การให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ ในเขตเมือง

อะไรคือการให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่

การให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่เป็นแนวทางการศึกษา ซึ่งใช้สิ่งแวดล้อมภายในท้องถิ่นสำหรับการเรียนและการสอน วัตถุประสงค์แรกของการให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่คือ การสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ สนใจกับชุมชนในพื้นที่ของตนเอง และกระตุ้นให้เด็กเริ่มสนใจทำกิจกรรมเพื่อพัฒนอนาคตของชุมชน
 
โดยปกติแล้ว ในสหรัฐอเมริกา เมื่อผู้คนคิดถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับสถานที่ พวกเขามักคิดถึงการเข้าไปในพื้นที่ชนบทมากกว่าเมือง เพราะแนวการจัดกิจกรรมเพื่อการศึกษาโดยส่วนใหญ่อาศัยพื้นที่ในชนบทเป็นสำคัญ ดังที่เดวิด เกรินวาล์ด(David Gruenwald) ได้เขียนไว้ในบทความ “อสูรของโลกทั้งสอง การวิพากษ์เกี่ยวกับการให้ความรู้เนื่องด้วยสถานที่” (The Beast of Both Worlds: A Critical Pedagogy of Place) ว่า “ในงานเขียนทางวิชาการช่วงที่ผ่านมา นักการศึกษาอ้างอิงสถานที่ว่าเป็นพื้นที่เหมาะสมกับการเรียนรู้คือ สถานที่กลางแจ้ง แสดงให้เห็นสิ่งแวดล้อม และความเป็นชนบท ดังนั้น สถานที่เพื่อการเรียนรู้จึงไกลห่างจากเมือง ซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในที่เดียว อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้เกี่ยวกับสถานที่ไม่จำกัดอยู่ในพื้นที่ชนบทเท่านั้น สถาบันการศึกษาสามารถใช้การเรียนรู้เกี่ยวกับสถานที่ให้คนในเมืองใส่ใจต่อ ชีวิตความเป็นอยู่ของเมือง และกระตุ้นให้สำนึกพลเมืองใส่ใจต่อประเด็นของเมืองไปพร้อมกัน
 
Lower East Side Tenement Museum หรือ พิพิธภัณฑ์การเคหะฝั่งตะวันออกล่าง เมืองนิวยอร์ก เป็นสถาบันในเมือง ซึ่งสามารถพัฒนาโครงการให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ ด้วยการดึงให้กลุ่มคนที่หลากหลายเข้ามามีส่วนร่วมในปัญหาของเมืองในปัจจุบัน การเรียนรู้เกี่ยวกับสถานที่ของพิพิธภัณฑ์เป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมการมี ส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นของเมือง เพราะกิจกรรมดังกล่าวได้ผลักดันให้คนเข้าไปเผชิญกับปัญหาร่วมกัน เพื่อสร้างความหมายของชุมชน และเชื่อมต่อผู้คนให้จินตนาการอนาคตที่ร่วมกันของชุมชน
 
ความเชื่อมั่นต่อสถานที่เป็นหัวใจการทำงานของพิพิธภัณฑ์ และกลายเป็นสิ่งกำหนดภารกิจ กิจกรรมทางการศึกษาที่พิพิธภัณฑ์นำเสนอ และความสัมพันธ์ของผู้คนกับชุมชนที่อาศัยอยู่ อันได้แก่ ฝั่งตะวันออกล่างของแมนฮันตัน(Lower East Side of Manhattan)
 
ฝั่งตะวันออกล่างเป็นที่พำนักของชนอพยพในสหรัฐอเมริกา ตามประวัติแล้ว พื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่พักอาศัยของชาวยุโรป แต่ในปัจจุบัน เป็นชนอพยพจากเมืองจีนและสาธารณรัฐโดมินิกัน และประเทศอื่นๆ รวมถึงเปอเตอ ริโก จากสถิติ ผู้คนที่อาศัยในแถบนี้พูดภาษาอื่นๆ มากกว่าภาษาอังกฤษในเคหะสถาน ภาษาที่ใช้พูดกันยังรวมไปถึงภาษาถิ่นของจีนทั้ง4 ภาษาด้วย
 
ฝั่งตะวันออกล่างยังเป็นที่พำนักของพวกชนชั้นแรงงาน ตามประวัติแล้ว ผู้อพยพรุ่นใหม่เข้ามาในพื้นที่เพราะโครงการการเคหะ เรียกได้ว่าเป็นโครงการบ้านในเมืองที่เปิดโอกาสให้ครอบครองได้ไม่ยากนัก ทุกวันนี้ โครงการเคหะในลักษณะดังกล่าวยังดึงดูดผู้คนให้เข้ามาตั้งรกรากในพื้นที่เช่น เดิม รายได้โดยเฉลี่ยของครัวเรือนในพื้นที่ใกล้พิพิธภัณฑ์ประมาณ25,000 เหรียญ ต่อปี กว่าครึ่งของประชากรในพื้นที่ได้รายได้ต่ำกว่าเงินได้เฉลี่ย แต่มีเพียงครึ่งหนึ่งของประชากรในกลุ่มดังกล่าวที่ได้รับการสงเคราะห์ สาธารณะอื่นๆ
 
พิพิธภัณฑ์การเคหะฝั่งตะวันออกล่างตั้งขึ้นในปี1988 ด้วย วัตถุประสงค์ในการสร้างความอดทนและการยอมรับต่อประวัติศาสตร์และประสบการณ์ ของชนอพยพในแมนฮัตตันฝั่งตะวันออกล่าง ซึ่งเป็นประตูสู่อเมริกา ด้วยภารกิจเช่นนี้ พิพิธภัณฑ์จึงตั้งอยู่ในชุมชนท้องที่แถบนั้น และมีหน้าที่สำคัญในการบอกเล่าเรื่องราวของชุมชน เพราะการบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนจะยังผลให้เกิดการยอมรับความเป็นไปต่างๆ ในสังคม
 
พิพิธภัณฑ์เชื่ออย่างแรงกล้าว่า เรื่องราวของฝั่งตะวันออกล่างไกลไปกว่าพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กำหนดขอบเขต ของบริเวณอยู่อาศัย แม้กระทั่งในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกเอง การอพยพเข้ามาตั้งรกรากในเมืองของชนต่างชาติมีให้เห็นมากขึ้นอย่างไม่เคย ปรากฏมาก่อน ปรากฏการณ์ดังกล่าวมีความสำคัญต่อเรื่องราวของฝั่งตะวันออกล่างและในระดับ นานาชาติเช่นกัน
 
พิพิธภัณฑ์และประสบการณ์ของผู้อพยพ
ผู้ที่ร่วมจัดตั้งพิพิธภัณฑ์หลายคนปรารถนาจะบอกเล่าเรื่องราวของชนอพยพผู้เข้ามาในเมืองนิวยอร์กในศตวรรษที่19 และต้นศตวรรษที่ 20 พวก เขายังปรารถนาให้ผู้ชมเชื่อมโยงประสบการณ์อพยพของตนเองกับประสบการณ์ของผู้ อพยพในพื้นที่อื่นๆ ของสหรัฐอเมริกา เหตุผลใหญ่สำหรับการนำเสนอเรื่องราวไปในทิศทางนี้ เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นดินแดนที่ผู้คนโหยไห้ต่ออดีตการอพยพในชั่วอายุคน ที่ผ่านมา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางชุมชนอพยพคือ ความเกลียดชังต่อผู้คนที่โยกย้ายเข้ามาใหม่ พิพิธภัณฑ์หวังที่จะท้าทายให้คนอพยพในรุ่นก่อนได้มองเห็นถึงความเหมือนและ ความแตกต่างของประสบการณ์การอพยพที่พวกเขาเคยประสบก่อนที่จะได้มาเป็น “อเมริกันชน” และสำหรับคนอพยพรุ่นใหม่แล้ว พสกเขาก็ต่อสู้และปรับตัวให้เข้ากับวิถีอเมริกันในทุกวันนี้
พิพิธภัณฑ์ ต้องการให้ผู้ชมตรวจสอบมุมมองของตนเองต่อการอพยพร่วมสมัย และสร้างบทสนทนาเกี่ยวกับนโยบายการอพยพของอเมริกา เช่น ใครบ้างควรจะเข้ามาในสหรัฐอเมริกา ใครบ้างควรได้สถานภาพพลเมืองอเมริกัน และทรัพยากรใดบ้างที่สามารถแบ่งปันให้กับผู้ที่มาใหม่
 
ข้อท้าทายคือการตีแผ่ให้เห็นว่าประสบการณ์อพยพได้มีอยู่เพียงชุดเดียว แต่มีเรื่องราวการอพยพมากมายเท่าทวีกับจำนวนผู้คนที่อพยพเข้ามา ชนอพยพเหล่านี้มาจากประเทศที่หลากหลาย ความเป็นมาที่แตกต่าง ชนชั้นที่สังคมที่ผิดแผก และประสบการณ์ไม่เหมือนกัน เราจะสร้างเรื่องเล่าอย่างไรที่ไม่ทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเรื่องเล่า ดาดๆ และจะจัดการอย่างไรให้ประสบการณ์อพยพเป็นเรื่องที่สำคัญ และถือเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นเสมอๆ
 
ผู้ที่ร่วมจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มีความคิดเห็นที่ตรงกันประการหนึ่ง ไม่ว่าคนอพยพเข้ามาในสหรัฐฯ ในศตวรรษที่19 หรือ 20 แต่สถานที่ที่พวกเขาอยู่อาศัยคือสิ่งที่มีอยู่ร่วมกัน คนอพยพที่เข้ามาเมืองนิวยอร์กในช่วงเวลาใดก็ตามระหว่างปี 1830 ถึง 1930 จะ อยู่ในตึกของการเคหะแมนฮัตตัน หรือที่รูจักกันนามฝั่งตะวันออกล่าง พลังของสถานที่ได้ยึดโยงผู้คน ไม่ว่าจะมาจากชาติ ภาษา หรือศาสนาใด การอาศัยในตึกของการเคหะร้อยรัดคนต่างชั่วอายุ ไม่ว่าพวกเขามาจากรัสเซียเมื่อ 1905 หรือ ฮ่องกงเมื่อ 2005
 
ด้วยเหตุนี้ พิพิธภัณฑ์จึงเริ่มต้นสืบค้นสถานที่เฉพาะ ตึกสักตึกของการเคหะตั้งอยู่ที่เลขที่97 ถนนออร์คิด ใจกลางฝั่งตะวันออกล่าง ตึกดังกล่าวเป็นอาคารที่พักอาศัย 5 ชั้น ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ 1863 และมีคนเวียนมาพักอาศัยประมาณ 7,000 คนระหว่าง 1864 ถึง 1935 อันเป็นปีสุดท้ายอของการเป็นที่พักอาศัย อาคารดังกล่าวล้างจนกระทั่งปี 1988 ที่กลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์การเคหะ
 
โครงการให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ของพิพิธภัณฑ์การเคหะ
เมื่อคำนวณไปแล้ว พิพิธภัณฑ์สำรวจคนที่เคยอยู่อาศัยในอาคารได้1,700 คน จากนั้น ได้ฟื้นฟูห้องพักอาศัยให้กับครอบครัว 5 กลุ่ม และให้พวกเขาไปอาศัยในอาคาร พวกเขาทำหน้าที่ให้ความรู้ ด้วยการบอกเล่าเรื่องราวของครอบครัวต่างๆ การนำชมจะแบ่งเป็นประเด็นทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัวของชนอพยพในอดีต และที่สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน
 
ตัวอย่างเช่นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคนอพยพและอุตสาหกรรมเสื้อผ้า การนำชมเริ่มต้นที่เรื่องราว2 ครอบ ครัว ประวัติของพวกเขาเป็นประตูไปสู่มุมมองเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับปัญหาแรง งานราคาถูกและสภาพการผลิตที่ย่ำแย่ในอุตสาหกรรมสิ่งทอในช่วงเวลาที่ต่างกัน ครอบครัวเลวีนทำงานในช่วงทศวรรษ 1890 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีการผลิตในอาคารการเคหะ และครอบครัวโรเกอสกีที่ทำงานในช่วงต้นทศวรรษ 1900 คน งานอุตสาหกรรมเสื้อผ้าเริ่มตระหนักถึงปัญญาดังกล่าว และหยิบมาเป็นประเด็นทางสังคม การนำเที่ยวแสดงให้เห็นพัฒนาการอุตสาหกรรมในเมืองนิวยอร์ก ผ่านสายตาของคนงาน 2 ครอบครัว และเปรียบเทียบประสบการณ์ของผู้เข้าชมเองกับประสบการณ์ทำงานของผู้อพยพในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าในปัจจุบัน
 
การนำชมหยิบยกประเด็นดังกล่าวมาเพราะฝั่งตะวันออกล่างเป็นพื้นที่กำเนิดอุตสาหกรรมเสื้อผ้าในยุคสมัยใหม่(ในปี 1900 มีร้านเสื้อผ้าถึง 20 ร้านในพื้นที่) และ เพราะจำนวนร้านเสื้อผ้ายังคงมีมากอยู่ในปัจจุบัน ในจำนวนร้านที่เปิดทำการในปัจจุบันมีอยู่จำนวนไม่น้อยเลยที่จัดอยู่ในประเภท การจ้างแรงงานราคาต่ำและสภาพการทำงานที่ย่ำแย่ เมื่อพิจารณาจากมาตรฐานโรงงานของกรมแรงงาน
 
พิพิธภัณฑ์ผลักดันให้ประวัติศาสตร์ไม่ใช่เรื่องราวที่ตีความมาจากมุมมองเชิงเดี่ยว แต่นำมุมมองที่หลากหลายของผู้ที่เกี่ยวข้องมาเป็นแนวทางในการสำรวจและบอกเล่าเรื่องราว รวมทั้งมุมเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลา การนำชมที่เกี่ยวข้องกับอุตสากรรมเสื้อผ้าพยายามเปิดให้เห็นมุมมองของผู้ผลิต เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก คนงาน ผู้บริโภค และผู้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่การผลิต การนำชมเริ่มต้นด้วยการฟังเสียงจากเครื่องบันทึกของผู้ที่เกี่ยวข้องในมุม มองต่างๆ ต่ออุตสาหกรรมเสื้อผ้าในเมืองนิวยอร์ก จากนั้น ผู้นำชมจะนำพาผู้เข้าชมย้อนกลับไปในปี1897 และสอดส่องมุมมองเกี่ยวกับอุตสาหกรรมในเวลานั้น
 
พิพิธภัณฑ์ชวนเชิญให้ผู้เข้าชมไตร่ตรองต่อเรื่องราวที่ได้เห็น ได้ฟัง ด้วยคำถามปลายเปิด เพื่อกลับไปสำรวจตรวจสอบต่อความรู้ ความเชื่อ และความคิดเห็นของตนเองที่มีต่อเรื่องราวนั้นๆ เช่น ในระหว่างการชมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ผู้นำชมจะถามผู้ชมว่า‘คุณคิดว่าสภาพการทำงานของคนงานในโรงงานทุกวันนี้ดีกว่า 100 กว่า ปีที่แล้วไหม’ และ ‘คุณคิดว่าการจ่ายค่าแรงของเจ้าของโรงงานต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำยุติธรรมหรือ ไม่ หากเจ้าของโรงงานสามารถหาคนงานที่ยินดีจะรับค่าแรงในราคานั้น’ ผู้ชมจะมีส่วนในการแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้นำชมและคนอื่นๆ ในระหว่างการเข้าชม ร่วมแบ่งปันมุมมอง แลกเปลี่ยนประสบการณ์ส่วนตัว และตรวจสอบเหตุผลว่าทำไมแต่ละคนจึงรู้สึกต่อเรื่องนั้นไปเช่นนั้น
 
นอกจากนี้ ยังมีการนำชมที่ใช้ชื่อว่า “แล้วก็เป็นไป : คนอพยพผู้ผ่านร้อนผ่านหนาว” (Getting By: Immigrants Weathering Hard Times) เป็นการเยี่ยมชมห้องพักของคนอพยพ 2 ครอบครัว ผู้ที่เคยอยู่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ครอบครัวกัมเพรท์ซในปี 1873 และครอบครัวบาลดิซิในปี 1935 การ ชมเริ่มจากการสำรวจความคิดเห็นสาธารณะที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลาว่าความ ช่วยเหลือใดที่คนอพยพต้องการ และใครควรเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจัดหาความช่วยเหลือนั้น ในระหว่างการชม ผู้ชมจะพูดคุยกันเกี่ยวกับสถานภาพของผู้อพยพว่ามีผลต่อการจัดความช่วยเหลือ ของรัฐหรือไม่ และบทบาทของผู้เข้าชมเองจะมีส่วนช่วยเหลือคนอพยพในชุมชนของตนเองหรือไม่
 
การชมในเส้นทางที่สามเป็นห้องพักของครอบครัวคอนฟิโนที่สร้างขึ้นใหม่ในปี1916 ผู้ชมจะสมมติบทบาทเป็นครอบครัวอพยพที่เพิ่งมาใหม่ และโต้ตอบกับคนที่เล่นบทบาทเป็นวิคเทอเรีย คอนฟิโน อายุ 14 ปี ชาวยิวนิกายเซฟาร์ดิก ซึ่งอยู่ภายใต้แนวคิดของอาชเคนซิ ผู้ชมจะได้เรียนรู้ความพยายามในการปรับตัวของเธอกับการอยู่ในฝั่งตะวันออก ล่าง ประสบการณ์ของเธอสะท้อนให้เห็นสถานภาพใหม่ที่ได้มาคือ เซฟาดิก-อเมริกัน ชน จากนั้น อภิปรายถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และการเป็นอเมริกันชนหมายถึงอะไร และระหว่างการยึดมั่นในมรดกทางวัฒนธรรมเดิมกับการกลายมาเป็น ‘อเมริกัน’ สิ่งใดดีกว่ากันแน่
 
ในขณะที่เมื่อกลุ่มนักเรียมเข้าร่วมกิจกรรมชมคอนฟิโน พวกเขาจะมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นว่าวัฒนธรรมอเมริกันคืออะไร และใครควรจะเป็นอเมริกันชน พวกเขาจะแบ่งออกเป็นกลุ่มเล็ก และร่วมอภิปรายความหมายของคำ “อเมริกัน” ซึ่งมีลักษณะที่ครอบคลุมความเป็นจริงในสังคมมากกว่าจะเป็นการกำหนดว่าสิ่งใด ใช่หรือไม่ใช่ เพราะพวกเขาควรตระหนักว่าวัฒนธรรมของประเทศกอปรขึ้นมาจากความหลากหลายของ เชื้อชาติ วัฒนธรรม และความเชื่อทางศาสนาที่แตกต่างกัน
 
หลังจากที่เข้าชมพิพิธภัณฑ์ตามแต่ละเส้นทางการชม ผู้เข้าชมจะกลับมาที่‘ห้องครัว’ และร่วมสนทนา “เรื่องครัวๆ” ที่จะมีผู้นำกิจกรรมที่ได้รับการฝึกฝนมาพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นที่หยิบยก ขึ้นมาในระหว่างการนำชม การสนทนาจะลำดับประเด็นต่างๆ จากสาเหตุของการอพยพย้ายถิ่นสู่การจัดสร้างสภาวะที่เหมาะสมสำหรับคนงานอพยพ การให้การศึกษาแบบสองภาษา รวมไปถึงประเด็นของการกลืนกลายทางวัฒนธรรมของชยอพยพเข้าสู่สังคมอเมริกัน หรือการคงไว้ซึ่งรากทางวัฒนธรรมของชนอพยพเอง บทบาทของผู้นำกิจกรรมช่วยเชื่อมต่อประสบการณ์ของผู้อพยพทั้งในอดีตและ ปัจจุบันกับผู้เข้าชม และกระตุ้นให้ผู้เข้าชมพินิจพิเคราะห์ถึงสถานการณ์ร่วมสมัย และคิดวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ ที่มาจากการเข้าชมสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวเหล่านั้น
 
พิพิธภัณฑ์ ยังจัดนำชมในสถานที่ทางต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งไม่ใช่การนำชมแบบเดิมๆ ที่เคยปฏิบัติมา แต่เป็นการหยิบยกเอาประเด็นร่วมสมัยของเมืองเข้ามาถกเถียง เส้นทางการชมที่น่าสนใจเส้นหนึ่งคือ โรงเรียนมัธยมที่สอนสองภาษา(อังกฤษ-จีน) เมื่อ ถึงจุดนี้ ผู้ร่วมเส้นทางจะได้พูดคุยถึงระบบการเรียนสองภาษา ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งได้แก่ โบสถ์ยิว ผู้นำกิจกรรมจะบอกเล่าถึงการตายของพระยิวเมื่อปี 1905 เพราะ คนงานชาวไอริชไม่พอใจการอพยพเข้ามาของชาวยุโรปตะวันออก พสกไอริชคิดว่าดินแดนฝั่งตะวันออกล่างควรจะเป็นที่พำนักของพวกเขาอย่างเดียว เท่านั้น ประเด็นนี้นำไปสู่การอภิปรายเกี่ยวกับความกดดันระหว่างกลุ่มของคนอพยพที่ เข้าสู่พื้นที่พำนักเดียวกัน ในท้ายที่สุด ผู้ชมในฐานะที่เป็นสมาชิกของชุมชนจะช่วยให้เกิดความเข้าใจระหว่างกลุ่มอย่าง ไร และจะเกิดความร่วมมือได้อย่างไร
 
เป้าหมายของการเรียนรู้สถานที่ต่างๆ อยู่ที่

  • การ ช่วยให้ผู้เข้าชมได้ใช้ประสบการณ์ส่วนตนเชื่อมโยงกบประเด็นทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนอพยพและคนย้ายถิ่น
  • การ ย้ำถึงบทบาทสำคัญของคนอพยพและคนย้ายถิ่นต่อสังคมที่กำลังวิวัฒน์ไป ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและโดยภาพรวม ทั้งชุมชนที่พวกเขาอยู่อาศัยและในระดับของชาติรัฐ
  • การ สร้างบทสนทนาที่ทรงพลังในประเด็นความเป็นอยู่และชีวิตของคนอพยพและคนย้าย ถิ่น เพื่อให้ผู้ชมได้คิดวิเคราะห์ถึงบทบาทของตนเองที่จะสร้างสรรค์สังคมไปในวัน ข้างหน้า
  • การเชื่อมต่อประสบการณ์ที่หลากหลายของผู้คน และสร้างเวทีเรียนรู้ระหว่างผู้คนด้วยกันเอง
 
ผู้เขียนขอเสนอหลักการพื้นฐาน5 ประการสำหรับพิพิธภัณฑ์ที่ปรารถนาจะนำแนวทางการเรียนรู้สถานที่ต่างๆ ไปประยุกต์กับการสร้างความมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นของเมือง
 
ประการแรก การนำเสนอและตีความเรื่องราวของสถานที่ควรเป็นเรื่องที่ไม่ได้รับทราบกันมากนัก แต่มีความสำคัญและเปิดมุมมองใหม่ๆ ต่อประวัติศาสตร์ ก่อนที่พิพิธภัณฑการเคหะจะสร้างขึ้น อาคารที่ตั้ง ณ เลขที่ 97 ถนน ออร์ชาร์ด ไม่ใช่ตึกที่อยู่ในความสนใจและเรื่องราวของผู้เคยอยู่ที่นั่นไม่ได้สำคัญ อะไร ผู้ที่จัดตั้งพิพิธภัณฑ์เล็งเห็นร่วมกันว่า เรื่องราวของตึกและผู้คนเป็นตัวแทนเรื่องราวที่ไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ นิพนธ์อย่างที่กระทำกันมา นั่นคือ เรื่องราวความยากจนและชนชั้นแรงงาน เรื่องราวดังกล่าวจึงนำไปสู่มุมมองใหม่ๆ ต่อประวัติศาสตร์ ความสำคัญของอาคารได้รับการยอมรับเมื่อตึกแรกของโครงการการเคหะได้รับการ เลือกให้เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในระดับชาติ
 
ประการที่สอง วิธีการจัดกิจกรรมที่มีแนวทางของการใช้สถานที่ต่างๆ ไม่ได้เชื่อมโยงไปกับประเด็นต่างๆ ในระดับชุมชนเท่านั้น แต่จะต้องเชื่อมโยงไปยังพื้นที่อื่นๆ พิพิธภัณฑ์การเคหะไม่ได้เพียงบอกเล่าเรื่อราวของอาคารและผู้คนที่พำนัก แต่ได้เชื่อมเรื่องราวเหล่านั้นกับประเด็นที่ใหญ่กว่า เช่น สภาพการทำงานที่ยุติธรรมและการเข้าถึงสวัสดิการสาธารณะ และทำให้เรื่องราวเหล่านั้นสัมพันธ์ไปกับผู้มาเยือน ไม่ว่าเขาหรือเธอจะมีมาจากที่ใด ผู้ชมมีส่วนอย่างยิ่งในการพูดคุยและถกเถียงจากสิ่งที่ได้เรียนรู้และประเด็น ในชุมชนของแต่ละคน
 
ประการที่สาม เราจะต้องคำนึงถึงความซับซ้อนในเรื่องราวที่นำเสนอ ประวัติศาสตร์ของพื้นที่มาจากความหลากลายของมุมมอง เรื่องราวได้ผูกขึ้นมาจากภาพที่ซ้อนทับของคนที่เกี่ยวข้อง ความสนใจเช่นนี้อาจไม่เคยได้รับความใส่ใจมาก่อนต่อการเขียนประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์การเคหะไม่ได้บอกเรื่องราวจากมุมมองของใครคนเดียว แต่พยายามเสนอเรื่องราวที่ซับซ้อนและคลุมเครือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง พิพิธภัณฑ์พบว่าการนำเสนอเรื่องราวดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่ายต่อการจัดการ แต่กลับทำให้กะเทาะความเป็นจริงที่ยังคงมีความคลุมเครืออยู่ในปัจจุบัน การนำเสนอเรื่องราวเช่นนั้นทำให้ผู้เยี่ยมชม “เข้าไป” ถึงความซับซ้อนของประเด็นปัญหา
 
ประเด็นที่สี่ การเชื้อเชิญให้ผู้เข้าชมมีส่วนในการตีความ พิพิธภัณฑ์เปิดโอกาสให้ผู้ชมเข้ามามีบทบาทในระหว่างการเยี่ยมชม พวกเขาได้แบ่งปันประสบการณ์และมุมมอง รวมถึงประเด็นที่เชื่อมโยงกับสังคมในระดับกว้าง พิพิธภัณฑ์การเคหะไม่ได้แสดงบทบาทเป็นผู้ถือสิทธิ์ที่จะหยิบยกประเด็นนั้นๆ มาพูดคุยแต่ผู้เดียว ในทางตรงกันข้าม พิพิธภัณฑ์ยึดมั่นใน “เสียงที่หลากหลาย” (polyphonic representation) ใน การบอกเล่าประวัติศาสตร์ และมิติที่ซ้อนทับอยู่ในปัญหาร่วมสมัย พิพิธภัณฑ์เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ชมมีความรู้เป็นของตนเอง ความเชื่อและความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นเหล่านั้น ผู้ชมในฐานะเพื่อนร่วมทางจะเป็นผู้ให้ความหมายของประเด็นที่พูดคุย และผลักดันให้เขามีส่วนร่วมในความเป็นไปในปัจจุบันและอนาคต
 
ประการที่ห้าการเยี่ยมชมจะเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ชมร่วมลงมือลงแรง นั่นหมายถึง การทำให้ประเด็นทางสังคมลงไปสู่การลงมือสร้างสรรค์ชุมชนของตนเอง และนำความเปลี่ยนแปลงในทางบวกมาสู่ พิพิธภัณฑ์การเคหะมีส่วนในการสร้างเวทีให้ผู้ชมได้คิดและตรวจสอบประเด็นทาง สังคม สิ่งใดบ้างที่พวกเขาจะสร้างสรรค์ให้กับสังคม ความตั้งใจสำคัญของพิพิธภัณฑ์คือ การมอบให้ผู้ชมเป็นคนที่จะเข้ามาพัฒนาชีวิตในชุมชนของตนเอง
 
พิพิธภัณฑ์ในพื้นที่เมืองควรพิจารณาการเรียนรู้สถานที่ในลักษณะที่เป็นแนวทาง พิพิธภัณฑ์ควรมองหาประวัติศาสตร์หรือเรื่องราวที่ผูกพันกับสถานที่ต่างๆ ในชุมชน แต่ไม่เป็นที่รับทราบกันมากนัก แต่การนำเรื่องราวมาบอกเล่าได้ฉายให้เห็นประเด็นทางสังคมที่สืบเนื่องต่อไป พิพิธภัณฑ์ใดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองสามารถลองพิจารณาชุมชนในท้องที่ และพัฒนาเป็นแหล่งการเรียนรู้สถานที่ต่างๆ ด้วยการใช้แนวทางการทำงานที่แนะนำมานี้ วิธีการเช่นนี้จะก่อให้เกิดการพูดคุยประเด็นต่างๆ ของเมือง และนำไปสู่การผลักดันให้พลเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในประเด็นเหล่านั้น
 
Maggie Russell-Ciardi ได้ รับปริญญามหาบัณฑิตด้านละตินอเมริกาศึกษาจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และปริญญาบัณฑิตด้านแรงงงานศึกษาและสเปนจากวิทยาลัยโอเบอร์ลิน ขณะนี้ เธอรับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการด้านการศึกษาให้กับ Lower East Side Tenement Museum ก่อน การเข้าประจำตำแหน่งดังกล่าว เธอเคยทำโครงการสร้างความเข้มแข็งกับชุมชนคนอพยพใหม่ ในปัจจุบัน เธอยังปฏิบัติภารกิจที่ปรึกษาศูนย์สิทธิคนอพยพ (Center for Immigrant Rights) และการจัดตั้งกลุ่มคนงานอพยพในประเภทงานเกษตรกรรม
 
แปลและเรียบเรียงจาก
Maggie Russell-Ciardi, “Placed-based Education in an Urban Environment”
Museum International, No. 231 (Vol. 58, No. 3, 2006) pp. 71 – 77.
 
วันที่เผยแพร่ครั้งแรก: 29 ธันวาคม 2554
วันที่แก้ไข: 20 มีนาคม 2556