บทคัดย่อ
เราจะกล่าวถึง “ความเป็นอื่น” อย่างไรที่จะไม่เหยียบย่ำ? จากคำถามดังกล่าว เราจะสำรวจภาพลักษณ์ของการกล่าวถึงผู้เกิดและอาศัยอยู่บนแผ่นดินอัลเจรี (Alg?rie) ที่ปรากฏในพิพิธภัณฑ์ จากพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ทรอกาเดโร (Mus?e d’Ethnographie du Trocad?ro) ถึงพิพิธภัณฑ์มนุษยชาติ (Mus?e de l’ Homme) ในที่นี้ ผู้เขียนพยายามตั้งคำถามต่อความสัมพันธ์ระหว่างพิพิธภัณฑ์หลายๆ แห่งกับระบบอาณานิคม รวมทั้งการวิพากษ์ต่ออดีตที่ผ่านมาของพิพิธภัณฑ์
“ณ ดินแดนแห่งนี้ ประกอบด้วย ภูมิอากาศที่แสนวิเศษ ดินแดนอันน่าตรึงใจ หากแต่ขาดซึ่งอารยธรรม” ผู้ที่ร่วมเดินทางสำรวจอัลเจรี (ออกเสียงตามการสะกดในภาษาฝรั่งเศส l’Alg?rie) ได้กล่าวไว้ ภายหลังจากที่ดินแดนดังกล่าวตกเป็นอาณานิคม มุมมองเช่นนี้สะท้อนให้เห็นแนวคิดหนึ่งในศตวรรษที่ 19 เมื่อ ชนตะวันตกมองผู้อื่น จากวัตถุสิ่งของที่ได้จากความอยากรู้อยากเห็นสู่วัตถุที่ได้รับการวิเคราะห์อย่างเป็นวิชาการ วัฒนธรรมที่มิใช่ตะวันตกวิวัฒน์ไปในที่ทางของตนเอง แต่อยู่ภายใต้กรอบการตีความของตะวันตกไปในขณะเดียวกัน พิพิธภัณฑ์ในยุคนั้นทำหน้าที่ไม่ได้ต่างจากสื่ออื่นๆ ที่เผยแพร่ภาพความเป็นอื่น โดยเฉพาะอย่างภาพของดินแดนใต้อาณัติ ภาพดังกล่าวมักเชื่อมยังกับการการดำเนินกิจกรรมอาณานิคม ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ความเชื่อมโยงเชิงวิชาการดังกล่าวมาจากงานศึกษาทางมานุษยวิทยาและชาติพันธุ์วิทยา ของบรรดานักวิชาการและนักวิจัยที่ทำงานอยู่กับพิพิธภัณฑ์ แต่สื่อที่ทรงพลังอย่างมากในการสร้างภาพตัวแทนดังกล่าวคือ วัตถุที่ได้มาจากการรวบรวมและสะสมระหว่างการสำรวจ ซึ่งมาจากแนวคิดสำคัญในการสถาปนาความเป็นสถาบันวิชาการอย่างยิ่งยวด
เมื่อพิพิธภัณฑ์ทางชาติพันธุ์ของฝรั่งเศสแห่งแรก พิพิธภัณฑ์ทรอคกาเดโร ได้เปิดประตูต้อนรับสาธารณชนเมื่อปี1880 อัลเจรีในยุคนั้นเป็นหนึ่งในประเทศอาณานิคมมาแล้วเกือบครึ่งศตวรรษ งานสะสมที่เกี่ยวข้องกับอัลเจรีให้ภาพของ “ความงดงามน่าทึ่ง” และดินแดนอันไกลโพ้น (image exotique et lointaine) จากนั้น พิพิธภัณฑ์มุนษยชาติได้รับการจัดแสดงในแนวคิดนั้นต่อมา และสร้างความซับซนระหว่างการกล่าวถึงดินแดนอัฟริกาเหนือหรือ Maghreb และคำว่า Mashrek ซึ่ง เป็นภาษาอาหรับที่หมายถึง ประเทศทางตะวันออกกลางบนคาบสมุทรอาหรับ รวมทั้งอียิปต์ทางตอนเหนือ โลกตะวันออกที่จัดแสดงย้ำถึงสภาพ “พื้นถิ่น” (condition << indig?ne >>) ใน อัลเจรี ด้วยเหตุนี้ หากเราทำความเข้าใจกับการเลือกรูปแบบและเนื้อหาในการจัดแสดงของสถาบันแห่งนี้ การวิเคราะห์จะเปิดให้เราเห็นกรอบคิดในบริบทของการล่าอาณานิคมและส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ความเป็นอื่น: วัตถุความรู้ วัตถุในตู้จัดแสดง

ในระหว่างครึ่งแรกของศตวรรษที่19 เรา จะสังเกตได้ว่างานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอัฟริกาเหนือมีมากขึ้นในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพในอัลเจรี วิวัฒนาการของสถานการณ์ทางทหาร การเมือง และเศรษฐกิจ เป็นตัวอธิบายปรากฏการณ์ ณ ขณะนั้น มานุษยวิทยาในฐานะสาขาวิชาหลักในช่วงเวลานั้น สนใจกับรากเหง้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางชีวภาพและภาษา การจัดแบ่ง “เผ่าพันธุ์” สัมพันธ์กับการปกครองอาณานิคม Arabe , Maure , Kabyle , Berb?re , Noirs และ Juifs การจัดแบ่งเหล่านี้ ซึ่งเสมือป้ายในการควบคุมประเทศที่อยู่ภายใต้อาณานิคม กลายเป็นการผูก “ตำนาน” ของชนชาติต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Kabylie (พื้นที่ สูงทางตอนเหนือของประเทศอัลเจรี งานจำนวนมากได้สร้างภาพตัวแทนที่ตายตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาติพันธุ์ที่แตก ต่างกัน กลุ่มกาบียใหญ่ผิวขาวเผชิญหน้ากับกลุ่มอาหรับเล็กผิวเข้ม หรือเป็นการสร้างภาพความแตกต่างทางศาสนา เช่น ชาวกาบียคริสเตียนและชาวอาหรับมุสลิม และยังได้กล่าวถึงความสัมพันธ์กับประเทศแม่ ชาวกาบียในฐานะที่เป็นลูกหลานของ Berb?res คริสเตียน (กลุ่มตระกูลภาษาแบรแบร์สที่กระจายอยู่ทางเหนือของแอฟริกา) ในครั้งอดีต กลายเป็นสัมพันธมิตรกับฝรั่งเศส ตัวอย่างของงานเขียนทางวิชาการในยุคนั้นพยายามย้ำอุดมการณ์ระบบอาณานิคม
นอกจากนี้ ยังมีนักวิจัยที่ให้ความสนใจกับการผลิตวัตถุ และพยายามที่จะเผยแพร่แนวคิดชาติพันธุ์วิทยา ซึ่งดูจะไม่ได้รับความสนใจมากนั้น เมื่อปี1878 Ernest Th?odore Hamy ผู้ อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ได้ขออนุญาตกระทรวงศึกษาธิการดำเนินโครงการรวบรวมวัตถุต่างๆ เพื่อใช้ในการจัดแสดงนิทรรศการสากลในปีเดียวกัน แนวคิดดังกล่าวมีความสำคัญอย่างมาก เพราะในขณะนั้นวัตถุดูกระจัดกระจายไปในทุกที่ ไม่มีสถานที่หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดูแลรักษาโดยตรง เมื่อได้รับอนุญาต การทำงานรวบรวมวัตถุจึงเริ่มดำเนินการ ในรายงานความก้าวหน้าโครงการ Hamy ได้กล่าวถึงการรวบรวมวัตถุที่เกี่ยวข้องกับอัลเจรี “เราสามารถจะนำเสนอพิพิธภัณฑ์อัลเจเรียนจากวัตถุที่ล้ำค่าที่เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมอาหรับและกาบีย คงไม่มีสถาบันอื่นใดในยุโรปทำได้เยี่ยงนี้” (Hamy, p.9)
ในที่สุดพิพิธภัณฑ์ได้เข้าประดิษฐานอยู่ในทรอคดาเดโร ที่อาคารมีแบบฉบับของไบแซนไทน์ใหม่และมีปีกของอาคารแยกเป็นสองด้าน การก่อนสร้างดังกล่าวนำไปสู่ข้อถกเถียงสาธารณะอย่างมาก แต่แล้วในปี1880 พิพิธภัณฑ์เปิดต้อนรับสาธารณชน และเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมากจากจำนวนผู้ชมวันละ 4,000 คน ที่ต้องการเข้ามาชื่นชมกับวัตถุที่มาจากอัฟริกาและอเมริกา แต่สำหรับในยุคนั้นแล้ว วัตถุที่จัดแสดงเป็นเพียงการรวบรวม “ความงามที่น่าตื่นตา” ภาพที่หายากที่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลานั้นแสดงให้เห็นสิ่งของได้รับการจัดแสดงเป็นจำนวน มากในพื้นที่แคบๆ และมีเพียงป้ายอธิบายขนาดเล็กที่ไม่ได้สลักสำคัญมากนัก การจัดแสดงกักขังวัตถุให้อยู๋ในลักษณะของจำลองบริบททางวัฒนธรรม แต่ก็เน้นมุมมองเชิงคติชน การจัดแสดงวัตถุชาติพันธุ์แสดงให้เห็นอย่างน้อยที่สุดว่ามีความสำคัญมากกว่า เพียงวัตถุเพื่อการตกแต่ง
ในช่วงเวลาดังกล่าว แนวคิดของการจัดลำดับขั้นวิวัฒนาการของมนุษย์ยังได้รับการยอมรับ “คนขาว” อยู่ตำแหน่งสูงสุดของวิวัฒนาการ การจัดแสดงของ Hamy ย้ำ ทฤษฎีทางวิชาการเช่นนั้น ในแนวคิดดังกล่าวนั้น ผู้ชมจะได้พบกับการนำเสนอเรื่องราวชีวิตประจำวันของชนในประเทศอาณานิคม และในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 “วัฒนธรรมอาณานิคม” แพร่หลายอย่างมากในสังคมฝรั่งเศส แต่โครงการของ Hamy ได้ หยุดลงด้วยสาเหตุหลายประการ แม้จะมีแนวคิดในการจัดแสดงจะมีความน่าสนใจอยู่ ทั้งสาเหตุของการจัดเก็บเอกสารที่ไม่เพียงพอ ข้อจำกัดในแนวคิดของการจัดแบ่งประเภท วิธีการจัดแสดงที่จำเพาะ รวมไปถึงการที่สาธารณเริ่มไม่ให้ความสนใจ และงบประมาณที่ลดจำนวนลง แม้ Ren? Verneau จะเข้ามาสานงานต่อเมื่อปี 1907 แต่ไม่ปรากฏความเปลี่ยนแปลงมากนัก จนกระทั้งการเข้ามารับตำแหน่งของ Paul Rivet และทีมงานของเขาที่จะเปิดศักราชใหม่
ในระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้ง ปัจจัยหลายประการได้ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของชนพื้นถิ่น แต่ยังอยู่ในแนวคิดของความดีงานของอารยธรรม ดังจะเห็นได้จากความเคลื่อนไหวของกิจกรรม “พื้นถิ่น” ระหว่างสงครามโลกครั้งแรก ศิลปะ “คนของผิวดำ” ที่ประสบความสำเร็จ ความถึงแนวเพลงบลูและความนิยมในดนตรีแจ๊ส สำหรับ Paul Rivet เห็น ว่าพิพิธภัณฑ์จะต้องมีความเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งยวด ทั้งในแน่ของปรัชญาและการดำเนินการ เมื่อเข้าขึ้นรับตำแหน่ง เขาได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร เขาได้เชื้อเชิญผู้เชี่ยวชาญจากสาขาอื่นๆ ทั้งศิลปะและวัฒนธรรม มาทำงานกับพิพิธภัณฑ์ในการศึกษาและเผยแพร่ความรู้จากคลังวัตถุทางชาติพันธุ์ Georges-Henri Rivi?re ได้ เปิดแนวทางใหม่ให้กับการพิพิธภัณฑ์ การนำเสนอวัตถุในแบบที่แตกต่างออกไป และมุมมองที่เห็นว่าวัตถุคือประจักษ์พยานของสังคม การจัดแสดงที่อาศัยฉากได้หายไปจากพื้นที่จัดแสดง วัตถุได้รับการจัดวางตามเขตวัฒนธรรม พร้อมไปกับคำอธิบายและแผนที่แสดงที่ตั้งของกลุ่มวัฒนธรรม และภาพถ่าย การจัดแสดงเช่นนี้เริ่มต้นตั้งแต่ 1937 ในการเปิดพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ “พิพิธภัณฑ์มนุษยชาติ”
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความพยายามในการกล่าวถึงวัฒนธรรมนอกยุโรปด้วยความคิดที่เป็นวัตถุวิสัยมากขึ้น แต่ความพยายามดังกล่าวดูจะไม่สามารถเปลี่ยนสายตาในการมองวัฒนธรรมพื้นถิ่นตามที่เคยเป็นมา ลองพิจารณาการจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์มนุษยชาติอย่างที่จัดแสดงจนถึงปี2003 เพราะ การจัดแสดงในตู้หลายๆ แห่งแทบไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเลยตั้งแต่เมื่อเปิดพิพิธภัณฑ์ หากจะให้พิจารณาให้ชัดเจนลงไป “ร้อยปีอัลเจรี” เป็นภาพตัวแทนที่รับรู้กันในช่วงเวลานั้นมีสภาพที่คล้องไปกับมหาอำนาจ ฝรั่งเศสที่สัมพันธ์กับประเทศในอาณานิคม ร้อยปีของการโฆษณาชวนเชื่อในสังคมฝรั่งเศสไม่ใช่เพียงการสร้างภาพตัวแทน จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส แต่ยังย้ำถึงอาณาจักรที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ พิพิธภัณฑ์ตกเป็นเครื่องมือในการตอกย้ำถึงภาพดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 สถาบันแห่งนี้ได้พัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเทศในมาเกรบ (ประเทศในกลุ่มมาเกรบประกอบด้วยอัลเจรี ตูนีซี และมารอค – ผู้แปล) จึงยังผลให้มีคลังวัตถุที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น และเป็นโอกาสที่ผู้ชมจะได้พบกับความหลากหลายของชาติพันธุ์ในอัลเจรี, Kabyle, Cha’amba, Touareg, Chaouia
ความเป็นตะวันออกของ Al-Djaza?r ความแตกต่างของหญิงในมาเกรบและหญิงตะวันออก
หากเราพิจารณาตั้งแต่ตัน พิพิธภัณฑ์มนุษยชาติกล่าวถึงความหลากหลาย แต่ความไม่ชัดเจนกลับปรากฏให้เห็นในการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับชนพื้นถิ่น ในประเทศที่เป็นอาณานิคม เราจะเห็นถึงการสร้าง “แบบตายตัว” พื้นที่ที่มีลักษณะตรงข้าม เมือง/ชนบท เหนือ/ใต้ และภาพที่คิดอย่างดาดๆ เกี่ยวกับตะวันออก ภาพของการแบ่งแบบสุดขั้วเช่นนี้ปรากฏในแนวคิด ป่าเถื่อน/อารยะ เลว/ดี ผลของการสร้างภาพเช่นนี้กลายเป็น “การตรา” ภาพที่ตายตัวเกี่ยวกับเผ่าพันธุ์ เพศ และศาสนา ในความหลากหลายตามที่มีการนำเสนอนี้ กรอบหลักที่ปรากฏไปทั่วคือ “ความเป็นตะวันออก” ดังจะเห็นได้จากอัฟริกาเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Al-Dajaza?r กลับถูกรวมเข้าไปอยู่ใน “โลกตะวันออก” ทั้งทีมีลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมที่ต่างไปจากกลุ่มวัฒนธรรมใหญ่
กรณีของการนำเสนอภาพลักษณ์ของสตรีเป็นตัวอย่างของการผสมปนเปทางวัฒนธรรม(amalgame culturel) ภาพ ของสตรีมาเกรบในพิพิธภัณฑ์มนุษยชาติแสดงให้เห็นโลกของสตรีที่ร่ำรวยและขัด แย้ง ระหว่างสตรีโมเรสก์ ยิว กาบีย์ ชาอู หรือกระทั่งตูอาเร็ก กลับปรากฏเรือนร่างเช่นเดียวกับหญิงในกลุ่มมาเกรบ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับสตรีในตะวันออกกลาง แต่ความคิดเหล่านี้ยังคงอยู่ในระดับที่แตกต่างกัน เพราะภาพในจินตนาการของโลกตะวันออก
ภาพของหญิงที่เราเรียกว่า “โมเรกส์” นำเสนออยู่ในตู้จัดแสดงในกลุ่มวัฒนธรรมแขกขาว (Afrique Blanche) ในส่วนจัดแสดง “ชุดชาวเมือง” ชุดของหญิงชาวยิวจัดแสดงเคียงคู่ไปกับกลุ่มภาพที่แสดงลักษณะของ “สตรีมุสลิม” พวกเธอใส่ผ้าคลุมหน้า/ศีรษะ หญิงเหล่านั้นคลุมหน้าในกรณีที่อยู่บ้านในขณะที่ต้องต้อนรับเพื่อน งานแต่งงาน หรือการตกแต่งร่างกายด้วยเฮนนา นอกไปจากรูปที่ให้ข้อมูลทางวัฒนธรรมแล้ว กลับไม่มีการอธิบายใดๆ ถึงชีวิตประจำวันหรือสถานภาพของสตรีในสังคมมาเกรบ ด้วยเหตุนี้ผู้ชมจะสร้างภาพจากสิ่งที่จัดแสดงนี้ ภาพดังกล่าวเป็นความสับสนระหว่างวัฒนธรรมมาเกรบและตะวันออก สตรีโมเรสก์ ซึ่งเป็นกลุ่มวัฒนธรรมที่ยากจะเข้าถึงในสมัยที่ยังคงเป็นชนเร่ร่อน กลายเป็นภาพตัวแทนของวัฒนธรรมตะวันออกดังที่ปรากฏในนิยายเรื่อง พันหนึ่งทิวา ภาพที่ปรากฏต่างๆ มีส่วนที่คล้ายคลึงกับโปสการ์ดในช่วงอาณานิคม หญิงในภาพปรากฏภาพลักษณ์ในทำนองภาพเขียนชื่อดังของเดอลาครัวซ์ หญิงแก่งอัลแชร์ในบ้านพักของเธอ ที่เขียนขึ้นศตวรรษก่อนหน้านั้น
หากกล่าวว่าภาพถ่ายเป็นส่วนสำคัญในการสร้างกรอบการจัดแสงนิทรรศการในการสร้างเรือน ร่างของสตรีเรสก์ การเลือกการจัดแสดงเช่นนี้นำไปสู่ข้อถกเถียงกัน ฉะนั้น เมื่อพิจารณาในเรื่องการนำเสนอเครื่องประดับ การตกต่างร่างกาย และการแต่งกาย การนำเสนอเช่นนั้นปิดกั้นสตรีโมเรสก์ไว้เพียงตัววัตถุจากภาพโปสการ์ด(ยุคอาณานิคม) ภาพ ลักษณ์เช่นนั้นไกลห่างจากความเป็นจริงทางสังคมและวัฒนธรรมของประเพณีมาเกรบ ที่สตรีจะมีบทบาทในครอบครัวอย่างยิ่ง อีกนัยหนึ่ง การแสดงเช่นนี้ไม่สามารถเป็นตัวแทนสตรีโดยรวม ตู้การจัดแสดง “กาบีย์ลี” มีลักษณะการนำเสนอที่แตกต่างออกไป ภาพที่จัดแสดงสร้างให้เห็นหญิงกาบีย์ในบริบททางวัฒนธรรมและชีวิตประจำวัน ด้วยการนำเสนอการผลิตเครื่องปั้นดินเผา การเตรียมดิน การเก็บฟืน การตกแต่งเครื่องปั้น ชาวบ้านกาบีย์ปรากฏตัวตนในมิติทางสังคม และไม่ใช่เพียงเครื่องประดับ นอกจากนี้ ยังไม่มีคำบรรยายประกอบภาพอื่นๆ ความเข้าใจที่ได้รับจากการจัดแสดงเป็นเพียงสภาพของสตรีในภูมิภาคอัลเจรี
สตรีชาวชาอูได้รับการนำเสนอที่มีลักษณะ “เป็นจริง” ด้วย ดังที่นักประวัติศาสตร์ David Prochaska เขียนไว้ในบทความบทหนึ่งว่า ภาพตัวแทนของอาณานิคมแตกต่างไปจากภาพที่ปรากฏในโปสการ์ด เขาได้ใช้การจัดนิทรรศการ “อูเรซ” (Aur?s) ซึ่งจัดขึ้นที่พิพิธภัณฑ์มนุษยชาติ เมื่อปี 1943 ภาพที่นำเสนอทั้งหมด 123 ภาพ ที่ถ่ายไว้ในช่วงการทำงานของ Germaine Tillon และ Th?r?se Rivi?re ภาพแสดงให้เห็นกิจกรรมต่างๆ ในวิถีชีวิตของชาวอูเรซ (กลุ่มชนอับเดอรามาน) ทั้งการเก็บอินทผลัม การเตรียมกูซกูซ (อาหารพื้นถิ่น – ผู้แปล) และการเตรียมเส้นใยจากแกะ (งานเฉพาะของสตรี) การ นำเสนอภาพที่ไม่ได้มาจากจินตนาภาพตะวันตก “หญิงงานแห่งโมเรสก์” เช่นนี้ จึงแสดงให้เห็นสภาพของหญิงชนบทในชีวิตประจำวัน เราออาจจะสันนิษฐานได้ว่า การที่ Th?r?se เป็นสตรีเพศย่อมเข้าถึงโลกของผู้หญิงได้มากขึ้น ข้อมูลจึงมีความใกล้เคียงสภาพของสังคมและเศรษฐกิจไปด้วย
หากกล่าวถึงหญิงชาวตูอาเร็ก การจัดแสดงกลับมีความคลุมเครือมากขึ้น เมื่อพิจารณาลักษณะทางภูมิศาสตร์ ทะเลทรายซาฮาราครอบคลุมเป็นแหล่งการดำรงชีวิต การมองอย่างกว้างๆ เช่นนี้ทำให้เกิดความสับสนการพูดถึงบริเวณทางภูมิศาสตร์ อันที่จริง พื้นที่ซาฮารามีความเกี่ยวข้องกับทะเลทรายอาระบี และทะเลทรายนี้เป็นจินตภาพสำคัญของโลกตะวันออก ภาพลักษณ์ของหญิงชาวตากูเร็ก หรือ ตาร์กัว(Targuia) เสนอ ไปในทำนองเดียวกับภาพของโลกตะวันออก โดยเป็นภาพของหญิงมาเกรบมากกว่าเป็นภาพของหญิงมุสลิม ดังนั้น จึงทำให้เข้าใจว่า แม้สตรีชาวตูอาเร็กจะมีสถานภาพตามศาสนาบัญญัติ แต่ด้วยความรู้และความสามารถทางศิลปะที่ปฏิบัติในชุมชน สตรีในกลุ่มชนชั้นสูงสามารถอ่านได้และเป็นเจ้าของฝูงสัตว์ การจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์มนุษยชาติ ตู้จัดแสดงหลายใบนำเสนอภาพวิถีชีวิต การแต่งกายของหญิงตูอาเร็ก หนึ่งในบรรดาตู้จัดแสดงนำเสนอชุดแต่งกายสามชุดพร้อมด้วยเครื่องดนตรี (imzade) แต่ ในเนื้อหาทั้งหมด ไม่มีส่วนที่กล่าวถึงสถานภาพของสตรีในเชิงสังคมและเศรษฐกิจ ในประเด็น เราจะเห็นชัดถึงสถานภาพ “ที่อยู่นอกขนบ” ของหญิงตากัว ในพื้นที่ทางสังคมและวัฒนธรรมของมุสลิม กลายเป็นภาพร่วมของความเป็นตะวันออกในโลกของตาอูเร็ก อย่างไรก็ตาม หากมองในมุมวิชาการหรือพิพิธภัณฑ์วิทยา ลักษณะเฉพาะที่สัมพันธ์กับวัตถุเป็นสิ่งที่ยากต่อการบอกเล่าสู่สาธารณชน
เชื้อชาติและวัฒนธรรม มาเกรบที่หาไม่พบ
การสังเกตการณ์ที่เกิดขึ้นแรกๆ เมื่อนายทหารฝรั่งเศสเข้าไปในอัลเจรีคือ ความหลากหลายของประชากรที่มีการใช้ชื่อเรียกกลุ่มต่างๆ อาหรับ โมเรสก์ แบร์แบร์ส กาบีย์... ราย นามของการเรียกข่านแต่ละกลุ่มยังมีอีกมาก การให้ชื่อแบบนี้แสดงให้เห็นถึงการมองผู้คนผืนถิ่นในลักษณะของ “ชิ้นกระจกสีที่เชื่อมต่อผู้คน” (mosa?que de peuples) แต่การจัดแบ่งก็หมายรวมถึงการจัดลำดับและชนชั้น การจัดแบ่งนี้กลายเป็นจินตภาพภาพที่ติดตรึงกับสังคมฝรั่งเศสในการมองกลุ่มคน
เมื่อพิจารณากลุ่มชนพื้นถิ่นทั้งหมด ชาวตาอูเร็กได้รับการปฏิบัติที่ดีที่สุด แม้จะมีเรื่องชื่อทางการสงคราม ด้วยเหตุนี้ แม้ผู้คนทั่วไปจะมีภาพคลุมเครือเกี่ยวกับชนกลุ่มนี้ แต่กลับคิดไปใน“เชิงบวก” มากกว่า ด้วยถิ่นฐานของคนตาอูเร็ก กองทัพฝรั่งเศสจึงให้ความสนใจต่อชนกลุ่มนี้ไม่มากนัก ในระยะหลายทศวรรษของการล่าอาณานิคม กลุ่มอำนาจต่างๆ ให้ความสนใจกับปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทางเหนือของอัลเจรี จนปลายศตวรรษที่ 19 ที่ฝรั่งเศสให้มาให้ความสนใจทางทหารกับพื้นที่ขนาดใหญ่นี้ ในเหตุการณ์ปี 1880 ช่วงสุดท้ายของภารกิจฟลาเตอร์ที่สมาชิกถูกฆาตกรรมหมู่โดยกองกำลังเกล อาการ์ (KEl Ahaggar) กลายเป็นที่กล่าวขานถึงอย่างมากในฝรั่งเศส แต่กลับไม่ได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ที่มีต่อชนกลุ่มตาอูเร็กมาก
ในบริบทนี้ ไม่มีสิ่งใดที่น่าสงสัยมากไปกว่าเรื่องการจัดแสดงชนกลุ่มนี้ในพิพิธภัณฑ์ การจัดแสดงในหลายตู้สะท้อนภาพของชนตูอาเร็กในลักษณะของพวกคลั่งสงคราม ผู้มีบุคลิกภาพที่น่าเคลือบแคลงสงสัย ยากที่จะติดตามและลึกลับ หุ่นที่แสดงถือดาบในมือและมีโล่ที่ใช้ในการสงคราม ผู้ชมได้เห็นภาพเช่นนี้ตั้งแต่ครึ่งหลังศตวรรษที่19 แต่ เราควรสังเกตด้วยว่าภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนจาก “นักรบแห่งทะเลทราย” สู่อัศวินแห่งทะเลทรายในอาหรับ ทั้งๆ ที่อยู่ในสิงแวดล้อม อุณหภูมิ และมีความกล้าหาญเฉกเช่นกัน แม่เราจะมองว่าชนตูอาเร็กมีวัฒนธรรมร่วม “ตะวันออก” แต่พวกเขามีความแตกต่างจกชนพื้นถิ่นอื่นๆ ในหลายๆ ด้าน การจัดระเบียบทางสังคม และการปฏิบัติทางศาสนา (ชนผิวขาวที่หันมานับถือคริสต์)
หนึ่งในตู้จัดแสดงที่สะท้อนให้เห็นความเป็น “เจ้าทะเลทราย” ดังที่ปรากฏในคำอธิบายดังนี้ “ตูอาเร็กเป็นชนผิวขาวที่ไม่ได้พบมากนัก พวกเขาเร่ร่อนอยู่ในทะเลทรายและเป็นพวกที่สู้รบ อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูเขาของซาฮารา ครอบคลุมไปถึงทางใต้ของซูดาน ภาษาของพวกเขา “ตามาเชก” ที่รากเดียวกับชนแบร์แบร์ ใช้กันในกลุ่มคนมากกว่าแสน การจัดระเบียบทางสังคมแบ่งไปตามพื้นที่ปกครองย่อยคล้ายๆ ระบบฟิวดัลในยุโรป พวกเขาเชี่ยวชาญในการอยู่กลางทะเลทราย พวกเขาเป็นชนนักรบที่น่าสงสัย แต่ก็สร้างอิทธิพลมากมายในซาฮารากลางเปรียบเสมือนเจ้าแห่งทะเลยทราย
ในป้ายบรรยายที่เกี่ยวข้องกับตูอาเร็ก ส่วนแรกของข้อความแสดงให้เห็นถึงรายละเอียดต่างๆ(ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ภาษาพูด การจัดระเบียบทางสังคม) และ ตรงข้ามกับส่วนที่สองที่สั้นกว่าแต่มีการเล่าเรื่องที่ใช้ภาพลักษณ์ที่แพร่ หลายในช่วงเวลานั้นมากกว่า หากจะเปรียบเทียบตัวอย่างที่กล่าวถึง “แอตลองติก” ของ Pierre Benoit ความคลุมเครือของพิพิธภัณฑ์ยิ่งเป็นการย้ำภาพจินตนาการ
การปฏิบัติศาสนกิจ: อิสลาม
ตั้งแต่สงครามศาสนา ศาสนาได้เป็นางที่แบ่งแยกการกล่าวถึงอัตลักษณ์ระหว่างตะวันออกและตะวันตก สิ่งที่แบ่งแยกคือคำเรียก “โลกตะวันออก” สัมพันธ์กับความเป็นอิสลามที่นำเสนอในส่วนการจัดแสดงอัฟริกาเหนือและตะวัน ออกกลาง วัตถุจัดแสดงและภาพในตู้จัดแสดงเกี่ยวข้องกับอิสลาม (การปลงศพ สัญลักษณ์ที่ศาสนา ชาฮาลา ตัวอย่างคัมภีร์อัลกูลอาน) และคำอธิบายต่างๆ ที่แสดงให้เห็นธรรมเนียมปฏิบัติทางศาสนา บทบัญญัติ 5 ประการ ของอิสลามประกอบด้วยความเชื่อและศรัทธา การละหมาด การบริจาค การถือศีลอด และการจาริกแสวงบุญ พิธีกรรมเหล่านี้กำหนดไว้ในแต่ละช่วงชีวิต แต่สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือความหมาย ตัวอย่างเช่นการถือศีลอดที่หมายรวมถึงการอดซึ่งอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องหอม เครื่องยาสูบ ความสัมพันธ์ทางเพศ
การมองเพียงภาพรวมๆ และผิวเผินเช่นนี้สามารถสร้างความสับสนของการมองวัฒนธรรมระหว่างตะวันออกลาง และมาเกรบ อันที่จริง อิสลามในมาเกรบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอัลเจรีมีแบบแผนการปฏิบัติที่แตกต่างไป จากตะวันออกใกล้และตะวันออกลาง ดังจะเห็นได้ว่าไม่มีธรรมเนียมทางศาสนามาเกรบกล่าวไว้ในตู้จัดแสดงเลย การจัดแสดง “ค้อน” “ขวาน” และ “ดาบ” ทำให้ผู้ชมเข้าใจความหมายเชิงสัญลักษณ์ของสิ่งเหล่านี้ได้มากน้อยเพียงใด คำอธิบายกลับบอกเล่าถึงวัตถุเหล่านี้ว่าเป็นเพียง “ส่วนไม่สำคัญ” ของสังคมมาเกรบ หากแต่ในความเป็นจริงสิ่งเหล่านี้มีบทบาทสำคัญตราบเท่าปัจจุบัน ตู้จัดแสดงต่างๆ มีคุณสมบัติอยู่ 2 ประการในการกล่าวถึงความเป็นอิสลามคือ ความเคร่งต่อวิถีปฏิบัติทางศาสนา และธรรมเนียมเป็นแบบแผนเดียว
โดยสรุปแล้ว ช่องว่างเกิดขึ้นจากแนวคิดดั้งเดิมของพิพิธภัณฑ์และตัวเลือกของนักวิชาการ ผู้รับผิดชอบการจัดแสดง ในช่วงหลายทศวรรษแรกของพิพิธภัณฑ์ ตัวเลือกการจัดแสดงอยู่บนแนวคิดของการจัดประเภท “ชนพื้นถิ่น” ที่ไปสอดรับกับอคติของสาธารณชน แต่แนวคิดการทำงานจะเป็นอย่างอื่นไปได้อย่างไร ในเมื่อบริบททางวิชาการ การเมือง และความเป็นสถาบันอยู่ภายใต้แนวคิดของการมีอำนาจเหนือเช่นนั้น
ตั้งแต่ปี2003 วัตถุชาติพันธุ์ของพิพิธภัณฑ์ไม่ได้จัดแสดงอีกต่อไป การจัดแสดงเป็นแบบแผนการนำเสนอของศตวรรษที่ผ่านไป เป็นเรื่องยากต่อการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างน้อย วัตถุเหล่านั้นเปิดให้คนหลายชั่วอายุคนได้เรียนรู้กับรูปแบบทางวัฒนธรรมที่ แตกต่างออกไป
กรอบการทำงาน ทั้งวิธีการและอุดมการณ์เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ทางชาติพันธุ์ หากกล่าวกว้าง อาจพูดได้ว่าการจัดประเภทมาจากสัญญะที่ถูกเลือกใช้ในการนำเสนอภาพความเป็น อื่น เราคงอาจถามตนเองได้ในทุกวันนี้ในทุกวันนี้หากเราจะต้องให้ที่ทางความ สัมพันธ์ระหว่างตัวเราเองกับผู้อื่น/ความ เป็นอื่น ก็กลายเป็นการเลือกปฏิบัติหรือการยกคุณค่าประการใดประการหนึ่ง แล้วพิพิธภัณฑ์จะมีบทบาทอย่างไรเมื่อเผชิญกับคำถามนี้ จะทำอย่างไรเมื่อต้องพูดหรือกล่าวถึงความเป็นอื่น โดยไม่ไปกดทับ ทุกคำถามยังคงเป้นที่ถกเถียงของคนพิพิธภัณฑ์ นักวิชาการ และนักวิจัย ณ ห้วงเวลานี้ คือการวางสถานะของความเป็นสถาบันพิพิธภัณฑ์เสียใหม่ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การอพยพ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ยุโรปและเมดิเตอเรเนียน พิพิธภัณฑ์ เก บรองลี ตอบสนองต่อบริบทใหม่ๆ และความต้องการอื่นๆ ของสาธารณชน
จากประวัติศาสตร์อันยาวนานของการล่าอาณานิคม พิพิธภัณฑ์ฝรั่งเศสจะต้องศึกษาอย่างจริงจังเกี่ยวกับความทรงจำ ในยุคสมัยที่ฝรั่งเศสกลายเป็นสังคมพหุชาติพันธุ์ ทั้งชุมชนคนต่างชาติหรือชุมชนของคนมาจากประเทศอดีตอาณานิคม กลายเป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายทางวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ในทุกวันนี้เผชิญกับข้อท้าทายใหม่ๆ บทบาทหนึ่งที่สำคัญคือการย้อนกลับไปมองและวิพากษ์ต่อสิ่งที่ตนเองเคยกระทำ ตั้งแต่ระบบพิพิธภัณฑ์ที่เคยสัมพันธ์กับการล่าอาณานิคม พิพิธภัณฑ์จะต้องปรับเปลี่ยนตัวเองสู่พื้นที่ของการพบปะและแลกเปลี่ยน และเปิดโอกาสให้กับประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนเช่นนี้ จากอดีตที่เคยจำกัดตนเองเพียงพื้นที่ตอบสนองงานวิชาการและการเมือง นั่นหมายถึง การสร้างพื้นที่ความทรงจำร่วมที่แบ่งปัน
แปลและเรียบเรียงจาก H?dia Yelles-Chaouche,
L’Autre dans la vitrine, La lettre de l’OCIM n?103, septembre 2006, p. 18 – 24.