัดเลือกแบบนี้ก็อาจเป็นที่กังขาได้ในโลกหลังสมัยใหม่ อย่างไรก็ตาม การทำงานเช่นนี้มีข้อดีอยู่ไม่น้อย ตัวเลือกของเรื่องราวที่จะเป็นภาพตัวแทนเสริมแกนหลักของนิทรรศการได้ดีขึ้น ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ ในส่วนนิทรรศการวัยเด็ก การสัมภาษณ์เกือบทุกชุดจะกล่าวถึงการลงโทษทางร่างกายอย่างรุนแรง ไม่ที่โรงเรียนก็ที่บ้าน เนื้อหาเหล่านี้สะเทือนใจลึกซึ้ง และบ่งชี้ให้เห็นประสบการณ์ของความรุนแรงทางร่างกายที่เป็นความทุกข์ที่ฝัง ใจลึกไปชั่วชีวิต แต่ก่อนผู้คนมักลงโทษทุบตีลูกๆ ของตนเอง ฉันหมายถึง...พระเจ้าช่วย...แม่ของฉันตีฉันจนได้เลือดและชีวิตของฉันเหมือนตกนรกทั้งเป็น ฉันหมายถึงอย่างนั้นจริงๆ... เพียงเพราะฉันไปเซ้าซี้กวนใจท่าน คุณก็คงรู้ แต่นั่นแหละคือสิ่งที่เกิดขึ้น8ฉันคิดว่าฉันเป็นคนหนึ่งที่ต้องคอยหาที่ซ่อน เพียงเพราะฉันเคยเถียงย้อนเขากลับไป...ฉันจำได้ว่าครั้งหนึ่งเมื่อฉันเล่นอยู่บนถนนที่เคยเล่นอยู่เป็นประจำในเลคโรด (Lake Road) ที่ อยู่ไม่ไกลบ้านเท่าไหร่ พอกลับมาบ้าน ตอนนั้นก็มืดแล้วละ พ่อเอ็ดตะโรฉันใหญ่เลย “เร็วๆ เข้า” ฉันก็ตอบกลับไปว่า “ก็มาแล้วนี่ไง” เมื่อฉันมาถึงประตูหลังบ้าน เขาก็รออยู่หลังประตู แล้วก็กระแทกบานประตูใส่ฉัน ฉันช้ำไปหมดทั้งตัวเลย9 ข้อด้อยของการเลือกเรื่องราวที่เป็นภาพตัวแทนอยู่ที่ว่าอาจกลายเป็นการสร้างภาพ ประสบการณ์ที่ตายตัว ประเด็นนี้เป็นข้อถกเถียงอย่างมากในส่วนที่ว่าด้วยผู้หญิง ซึ่งเนื้อหาที่พูดถึงงานบ้านและความเป็นแม่กลบประเด็นอื่นๆ ไปหมดGaby Porter เตือนเราได้อย่างถูกต้องเกี่ยวกับข้อเสี่ยงที่จะนำเสนอภาพแคบๆ ของผู้หญิงเฉพาะในครัวเรือน10 อัน ที่จริงนั้น เราไม่ต้องการที่จะย้ำความเชื่อเดิมๆ ที่ว่าสถานที่ของผู้หญิงที่แต่งงานแล้วก็มีเพียงบ้าน แต่เราก็ต้องรักษาความสัตย์ตรงต่อข้อมูลประสบการณ์ที่กล่าวซ้ำแล้วซ้ำเล่า จากคำบอกเล่า ซึ่งพรรณนาถึงงานหนักแรงเกี่ยวกับการดูแลบ้านและครอบครัวที่มีเด็กๆ ห้าถึงหกคน ก่อนที่จะเริ่มมีการได้ครอบครองตู้เย็น เตาแก๊สหรือเตาไฟฟ้า และเครื่องซักผ้า เรื่องราวเช่นนี้เป็นกิจกรรมเศรษฐกิจของครัวเรือนที่ขาดเสียมิได้ของกลุ่ม ผู้หญิงชนชั้นแรงงานที่ต้องหลอมทองแดงและซักล้างทุกอย่างด้วยมือ รวมทั้งงานขัดถูพื้นและทำอาหารด้วยเตาฟืนหรือเตาถ่านในยามวิกาลสำหรับสมาชิก ในครัวเรือน ล้วนเป็นงานบ้านที่ต้องใช้ทั้งเวลาและแรงกาย นี่คือสภาพที่เกิดขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ผ่านมา11 และเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับงานบ้านในสังคมร่วมสมัย คำบอกเล่าเช่นนี้ท้าทายให้เกิดการเปรียบเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบัน การตัดต่อการตัดต่อคำพยานต่างๆ จากแถบบันทึกเสียงเพื่อนำไปใช้ในนิทรรศการ เข้าไปสัมพันธ์กับเรื่องที่ต้องพิจารณาทั้งเชิงเทคนิคและเชิงจริยธรรม เราโชคดีที่ได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์Pro-Tools ในการตัดต่อบันทึกคำสัมภาษณ์ แต่กระบวนการนี้ใช้เวลามากและค่าใช้จ่ายสูงมากกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ เราใช้เวลาประมาณ 5 วัน ในการแปลงสัญญาณจากระบบอนาล็อกไปเป็นดิจิตอล และจะต้องตัดต่อคำสัมภาษณ์ทุกชุด ทั้งๆ ที่งบประมาณมีให้เพียง 5 ชั่วโมง การสัมภาษณ์ดำเนินไปภายในบ้านของผู้ให้สัมภาษณ์ โดยทั่วไปแล้วคุณภาพของเสียงใช้ได้ทีเดียว แต่ระดับเสียงของผู้ให้สัมภาษณ์แต่ละคนแตกต่างกันมาก เราจึงพยายามทำให้เสียงมีระดับใกล้เคียงกัน เพื่อให้ผู้ฟังนิทรรศการไม่ลำบากมากนักในการฟังเสียงดังและค่อย แต่ทำได้ในระดับที่จำกัดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เราจำเป็นจะต้องตัดเสียงแทรกบางอย่างออกไป เสียงหัวเราะที่ดังหนวกหูและเสียงรบกวนอื่นๆ โดยระวังไม่ไปก้าวก่ายกับเสียงของผู้ให้สัมภาษณ์ ในขณะเดียวกันเราได้ขอให้นักศึกษาจำกัดการแสดงออกในการโต้ตอบกับผู้ให้ สัมภาษณ์ (หัวเราะ ผงกศีรษะ) แต่ บางคนไม่ได้ระวังในเรื่องนี้ นอกจากนี้ มีนักศึกษาบางคนร่วมสนทนาอย่างถึงอกถึงใจ ทั้งการแสดงอารมณ์และความสนใจร่วม ซึ่งเป็นการสร้างบรรยากาศการบอกเล่าเรื่องราวที่มีชีวิตชีวามากขึ้น ดังนั้น แม้เรื่องเล่าจะผ่านการตัดต่อมากมาย แต่กลายเป็นแก่นแกนหลักของนิทรรศการได้ในที่สุดขณะที่เราต้องใช้เสียงบันทึกในการจัดแสดง เราก็จำเป็นต้องคำนึงถึงการปกป้องความเป็นจริงส่วนบุคคลของความทรงจำของผู้ คน สิ่งสำคัญคือการไม่บิดเบือนความตั้งใจต่างๆ ของผู้ให้สัมภาษณ์และไม่ทำให้คำพยานผิดเพี้ยนไป การตัดต่อคำสัมภาษณ์เพื่อนำมาจัดแสดงกลายเป็นเรื่องของการสร้างความสมดุลย์ ระหว่างคำสัมภาษณ์ที่สั้น แต่สร้างความรู้สึกหรือส่งผลกระทบทางอารมณ์บางอย่าง กับความตั้งใจของผู้เล่าที่ต้องการอธิบายหรือสร้างข้อสรุปที่คลุมเครือของ เรื่องราวเหล่านั้น ตัวอย่างที่จะแสดงต่อไปนี้สะท้อนความคลุมเครือดังกล่าว คำพยานนี้เป็นส่วนหนึ่งของส่วนจัดแสดงเรื่องของผู้ชายMatt Andrew แสดงให้เห็นว่าแม้ผู้คนจำนวนหนึ่งจะยกย่องสรรเสริญวัฒนธรรมการทำงานของเพศชาย ขณะเดียวกันก็มีคนไม่ได้เห็นเป็นอย่างนั้นเสียทีเดียว แต่อีกนั่นแหละ มันถูกรวมเข้าไปในงานที่คุณทำอยู่ และขณะเดียวกัน ก็บอกถึงความโดดเดี่ยวของคุณในครอบครัว ในคืนหนึ่ง ผมนั่งทำเอกสารบางอย่างในห้องนั่งเล่น และได้ยินเสียงคุยดังมาจากห้องครัว ทั้งลูกชายลูกสาวและภรรยาของผม และผมได้ยินเรื่องราวอย่างชัดเจน ผมคิดว่าในขณะนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อมาน่าจะเป็นว่า เดี๋ยวต้องคุยกับพ่อด้วย แต่แล้วการพูดคุยถกเถียงก็ยังคงดำเนินต่อไปและลงเอยไปในที่สุด ทั้งๆ ที่ผมเองยังคงนั่งอยู่ตรงนั้น ผมตระหนักขึ้นมาทันทีว่าผมได้กลายเป็นส่วนเกินของครอบครัวไปแล้ว ผมไม่มีโอกาสเข้าร่วมตัดสินใจใดๆ อีกต่อไป ผมจะไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องในโอกาสเช่นนั้นอีกต่อไป การตัดต่อคำสัมภาษณ์ในครั้งแรกจบลงตรงนี้ และเนื้อความของเรื่องราวก็ชัดเจน อย่างไรก็ตามผู้ให้สัมภาษณ์ได้กล่าวต่อว่าบางคนอาจไม่คิดอะไรกับเรื่องที่เกิดขึ้น แต่สิ่งนั้นกลับกวนใจผมจนกระทั่งผมตัดสินใจที่จะลาออก ผมจะไม่รอจนกระทั่งถึงการเลือกตั้งที่ปรึกษาระดับประเทศครั้งต่อไป12 ส่วนท้ายของคำพยานอาจทำให้ไขว้เขวไปจากผลกระทบของเรื่อง แต่ก็ทำให้เข้าใจได้ว่าเหตุใดผู้เล่าจึงเลือกกล่าวถึงประสบการณ์นี้โดยเฉพาะ เจาะจง เขาตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งในสหพันธ์การรถไฟ เนื้อหาที่เพิ่มเข้าไปตรงนี้ส่งผลให้ผู้ฟังเข้าใจจุดประสงค์ของการบอกเล่า ซึ่งบ่อยครั้งเป็นการย้ำทวนเรื่องราวในอดีต การจัดลำดับการจัดลำดับบันทึกคำสัมภาษณ์แสดงถึงอิทธิพลการทำงานของภัณฑารักษ์ต่อการใช้ ประวัติศาสตร์คำบอกเล่าในอีกแง่มุมหนึ่ง การจัดลำดับนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะในส่วนสุดท้ายของนิทรรศการ – เรื่องเล่าและตำนาน – ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างมิติเชิงจินตนาการและอารมณ์ร่วมให้กับความทรงจำ หนึ่งในตำนานเกี่ยวข้องกับพายุทอร์นาโดในปี 1948 พายุครั้ง นั้นก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง รวมถึงคนตายจำนวนสามคน เหตุการณ์ดังกล่าวยังคงอยู่ในความทรงจำของผู้คน เรื่องราวเหล่านั้นผสมปนเประหว่างประสบการณ์ตรง สิ่งที่ได้ยินมา และจินตนาการ Jane Moodie ปรารถนา จะแสดงให้เห็นตำนานของชุมชนที่วิวัฒนาการไปตามช่วงเวลา ผ่านรายละเอียดเกี่ยวกับทอร์นาโดที่มีทั้งการเล่าซ้ำย้ำทวน ประกอบด้วยอารมณ์ขันและเนื้อหาที่ขยายเกินจริง จากเรื่องราวที่มีอยู่มากมาย เธอเลือกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการจากเรื่องเล่าธรรมดาไปสู่เรื่อง ราวที่ผสมจินตนาการ เมื่อทอร์นาโดถล่ม เราตกอยู่ท่ามกลางพายุ หลังคาบ้านทั้งหลัง แม้แต่เพดานก็หลุดล่อนไปด้วย บ้านกลับปกคลุมไปด้วยเถ้าถ่านรถไฟหนาสี่ถึงห้านิ้ว แล้วฝนตกอย่างหนักตามมาเมื่อทอร์นาโดผ่านไป ฝนได้ชะล้างเถ้าถ่านที่หนาและสกปรกลงมาที่ผนังและเปรอะไปทั่วบ้าน ช่างไม่น่าเชื่อเลยจริงๆ13แต่คุณนายฮิลลงไปที่ถนน พวกเขามีราวเสื้อผ้าที่ม้วนได้ และสามีของเธอเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยทางรถไฟในขณะนั้น เธอได้ยินเสียงที่น่าสะพรึงกลัว เธอวิ่งออกไปข้างนอก และเห็น ราวเสื้อยาวกว่า50 ฟุต ลอยไปในอากาศ แล้วก็หมุนคว้างกลางอากาศ หมุนแล้วหมุนอีก เธอมีชุดฟอร์มการรถไฟติดไปกับราวตากเสื้อนั้น มันหมุนแล้วหมุนเล่า ชุดเหล่านั้นยืดตรงแน่วเลย14ใช่แล้ว ฉันอยู่ที่นั่น ตรงนั้น เรากำลังเล่นอยู่ที่สวนเซดดอน และเราลงไปที่แฟรงก์ตัน และมองดูบ้านที่ตั้งอยู่ใกล้ทางรถไฟตรงที่ตัดกับถนนเลค ทั้งน้องสาวและฉัน เราเห็นบ้านที่ถูกยกขึ้นมาลอยข้ามทางรถไฟ ทั้งๆ ที่คนยังนั่งดื่มชาอยู่ที่โต๊ะ15 ปฏิกิริยาในท้ายที่สุด เราหวังว่านิทรรศการทั้งชุดจะผลักดันให้ผู้ชมสะท้อนชีวิตและความทรงจำของตน เอง และเปรียบเทียบกับประสบการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เรายังสงสัยอยู่เสมอว่าคนรุ่นใหม่จะเปรียบเทียบประสบการณ์ของพวกเขากับความ ทรงจำของคนรุ่นก่อนๆ หรือไม่ รวมทั้งบัญญัติทางศาสนาที่เกี่ยวกับครอบครัวและชีวิตการทำงาน การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับงานที่ต้องโยกย้ายเปลี่ยนที่ในยุคนี้มีส่วนที่คล้าย คลึงกับสถานการณ์ในอดีต นั่นคือ เพศชายมีบทบาทสำคัญในชีวิตครอบครัว คำถามทำนองนี้จะปรากฏอยู่ในคู่มือนำชมนิทรรศการ ซึ่งประกอบด้วยบทสรุปย่อของการจัดแสดงแต่ละส่วน พร้อมด้วยคำถามที่มุ่งหมายให้ผู้ชมได้คิดเปรียบเทียบกับประสบการณ์ของตนเอง ตัวอย่างเช่นในส่วนจัดแสดงเรื่องของผู้ชาย งานที่ต้องเข้าเป็นกะส่งอิทธิพลต่อประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของผู้ชายที่เคยทำ งานกับการรถไฟนิวซีแลนด์ ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานและไม่สม่ำเสมอส่งผลต่อชีวิตครอบครัวของพวกเขา อย่างไรก็ตาม การทำงานกับการรถไฟยังคงเป็นสิ่งพึงปรารถนา เพราะความมั่นคงในการจ้างงานและโอกาสความก้าวหน้าในการทำงาน ระดับชั้นงานที่จัดตามทักษะความสามารถทำให้เกิดการแบ่งกลุ่มคนทำงาน ขณะเดียวกันความเป็นสหายสนิทมิตรรักระหว่างเพื่อนร่วมงานยังดำรงอยู่เหนียว แน่น o    คุณจะให้นิยามบทบาทของสามีและพ่ออย่างไรในทุกวันนี้? บทบาทเหล่านั้นแตกต่างไปจากความทรงจำที่ปรากฏ ณ ที่นี้หรือไม่o    ชั่วโมงการทำงานที่ไม่สม่ำเสมอส่งผลต่อครอบครัวอย่างไร?เราคิดถึงคำถามที่จะกระตุ้นให้คนแสดงความคิดเห็นต่อนิทรรศการ แต่ด้วยข้อจำกัดต่างๆ เราจึงไม่สามารถบันทึกเรื่องราวคำบอกเล่าในพิพิธภัณฑ์ ดังนั้นเราจึงเลือกใช้สมุดสำหรับแสดงความคิดเห็นวางไว้ที่ส่วนสุดท้ายของ นิทรรศการ สมุดได้บันทึกทั้งความคิดเห็นและความทรงจำจากหน้าต่อหน้า จากผู้ชมรุ่นใหญ่สู่ผู้ชมวัยเยาว์ ความเห็นที่ปรากฏในสมุดไม่ได้ตอบคำถามที่เกริ่นไว้ในแต่ช่วงนิทรรศการ ตรงนี้อาจจะเป็นบทเรียนให้กับภัณฑารักษ์ที่มองทุกอย่างเป็นการถาม-ตอบ ข้อความในสมุดมักเริ่มต้นด้วย “ฉันจำได้ว่า” ซึ่งบอกเป็นนัยว่านิทรรศการได้กระตุ้นให้ผู้ชมสะท้อนความทรงจำของตนเองหรือ ความทรงจำของของพ่อแม่หรือปู่ย่าตายาย ผู้ชมบางคนอธิบายถึงเนื้อหาที่สังเกตได้มาจากพื้นที่นิทรรศการ ความทรงจำร่วมกันระหว่างชายและหญิง หรือการนั่งฟังคำบอกเล่าบนที่นั่งรถไฟและได้ฟังคำบอกเล่าจากด้านเดียว บางคนเห็นว่านิทรรศการกระทบอารมณ์ได้อย่างลึกซึ้ง อย่างที่ผู้ชมคนหนึ่งได้เขียนประโยคง่ายๆ “ฉันร้องไห้ ความทรงจำของความรู้สึก” ในหน้าสมุดบันทึกมีความเห็นเพียงน้อยนิดเท่านั้นที่กล่าวถึงความรู้สึกอึด อัดของการไม่มีวัตถุจัดแสดง ในขณะที่มีความเห็นอีกมากมายที่ยินดีต่อการจัดนิทรรศการด้วยวิธีการดังกล่าว “เรื่องราวจริงๆ ดีใจที่ได้ฟังผู้คนบอกเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับพวกเขาด้วยตัวของเขาเอง” และ “นิทรรศการน่าสนใจอย่างมหัศจรรย์ ควรจะทำเรื่องราวประวัติศาสตร์คำบอกเล่าอย่างนี้ ให้มากขึ้นอีก” บทสรุปเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะสร้างนิทรรศการจากประวัติศาสตร์คำบอกเล่าในลักษณะของเสียง? นิทรรศการ ชุมทางรถไฟแฟรงก์ตันได้ให้คำตอบในทิศทางที่เห็นพ้องด้วย คำพยานได้สื่อสารกับผู้เข้าชมแต่ละคนโดยตรง และน้อมนำประสบการณ์อันมั่งคั่งและจินตนาการที่เพียบพร้อมมาตรึงความสนใจของ ผู้คน ประเด็นในนิทรรศการอันได้แก่ ชีวิตครอบครัว วัยเด็กและการทำงาน สะท้อนมาถึงพวกเราทั้งมวล ผู้คนจะนั่งและฟัง หากเรื่องราวเหล่านั้นน่าสนใจ และบรรยากาศโดยรอบสร้างความรู้สึกสบายและเชื้อเชิญ ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะกีดกั้นให้ประวัติศาสตร์คำบอกเล่าต้องไปประดับอยู่ที่ผนัง หรือจุดฟังเสียง แผงจัดแสดง หูฟัง หรือร้ายกว่านั้น คือ ในห้องสมุด!สำหรับพิพิธภัณฑ์เองนั้น นิทรรศการดึงดูดความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ และชักจูงใจผู้ชมที่ไม่เคยเข้ามาชมพิพิธภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม บุคลากรที่จะพัฒนานิทรรศการที่จะต้องใช้เวลาในการทำงานมากเช่นนี้เป็นเรื่อง ที่เป็นไปได้ยากสำหรับพิพิธภัณฑ์ การประสานโครงการดังกล่าวเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา และการหาทุนภายนอกมาสนับสนุน ได้ทำให้โครงการที่ต้องใช้ทั้งคน การลงแรงสัมภาษณ์และบันทึกคำบอกเล่า และสร้างนิทรรศการ ที่ใช้เวลาเบ็ดเสร็จถึงสองปีครึ่งนั้นเป็นไปได้ การนำเอาเรื่องราวประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปสู่ชุมชน จำเป็นต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์ยังคงมีชีวิตอยู่ที่จะฟังเรื่องเหล่านั้น ความรัก แรงงาน และตำนาน(Love, Labour and Legend) เป็น รางวัลจากความร่วมมือระหว่างนักวิชาการประวัติศาสตร์และเจ้าหน้าที่ พิพิธภัณฑ์ ในปริมณฑลแห่งประวัติศาสตร์ของสาธารณชน ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะมีนิทรรศการที่บอกเล่าด้วยตัวเองมากยิ่งขึ้นในอนาคต เชิงอรรถ1 S. Davies, ‘Falling on deaf ears? Oral history and strategy in Museums’, Oral History, Autumn 1994, vol. 22, no. 2, p. 74.2 G. Griffiths, ‘Oral History’, in D. Fleming, C. Paine and J. Rhodes (eds.), Social History in Museums: A Hand Book for Professionals, London: HMSO, 1993, pp. 111-116.3 G. Cavanagh, ‘The future of Museum social history collecting’, Social History in Museums, 1993 vol. 20, p.61.4 J. Urry, ‘How Societies remember the past’, in S. Macdonald and G. Fyfe (eds.), Theorizing Museums, Oxford: Blackwell/The Sociological Review, 1996, p. 50.5 M. Frisch, A Shared Authority: Essays on the Craft and Meaning of Oral and Public History, New York: State University of New York Press, 1990, p. 27.6 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Sally Parker (Senior Curator), Michele Orgad (Exhibitions Manager), Max Riksen (Designer), Stephie Leeves (Photographer), Kent Eriksen (Exhibition Preparator).7 สมาชิกของกลุ่มนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ร่วมจัดนิทรรศการ ได้แก่Matt Andrew, Chanel Clarke, Sue Garmonsway และ Jane Moodie.8 Frankton Oral History Project (FOHP) การสัมภาษณ์ 172, เทป 1, ด้าน บี, 39.4 นาที9 FOHP, การสัมภาษณ์ 157, เทป 1, ด้าน บี, 18.6 นาที.10 G. Porter, ‘Putting your house in order: representations of women and domestic life’, in R. Lumley (ed.), The Museum Time Machine, London: Routledge, 1988, pp. 102-127.11 See S. Garmonsway, ‘Just a wife and mother: the experiences of Frankton women, 1940-1960’, unpublished MA thesis, University of Waikato, 1996.12 FOHP, การสัมภาษณ์ 022, เทป 1, หน้า บี, 7.1 นาที.13 FOHP, การสัมภาษณ์ 014, เทป 1, หน้า บี, 17.6 นาที.14 FOHP, การสัมภาษณ์ 172, เทป 1, หน้า บี, 28.2 นาที.15 FOHP, การสัมภาษณ์ 187, เทป 1, หน้า บี, 6.0 นาที.แปลและเรียบเรียงจากAnna Green, “the Exhibition that Speaks for Itself”: Oral History and Museums. Robert Perks and Alistair Thompson (eds.), The Oral History Reader, 2nd edition, London; New York: Routledge, 2006, pp.416-424.

ประวัติศาสตร์ สำนักชาติพันธุ์ และพลเมือง บทความของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ในประเทศพหุชาติพันธุ์

20 มีนาคม 2556

ในปี 2005 พิพิธภัณฑ์แมคคอร์ดได้รับการมอบหมายจากสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมและการสื่อสาร เพื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับสัมพันธภาพระหว่างพิพิธภัณฑ์ ชุมชนชาติพันธุ์ และมรดกทางวัฒนธรรมในมอนทริออล การศึกษานี้แสดงให้เห็นอย่างประหลาดใจว่า เป็นสิ่งที่ยากที่จะทำให้สำเร็จลุล่วง และยังขีดให้เราจะต้องทบทวนกับสัมพันธภาพที่ซับซ้อนระหว่างสำนึกชาติพันธุ์ เรื่องราวของวัตถุ และการทำงานของพิพิธภัณฑ์สาธารณะ ให้ลึกมากยิ่งขึ้น  แมคคอร์ดเป็นพิพิธภัณฑสถานสาธารณะแห่งหนึ่งตั้งอยู่ที่ควิเบก จังหวัดหนึ่งที่มีความสำนึกชาติในการเป็นกลุ่มคนที่พูดภาษาฝรั่งเศส (francophone) ทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรมที่ต่างไปจากส่วนอื่นๆ ของประเทศ ในปี 1971 แคนาดาได้แถลงนโยบาย “พหุวัฒนธรรม” อย่างเป็นทางการ และในปี1988 สภาประกาศใช้รัฐบัญญัติพหุวัฒนธรรมคานาดา ซึ่งหมายรวมถึง “การยอมรับในความหลากหลายของชาวแคนาดา ทั้งที่สัมพันธ์กับเชื้อชาติรากเหง้าของชาติหรือชาติพันธุ์ สีผิว และศาสนา เสมือนฐานรากของสังคมแคนาดา” และส่งเสริมการสงวนรักษามรดกพหุวัฒนธรรม ควิเบกซึ่งมีสถานภาพพิเศษภายในสมาพันธ์แคนาดา ยังได้เผยแพร่นโยบายสหสัมพันธ์วัฒนธรรม (interculturalisme) เพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้กับผู้ที่อพยพเข้ามาใหม่ในสังคมที่พูดภาษาฝรั่งเศส บทความจะสำรวจเห็นวิถีทางในอันที่สำนึกชาติพันธุ์ได้รับการนิยามและแสดงออกทั้งความเป็นแคนาดาและควิเบก วิเคราะห์ข้อท้าทายต่างๆ ที่พิพิธภัณฑ์เผชิญในการสร้างคลังสะสมและการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาวแคนาดา ในแนวการสรรเสริญความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์และทิศทางทางการเมืองที่หลากหลาย และจะสรุปให้เห็นความพยายามในการทำความเข้าใจกับบทบาทของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สาธารณะในการสร้างช่องทางให้ชุมชนมีส่วนร่วมกับประวัติศาสตร์ของสถานที่แห่งนี้ รวมถึงสัมพันธภาพระหว่างการมีส่วนร่วมและการพัฒนาความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม(sentiment d’appartenance/ sense of belonging) และความเป็นพลเมืองร่วม   ภูมิทัศน์วัฒนธรรมชาติพันธุ์ของคานาดา                 แคนาดาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากที่สุดในโลก และความหลากหลายเป็นผลจากการอพยพขนานใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ 20 คานาดาได้ต้อนรับคนอพยพ 13.4 ล้านคนในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา และในปี 2002 หนึ่งในสี่ของประชากรเกิดในต่างแดน ภายในบริบทของคานาดาความหลากหลายเป็นนิยามที่เกิดขึ้นจากงานสำรวจความหลากหลายทางชาติพันธุ์ (Ethnic Diversity Survey)(ซึ่งเป็นการศึกษาต่อเนื่องจนถึงปี 2001) งานศึกษาดังกล่าวเป็นการสำรวจประชากรตามกลุ่มชาติพันธุ์ที่รวมตัวเป็นแคนาดา ด้วยการพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ “สิ่งแสดง” (markers)สำนึกชาติพันธุ์ เชื้อชาติ และศาสนา  ในปี 1931 สิ่งแสดงเหล่านี้จะหมายถึงผู้คนที่มาจากยุโรปในช่วงแรกๆ แต่ทุกวันนี้สิ่งแสดงหมายรวมถึงสเปกตรัมของคนที่ใหญ่กว่า ผู้มาจากทุกๆ ส่วนของโลก และเป็นผู้ที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นภาษาหรือศาสนา ตั้งแต่กลุ่มประชาการที่เก่าแก่ที่สุด                 ความหลากหลายทางชาติพันธ์ที่กำหนดใหม่นี้เป็นลักษณะเฉพาะของศูนย์กลางเมืองต่างๆ โดยเฉพาะตัวอย่างเช่น ประชากรกว่า 50% ของเมืองโตรอนโตเกิดนอกประเทศแคนาดา และอีกกว่า 40% ของชาวโตรอนโตประกาศตนเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของ “ชนกลุ่มน้อยที่ปรากฏชัด” (visible minority)2  ในการสำรวจเมื่อปี 2001 กว่า 30% ของคนที่อาศัยในแวนคูเวอร์มองตนเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของสำนึกชาติพันธุ์เอเชีย โดยมีชาวแคนาดา เชื้อสายจีนถึง 17.7% ของจำนวนประชากรที่อยู่ในเมืองทั้งหมด3    ในเมืองมอนเทรออล เมืองใหญ่ที่พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นอันดับสองของโลก สำนึกชาติพันธุ์สัมพันธ์ไปกับความซับซ้อนของสายสัมพันธ์ทางภาษา ด้วยประชากรกว่า 29% จัดแบ่งตนเองเป็น “allophones” ชาวคานาดาที่มีภาษาแม่ไม่ใช่ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรัง่เศส4  และในขณะที่มอนทริออลเป็นเมืองที่มีผู้นับถือโรมันคาทอลิกเป็นจำนวนมาก แต่อิสลามกำลังขายตัวมากขึ้น และยังเป็นความเชื่อสำคัญเป็นอันดับสามในควิเบก ด้วยจำนวนชาวมุสลิมประมาณ 3%ของประชากรที่อยู่ในเมืองมอนทริออล5   นโยบายของการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน                 แคนาดาจะตั้งรับกับความหลากหลายของเชื้อชาติ ศาสนา สำนึกชาติพันธุ์ และภาษาอย่างไร? ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยพหุวัฒนธรรมคานาดา ค.ศ. 1988 กล่าว ไว้ว่ารัฐบาลแคนาดารับรองความหลากหลายของชาวแคนาดา ทั้งที่เกี่ยวข้องกับเชื้อชาติ ความเป็นมาชาติหรือชาติพันธุ์ สีผิว และศาสนา ซึ่งเป็นฐานรากของสังคมแคนาดา และรัฐบาลมีส่วนรับผิดชอบต่อการสร้างนโยบายพหุวัฒนธรรม ในอันที่จะสงวนรักษาและเสริมให้มรดกความหลากหลายทางวัฒนธรรม พร้อมๆ ไปกับการสร้างความเท่าเทียมให้กับชาวคานาดาทุกคน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมืองของแคนาดา6                 สำหรับวิลล์ คิมลิคกา (Will Kymlicka) มหาวิทยาลัยควีนกล่าวไว้ว่า หลักของพหุวัฒนธรรมนิยมคือการดำเนินการให้ได้มาซึ่ง “ข้อตกลงของความเป็นหนึ่งเดียวกันที่ยุติธรรม” ขณะที่ยังมีเสียงวิพากษ์ภายในที่มองว่ารัฐบัญญัติกลับจะส่งเสริมให้สังคมแบ่งแยกเป็นเสี่ยงตามแต่ละชาติพันธุ์ 7 คิมลิคกากลับยืนยันถึงแนวคิดข้อตกลงของความเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างยุติธรรมว่า มีความชัดเจนเพียงพอที่จะนำไปสู่การสร้างสถาบันและคุณค่าร่วมกัน เขาเล็งเห็นสิ่งที่ปรากฏชัดในควิเบก นั่นคือ ความเป็นสังคมอยู่รวมในสมาพันธ์แคนาดา ในควิเบก นโยบาย สหสัมพันธ์วัฒนธรรมนิยม (interculturalisme) เรียกร้องให้ผู้อพยพเข้ามาใหม่ในพื้นที่และสมาชิกของสิ่งที่เรียกว่า ‘ชุมชนวัฒนธรรม’ (communautées culturelles) ดำรงอยู่ภายใต้หลักการสามประการ ซึ่งเป็นฐานของ “สัญญาจริยธรรม” (moral contract) ระหว่างควิเบกและพลเมืองใหม่ (ก) รับรองภาษาฝรัง่เศสเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารในชีวิตสาธารณะ (ข) ให้ความเคารพต่อคุณค่าประชาธิปไตย รวมไปถึงสิทธิพลเรือนและการเมืองและความเท่าเทียมกันในโอกาส และ (ค) ความเคารพในพหุลักษณ์นิยม รวมถึงการเปิดใจและยอมรับ“ความแตกต่าง” ของผู้อื่น9                 สหสัมพันธ์วัฒนธรรม อาจพิจารณาว่าเป็นปฏิกิริยาของการไม่มีสิ่งที่เรียกว่า“วัฒนธรรมแห่งชาติ” ด้วยเหตุที่แคนาดาต้องเผชิญกับหินผาทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมตามภูมิภาค และอัตลักษณ์ภาษา10 การมีอยู่ของรัฐชาติที่ก่อตัง้ 2 ชาติ ที่แตกต่างไปตามภาษา วัฒนธรรม และศาสนา รวมไปถึงการรับรองกลุ่มที่สามในคานาดาตามกฏบัตร อันได้แก่ ชนพื้นเมืองหรืออะบอริจิน เหล่านี้ดูจะเป็นเหตุผลเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่าชาตินิยมชาติพันธุ์เป็นเรื่องที่ฟงัไม่ขึ้นแต่อย่างใดทั้งในควิเบกเองและในคานาดา   ความเข้าใจในสำนึกชาติพันธุ์                 แล้วสำนึกชาติพันธุ์ได้รับการตีความอย่างไรในบริบทความหลากหลายและความเป็น พลเมืองของแคนาดา สำนึกชาติพันธุ์สามารถพิจารณาในฐานะที่เป็นคุณค่าทางสังคม เป็นความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่ง(sentiment d’appartenance หรือ feeling of belonging) ปัจเจกบุคคลอาจรู้สึกว่าเขาหรือเธอเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบางกลุ่ม และความรู้สึกนี้อาจคงอยู่หลายชั่วอายุคน ตัวอย่างเช่น กรณีของกลุ่ม Scots หรือกลุ่มประชากรหลักของแคนาดาที่สืบทอดหลายชั่วอายุคน หลายคนยังคงความรู้สึกของการ “เป็นสกอต”อย่างเหนียวแน่นดังจะเห็นได้จาการเป็นสมาชิกของสมาคมวัฒนธรรม เช่น สมาคมเชนต์แอนดรู(St. Andrew’s Society) สมาชิกยังคงปฏิบัติ วัฒนธรรมที่แสดงเอกลักษณ์ของความเป็นสก็อต เช่น การเต้นรำประจำชาติ การใส่กระโปรงสก็อต อาหารแบบฮากีส์ ในขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาสมาชิกภาพขององค์กร “สก็อต” หลายแห่งสะท้อนให้เห็นว่าลักษณะที่สัมพันธ์ของสมาคมกับความเป็นชาติพันธุ์เฉพาะกลุ่ม ก็ยากที่จะนิยาม ลองดูตัวอย่างกกลุ่ม Black Watch ที่เป็นคนบนพื้นที่สูงกลุ่มใหญ่ในแคนาดา และสมาชิกในปัจจุบันมีความหลากหลายทั้งทางชาติพันธุ์และเชื้อชาติ อย่างน้อยๆ ก็เห็นได้จากเว็บไซต์ของสมาคม11                 สำนึกชาติพันธุ์อาจต้องทำความเข้าใจในบริบทของมานุษยวิทยา ซึ่งหมายถึงคนรุ่นหลังที่มีสายสัมพันธ์ทางพันธุ์กรรมเฉพาะกลุ่ม คนๆ หนึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งเพราะสืบสายมาจากพ่อแม่หรือปู่ย่าตายาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคนกลุ่มนั้นๆ สำนึกชาติพันธุ์มักได้รับการธำรงไว้ด้วยการแต่งงานภายในกลุ่ม (in-marriage) ส่วนการแต่งงานนอกกลุ่ม (out-marriage) มักถือเป็นการปฏิเสธสำนึกชาติพันธุ์จากสมาชิกคนอื่นๆใน สังคม ดังจะเห็นได้จากการแจ้งชาติพันธุ์ของประชาการว่ามีบรรพบุรุษมากกว่า ชาติพันธุ์เดียว นั่นเป็นเพราะการแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์ (intermarriage) ในปี 2001 จำนวนประชากร 11.3ล้านคน หรือ 38 % ของประชากร รายงานตนเองว่ามีบรรพบุรุษจากกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่ม ซึ่งมากขึ้นกว่าการสำรวจประชากรครั้งที่ผ่านมา การสำรวจความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ได้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่าการนิยามกลุ่มชาติพันธุ์  (selfcharacterization) อาจ เหมือนหรือแตกต่างไปจากบรรพบุรุษตั้งแต่รุ่นพ่อแม่หรือปู่ย่าตายาย สมาชิกในรุ่นที่สองและสาม ซึ่งอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันจะกล่าวว่าตนเองเป็นชาวคานาดา หรือจะกล่าวว่าเป็นสมาชิกในระดับภูมิภาคลงไปคือ กลุ่มชนตะวันตก (Westerner) หรือกลุ่มผู้พบดินแดนใหม่ (Newfoundlander)12             สำนึกชาติพันธุ์สามารถอ้างอิงกับกลุ่มทางศาสนาหรือเชื้อชาติ (race) ชุมชน ชาวยิว ซึ่งถึงแม้จะเป็นสมาชิกของคนที่มาจากสัญชาติ ชาติพันธุ์ หรือบรรพบุรุษต่างเชื้อชาติ แต่กลับมีสายสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอย่างแน่นแฟ้น ด้วยการนับถือศาสนาร่วมกันและมีแบบแผนทางศาสนาอย่างเดียวกัน (และรวมถึงประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ร่วมกัน) หรือชุมชนชนคนดำ ซึ่งมักถูกมองจากคนภายนอกว่าเป็นกลุ่มแปลกแยกด้วยสีผิว ก็มาจากสมาชิกที่แตกต่างกันทัง้ทางสัญชาติ วัฒนธรรม และภาษา ฉะนั้นการกล่าวถึงสำนึกชาติพันธุ์ของคนกลุ่มต่างๆ เหล่านี้มีความซับซ้อนอย่างมาก เพราะสมาชิกแต่ละคนที่มีสายสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งๆ ย่อมมีระดับความเข้มข้น จากมากไปถึงน้อยต่างกันไป และสำนึกชาติพันธุ์ยังไปสัมพันธ์กับชุมชนภายนอกที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนอีกเช่นกัน   วัฒนธรรมวัตถุ สำนึกชาติพันธุ์ และพิพิธภัณฑ์                 อย่างนั้นแล้ว อะไรคือบทบาทของพิพิธภัณฑ์สาธารณะ และที่สำคัญที่สุดพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ ในประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมอย่างแคนาดา และในกรณีของเมืองที่เป็นใช้สองภาษาและ เป็นพหุวัฒนธรรมอย่างกรณีมอนเทรออล แล้วชุมชนชาติพันธุ์ต่างๆ จะเข้ามาสัมพันธ์กับสถาบันพิพิธภัณฑ์อย่างไร และเมื่อชุมชนต่างๆ เข้ามาสัมพันธ์กับพิพิธภัณฑ์ สถานที่ใดในชุมชนนี้จะเอื้อให้กับพิพิธภัณฑ์ ตามการ ศึกษาของพิพิธภัณฑ์แมคคอร์ด เราได้ทบทวนบทความทั้งในภาษาอังกฤษและฝรัง่เศสที่เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ ชาติพันธุ์ และความหลากหลาย เราได้รวบรวมสิ่งที่ค้นพบจากการศึกษาก่อนหน้านั้น และได้สัมภาษณ์กลุ่มเฉพาะ และสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบกับสมาชิกกลุ่มวัฒนธรรมในมอนเทรออล สิ่งที่ได้จากความพยายามในการศึกษาครั้งนี้คือความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ ระหว่างพิพิธภัณฑ์สาธารณะกับชุมชนวัฒนธรรม อย่างน้อยในมอนเทรออล และอาจหมายถึงแคนาดาในภาพที่กว้างออกไปนั้น มีความสำคัญอย่างมากทั้งต่อการวิเคราะห์และการลงมือปฏิบัติการ                 พิพิธภัณฑ์สาธารณะในสังคมตะวันตกมีพันธกิจสำคัญสองประการคือ การรักษาอนุรักษ์และการเข้าถึงการรักษาอนุรักษ์หมายถึงการอนุรักษ์วัตถุไว้ ในคลังวัตถุที่ปลอดภัยและการอนุรักษ์ความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ วัตถุด้วยการจัดเก็บเอกสารและการจัดพิมพ์เผยแพร่ ส่วนการเข้าถึงหมายรวมทัง้สิ่งที่เป็นกึ่งสาธารณะและสาธารณะ คำวิจารณ์สุดที่กล่าวถึงพิพิธภัณฑ์วนอยู่กับปัญหาของความใส่ใจและความรับผิดชอบต่อสังคมพิพิธภัณฑ์ ในสายตาของนักวิชาการและสมาชิกของสังคมจำนวนมากเห็นตรงกันว่า พิพิธภัณฑ์กีดกันหรือละเลยประวัติศาสตร์บางส่วน การสร้างสรรค์ทางศิลปะ และเพิกเฉยต่อความรับผิดชอบต่อสาธารณะอย่างไรก็ตาม หน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ไม่ใช่เรื่องของการสะสม “อดีต” หรือ บอกเล่าเรื่องราวด้วยการจัดแสดง แต่เป็นการสะสมและอนุรักษ์วัตถุบางอย่างด้วยกรอบการคัดสรร และการเปิดโอกาสให้เข้าถึงสิ่งเหล่านั้นนี่คือการนิยามพิพิธภัณฑ์ที่แคบ ผู้เขียนจะย้อนกลับไปที่วาระของพิพิธภัณฑ์ต่อสังคมที่กว้างมากกว่า เพื่อแสดงให้ฃเห็นวิถีทางที่คลังสะสมอันเป็นรากฐานของพิพิธภัณฑ์ ได้รับการนิยามและพัฒนาการต่อมา กรอบของการจัดการและการคัดเลือกวัตถุสะสมที่ใช้โดยพิพิธภัณฑ์สะท้อนให้เห็นความสนใจของสังคมใน ขณะนั้นๆ ความสนใจของสังคมย่อมส่งผลต่อการจัดประเภทของพิพิธภัณฑ์ และในขณะเดียวกัน ก็เป็นการกีดกันบางอย่างออกไป จนวัตถุนั้นๆ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของบันทึกประวัติศาสตร์ จึงส่งผลให้วัตถุเหล่านั้นไม่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบันทึกเชิงวัตถุ ของอดีต และยงิ่ ดูลดความสำคัญลงไปในสายตาของนักประวัติศาสตร์ในฐานะของ “เอกสาร” ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประวัติศาสตร์หรือนิทรรศการสาธารณะ ช่องว่างของคลังสะสมที่เกิดขึ้นต้องอาศัยเวลาหลายชั่วอายุคนในการเติมเต็ม ส่วนที่ขาดไป ดังนั้นสำนึกชาติพันธุ์จะได้รับการถ่ายทอดลงไปในวัฒนธรรมทางวัตถุ หรืออีกนัยหนึ่งคลังของพิพิธภัณฑ์                 สำหรับวัตถุแล้ว สำนึกชาติพันธุ์เป็นเรื่องที่ยากนักสำหรับการพรรณนา รูปแบบที่ง่ายที่สุด วัตถุ “ชาติพันธุ์” มักสัมพันธ์กับวัฒนธรรมชีวิตชาวบ้านหรือวัฒนธรรมประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์เฉพาะและบ่อยครั้งเป็นกลุ่มที่สัมพันธ์กับความเป็นชาติ จนกลายเป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกชาติพันธุ์ไปในตัว (ธรรมเนียมการร่ายรำของยูเครน กระเบื้องแบบโปรตุเกส ถ้วยชาหรือตะเกียบแบบจีน ceitnture fléchée (เข็มขัดที่ทำจากขนแกะพื้นสีแดงและมีลายลูกศร พบในคานาดา) วัตถุ เหล่านี้ถูกใช้อธิบายความเป็นชาติพันธุ์และอัตลักษณ์ง่ายๆ ทั้งภายในกลุ่มวัฒนธรรมเอง และคนนอกชุมชนชน และบ่อยครั้งทีเดียวที่ชนอพยพจะนำวัตถุเหล่านี้มาจากประเทศของตนเองหรือประดิษฐ์สิ่งเหล่านี้ขึ้นในประเทศที่ตนอพยพเข้าไปอยู่ตามคำสอนของธรรมเนียมประเพณี(ชุมชนผู้อพยพอนุรักษ์ธรรมเนียมประเพณีที่ได้ปฏิบัติกันแล้วในประเทศที่ตนจากมา) สิ่งที่ซับซ้อนมาขึ้นไปอีกคือ วัตถุที่ถูกกลืนกลายเข้าไปสู่กระแสวัฒนธรรมหลัก และถูกดัดแปลงเพื่อการใช้ภายในชุมชนชาติพันธุ์ เช่น กระดุมหรือเสื้อยืดที่มีคำโปรย “หอมซิ ฉันคือชาวยูเครน” สิ่งที่ซับซ้อนเหนืออื่นใด การบ่งชี้ว่าวัตถุนั้นๆ เป็นตัวแทนความเป็นชาติพันธุ์ วัตถุในกระแสหลักที่รับใช้ชุมชนวัฒนธรรม และบ่งชี้ความเป็นชุมชนและประวัติศาสตร์ (ดังจะเห็นได้จากการกล่าวถึงลักษณะที่พักอาศัยแรกๆ ในมอนเทรออลที่สร้างขึ้นโดยคนอพยพชาวโปรตุเกส ชุดแต่งกายจากปารีสในพิธีแต่งงานที่นิยมกันในมอนเทรออล เพื่อบ่งบอกการแต่งงานตามประเพณีของยิว) หากปราศจากความรู้เกี่ยวกับที่มาที่ไปและประวัติศาสตร์ของสิ่งของ วัตถุเหล่านี้ก็มาได้สัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นผู้สร้างสรรค์แต่อย่างใด                 ท้ายที่สุด คำถามที่เราควรตัง้ขื้นต่อไปก็คือ เมื่อวัตถุที่เชื่อมโยงโดยตรงกับชุมชนชาติพันธุ์ใดก็ตาม ได้เปลี่ยนสถานภาพเข้าไปอยู่ในกระแสหลัก ก็ควรได้รับการตรวจสอบด้วยเช่นกัน (ในแคนาดา กะทะแบบเอเชีย จานใส่พาสต้าแบบอตาลี เสื้อปักลายแบบจีน และแหวนรูปหัวใจแบบเซลติก) ปัญหาของการนิยามความเป็นชาติพันธุ์เช่นนี้สะท้อนได้อย่างชัดเจนในการจัดแบ่งประเภทวัตถุในพิพิธภัณฑ์ที่ปรากฏในฐานของมูลคลังสะสม ตัวอย่างเช่น ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ของเราไม่รวมการจัดประเภท “ความเป็นชาติพันธุ์”เข้าไปกับผู้บริจาค นอกเสียจากว่าชื่อของผู้บริจาคเองที่บ่งชี้ความเป็นชาติพันธุ์ เช่น วัตถุกระแสหลัก (ของที่พบอย่างดาดๆ) เช่นตุ๊กตาบาร์บี้ที่บริจาคโดยสมาชิกชุมชนชาติพันธุ์ ย่อมกลายเป็นหลักฐานของการพูดถึงสิ่งของนั้นๆ ที่สัมพันธ์กับความเป็นชาติพันธุ์โดยปริยาย   ความคาดหวังของชุมชน                 สิ่งที่จะแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างเล็กโดยกลุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาควิเบก และด้วยการสนทนา แสดงให้เห็นมุมมองที่จำกัดของชุมชนภายนอกหรือ “สาธารณะ” ที่มีต่อ พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์มักถูกมองจากเลนส์ของนิทรรศการ คือเป็นสถานที่สำหรับการจัดแสดง หรือการเยี่ยมชมของครอบครัวและโรงเรียน การพูดคุยกับชุมชนวัฒนธรรมต่างๆ เผยให้เห็นถึงความไม่เข้าใจในบทบาทสำคัญพื้นฐานของหน้าที่ในการสะสม สงวนรักษา และวิจัย ในขณะที่มีคนอีกหลายกลุ่มที่ชื่นชมกับคุณค่าของจดหมายเหตุ โดยเฉพาะจดหมาย อนุทิน และภาพถ่ายซึ่งถือเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ที่บ่งบอกอัตลักษณ์ของชุมชน พิพิธภัณฑ์ในฐานะสถาบันจัดเก็บอนุรักษ์รักษาวัตถุ เพื่อชนรุ่นหลัง มักมีการตั้งข้อกังขา เช่น ในระหว่างการสัมภาษณ์กลุ่ม สมาชิกของชุมชนคนดำมอนเทรออล โยงให้เห็นว่า คนจากพิพิธภัณฑ์แมคคอร์ดอาจไม่ได้ตระหนักถึงทาสที่มีอยู่ในควิเบกช่วงศตวรรษ ที่ 18 และเขาเข้าใจเองว่าพิพิธภัณฑ์คงไม่ได้สะสมวัตถุที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ที่ไม่มี ใครกล่าวถึง จริงๆ แล้วพิพิธภัณฑ์แมคคอร์ดเหมือนกับพิพิธภัณฑ์อีกหลายแห่ง ที่พยายามจัดหาวัตถุที่เกี่ยวข้องกับชนชั้น แรงงานและกลุ่ม “ชายขอบ” ไม่ใช่เพียงว่าเจ้าหน้าที่จะตระหนักสิ่ง เหล่านี้ แต่เราได้จัดหาภาพสีน้ำในยุคแรกๆ ที่แสดงให้เห็นถึงบทบาคนดำในการเป็นคนรับใช้ และบางครั้งเป็นทาส (ด้วยเหตุนี้ สถานภาพก็ยากที่จะตัดสินจากภาพภายนอกเพียงอย่างเดียว)                 เมื่อพิพิธภัณฑ์เริ่มหันมาใส่ใจต่อสิ่ง ทีเคยมองข้ามและจัดเก็บสิ่ง ต่างๆ ในชุมชนวัฒนธรรมแห่งนั้นพิพิธภัณฑ์ต้องเผชิญกับความเข้าใจผิด และลักษณะร่วมสมัยของการเก็บสะสมสิ่งของ ในบางกรณีเจ้าของวัฒนธรรมแสดงความกังวลที่ “คนอื่น” กำลัง ครอบครองมรดกของพวกเขา แล้วซ่อนเร้นไว้ ในหลายๆ กรณีก็อาจกล่าวได้ในทำนองนั้น สำหรับพิพิธภัณฑ์ใหญ่ๆ ที่เก็บของที่จัดแสดงของเพียงเล็กน้อยในนิทรรศการ สมาชิกหลาย คนของชุมชนชาติพันธุ์และวัฒนธรรมคงสบายใจมากกว่าที่จะเก็บของเหล่านั้นไว้ใน ชุมชนของตนเอง ที่ซึ่งแม้จะมีความเสี่ยงต่อการสูญหายและทำลาย แต่พวกเขายังคงเห็นสิ่ง เหล่านั้น และเข้าไปอยู่ในประวัติศาสตร์ของชุมชน ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่ง ที่น่ากังวลใจมากไปกว่าเรื่องการครอบครองและการสูญหาย คือความไม่สอดคล้องของการให้คุณค่าและการนำเสนอวัตถุ สิ่งที่ภัณฑารักษ์ได้เรียนรู้อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่กลุ่มวัฒนธรรมหรือสมาชิกในสังคมใหญ่ให้คุณค่า ตัวอย่างเช่น ภัณฑารักษ์เชื้อสายอิตาลี-แคนาดาที่จัดนิทรรศการล่าสุดที่พิพิธภัณฑ์อารยธรรมแคนาดา เกี่ยวกับชาวแคนาดาเชื้อสายอิตาลีได้เลือกที่จะกล่าวถึง ฟิล เอสโปซิโตนักเล่นฮอกกีชาวแคนาดาที่มีเชื้อเสียงเชื้อสายอิตาลี ไม้ฮอกกี้ไม่ได้มีความหมายสัมพันธ์กับความเป็นอิตาลี แต่ดูจะเป็นสิ่ง ที่แสดงถึงการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมใหญ่และความสำเร็จในการเป็นสมาชิก ของชุมชนวัฒนธรรมในสิ่งที่เรียกว่า “เกมแคนาดา” คำวิจารณ์ที่เกิดขึ้นตั้งประเด็นต่อ “วัฒนธรรมระดับสูง” ที่สัมพันธ์กับอิตาลี บรรดาศิลปินอิตาลีผู้มีชื่อเสียง ลีโอนาโดหรือกาลิเลโอที่มีส่วนในการสร้างสังคมอิตาลี-แคนาดา ไม่ใช่อิตาลีที่อพยพนำพาสิ่ง เหล่านั้นมาสู่แคนาคาหรอกหรือ? (ชื่อศูนย์วัฒนธรรมอิตาลีในมอนเทรออลได้รับการขนานนามตามชื่อของลีโอนาโด ดา วินชี) ใน อีกทางหนึ่งผู้หญิงในชุมชนอิตาลีกล่าวอย่างชัดเจนว่าข้อมูลในนิทรรศการที่ กล่าวถึงความรุนแรงที่มีต่อสตรี เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ชุมชน ซึ่งร่องรอยดังกล่าวกลับปรากฏไม่มากนักในบันทึกต่างๆ   คุณค่าและภารกิจ                 ความยุ่งยากที่ส่วนที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของ “วัตถุพิพิธภัณฑ์” วัตถุที่มีคุณค่าเพียงพอที่จะเข้าไปอยู่ในคลังของพิพิธภัณฑ์ ดังได้แสดงไว้ข้างต้น สำหรับผู้เขียนแล้ว เหล่านี้เป็นผลมาจากพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์ในสังคม พิพิธภัณฑ์ในโลกตะวันตกมีชื่อเสียงและประวัติศาสตร์ไปในทิศทางที่เป็นสถาบัน ที่มีอำนาจเต็ม ทัง้ในกำหนดว่าสิ่งใดเป็นที่ควรเก็บสะสมไว้เป็นสมบัติแห่งชาติ และจัดแสดงนิทรรศการเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่เป็นมาตรฐาน ดังนั้น พิพิธภัณฑ์จึงมีลักษณะที่คลุมเครือต่อการเผชิญกับสังคมสมัยใหม่ พิพิธภัณฑ์ดูจะไม่ให้ความใส่ใจต่อชุมชนเฉพาะที่มีความต่างออกไปจาก “มาตรฐาน” และหลีกเลี่ยงที่จะไม่กล่าวถึง ทัง้ที่ในความเป็นจริงพิพิธภัณฑ์สามารถนิยามคุณค่าของของมรดกชุมชนด้วยสมบัติของแต่ละแห่ง สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์อาจมองพิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่เก็บและแสดงวัฒนธรรมวัตถุของตนที่นิยามโดยชุมชนเอง และเล่าเรื่องที่ชุมชน ปรารถนาจะเล่า เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์สาธารณะในอีกทางหนึ่ง ผู้ซึ่งต้องการแบ่งปันความคิดเกี่ยวกับคุณค่าที่สัมพันธ์กับการทำงานทางวิชาการและพิพิธภัณฑ์ปฏิบัติการ การเก็บวัตถุที่สัมพันธ์กับเนื้อหาประวัติศาสตร์ การจัดลำดับความสำคัญของวัตถุจากวัตถุธรรมาสามัญจนถึงของหายาก เช่น ชุดในของคนงานระดับแรงงานกับชุดต่างงานที่เป็นสมบัติสืบทอด พิพิธภัณฑ์นำเสนอสิ่งเหล่านี้ในนิทรรศการ ซึ่ง“เสียง” ได้เผยออกและนำไปสู่การถกเถียง การนำเสนอมุมมองหนึ่งของประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ของกลุ่มหนึ่ง แต่อาจจะไม่ตรงต่อตัวตนของอีกกลุ่มหนึ่ง                 ในส่วนของการจัดแบ่งระหว่างมรดกและประวัติศาสตร์ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ David Lowenthal ได้แสดงให้เห็นไว้ในหนังสือของเขาเรื่อง The heritage Crusade and the Spoils of History (1998) เขาได้มองว่าขณะที่มรดกสามารถย้ำและร่างตัวตน หากมองไปในเนื้อแล้วจะพบลักษณะของการกีดกันมรดกของคนๆ หนึ่งมีความเฉพาะและไม่สามารถมีความหมายหรือคุณค่ากับคนภายนอกกลุ่ม มรดกใช้ตัวเองเพื่อการสรรเสริญมากกว่าเพื่อการตรวจสอบ และเมื่อพิจารณาเช่นนี้แล้ว ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นได้ ความขัดแย้งที่มาจากเป้าหมายของพิพิธภัณฑ์สาธารณะ และเป้าหมายของกลุ่มที่ใช้มรดกเพื่อการยืนยันถึงตัวตนและการสรรเสริญพื้นฐานงานพิพิธภัณฑ์มีแนวคิดของการเข้าถึง ก็คือการเข้าถึงวัตถุและข้อมูล ซึ่งตีกรอบความเข้าใจในประวัตถุและถือเป็นสาระสำคัญของประวัติศาสตร์ของ สาธารณชน ประวัติศาสตร์ที่พิพิธภัณฑ์สาธารณะบอกเล่าอาจไปไม่ใช่เรื่องราวที่ชุมชนของวัฒนธรรมหนึ่งต้องการฟัง หรือกลุ่มมรดกต้องการที่จะได้ยิน ชาวอเมริกันอาจจดจำเรื่องราวเกี่ยวกับ Enola Gay (เครื่องบินทิ้งระเบิดปรมาณูสมัยสงครามโลกครัง้ที่ 2 – ผู้แปล) แม้เรื่องราวของEnola Gay ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเป็นชาติพันธุ์ แต่การซ่อมแซมและจัดนิทรรศการกลับสร้างความขัดแย้งระหว่างชุมชนที่ชื่นชมกับมรดกของการทหารที่แสดงให้เห็นแสนยานุภาพของระเบิดและภารกิจที่เกี่ยวข้องกับนักประวัติศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์ ที่ต้องการสำรวจและตั้งคำถามกับบทบาทของสหรัฐอเมริกาและปฏิบัติการระเบิดปรมาณู หลังจากที่มีการประท้วงจากกลุ่มทหารที่ร่วมสงครามและผู้สนับสนุน นิทรรศการถูกยกเลิกไปและผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ขอลาออก Sam Johnson ในฐานะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกาและคณะกรรมการคนหนึ่งของสถาบันสมิธโซเนียนได้ประกาศว่า อเมริกันชน “ต้องการให้สถาบันสมิธโซเนียนสะท้อนความเป็นอเมริกันจริงๆ และไม่ใช้บางสิ่งที่นักประวัติศาสตร์ฝันขึ้น”13 แรงกดดันระหว่างมรดกและประวัติศาสตร์มักไม่ได้รับการตีแผ่อย่างตรงไปตรงมามากนัก   บทบาทของพิพิธภัณฑ์สาธารณะ                 ผู้เขียนคิดว่าความแตกต่างที่ Lowenthal ได้ กล่าวไว้มีความสำคัญอย่างมากในบริบทของประเทศที่มีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย อย่างประเทศคานาดา ข้อชี้แจงดังกล่าวกระเทาะถึงหัวใจของบทบาทพิพิธภัณฑ์สาธารณะและหน้าที่ในฐานะสถาบันทางสังคม งานเขียนล่าสุดของ Stephen Weil เป็นผู้ที่ย้ำถึงการ “ประเมินที่มีผลลัพธ์เป็นที่ตั้ง” (outcome-base evaluation) สำหรับพิพิธภัณฑ์ ในปาฐกถางานประชุมประจำปีพิพิธภัณฑ์ในอังกฤษเมื่อปี 1999 เขาได้กล่าวไว้ว่า “ถ้า พิพิธภัณฑ์ของเราไม่ดำเนินการด้วยเป้าหมายปลายทางคือเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ของผู้คน แล้วเราสามารถเรียกร้องการสนับสนุนจากสาธารณะเพื่อสิ่งใด?” เขาได้ปิดท้ายปาฐากถาด้วย คำยืนยันต่อความภาคภูมิใจของคนทำงานในพิพิธภัณฑ์ทีที่ควรจะเป็น ควรเป็นความภาคภูมิใจที่เชื่อมโยงกับความแตกต่างของคุณภาพชีวิตของผู้คนที่ดีขึ้น ซึ่งมีได้หลายทิศทางและหลายแบบ เพื่อสร้างสภาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในชุมชนของเรา”14                 แนวคิดของ Weil ที่มองว่าพิพิธภัณฑ์จะได้ความสนับสนุนจากสาธารณะก็ต่อเมื่อพิพิธภัณฑ์ได้ทำงานเพื่อ “ความเป็นอยู่ที่ดีร่วมกัน” ของผู้คน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ แต่ Weilไม่ได้นิยามคำว่าความเป็นอยู่ที่ดีร่วมกัน แต่ผู้เขียนประสงค์ที่จะสานต่อความคิดของเขาเข้ากับความคิดต่างๆ ที่นักเศรษฐศาสตร์ชาวแคนาดา John Helliwell ได้กล่าวถึงผลกระทบของทุนทางสังคมกับความเป็นอยู่ที่ดี Helliwellได้ตั้งข้อสังเกตในงานเขียนล่าสุดว่า “ผู้ คนดูจะให้ความใส่ใจต่อบริบทสังคม ซึ่งพวกเขาเข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่ว่าพวกเขาจะเล่นอยู่ในบทบาทใดพวกเขาให้คุณค่าและความไว้วางใจต่อเพื่อน บ้าน สถานที่ทำงาน บริการสาธารณะ และข้ารัฐการ”15นโยบายการอพยพและการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวของควิเบก (1991) ทั้งที่ปฏิบัติอยู่ในสถาบันเอกชนและสาธารณะ จะต้องปรับให้เข้ากับความจริงที่เป็นพหุวัฒนธรรม เพื่อช่วยให้คนอพยพและลูกหลานของพวกเขาได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมควิเบก16 ผู้ เขียนอยากจะเสนอแนะให้พิพิธภัณฑ์ทำหน้าที่ทางสังคมกับผู้คนมากกว่าที่จะเป็น สถานที่ทำงานหรือสำนักงานรัฐบาล และด้วยความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพของพิพิธภัณฑ์นี่เองที่จะทำให้ผู้คนมีความรู้สึกของความเป็นอยู่ที่ดีและความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม นั่นคือความรู้สึกถึงความเป็นพลเมือง17 ความรู้สึกเช่นนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพิพิธภัณฑ์อย่างเช่นแมคคอร์ด ซึ่งมีคลังสะสมวัฒนธรรมวัตถุของคานาดา และนำเสนอนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์และบนเว็บไซต์ทั้งภาษาฝรัง่เศสและภาษาอังกฤษ ผู้เขียนขอย้ำ ถึงว่าเราได้สร้างความรู้สึกร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคม โดยใช้วัตถุในคลังสะสมและการนำเสนอเรื่องราวผ่าประวัติศาสตร์วัตถุของประเทศ ของเรา ผู้เขียนใช้คำว่า “ประวัติศาสตร์” อย่างระมัดระวังด้วยคำอธิบายความแตกต่างของ Lowenthal ระหว่างมรดก ซึงมีการกีดกันบางสิ่งบางอย่างออกไป และแก่นแกนของประวัติศาสตร์ที่เปิดรับและมีลักษณะที่ให้พื้นที่การเข้ามามีส่วนร่วม พิพิธภัณฑ์ของเราปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะดึงเอาคลังวัตถุมาสะท้อนประวัติศาสตร์ของสถานที่นี้ สถานที่ของเรามีตัง้แต่ต้นศตวรรษที่ 20 ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แมคคอร์ด David Ross McCord เชื่อว่าประวัติศาสตร์คานาดา หากกล่าวอย่างกว้าง สามารถเชื่อมให้พลเมืองของประเทศมองเห็นอัตลักษณ์แห่งชาติที่พัมนามาจากอารยธรรมฝรัง่เศสและอังกฤษ และเสริมความเป็นอินเดียนเข้าไปในฐานะ “เจ้าของดัง้เดิมบนแผ่นดิน” ชาวคานาดายอมรับอย่างเต็มภาคภูมิ

ประวัติศาสตร์แห่งชาติสนทนากับเรื่องราวการอพยพ

20 มีนาคม 2556

เรื่องราวที่จะได้กล่าวถึงต่อไปนี้ ดัดแปลงมาจากการบรรยายของผู้เขียน เรื่อง ฝรั่งเศสร่วมสมัยในกระแสธารวัฒนธรรมคนอพยพ ซึ่งเป็นการบรรยายในหัวเรื่อง ยลพหุวัฒนธรรม ที่จัดขึ้นที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เมื่อวันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2554 ในวันนั้น มีวิทยากรที่ร่วมสนทนาด้วยอีก 2 ท่าน คือ อาจารย์สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และชวนถกโดย ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร แต่ในบทความนี้ ผู้เขียนเลือกประเด็นที่อยู่ในการบรรยายของตนเองมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน โดยไม่ได้หยิบยกเนื้อหาและข้ออภิปรายของวิทยากรอีกสองท่านเข้ามาไว้ในบทความ โครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อบอกเล่าประวัติศาสตร์การอพยพ                  คำว่า “ประวัติศาสตร์แห่งชาติ” ในที่นี้ มุ่งที่จะกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐฝรั่งเศสในการบอกเล่าเรื่องราวการอพยพของผู้คนในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การอพยพ หรือ Cité nationale de l’histoire de l’immigration (ต่อไปจะใช้คำว่า CNHI เมื่อกล่าวถึงพิพิธภัณฑ์แห่งนี้)                   โครงการพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่แห่งนี้ เริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ. 2001 โดยการทำรายงานการศึกษาให้กับรัฐบาล ลิโอเนล โจสแปง ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และได้รับการอนุมัติเป็นโครงการของรัฐบาล เมื่อ ฌาร์ค ชิรัค ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีอีกสมัยหนึ่ง เมื่อ ค.ศ. 2002 จากนั้น ในปี 2003 ได้มีการประชุมทางวิชาการเพื่อระดมความคิดเห็นในการบอกเล่าประวัติศาสตร์การอพยพของสาธารณรัฐ เพราะการจะหยิบยกปัญหาเรื่องการอพยพมากล่าวถึงในสังคมร่วมสมัย เพื่อจะสร้างความเข้าใจและความเป็นมาของเรื่องราว                    เรื่องราวของการอพยพหมายถึงการกล่าวถึงบาดแผลและการเจ็บปวดของคนที่ย้ายถิ่นด้วยเหตุต่างๆ นานา และเมื่อมาพำนักอาศัยในแผ่นดินแห่งนี้ ย่อมต้องเกิดช่องว่างในการปรับตัว หรือการยอมหรือไม่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ ดังนั้น เมื่อประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรมเช่นนี้กลายเป็นแก่นแกนของพิพิธภัณฑ์ วาระของการบอกเล่าควรเป็นการบอกเล่าที่ทำให้สังคมก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับความเข้าใจในประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ ฐานคิดในการบอกเล่าประวัติศาสตร์การอพยพของพิพิธภัณฑ์ อาจแสดงจุดมุ่งหมายใน 3 ลักษณะ อันได้แก่                    หนึ่ง “Being French differently” หรือการเป็นฝรั่งเศสในแบบที่แตกต่างออกไป นั่นหมายความว่า พิพิธภัณฑ์พยายามแสดงให้เห็นว่า ผู้คนที่เคลื่อนย้ายเข้ามาในประเทศนั่นเหตุและปัจจัยในการอพยพแตกต่างกัน คนเหล่านี้มาพร้อมกับ “วัฒนธรรมต้นทาง” หรือวัฒนธรรมที่ติดตามมากับชาติภูมิของตนเอง ดังนั้น การมาลงรากปักฐานในสาธารณรัฐย่อมมีความแตกต่างกัน หรือต่างไปจากสิ่งที่เชื่อว่า “เป็นฝรั่งเศส” ของชนส่วนใหญ่ นั่นรวมถึงสิทธิพหุลักษณ์ (plural rights) ของการเป็นพลเมือง และต่อต้านการเลือกปฏิบัติไปพร้อมกัน                     สอง หลีกเลี่ยงการ “ประทับตรา” (stigmatization) เพราะเมื่อใดก็ตามที่มีการบอกเล่าเรื่องราวทางวัฒนธรรมกับสาธารณะ เมื่อนั้นจะเกิดภาพสถิต นั่นคือ การตรึงภาพลักษณะของคนจากวัฒนธรรมอื่น ที่นิ่งและไม่เปลี่ยนแปลง เช่น คนอัลจีเรีย ต้องเป็นคนมุสลิม พูดภาษาอาหรับ และจะต้องเผชิญกับปัญหาในการอพยพแบบนี้ ดังนั้น จึงนำไปสู่แกนของการเล่าเรื่องที่จะต้อง “ไปและกลับ” ระหว่างประวัติศาสตร์ในภาพใหญ่และประวัติชีวิตของปัจเจกบุคคล เพื่อแสดงให้เห็นลักษณะ “ร่วม” และ “เฉพาะ” ของประวัติศาสตร์ (histories)                       สาม ลักษณะพลวัต (dynamism) ทำอย่างไรให้สาธารณะเข้าใจประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในลักษณะที่ไม่หยุดนิ่ง หรือongoing history การอพยพข้ามรัฐชาติยังคงดำเนินต่อไปในปัจจุบัน เหตุและปัจจัยต่างๆ เปลี่ยนแปลงจากที่กล่าวถึงในพิพิธภัณฑ์ ชีวิตของคนอพยพก็เปลี่ยนแปลงเช่นกัน การพัฒนาเรื่องราว                       จากฐานคิดในการสร้างสรรค์พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการเพื่อบอกเล่าประวัติการอพยพ CNHI แจงให้เห็นองค์ประกอบที่เข้ามาเกี่ยวข้องการทำงานอีกสองสามส่วนหลักๆ เรื่องราวที่เป็นเนื้อหาหลักของนิทรรศการครอบคลุม ประวัติศาสตร์ของการอพยพที่ย้อนหลังในช่วง 200 ปี จนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ทางการเมืองเกี่ยวกับข้องกับคนอพยพ คนเหล่านี้ลุกฮือขึ้นทำไม? เพื่อเรียกร้องอะไร? รวมถึงเรื่องราวของคนอพยพในแต่ละช่วงประวัติศาสตร์สาธารณะ กลุ่มเนื้อหาในส่วนนี้ แสดงเรื่องราวในลักษณะที่เป็นประวัติศาสตร์ที่เป็นหมุดหมายของเวลา หรือที่เรียกว่า “Landmarks” หรือ Repères ในภาษาฝรั่งเศส โดยแบ่งเนื้อหาได้ 10 ประเด็น อันได้แก่             1. การอพยพ ที่มีช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ 4 ระยะ คือตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19-1914, ค.ศ. 1914-1944, ค.ศ. 1945-1975 และ 1975-ปัจจุบัน โดยบอกเล่าถึงกลุ่มชนและเส้นทางที่พวกเขาในเดินทางจนถึงประเทศแห่งนี้             2. การเผชิญหน้ากับรัฐ แสดงให้เห็นถึงบทบาทของรัฐในการจัดการกับคนอพยพที่เริ่มเห็นเด่นชัดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ทั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าในแต่ละช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ รัฐบาลฝรั่งเศสมีนโยบายในการจัดการที่แตกต่างกัน เช่น ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 กระแสของการต่อต้านคนต่างชาติที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุของการว่างงานและความวุ่นวายทางการเมือง นำไปสู่นโยบายการควบคุมและติดตาม และการส่งกลับบ้านเกิด             3. “แผ่นดินที่ยินดี ฝรั่งเศสที่ยินร้าย” สภาพของสังคมโดยภาพรวมในแต่ละช่วงเวลา ตัวอย่างเช่นในช่วง ค.ศ. 1945-1974คนอพยพถูกมองว่าเป็นประโยชน์ในการเชิงเศรษฐกิจ ด้วยการขยายตัวของระบบอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภค แต่สังคมกลับเพิกเฉย นอกจากนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นยุคที่ระบบอาณานิคมล่มสลาย สงครามในอัลจีเรียที่เป็นการต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมอย่างฝรั่งเศส ได้ทิ้งรอยแผลหรือตราบาปให้กับกลุ่มชน สังคมมองคนอัลจีเรียในเชิงลบ ดูหมิ่น และต้องสงสัย             4. ที่นี่และที่โน้น มีเนื้อหาที่กล่าวถึงคนอพยพตั้งแต่ 1974 จนถึงปัจจุบัน กล่าวถึงชีวิตของคนอพยพที่ต้องอยู่ในแผ่นดินใหม่ แต่ยังผูกพันกับวัฒนธรรมของบ้านเกิด และสายสัมพันธ์นี้เองที่ก่อสร้างสร้างตัวเป็นชีวิตในฝรั่งเศส             5. พื้นที่ชีวิต จากศตวรรษที่แล้วจวบจนปัจจุบัน สถานที่ต่างๆ ทั้งเพื่อการพักอาศัยและทำมาหากินของคนอพยพ เรียกได้ว่า เป็นไปตามอัตภาพ ผู้คนเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน และตั้งแต่ ค.ศ. 1945 เป็นต้นมา รัฐบาลฝรั่งเศสหันมาให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับสภาพความเป็นอยู่ Cité กลายเป็นย่านที่อยู่ของคนอพยพในเมืองใหญ่ๆ ในทางหนึ่งสถานที่ดังกล่าวดำรงความเป็นที่พักอาศัย แต่ในอีกทางหนึ่ง เป็นคำเรียก “ย่านคนอพยพ” ที่มีที่มาต่างทิศต่างทาง และกลายเป็นพื้นที่ผสมผสานทางวัฒนธรรม             6. ลงมือทำงาน คนงานต่างชาติและคนจากประเทศในอาณานิคม เป็นทั้งตัวละครที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ และข้อท้าทายในการต่อสู้ทางสังคมตลอดระยะเวลาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 เพื่อค่าตอบแทนที่เหมาะสม ประกันสังคม การลดระยะเวลาการทำงาน ไม่ต่างจากคนงานฝรั่งเศส             7. ลงรากปักฐาน แสดงให้เห็นบทบาทของสถาบันทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา การเมือง ที่เปิดโอกาสให้คนอพยพเหล่านี้ลงรากปักฐานบนผืนดินที่รองรับการอพยพ และแน่นอน การมีส่วนร่วมของคนอพยพในสถาบันต่างๆ คือหนทางในการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางสังคม             8. การกีฬา ที่กลายเป็นหนทางหนึ่งของการรวมกลุ่มและอัตลักษณ์ร่วมระหว่างคนอพยพด้วยกัน ในไม่ช้า การเล่นและนักกีฬาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกกีฬาของชนชาวฝรั่งเศส             9. ศาสนา ทุกวันนี้ นอกจากคริสต์ศาสนานิกายคาทอลิก อิสลามเป็นศาสนาที่นับถือในหมู่ชนฝรั่งเศสเป็นอันดับรองลงมา โดยผู้คนที่นับถือมาจากชาติกำเนิดที่แตกต่าง ทั้งผู้คนที่มีรากเหล้าในกลุ่มประเทศมาเกรบ (อัลจีเรีย ตูนีเซีย โมรอคโค) จากตุรกีและตะวันออกกลาง ส่วนพุทธศาสนาประดิษฐานเมื่อราวคริสต์ทศวรรษ 1970 จากการอพยพของผู้คนจากตะวันออกไกล และยังมีศาสนามาพร้อมกับผู้คนจากทวีปอเมริกา             10. ศิลปวัฒนธรรม ศิลปินจำนวนไม่น้อยที่เป็นคนอพยพและสร้างคุณูปการในการสร้างสรรค์ทางศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นทัศนศิลป์ การแสดง หรือดนตรี              ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวอย่างย่นย่อของสิ่งที่บอกเล่าในนิทรรศการถาวรของ CNHI โดยจะต้องไม่ลืมว่า หมุดหมายทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ ได้ควบรวมการบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดกับปัจเจกบุคคลหรือที่เรียกว่า living memory หรือความทรงจำที่ไหลเวียนอยู่ในหมู่ชนของคนอพยพ ฉะนั้น CNHI สะท้อนให้เห็นว่า การทำงานพิพิธภัณฑ์ทางชาติพันธุ์ร่วมสมัย มิใช่เรื่องที่ผูกไว้กับผู้เชี่ยวชาญ ไมว่าจะเป็นนักมานุษยวิทยาหรือนักประวัติศาสตร์ แต่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นกับเจ้าของวัฒนธรรม                           นัยสำคัญของการบอกเล่าเรื่องราวของการอพยพ ไว้ในพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่เช่นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การอพยพดังที่กล่าวมา คงมิใช่ “การอวด” (showcases) หรือการจัดแสดง (displays) เพียงเพื่อความหฤหรรษ์ในความเป็นอื่น (exotism) หรือรู้เพียงว่าพวกเขาแปลก (แยก) จากพวกเราอย่างไร หากควรเป็นการเรียนรู้ความแตกต่างที่สร้างความเป็นเราและเขาไปพร้อมๆ กัน ดังที่ การ์ติกา นาอีร์ นักการศึกษาของ CNHI ได้กล่าวไว้ในบทความของเธอ “เราไปเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ มิใช่เพื่อการเรียนรู้คนอื่นและความแปลกแยกของพวกเขา หากเป็นการทำความรู้จัก ‘ความเป็นอื่น’ ที่อยู่ในตัวเรา ...เราเติบโตมาจากคนอื่นเช่นใด” บรรณานุกรม บทความต่างๆ ในวารสาร Museum international, No. 233/234, Vol.59, No. 1/2, 2007. ข้อมูลจากเว็บไซต์ www.histoire-immigration.fr  

ทำสิ่งที่ยากให้ง่ายได้หรือไม่ การให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ด้วยวัตถุพิพิธภัณฑ์

17 เมษายน 2557

ความสนใจต่อสาธารณชนในประเด็นกระบวนการและหลักการอนุรักษ์ที่เพิ่มมากขึ้น นำไปสู่โครงการนการให้ความรู้จำนวนมาก ซึ่งถือได้ว่าเป็นงานของนักอนุรักษ์ รวมถึงสถาบันและองค์กรในสายงานการอนุรักษ์ เช่น สถาบันเพื่อการอนุรักษ์งานศิลปกรรมและประวัติศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา(American Institute for Conservation of Historic and Artistic Works - AIC) จากความสนใจดังกล่าวนี้ พิพิธภัณฑ์ เจ. พอล เกตตี้ (J. Paul Getty Museum) จัดนิทรรศการแบบโต้ตอบ (interactive exhibition) ภายใต้ชื่อ “สงวนไว้ซึ่งอดีต” (Preserving the Past) นิทรรศการมาจากความร่วมมือระหว่างส่วนงานงานต่างๆ ทั้งส่วนการอนุรักษ์ของโบราณ (Antiquities Conservation) ส่วนงานการศึกษาและวิชาการ (Education and Academic Affairs) และส่วนงานภัณฑารักษ์ (Antiquities Curatorial departments) จากวัตถุประสงค์หลักของนิทรรศการในการให้ความรู้เบื้องต้นกับผู้เข้าชมในเรื่องหลัก กิจกรรม และแผนการอนุรักษ์ “สงวนไว้ซึ่งอดีต” แสดงให้เห็นการดำเนินงานต่างๆ ในด้านการอนุรักษ์งานสะสมของพิพิธภัณฑ์และวัตถุโบราณ นิทรรศการแบ่งเป็นประเด็นได้แก่ จริยธรรมและหลักการอนุรักษ์ การตรวจสอบและวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ปฏิบัติการต่อวัตถุ และการควบคุมสิ่งแวดล้อม (รวมถึงการเตรียมการการจัดแสดงวัตถุภายใต้สภาวะของแผ่นดินไหวจากแบบจำลอง) ห้องนิทรรศการมีเจ้าหน้าที่ประจำทุกส่วน ซึ่งได้รับการอบรมเป็นพิเศษจากเจ้าหน้าที่การศึกษาของพิพิธภัณฑ์ เราเรียกพวกเขาเหล่านั้นว่า “เจ้าหน้าที่ให้ความรู้” (Facilitators) ผู้ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมจากที่คำอธิบายในนิทรรศการ ผู้ดำเนินการกิจกรรม และให้คำแนะนำผ่านสิ่งจัดแสดง เมื่อจบนิทรรศการที่จัดแสดง 7 เดือน มีจำนวนผู้ชมประมาณ 12,000 คน บทความนี้อธิบายการทำงานในการวางหลัก และแนวทางที่เป็นจริงและเป็นไปได้ในการนำเสนอหัวข้อที่ดูซับซ้อน เช่น การอนุรักษ์ สำหรับผู้ชมที่มีความรู้ ความสนใจ แต่ถูกจำกัดด้วยเวลา ด้วยเหตุนี้ ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ การวางแผนนิทรรศการ แนวคิด การออกแบบและติดตั้ง การประเมินรูปแบบนิทรรศการท้ายสุด และผลกระทบที่ส่งต่อผู้ชม เกริ่นนำในช่วงที่ผ่านมา ความสนใจของผู้คนต่อการอนุรักษ์ทั้งที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมมีเพิ่มมากขึ้น นักอนุรักษ์ทำงานสนองตอบต่อความต้องการดังกล่าว และถือเป็นโอกาสในการให้ความกระจ่างต่อผู้คนในเรื่องงาน และหลักการทำงานของสาขาอาชีพ ดังนั้น ข้อคำนึงหลักของสถาบันการอนุรักษ์ผลงานศิลปกรรมและประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ในปัจจุบันได้แก่ การเพิ่มความสนใจของสาธารณชนต่อประเด็นการอนุรักษ์และประโยชน์ที่พึงได้รับ การดำเนินการไม่ใช่เพียงการให้ความรู้ต่อบุคคลทั่วไป หากแต่เป็นการเพิ่มจำนวนผู้ที่สนใจการอนุรักษ์มากขึ้น ทั้งในภาครัฐแลเอกชน คนเหล่านี้ย่อมมีแนวโน้มที่จะให้การสนับสนุนด้านการเงินมากขึ้นเช่นกัน และเมื่อสาธารณชนในระดับกว้างมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการอนุรักษ์ งานสะสมไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือเอกชนย่อมได้รับการเอาใจใส่มากขึ้น แน่นอนว่า งานอนุรักษ์สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้บางคนก้าวเข้าสู่อาชีพต่อไปในอนาคตอีกด้วย จากความพยายามในการสร้างให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ ส่วนการอนุรักษ์โบราณวัตถุของพิพิธภัณฑ์ เจ. พอล เกตตี้ ด้วยความร่วมมือของส่วนงานการศึกษาและวิชาการ และส่วนงานภัณฑารักษ์ สร้างสรรค์งานนิทรรศการเรื่อง สงวนไว้ซึ่งอดีต ที่มีเนื้อหาแสดงหลักการอนุรักษ์และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานสะสมศิลปโบราณของพิพิธภัณฑ์ การทำงานของพิพิธภัณฑ์ไม่มีทางสำเร็จได้บุคคลคนเดียว รวมทั้งนิทรรศการที่จะต้องมาจากพรสวรรค์และความสามารถที่หลากหลาย จึงผลักดันให้การเตรียมงานนิทรรศการมาจากการวางแผนของคณะทำงานจากส่วนงานต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์   เพื่อวางเป้าหมายและส่วนประกอบของนิทรรศการ อนึ่ง การทำงานยังได้รับความร่วมมือของส่วนงานโสตทัศนศึกษา งานเตรียมการ งานพิมพ์ และงานภาพถ่าย จากจุดเริ่มต้นสู่การเปิดนิทรรศการต่อสาธารณชนเป็นการดำเนินงานเบ็ดเสร็จหนึ่งปี งบประมาณมาจากส่วนงานการศึกษาและวิชาการ หน้าที่เริ่มแรกของคณะทำงานคือ การแปลหลักพื้นฐานของงานอนุรักษ์ และเลือกสิ่งที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเด็นสำหรับการดำเนินการ คำถามหลักได้แก่ สิ่งใดที่ผู้คนต้องการรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ สิ่งใดที่คณะทำงานปรารถนาที่จะบอกกล่าวกับผู้คน และจัดลำดับประเด็นต่างๆ ตามความสำคัญ แผนงานขยายออกไปอย่างรวดเร็วและความซับซ้อนของเนื้อหาเพิ่มมากขึ้น ภายใต้เงื่อนไขของพื้นที่และเวลาที่จำกัด การนำเสนอขบวนการทำงานของนักอนุรักษ์ในลักษณะที่ให้ความรู้และเข้าถึงผู้ชมได้ง่ายเป็นสิ่งที่ยากและมีความเสี่ยง ความท้าทายจึงเป็นการสร้างสรรค์การจัดแสดงที่เป็นมากกว่าการบอกเล่างานที่นักอนุรักษ์ทำทุกวัน (เพราะคงต้องเป็นเรื่องน่าเบื่อ) กับผู้ชมหลากหลายประเภท ดังนั้น คณะทำงานจึงตัดสินใจทำให้ผู้ชมตระหนักในสิ่งที่เขากำลังพินิจมอง หรือสิ่งที่เขาไม่เคยนึกถึงมาก่อน จากการสำรวจของพิพิธภัณฑ์เกตตี้ โดยทั่วไป ผู้ชมใช้เวลาเฉลี่ย 2-3นาทีในแต่ละห้องจัดแสดง ด้วยข้อมูลเบื้องต้นเช่นนี้ คณะทำงานวางแผนว่าการจัดแสดงในครั้งนี้จะต้องสร้างความสนใจ และตรึงผู้ชมให้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับส่วนงานอนุรักษ์โดยสังเขป จึงนำไปสู่การสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบโต้ตอบ พร้อมไปกับการคงแนวทางการตีความแบบเดิม เช่น ป้ายคำอธิบาย ทั้งนี้ คณะทำงานระลึกเสมอว่า การถ่ายทอดความรู้สามารถทำได้หลายวิธี เมื่อพิจารณานิทรรศการโดยภาพรวม ข้อมูลจัดแบ่งออกเป็นหลายส่วน ท่วงทีและรูปแบบสื่อความรู้มีลักษณะที่ไม่เป็นทางการ ผู้ชมสามารถเข้าชมนิทรรศการได้อย่างเป็นอิสระในแต่ละประเด็นที่ตนสนใจ นอกจากวิธีการการสร้างชิ้นงานแบบโต้ตอบแล้ว วิธีการหนึ่งในการสร้างความน่าสนใจให้กับนิทรรศการคือ   การอบรมเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ ซึ่งวิธีการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากส่วนงานการศึกษาและวิชาการ เจ้าหน้าที่นำชมประจำ อยู่ในแต่ละส่วนของนิทรรศการ พวกเขามีหน้าที่หลักในการปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม ทั้งการอธิบายให้ผู้ชมเข้าใจการเรียนรู้จากชิ้นงานแบบโต้ตอบ การตอบคำถามหรือให้ความรู้เพิ่มเติมต่อผู้ชม รวมทั้งการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของชิ้นงาน เจ้าหน้าที่ให้ความรู้เข้าฟังบรรยายหัวข้อต่างๆ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ โดยมีเจ้าหน้าที่จากส่วนงานการอนุรักษ์เป็นผู้บรรยาย การบรรยายเป็นการให้ความรู้พื้นฐาน วัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์ ด้วยเหตุนี้ ผู้ให้ความรู้จึงสามารถตอบคำถามเบื้องต้นเกี่ยวกับงานอนุรักษ์และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ให้ความรู้จึงทำให้ข้อมูลที่ซับซ้อนสามารถเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น พวกเขายังได้รับรายนามหนังสือ สิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง และสามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายหนังสือของพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งรายชื่อหลักสูตรการศึกษาที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ผู้ชมสามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติมต่างๆ เหล่านี้ได้ หากมีความสนใจเป็นพิเศษ ประโยชน์ของการเน้นถึงการอนุรักษ์วัตถุโบราณตามเนื้อหานิทรรศการคือ การสร้างความเข้าใจทั้งเรื่องหลักปรัชญาพื้นฐานการทำงานและเทคนิคการอนุรักษ์ และสร้างประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับงานอนุรักษ์ ที่เป็นการสร้างความชัดเจนว่า งานอนุรักษ์เป็นการพยายามสงวนสภาพที่เป็นของสิ่งต่างๆ   มากกว่าการเข้าไปจัดการ ซ่อมแซม เรียกได้ว่าเป็นการ “เข้าไปสอดแทรกให้น้อยที่สุด” เท่าที่จะทำได้ นิทรรศการ สงวนไว้ซึ่งอดีต จัดแสดงในห้องนิทรรศการที่เชื่อมต่อกับห้องจัดแสดงของโบราณ พื้นที่จัดแสดงดังกล่าวย่อมกระตุ้นให้ผู้ชมนำสิ่งที่เพิ่งได้ชมไปใช้ จากนี้จะเป็นการกล่าวถึงนิทรรศการส่วนต่างๆ อันได้แก่ เกริ่นนำ การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ การปฏิบัติการ และสภาพแวดล้อม เกริ่นนำในนิทรรศการส่วนเกริ่นนำของนิทรรศการอธิบายถึงวิชาชีพงานอนุรักษ์ เนื้อหาดังกล่าวสร้างกรอบแนวคิดและให้ความรู้พื้นฐาน เพื่อทำความเข้าใจกับส่วนที่เหลือของนิทรรศการ ข้อพิจารณาและข้อท้าทายในจรรยาบรรณของนักอนุรักษ์ปรากฏทั้งในส่วนนี้และส่วนอื่นของนิทรรศการเช่นกัน จุดหลักของนิทรรศการส่วนนี้ ในฐานะเป็นประเด็นหลักของนิทรรศการทั้งหมดคือ วีดิทัศน์ความยาว 6 นาทีในชื่อ “เบื้องหลังฉาก” วีดิทัศน์ดังกล่าวจัดทำโดยส่วนงานโสตทัศนศึกษา และใช้เวลาร่วมปีในการผลิต ภัณฑารักษ์ส่วนงานสะสมโบราณวัตถุ เจ้าหน้าที่ฝ่ายศิลปกรรม และเจ้าหน้าที่ฝึกงานของพิพิธภัณฑ์ แสดงงานปฏิบัติการที่หลากหลาย ทั้งการอุดช่องว่าง การเติมสี การทำความสะอาดหิน สำริด และเครื่องกระเบื้อง ส่วนนิทรรศการฉากจำลองแผ่นดินไหวเป็นการทดสอบให้เห็นวิธีปฏิบัติภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว วีดิทัศน์แสดงให้เห็นการทดสอบโดยใช้วัตถุจำลองประติมากรรมกรีกในศตวรรษที่ 5 ทั้งนี้ ระดับแรงสั่นสะเทือนเทียบเท่ากับแผ่นดินไหวที่เกิดทางใต้ของแคลิฟอร์เนีย ในการจัดทำวีดิทัศน์ คณะทำงานยังคำนึงถึงผู้ชมที่ใช้ภาษาสเปนในการสื่อสาร ดังนั้นวีดิทัศน์จึงปรากฏบทบรรยายที่เป็นภาษาสเปนด้วย ท้ายที่สุด เมื่อคณะทำงานศึกษาปฏิกิริยาของกลุ่มผู้ชม วีดิทัศน์สามารถตรึงและดึงดูดให้ผู้ชมสนใจเนื้อหา และเป็นโอกาสที่ผู้เข้าชมได้มองเห็นการทำงานของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเขาไม่เคยเห็นมาก่อน การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ ส่วนที่สองของนิทรรศการกล่าวถึงความสำคัญของการตรวจสอบวัตถุทางวิทยาศาสตร์ ก่อนการลงมือปฏิบัติการใดๆ นิทรรศการต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วมและได้ลงมือปฏิบัติการพอเป็นสังเขป เพื่อเพิ่มประสบการณ์ ภาพขยายจากกล้องจุลทัศน์ (Wentzscope) เป็นสิ่งจัดแสดงที่ผู้ชมสามารถทดลอง และสังเกตภาพที่ปรากฏ ทั้งตัวสีและองค์ประกอบวัสดุของวัตถุสะสม (ภาพที่ 1) ตัวอย่างอื่นๆ เกี่ยวกับการใช้สื่อภาพและการตรวจสอบในระดับจุลภาคในรูปแบบสไลด์ ยังปรากฏภาพถ่ายขยายใหญ่ที่จัดแสดงบนผนังแสดงให้เห็นการทำงาน ของนักวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ ในการตรวจสอบอิเลกตรอน เรียกว่าเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นเครื่องมือ ที่ซับซ้อนในงานวิเคราะห์วัตถุ ทั้งนี้ สมุดบันทึกประกอบการชมจะให้รายละเอียดและภาพแสดงเกี่ยวกับการ ตรวจสอบเครื่องประดับทองโบราณ ควบคู่ไปกับการชมนิทรรศการ   1) ผู้ชมมีโอกาสในการชม ภาพขยาย จากกล้องจุลทัศน์                                        ในส่วนนิทรรศการการ   ตรวจสอบ ทางวิทยาศาสตร์ปัญหาการตรวจสอบความจริงแท้ของวัตถุเป็นประเด็นที่ทั้งสื่อมวลชนและผู้คนทั่วไปให้ความสนใจ โดยที่การทำงานเป็นการบอกรูปพรรณและที่มาของวัตถุ ดังนั้น นิทรรศการเปิดโอกาสให้ผู้ชมทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสามารถและข้อจำกัดของการสืบสวน ทั้งทางวิทยาศาสตร์และเทคนิค การจัดแสดงเป็นการใช้แจกันเครื่องเคลือบดินเผา 2 ใบ ใบหนึ่งเป็นแจกันโบราณ และอีกใบหนึ่งเป็นแจกันที่ผลิตขึ้นใหม่ ประกอบการตั้งคำถามต่อผู้ชมในสิ่งที่พวกเขาเห็นและสังเกตได้ โดยเชื่อมโยงว่ามีสิ่งที่บ่งชี้ว่าชิ้นใดเป็นของจริง และชิ้นใดที่ลอกเลียนแบบ ในการนี้ สมุดบันทึกประกอบการชมให้คำตอบต่อคำถามและคำอธิบายเพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังมีการอธิบายเทคนิค thermoluminescence รังสีอุลตราไวโอเลต และเครื่องฉายรังสีเอกซ์-เรย์ในการตรวจสอบเช่นกัน การปฏิบัติการอนุรักษ์ ส่วนที่ว่าด้วยการปฏิบัติการเริ่มต้นด้วยการเชื้อเชิญให้ผู้ชมประกอบภาชนะดินเผาที่แตกหัก และให้ชื่อแจกันตามแผนภาพแสดงรูปทรงแจกันสมัยกรีก คณะทำงานเห็นว่ากิจกรรมการมีส่วนร่วมเช่นนี้จะทำให้ผู้เข้าชมเข้าใจถึง ความอดทนพากเพียรที่นักอนุรักษ์ต้องมีในการปฏิบัติงาน แต่สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือ การเชื่อมโยงแง่มุมทั้งหมดของสิ่งจัดแสดง กิจกรรมไม่ใช่เพียงการทำให้ผู้ชมตระหนักถึงวิธีการอนุรักษ์หม้อเก่าใบหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นวิธีการที่จะทำให้ผู้ชมสนใจในเนื้อหาวิชาการของนิทรรศการโดยภาพรวมด้วย กิจกรรมอนุรักษ์แจกันเกริ่นนำการจัดแสดงเกี่ยวกับการอนุรักษ์เครื่องเคลือบ ซึ่งเป็นการอธิบายกระบวนการทำงานของนักอนุรักษ์ในการประกอบแก้วดื่มไวน์สมัยกรีกที่แตกหักเป็นลำดับ ขั้นตอนการทำงานประกอบเรียงตามลำดับในแนวนอน เริ่มต้นด้วยการที่ผู้ชมสังเกตชิ้นส่วนของแก้วไวน์บนแผ่นกระดาษตีตาราง จากนั้น แก้วในกระบะทรายได้รับการประกอบด้วยตัวเชื่อมที่สามารถชะล้างออกได้ เพื่อเป็นการย้ำว่างานซ่อมแซมทั้งหลายจะต้องสามารถแก้ไขได้ในอนาคต ชิ้นงานยังประกอบด้วยส่วนของหูจับและขาที่ทำมาจากวัสดุทดแทน ทำให้ชิ้นส่วนมีความสมบูรณ์ และขณะเดียวกันเป็นการแสดงให้เห็นชิ้นส่วนที่หายไป การประกอบชิ้นส่วนเพิ่มเติม กระทำได้ต่อเมื่อมีหลักฐานประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ การจัดแสดงจบลงที่ถ้วยไวน์ที่มีสมบูรณ์แบบ แม้ว่าส่วนที่เติมเต็มจะมีการระบายสีให้ใกล้เคียงกับสีผิวภาชนะ แต่ยังสามารถแยกความแตกต่างจากผิวเดิมได้ นักวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์จะจดบันทึก ขั้นตอนการอนุรักษ์ สำหรับการประเมินผลและการศึกษาในอนาคต เนื้อหาและแนวคิดในการจัดแสดงส่วนดังกล่าวสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้เข้าชมเป็นอย่างมาก  2) ผู้ชมจับต้อง ทดลอง สร้างประสบการณ์ด้วยตนเอง                                                    ในส่วนนิทรรศการ งานปฏิบัติการอนุรักษ์ การปฎิบัติการอนุรักษ์เครื่องสำริดและหินอ่อนโบราณนำเสนอด้วยภาพเปรียบเทียบ ก่อนและหลังการปฏิบัติการ พร้อมคำอธิบายที่กล่าวถึงแนวคิดและกระบวนการอนุรักษ์ คำอธิบายและภาพเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการทำความสะอาดสามารถ อ่านได้จากสมุดบันทึกประกอบการชม ที่วางใต้ชั้นที่จัดแสดงตัวอย่างการอนุรักษ์วัตถุ (ภาพที่ 2)     ผู้คนทั่วไปสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์จากการแสดงภาพก่อนและหลังการปฏิบัติการ วิธีการสื่อสารดังกล่าวสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชม แต่กลับไม่สามารถทำให้ความรู้นั้นๆ คงอยู่กับผู้เข้าชมได้ หากเปรียบไปแล้วความสัมพันธ์ระหว่างนักอนุรักษ์กับวัตถุก็ไม่ต่างไปจาก ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับคนไข้ การตัดสินใจลงมือแก้ไขแล้วทำให้สิ่งที่ “ป่วยไข้” ฟื้นกลับดีขึ้นคงเหมาะกับการเขียนเป็นนิยายมากกว่า เพราะการปฏิบัติการที่ควรเป็นไปน่าจะเป็นให้คำแนะนำในเรื่องอาหารและสุขภาพ โลกในปัจจุบัน การป้องกันดูจะเป็นวัคซีนที่น่าสนใจกว่าการแก้ไขในภายหลังทั้งในทางการแพทย์และทางศิลปะ ด้วยเหตุนี้ ในนิทรรศการ คณะทำงานจึงพยายามลดการให้ความสำคัญของบทบาทแพทย์-นักอนุรักษ์ และเพิ่มสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการสงวนป้องกันที่ทันสมัย สภาพแวดล้อม การจัดแสดงตัวอย่างการควบคุมบรรยากาศของนิทรรศการด้วยการใช้ประติมากรรมขนาดย่อม เพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม (ภาพที่ 3) ตัวอย่างแสดงให้เห็นมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน-การสงวนรักษาหลายปัจจัย ที่ช่วยให้สิ่งแวดล้อมคงที่และอยู่ภายใต้การควบคุม แท่นรองแสดงให้เห็นว่าประติมากรรมได้รับการจัดวางอย่างไร ถาดวัสดุดูดความชื้น (Celica gel) และเครื่องวัดความชื้นในระบบดิจิตอลแสดงให้เห็นการทำงาน สมุดบันทึกประกอบอธิบายรายละเอียดความสำคัญของการติดตั้งเครื่องมือควบคุมความชื้น ระดับความเข้มของแสง และระดับรังสีอัลตร้าไวโอเลต ตัวอย่างแสดงไม่สามารถสร้างความสนใจต่อผู้ชมได้มาก เท่ากับวีดิทัศน์ และแบบทดลองการประกอบแจกัน แต่ผู้ชมใช้เวลาไม่น้อยในการพิจารณาเนื้อหาเกี่ยวกับการสงวนรักษา และการทำงานที่ต่อเนื่องในการดูแลงานผลงานศิลปะในการจัดแสดงและในคลังวัตถุ การจัดแสดงดังกล่าวนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ เช่นกัน  3) สิ่งจัดแสดงสาธิตตัวอย่าง การควบคุมสิ่งแวดล้อม ของนิทรรศการ                                                    ในส่วนที่ว่าด้วย สภาพแวดล้อม ในประเด็นที่ว่าด้วยเรื่องของไขมันและฝุ่นสะสม การจัดแสดงนำเสนอชิ้นหินอ่อนสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 4 นิ้ว ซึ่งคณะทำงานได้นำชิ้นวัตถุให้คนทั่วไปสัมผัสเป็นเวลา 1 ปีก่อนการเปิดนิทรรศการ ตัวอย่างแสดงให้ผู้ชมเข้าใจว่าด้วยเหตุใดผู้ชมจึงไม่ควรสัมผัสงานสะสมที่จัดแสดงอีกต่อไป วิธีการนำเสนอเป็นการเปรียบเทียบส่วนของวัตถุที่มีการป้องกันตรงกลางชิ้นวัตถุ และส่วนรอบๆ ที่ไม่ได้รับการป้องกันและมีการสัมผัสชิ้นงานหินอ่อน  4) “โต๊ะสะเทือน” แสดงในส่วนนิทรรศการ เรื่องสภาพแวดล้อม การจัดแสดงอื่นที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมกับการอนุรักษ์วัตถุ เป็นการยกตัวอย่างอันตรายที่สามารถเกิดกับงานศิลปะจากแรงสั่นสะเทือน ของแผ่นดินไหวของแคลิฟอร์เนีย แจกัน 2 ใบบนโต๊ะที่สั่นสะเทือน “เล็กน้อย” จัดแสดงในตู้ครอบแก้ว ซึ่งเป็นประดิษฐกรรมจากฝ่ายศิลปกรรมของพิพิธภัณฑ์ แจกันใบหนึ่งจัดแสดงแบบชิ้นงานเดี่ยว และติดตั้งระบบการป้องกันเฉพาะ เมื่อผู้ชมกดปุ่มเครื่องกล โต๊ะจะสั่นไหว แจกันที่ติดตั้งระบบการป้องกันไม่ได้รับอันตราย ในขณะที่แจกันอีกใบได้รับความเสียหาย ตัวอย่างของแจกันในระบบรักษาความปลอดภัย เช่น การใช้ขี้ผึ้งที่ทันตแพทย์ใช้ในการรักษายึดกับแท่นแก้ว ในการจัดแสดงแจกันในห้องนิทรรศการ ผลการสำรวจ ในระหว่างช่วงอาทิตย์สุดท้ายของนิทรรศการ ส่วนงานการศึกษาและวิชาการสำรวจ ความคิดเห็นอย่างไม่เป็นทางการของผู้เข้าชม จำนวน 125 คน ในขณะที่พวกเขาออกจากพิพิธภัณฑ์ และสัมภาษณ์ผู้ชมในเชิงลึก จำนวน 38 คน ในขณะออกจากนิทรรศการ สงวนไว้ซึ่งอดีต นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ให้ความรู้บันทึกปฏิกริยาต่างๆ ของผู้ชมนิทรรศการ ข้อมูลแสดงให้เห็นสิ่งที่สร้างความสนใจให้กับผู้ชม (ตามลำดับ) ดังนี้ วีดิทัศน์ แบบฝึกการประกอบแจกัน โต๊ะแผ่นดินไหว กล้องจุลทัศน์ การจัดแสดงแก้วไวน์ที่ได้รับการซ่อมแซม การทำความสะอาดวัตถุสำริดและหิน และการตรวจสอบความจริงแท้ของแจกัน แต่มีผู้ชมอีกจำนวนไม่น้อยที่ชอบภาพรวมนิทรรศการ โดยไม่มีข้อแตกต่างระหว่างสิ่งจัดแสดง เวลาที่ใช้ในแต่ละจุด ขึ้นอยู่กับความสนใจของแต่ละคน ผู้ชมคนหนึ่งใช้เวลามากที่สุดประมาณ 10 นาที ณ จุดการประกอบแจกัน แต่หากพิจารณาในภาพรวม ผู้ชมบางคนใช้เวลามากกว่า 20 นาทีในการชมนิทรรศการทั้งหมด ทั้งการหยุดอ่าน มอง วิเคราะห์ ปฏิบัติ อย่างไรก็ดี ผู้ชมบางคนเห็นว่านิทรรศการยังไม่พูดถึงเรื่องการปฏิบัติการเชิงเทคนิคเพียงพอ ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งกลับเห็นว่า นิทรรศการมีลักษณะที่เป็นเทคนิคมากเกินไป ผู้ใหญ่เป็นกลุ่มเป้าหมายของนิทรรศการตามความตั้งใจของคณะทำงาน แต่กลับมีคนเห็นว่า นิทรรศการดูตอบสนองต่อกลุ่มเด็กมากกว่า เด็กเล็กๆ ชอบจุดประกอบแจกันและโต๊ะแผ่นดินไหว ส่วนเด็กโตและเด็กวัยรุ่นเข้าถึงนิทรรศการด้วยความอยากรู้อยากเห็นและกระตือรือร้น ผู้ชมที่มีส่วนร่วมในการการสัมภาษณ์เชิงลึก 38 คน สามารถอภิปรายเกี่ยวกับหลักการอนุรักษ์สำคัญๆ อย่างน้อยหนึ่งประเด็นที่นิทรรศการได้หยิบยกขึ้นมา ขณะเดียวกัน ผู้ร่วมการประเมินผลทั้งหมดแสดงความเห็นว่าต้องการจะเห็นนิทรรศการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอนุรักษ์เช่นนี้อีก บทสรุป นิทรรศการ สงวนไว้ซึ่งอดีต นำมาซึ่งประเด็นถกเถียงและข้อมูล รวมทั้งสร้างความตระหนักในงานอนุรักษ์ให้กับผู้ชมในระดับที่กว้างและหลากหลายมากขึ้น คณะทำงานหวังว่าผู้ชมกว่า 12,000 คน รวมทั้งนักเรียน จะมีโอกาสกลับมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ของเรา และพิพิธภัณฑ์อื่นในอนาคตด้วยมุมมองใหม่ๆ นิทรรศการเช่นนี้เปิดให้ผู้ชมมีมุมมองใหม่ให้เห็นความซับซ้อนของการทำงาน การชั่งน้ำหนักในการตัดสินใจ และการพัฒนาทางออกสำหรับปัญหาที่รอเราอยู่ข้างหน้า คณะทำงานเห็นว่า ด้วยการวางแผนที่รอบคอบและตรึกตรอง นิทรรศการเปิดโลกของงานอนุรักษ์สู่ความเข้าใจของคนโดยทั่วไปได้เป็นอย่างดี แปลและเรียบเรียงจากJerry C. Podany and Susan Lansing Maish“Can the complex be made simple? Informing the public about conservation through museum exhibits”.Journal of the American Institute for Conservation (1993, Vol. 32, No. 2) pp. 101 - 108.

  • «
  • 1
  • 2
  • 3
  • »
20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170
ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงวัฒนธรรม
2021 © ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
www.sac.or.th

วันจันทร์-ศุกร์ : 08.00-17.00 น.

TELEPHONE
0-2880-9429
E-MAIL
webmaster@sac.or.th
FAX
0-2880-9332

Content Manager

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล
นักวิชาการ

ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น
Application : Smart SAC
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  • รายชื่อพิพิธภัณฑ์
  • Online Exhibits
  • Research & learning
  • สื่อสิ่งพิมพ์
  • เทศกาล และข่าวสาร
  • ศมส.
  • เพิ่มพิพิธภัณฑ์ใหม่
เกี่ยวกับเว็บไซต์
  • เกี่ยวกับโครงการ
  • ทีมงาน
  • ติดต่อเรา
  • สถิติพิพิธภัณฑ์
  • สถิติเว็บไซต์
ช่วยเหลือ
  • กฎ กติกา และมารยาท
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แนะนำและแจ้งปัญหา
เกี่ยวกับโครงการ
  • เกี่ยวกับโครงการ
  • ทีมงาน
  • ติดต่อเรา
  • สถิติพิพิธภัณฑ์
  • สถิติเว็บไซต์