เด็กๆ เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุในบรรยากาศที่เป็นกันเอง

เด็กๆ ใช้เวลามากขึ้นในการสถานที่อย่างไม่เป็นทางการเช่นพิพิธภัณฑ์ มีงานวิจัยพยายามทำความเข้าใจว่า ประสบการณ์เช่นนั้มีผลต่อพัฒนาการทางสังคมและการรับรู้อย่างไร เพราะหากงานวิจัยในสนามดังกล่าวมีมากขึ้น ย่อมเป็นโอกาสที่พ่อแม่และนักการศึกษาจะเข้าใจกับการเรียนรู้จากประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้จากวัตถุเป็นที่ตั้ง การเรียนรู้จากการให้ข้อมูลเบื้องต้น การวิจักษณ์ต่อความงามและศิลปะ รวมถึงการเรียนรู้ในการใช้เทคโนโลยี ผลรวมของประสบการณ์จากบริบทเหล่านี้จะหล่อหลอมความคิด คุณค่า แรงบันดาลใจ ความเป็นสมาชิกกลุ่ม และตัวตนตลอดชีวิตของเด็กๆ การศึกษาสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นทางการและการเรียนรู้ จะเสริมงานวิจัยที่เคยทำกันมา ทั้งการศึกษาเด็กในบริบทของบ้าน โรงเรียน และบริบทอื่นในชีวิตประจำวัน เพื่อทำความเข้าใจกับแรงจูงใจ การเรียนรู้ทางสังคม และการสร้างเหตุและผล การวิจัยเด็กในลักษณะเช่นนี้ทำให้เราบูรณาการทฤษฎีปฏิบัติการเชิงบริบทกับ ทฤษฎีการสร้างความหมายเชิงสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี สนามการวิจัยใหม่เอื้อประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจพัฒนาการของเด็กและส่ง เสริมการเรียนรู้ของพวกเขา
 
การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็ก
ประเด็นวิจัยพื้นฐานของนักจิตวิทยาพัฒนาการคือ การศึกษาและทำความเข้าใจกับบริบทต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และสัมพันธ์กับพัฒนาการของเด็ก ความสนใจต่อบริบททางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของพัฒนา ปรากฏอย่างเด่นชันในงานของ Vygotsky ที่แสดงให้เห็นความเชี่ยวชาญที่ได้พัฒนาขึ้นนั้นมาจากโอกาสในการเข้าไป สัมพันธ์กับสถานการณ์ต่างๆ และการร่วมทำกิจกรรมใดๆ ก็ตามกับผู้อื่น นัยสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและบริบททำให้นักวิชาการได้ข้อสรุปประการหนึ่ง เกี่ยวกับหน่วยของการวิเคราะห์ บุคคลในสถานการณ์หนึ่งที่ทำให้เขาหรือเธอลงมือกระทำการ “หีบห่อของพัฒนาการที่อยู่เหนือปัจเจกบุคคล” (supra-individual envelope of development) (Cole, 1995) ทฤษฎีพัฒนาการเชิงบริบทย้ำถึงความสัมพันธ์ของบริบทที่มีผลต่อการรับรู้และ การเรียนรู้มากกว่านักวิชาการที่มองบทบาทของบริบท ทั้งในงานของ Rogoff & Lave (1984) ที่ย้ำถึงการรับรู้ในชีวิตประจำวัน Resnick, Levine, & Teasley (1991) ที่กล่าวถึงการรับรู้ที่ร่วมกันในสังคม Brown, Collins, & Duguid (1989) ที่กล่าวถึงการฝึกฝนและการสร้างชิ้นงาน Lave & Wenger (1991) ที่กล่าวถึงนัยสัมพันธ์ของการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมที่แวดล้อม เป็นต้น

Lave (1993) ได้แบ่งลักษณะวิเคราะห์ของทฤษฎีที่สัมพันธ์กับการทำความเข้าใจบริบทของ พัฒนาการเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ ทฤษฎีที่เน้นการกระทำ และทฤษฎีที่เน้นความหมาย ประเภทแรกจะเน้นการกล่าวถึงธรรมชาติของความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำและสิ่ง ถูกกระทำที่อยู่ในบริบทหนึ่ง ทั้งนี้ ทฤษฎีกิจกรรมจะเป็นพื้นฐานในการอธิบาย เมื่อกล่าวถึงบทบาทของประสบการณ์จะนึกถึงงานของ Dewey (Ansbacher, 1998; Cohen, 1998; Fenstermacher & Sanger, 1998) ส่วนทฤษฎีในแบบที่สอง หมายถึง ความหมายที่สร้างขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคม จะเห็นได้ในงานของ Vygotsky และทฤษฎีทางสังคมวัฒนธรรม (Palincsar, 1998; Wertsch, Tulviste, & Hagstrom, 1993) แต่หากเรานำทฤษฎีทั้งสองมาใช้ในการอธิบายและทำความเข้าใจ จะทำให้งานวิจัยพัฒนาการของเด็กนั่นมีคุณูปการมากขึ้น ดังที่ปรากฏในงานของ Goodnow, Miller, and Kessel (1995) นั่นเองที่นำไปสู่การวิเคราะห์ว่า เด็กกระทำการใดกับใครภายใต้เงื่อนไขใด และทำไปด้วยวัตถุประสงค์ใด ประเด็นของการตีความภายใต้บริบทจึงประกอบด้วย การศึกษาวิธีการที่เด็กลงมือกระทำเพื่อให้บรรลุ ความหมายที่เด็กๆ สร้างขึ้นจากประสบการณ์ และการเรียนรู้เช่นนั้นส่งผลประการใดต่อชีวิตของพวกเขา

โดยทั่วไป การศึกษาเด็กๆ จะเน้นที่การสังเกตการณ์และการอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น แต่การวิเคราะห์ที่จะต้องเน้นมากขึ้นค่อการวิเคราะห์ไปยังตัวบริบทมากกว่า การมองเป็นเพียงตัวแปรเบื้องหลัง ฉะนั้นบริบทนำไปสู่การกระทำบางอย่าง ตีกรอบปฏิกริยากับวัตถุ รวมไปถึงการวางโครงสร้างสิ่งที่กระทำต่อไปให้เกิดพลวัตทางสังคม แต่เดิมนั้น นักจิตวิทยาพัฒนาการศึกษาบ้านและชุมชนในฐานะที่เป็น “บริบท” แต่แนวทางการศึกษาใหม่มองบริบทในแบบอื่นมากขึ้น โดยพิจารณาในรายละเอียดของสภาพแวดล้อมแบบหนึ่งกับการกระทำที่มีผลต่อ พัฒนาการของเด็ก ทั้งการวิเคราะห์สถานการณ์ในชีวิตประจำวัน ในงานของ Paris & Cross, 1983 เช่น การขายคุกกี้ของเนตรนารี (Rogoff, Baker-Sennett, Lacasa, & Goldsmith, 1995) หรือการใช้คณิตศาสตร์ทั้งในและนอกโรงเรียน (Nunes, Schliemann, & Carraher, 1993) การวิเคราะห์ที่อิงต่อบริบทเช่นนี้ทำให้เราได้ข้อมูลที่แตกต่างเกี่ยวกับ พัฒนาของเด็กมากกว่าการศึกษาด้วยการกระทำโดยฉับพลันหรือการจัดสถานการณ์ จำลอง คำถามหลักของลักษณะการศึกษาอยู่ที่ว่า เด็กรับรู้และแสดงออกเกี่ยวกับความรู้ ความเชื่อ และการกระทำของครอบครัวหรือชุมชนไปในบริบทเฉพาะอย่างไร

หากเราพิจารณาเจตนาในเบื้องลึกของทฤษฎี กระบวนการศึกษามุ่งความสนใจไปพัฒนาการของเด็กในบริบท เรียกได้ว่าเป็นการสร้างทิศทางใหม่ให้กับการวิจัยพื้นฐาน การสร้างทฤษฎี การใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษา และนโยบายทางสังคม งานวิจัยใหม่นี้เกิดขึ้นในบริบทของชุมชนที่นอกเหนือไปจากบ้านและโรงเรียน เช่น พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ อุทยานประวัติศาสตร์ และสวนสาธารณะ เพราะประสบการณ์เมื่อเด็กเข้าไปสัมพันธ์ในลักษณะต่างๆ มีนัยสำคัญต่อชีวิตของเด็ก ผู้คนมากกว่า 500 ล้านคนที่เข้าชมพิพิธภัณฑ์ในสหรัฐอเมริกาต่อปี (Hein & Alexander, 1998) พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์กว่า 300 แห่งในสหรัฐอเมริกา และกว่าครึ่งของผู้ชมเป็นเยาวชนต่ำกว่าอายุ 18 ปี Cleaver (1992) กล่าวถึงพิพิธภัณฑ์ที่เน้นการทดลองทำ (hands-on museums) จำนวนถึง 265 แห่งที่สรัางขึ้นด้วยหลักพื้นฐานที่มองว่า “หากลงมือทำ ก็คือความคิดที่เกิดขึ้นตามด้วยเช่นกัน” (hands-on = minds-on) ปรัชญาดังกล่าวสัมพันธ์กับนักทฤษฎีหลายท่าน เช่น John Dewey, Maria Montessori, Jean Piaget, Eleanor Duckworth, and Howard Gardner พิพิธภัณฑ์เองได้รับการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อเด็กๆ เช่นเดียวกับอาคารที่จัดแสดงศิลปะ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และอื่นๆ สถานที่ที่ยกตัวอย่างมานี้อาจเรียกรวมๆ ว่า “สภาพแวดล้อมการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ” (informal learning environments - ILE) ซึ่งหมายถึงสถานที่ที่มีลักษณะเป็นชุมชน ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ สวนสัตว์น้ำ สวนสาธารณะ และสวนพฤกษศาสตร์ ILE อาจรวมถึงห้องสมุด โบสถ์ และศูนย์รวมของชุมชน หรือแม้แต่งานของชุมชน เทศกาลดนตรีและวัฒนธรรม และกลุ่มจากการรวมตัวบางประเภท ลูกเสือ และเยาวชน เพราะเหล่านี้เป็นการรวมตัวของกลุ่มคนนอกบริบทของบ้านและโรงเรียน เพื่อการสร้างประสบการณ์ร่วมกัน (Forman, Minick, & Stone, 1993; Villarruel & Lerner, 1994) บริบทที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ได้เปิดโอกาสทั้งรุ่มรวยและหลากหลายในการเรียนรู้ และแน่นอนส่งผลต่อชีวิตของเด็กๆ

ข้อคิดสองประการที่ควรกล่าวถึงเกี่ยวกับ ILE ประการแรก ความยุ่งยากในการใช้ “การเรียนรู้” ในบริบทการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ เพราะจุดประสงค์มิได้อยู่ที่การได้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเสมอไป บางครั้งผู้ชมต้องการเล่น พักผ่อน และสนุกหรือการได้ออกมาพบปะผู้คน บางครั้งผลต่อเนื่องของประสบการณ์ไม่ได้เห็นอย่างเด่นชัด และยากที่ขับเคลื่อน ส่วนในบริบทอื่นๆ การเรียกรู้มักมีลักษณะการจัดการอย่างเป็นลำดับโดยครู ผู้รู้ หรือครอบครัว ด้วยเหตุนี้ การเรียนรู้ (ในความหมายทั่วไป) อาจเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ และการเรียนรู้ในความหมายเช่นนั้นไม่ใช่เป้าหมายของการอยู่ในบริบทการเรียน รู้อย่างไม่เป็นทางการ ประการที่สอง ILEs ไม่จะเป็นต้องเป็นสถานทีที่มีการจัดเตรียมหรือเป็นองค์ประกอบถาวร เพราะอาจเพียงปฏิสัมพันธ์ทางสังคม อย่างเช่น ผู้สอนมุสลิมที่สอนให้เด็กผู้ชายจดจำบางบทตอนจากคัมภีร์อังกุรอานถือได้ว่า เป็นชั่วขณะของชั้นเรียน หรือแม่ที่ช่วยลูกของเธอในการทำอาหารหรืองานครับ บรรยากาศเช่นนั้นมีลักษณะเป็นบริบทการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการด้วย ฉะนั้น ILEs จึงมีธรรมชาติของกิจกรรมทางสังคม หรือการเรียนรู้มีสถานภาพที่มากไปกว่าสถานที่เฉพาะ เราอาจสรุปว่าข้อคิดแรกคือสิ่งที่เรียกว่าการเรียนรู้ และข้อคิดที่สองคือสิ่งที่เรียกว่าสภาพแวดล้อมหรือบริบท และเป็นเรื่องยากที่จะกล่าวอย่าง “ฟันธง” ถึงความหมายของ ILEs แต่ความหมายจะต้องมากไปกว่าพิพิธภัณฑ์อย่างเข้าใจกันทั่วไป
นอกจากนี้ ดังจะเห็นได้ว่าครอบครัวมองหาโอกาสของการเรียนรู้และการพักผ่อนหย่อนใจมาก ยิ่งขึ้น พวกเขาก็ใฝ่หา ILEs มากขึ้นด้วยเช่นกัน (Borun, Cleghorn, & Garfield, 1995) ทำไม? พ่อแม่หลายคู่มองว่าการเยี่ยมชมสถานที่สักแห่งเป็นประสบการณ์การศึกาของลูกๆ ในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และศิลปะ จากวัตถุจริงหรือผู้เชี่ยวชาญ ในขณะที่พ่อแม่อีกจำนวนไม่น้อยต้องการสร้างความใกล้ชิดภายในครอบครัว ด้วยการใช้เวลาร่วมกัน สร้างประสบการณ์ร่วมกัน เช่น การใช้เวลาในช่วงหยุดพักร้อนที่ควบคู่ไปกับการศึกษา และอีกหลายครอบครัวมองว่าการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์คือากรมีส่วนร่วมกับกิจกรรม ของชุมชน หรือกระทั่งมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นพลเมือง บริบทและความต้องการทบทวีมากขึ้น พ่อแม่พิจารณากิจกรรมว่าเป็นช่องทางของการส่งเสริมบุคลิกภาพ ความเหนี่ยวแน่นภายในครอบครัว หรือตัวตนทางวัฒนธรรม การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมในชิคาโก และพิพิธภัณฑ์ศิลปะสัมยใหม่นิวยอร์ก สร้างองค์ความรู้ต่างๆ ให้กับเด็กได้พอๆ กับการเยี่ยมชมเทพีเสรีภาพหรืออนุสรณ์สถานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ที่จะกระตุ้นความรู้สึกของความเป็นชาติและศาสนา ทั้งนี้ ต้องพึงระลึกว่า ไม่ใช่ว่าทุกครอบครัวจะมีค่านิยมในการใช้ประโยชน์จาก ILEs ดังที่กล่าวมาเสมอไป ครอบครัวอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่คุ้นชินกับ ILEs ในพื้นที่ หรือไม่ได้ใส่ใจต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการศึกษาของลุกๆ หรือการไม่ได้ใส่ใจต่อกิจกรรมของชุมชน กลุ่มบุคคลเช่นว่านี้คงจะเลี่ยงการเข้าชมพิพิธภัณฑ์เป็นอน่ (Hood, 1983) การวิจัยกลุ่มคนที่เลี่ยงการเยี่ยมชมแหล่งการเรียนรู้ย่อมมีความสำคัญไม่ น้อย อย่างไรก็ตาม ในบทนี้ ประเด็นของการพูดคุยจะเกี่ยวข้องกับการศึกษาในพิพิธภัณฑ์และพัฒนาการของเด็ก พร้อมไปกับการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและครอบครัวในเชิงสังคม การระลึกรู้ และการพัฒนาด้วยลักษณะต่างๆ ของสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ
สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ หรือ ILEs เป็นศัพท์ที่ยากต่อการนิยาม แต่อย่างน้อยที่สุดเราเข้าใจตรงกันได้ว่าเป็นโอกาสของการเรียนรู้ที่ไม่ เหมือนกับการเรียนในชั้นเรียนที่โรงเรียน ตัวอย่างเช่น Resnick (1987) ได้เขียนไว้ว่า การเรียนนอกโรงเรียนเป็นการพยายามสร้างความสำนึกร่วมเป็นเครื่องมือในการ สร้างชุดเหตุผลที่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ซึ่งเป็นลักษณะที่ตรงข้ามกับการเรียนรู้โดยตัวบุคคล และการเรียนรู้ที่รับทราบกันทั่วไปในโรงเรียน แต่ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในโรงเรียนหรือพิพิธภัณฑ์ ในบางครั้งบางสถานการณ์ ชุดการเรียนรู้ทั้ง 2 อย่างมีการลำดับและวางแผนไม่มากก็น้อย และมีความเป็นทางการไม่มากก็น้อยเช่นกัน ILEs จึงยากที่จะนิยาม เพราะเป็นคำที่มีความหายที่กว้างและนำไปสู่ผลที่แตกต่างกันไป การไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติสามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ (S.Kaplan, 1995) แต่สิ่งนั้นคือการเรียนรู้หรือไม่ การฝึกเนตรนารีที่ทำให้เด็กพัฒนาทักษะการจัดการและสำนึกพลเมือง แต่สิ่งนี้คือการเรียนรู้หรือไม่ (Edwards, 1994) การเข้าชมอนุสรณ์สถานเวียดนามทำให้คนจำนวนต้องเสียน้ำตา แต่สิ่งนี้คือการเรียนรู้หรือไม่

อย่างไรก็ดี ลักษณะสำคัญ 2 ประการที่จะบอกชี้ถึงความเป็น ILEs ประการแรก ILEs จะเปิดช่องทางให้ผู้เยี่ยมชมเกิดสัมพันธภาพทางสังคม วัตถุในพิพิธภัณฑ์ได้รับการเลือกในฐานะที่เป็นวัตถุที่มีคุณค่าในวัฒนธรรม หนึ่ง ไม่ว่าวัตถุจะเกี่ยวข้องกับความเป็นศิลปะ วิทยาศาสตร์ หรือประวัติศาสตร์ ในขณะเดียวกัน วัตถุเหล่านั้นย่อมสัมพันธ์กับบริบททางการเมืองและสังคม ซึ่งสะท้อนออกมาในตัวเลือกจากวัตถุทั้งความเป็นท้องถิ่นและความเป็นชาติ นอกจากนี้ ILEs ยังโน้มนำผู้ชมเข้าไปสู่ความรู้สึกถึงสำนึกทางตัวตนและการมีส่วนร่วมของ กลุ่มและค่านิยมเฉพาะกลุ่ม แต่ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนหรือพิพิธภัณฑ์ล้วนสร้างการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม ประการที่สอง ILEs เป็นสถานที่กระตุ้นให้เกิดการสำรวจและการค้นหาความรู้ การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเลือกที่จะปฏิบัติสิ่งใดหรือไม่นั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นที่โรงเรียน หากแต่ว่าบ่อยครั้งนักเรียนมักไม่มีโอกาสเลือก ในขณะที่ในพิพิธภัณฑ์ ผู้ชมมีโอกาสที่จะเลือกเส้นทางการเดินชมของตนเอง เลือกระยะของการเข้าไปมีส่วนร่วม หรือกระทั่งกลุ่มสังคมที่จะเข้าไปเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ ดังนั้น การเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์มีอิสระมากกว่าและมีการบังคับน้อยกว่าเช่นกัน

ปัญหาของการกล่าวถึง ILEs สัมพันธ์กับการนิยามคำว่าการเรียนรู้ แต่ประเด็นปัญหาอีกประการหนึ่งคือ เส้นแบ่งระหว่างการเรียนรู้กับการพัฒนา การศึกษา และความบันเทิง การจดจำข้อมูลและความทรงจำต่อประสบการณ์ รวมถึงความรู้ที่ได้เพิ่มเติมและสิ่งที่งอกเงยจากการเข้าชมในครั้งนั้น แม้ว่าการจัดแบ่งประเภทต่างๆ ดังที่กล่าวจะมีความยากลำบาก แต่โดยทั่วไป ลักษณะของ ILEs เน้นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับวัตถุและประสบการณ์มากกว่าคำบรรยาย ตรงนี้อาจจะเป็นเส้นแบ่งระหว่างการเรียนที่โรงเรียนและการเรียนนอกโรงเรียน ILEs เปิดประสบการณ์ให้กับเด็กสัมผัสกับวัตถุต่างๆ และปล่อยให้เด็กวางวัตถุประสงค์ในการสำรวจ ค้นหา และเรียนรู้ด้วยตัวเด็กเอง Falk และ Dierking (1998) ชอบที่จะใช้คำว่า การเรียนรู้อย่างเป็นอิสระ (free-choice learning) ในการนิยามการเรียนอย่างไม่เป็นทางการ เพราะผู้ชมเป็นผู้เลือกและควบคุมสิ่งต่างๆ ใน ILEs Paris (1997) อธิบายการกระตุ้นการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์สัมพันธ์กับความกระตือรือร้นภายใน ลักษณะเช่นนี้กินความถึงการสร้างความหมายด้วยตนเอง การเลือก การควบคุม รวมไปถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมและการสนทนาในรูปแบบต่างๆ การปรับเปลี่ยนความท้าทายอย่างต่อเนื่อง และผลที่ได้รับ ทั้งหมดนี้มาจากประสิทธิภาพของตนเอง
ณ จุดนี้ เราจะต้องกล่าวย้ำด้วยว่า แรงกระตุ้นภายในสามารถเกิดขึ้นในโรงเรียนอย่างเป็นทางการเช่นเดียวกัน วิธีการศึกษาจำนวนไม่น้อยย้ำให้ผู้เรียนตระหนักถึงสำนึกในการควบคุม ความรับผิดชอบ ความเป็นเจ้าของ และความร่วมมือต่างๆ ในสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ ตรงนี้เองเป็นจุดที่แยกให้เห็นอย่างชัดเจนระหว่างรูปแบบการเรียนรู้อย่าง เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โรงเรียนจะทำให้เด็กมีความสนใจต่อการศึกษามากขึ้น หากประยุกต์ใช้ลักษณะของILEs ดังที่ Gardner (1991) กล่าวไว้ว่า โรงเรียนจะดูเชื้อเชิญและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากได้รวบพิพิธภัณฑ์เข้าไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์ เขาได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และพิพิธภัณฑ์เด็กเป็น “แอ่งการเรียนรู้” ทั้งนิทรรศการ กิจกรรม และชิ้นงานที่ดึงเอาเด็กและเยาวชนให้เข้ามามีส่วนร่วม (p.202) โรงเรียนและพิพิธภัณฑ์สามารถประสานความร่วมมือเพื่อดึงจุดเด่นของแต่ละแห่ง มาใช้ให้เป็นประโยชน์ซึ่งกันและกัน (Paris & Ash. In press)

การพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งที่คนๆ หนึ่งได้เรียนรู้จากการเยี่ยมชม ILE ซักแห่งหนึ่งต้องเริ่มต้นด้วยการบรรยายสถานการณ์และประสบการณ์ที่จะเกิดขึ้น ภายในสิ่งจัดแสดง การพรรณาการรับรู้มีความสำคัญ เพราะวัตถุแบหนึ่งก่อให้เกิดปฏิกิริยาและประสบการณ์ในแบบหนึ่ง เช่น หากผู้ชมยืนอยู่บนเรือจำลองเรือขนทาสหรือมุดอยู่ใต้เหมืองถ่านกินจำลอง ฉากดังกล่าวนำไปสู่ปฏิกิริยาทางอารมณ์ กล่าวได้ว่า สถานการณ์ได้รับการออกแบบเพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดปฏิกิริยา คุณลักษณะของสิ่งจัดแสดงและการกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาของ ILEs นำไปสู่ความรู้ที่ได้เพิ่มเติม เพราะมาจากการหลอมรวมระหว่างความรู้และปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ การหลอมรวมระหว่างการเรียนรู้และพัฒนาการในประสบการณ์นี้คือแก่นแกนสำคัญของ ทฤษฎีการเรียนรู้ที่อิงต่อสถานการณ์ (Lave & Wenger, 1991) และการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ (Rogoff, 1990) และยังสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ ILEs กับทฤษฎีพัฒนาการร่วมสมัย

การศึกษา ILEs ควรสนใจมากไปกว่าการกระตุ้นและปฏิกิริยาที่ตอบสนอง การศึกษาควนกินความไปถึงการพิจารณาแรงจูงใจของบุคคลในสถานการณ์และวิธีการ ที่พวกเขาสร้างความหมาย จุดนี้เป็นการผนึกรวมระหว่างทฤษฎีทาสังคมและมานุษยวิทยาที่ว่าด้วยพฤติกรรม กับทฤษฎีการสร้างความหมายอย่างสร้างสรรค์ ตัวอย่างเช่น ทฤษฎีแรงจูงใจในเด็กร่วมสมัยมักอยู่บนพื้นฐานของการฟันฝ่าจนบรรลุผลสำเร็จ และหลีกเลี่ยงความผิดหลาด แต่แรงจูงใจเหล่านี้ผูกกับหลักสูตรและลำดับการสอนของโรงเรียน อย่างไรก็ดี การทำความเข้าใจกับแรงจูงใจที่นอกเหนือไปจากบริบทโรงเรียนช่วยให้เราเข้าใจ ต่อการเรียนรู้ของเด็กในบริบทของ ILEs ว่าเหตุใดเกจึงเลือกที่จะใช้เวลากับกลุ่มบางกลุ่ม กับกิจกรรมบางอย่าง และกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้บางอย่างที่อยู่นอกเหนือไปจากบริบท โรงเรียน
เราต้องการให้ทำวิจัยบริบทของชุมชนในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น โดยก้าวข้ามบริบทของโรงเรียนและบ้าน (ครอบครัว) เพราะบริบทเหล่านี้จะนำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเรียนรู้ แรงจูงใจ และการขัดเกล่าทางสังคมที่มาจากประสบการณ์โดยตรงของเด็ก นอกเหนือไปจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและครอบครัวในพิพิธภัณฑ์ใน ช่วง 70 ปีที่ผ่านมา (ดู Hein & Alexander, 1998) แล้ว มีนักวิจัยจำนวนน้อยมากที่ให้ความสนใจกับการวิจัยที่เป็นระบบและสร้างทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องการสิ่งแวดล้อมอย่างไม่เป็นทางการ (เช่น Matusov & Rogoff, 1995; Schauble, Banks, Coates, Martin, & Sterling, 1996) หลักการสำคัญของความพยายามในการเปิดพื้นที่ใหม่นี้สัมพันธ์กับ (ก) เด็กใช้เวลาในการพักผ่อนหย่อนใจกับครอบครัวมากขึ้นใน ILEs (ข) เด็กในบริบท ILEs สัมพันธ์กับวัตถุและประสบการณ์ข้อมูลวัฒนธรรมที่จะนำไปสู่การสร้างและแบ่ง ปันความหมาย (ค) เด็กในบริบทของ ILEs มีโอกาสพบปะผู้เชี่ยวชาญ ครู ช่าง ศิลปิน และการสวมบทบาทต่างๆ สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถพบได้ในบริบทของบ้านและโรงเรียน (ง) ILEs เป็นสถานที่ที่ก่อให้เกิดการสานสัมพันธ์ของการเรียนรู้กันในครอบครัวและ ระหว่างชั่วอายุคน (จ) ILEs เป็นแหล่งที่จะสร้างทฤษฎีที่เพิ่มเติมจากทฤษฎีเกี่ยวกับกาเรียนรู้อย่างเป็น ทางการและแรงจูงใจในโรงเรียน (ฉ) ILEs ผลักดันให้เกิดการเรียนรู้กับเทคโนโลยี ด้วยการลงมือปฏิบัติและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และ (ช) ILEs สามารถส่งผลตลอดชีวิตต่อแรงบันดาลใจ ค่านิยม และความสนใจของผู้คน เราเน้นถึงพื้นที่สำหรับการวิจัยเกี่ยวกับเด็กในบริบทของ ILEs ซึ่งแสดงให้เห็นกระบวนการพัฒนาการและผลที่ได้รับเกิดขึ้นได้จากประสบการณ์ใน บริบทเหล่านี้ ขอบเขตของประเด็นในการวิจัยอาจพอแยกได้ดังนี้ (1) การเรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ (2) การเรียนรู้ที่มีการแนะแนว (3) การพัฒนาสุนทรียภาพ (4) ปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว (5) การใช้เทคโนโลยี และ (6) ประสบการณ์ส่วนบุคคลผันแปรไป
 
การเรียนรู้จากวัตถุ
หลักการและเหตุผลของพิพิธภัณฑ์หลายแห่งคือ วัตถุสะสม ไม่ว่าวัตถุจะเกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชาการใด บุคคล หรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ แต่สิ่งหนึ่งที่พิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่มีอยู่ร่วมกันวัตถุสะสมและการจัดแสดง ซึ่งเป็นฐานความสัมพันธ์กับสาธารณชน (Carr, 1991) ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมากว่า ทำไมความใส่ใจต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กที่เกี่ยวข้อง สัมพันธ์ และผ่านวัตถุจึงมีอยู่น้อยเหลือเกิน Tudge and Winterhoff (1993) อภิปรายแนวคิดของ Vygotskian ที่ว่าด้วยธรรมชาติพัฒนาการการระลึกรู้ที่สัมพันธ์กับสังคมและวัฒนธรรม ได้กล่าวไว้ว่า “สถาบันทางสังคมและวัฒนธรรม เทคโนโลยี และเครื่องมือ เป็นช่องทางให้เห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งผลจากกิจกรรมนั้นนำไปสู่พัฒนาการของเด็กต่อกระบวนการคิดที่สูงมากขึ้น…” (p.66) การวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการมองไปที่การเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ มองหาความสัมพันธ์เบื้องต้นที่เด็กๆ ได้รับจากการเข้าไปสัมผัส แต่การพิจารณาเช่นว่านี้มองข้ามความชำนาญของเด็กต่อการมองวัตถุที่มีมากขึ้น หรือการการสร้างตรรกะระหว่างการใช้ประโยชน์และสิ่งที่ได้รับ บางครั้ง การพัฒนาความชำนาญการใจ้ารพินิจวัตถุอาจอธิบายด้วย การ “วิจักษ์” พิพิธภัณฑ์หรือการ “วิจักษ์” ภาพที่เห็น (museum literacy or visual literacy) แต่จริงแล้วมีประเด็นที่ให้พิจารณามากมาย เด็กเล่นสัมผัส พูดคุย และใช้ประโยชน์จากสิ่งของที่ให้จับต้องได้อย่างไร พวกเขาเรียนรู้วัตถุที่จับต้องไม่ได้อย่างไร เด็กใช้ความรู้พื้นเดิมมาใช้วิเคราะห์ สนทนา และตั้งคำถามเพื่อสร้างกระจ่างกับวัตถุที่อยู่ตรงหน้าอย่างไร

คำตอบของคำถามคือแกนขอบเขตของการทำความเข้าใจวัตถุ (object-based epistemology) Evans, Poling and Mull อธิบายว่าแนวคิดดังกล่าวเข้ามาสัมพันธ์กับพิพิธภัณฑ์ตั้งแต่ปลายช่วงศตวรรษ ที่ 19 ความสนใจเกี่ยวข้องกับเรื่องราวธรรมชาติของวัตถุในพิพิธภัณฑ์และเรื่องราว ทางวัฒนธรรม ในส่วนแรกคือความเป็นวิชาการของพิพิธภัณฑ์ ส่วนหลังคือสถานการณ์ทางสังคมในชั้นของการตีความวัตถุ ขั้วตรงข้ามนี้ได้รับการอธิบายด้วยทฤษฎี 2 ชุดในแง่ของการสร้างความหมายหรือบริบทของวัตถุ (Lave, 1993) อาจกล่าวได้ว่า เด็กต้องเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งเรื่องราวธรรมชาติและวัฒนธรรมของวัตถุ ฉะนั้น สิ่งที่เราจ้องสนใจไม่ใช่เพียงแต่การสังเกตและการซึมซับต่อวัตถุ แต่เราจะต้องสนใจต่อวาทกรรมที่แวดล้อมวัตถุเหล่านั้นด้วย

นักการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ทราบดีว่าวัตถุเป็นเพียงจุดเริ่มต้นไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ของการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ เพราะวัตถุกระตุ้นให้เกิดการคิดและการวิพากษ์ ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ วัตถุกลายเป็นนัยของความทรงจำเชิงสถาบันของเหตุการณ์ที่ผ่านมา แต่วัตถุนั้นกลับสัมพันธ์กับความทรงจำส่วนตัวที่สร้างขึ้นใหม่ในขณะนั้นเช่น กัน การพินิจพิเคราะห์วัตถุปล่อยให้ผู้ชมสร้างความทรงจำส่วนตัว และกลายเป็นเจ้าของประสบการณ์นั้น จากนั้น แบ่งปันเรื่องราวสู่ผู้อื่นๆ Gurian (1999) กล่าวว่า

สิ่งที่ผมจะกล่าวต่อไปในบทความนี้ไม่ใช่การมองข้ามความสำคัญของวัตถุพิพิธภัณฑ์ และการดูแล หากแต่ผมต้องการที่จะบอกว่ามันมีสิ่งที่อยู่แวดล้อมวัตถุและมีความสำคัญเช่น กัน ทั้งเรื่องราวและวิธีการที่พิพิธภัณฑ์บอกเล่า วัตถุในฐานะที่เป็นสิ่งที่จับต้องได้ วัตถุได้เปิดโอกาสในการสร้างความหมายและกำหนดชุดความทรงจำ การครอบครองเรื่องราวจึงเป็นจุดในการพิจารณามากไปกว่าตัวชิ้นวัตถุเอง (หน้า 2)

มโนทัศน์เรื่อง ราวสำคัญอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาความรู้ว่ามาจากวัตถุ เพราะนักการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ทราบเป็นอย่างดีว่าวัตถุที่จัดแสดงอาจตกอยู่ ในสภาพของข้อเท็จจริงที่อยู่บนหน้ากระดาษ การจัดแสดงวัตถุจำนวนไม่น้อยที่ออกแบบมาเพื่อนำไปสู่การสร้างเรื่องเดี่ยว ในขณะที่อักหลายแห่งได้ปล่อยให้ผู้ชมสร้างเรื่องราวของเขาและเธอที่เชื่อม โยงกับวัตถุนั้น Roberts (1997) อธิบายว่านิทรรศการที่กล่าวถึง Linnaeus (ระบบการศึกษาพฤกษศาสตร์) ณ สวนพฤกษศาสตร์ชิคาโก ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อบอกเล่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดแบ่งประเภทในทางพฤกษ ศาสตร์ แต่เป็นการเรียงร้อยเรื่องราวในการแก้ปัญหา นิทรรศการสร้างขึ้นด้วยแนวคิดของ Bruner (1986) ที่กล่าวถึงวิธีการสรางความหมายเชิงพรรณนา และให้ผู้ชมเรียนรู้ที่จะสร้างเรื่องเล่าเกี่ยวกับวัตถุด้วยตนเอง “การรู้จักที่จะสร้างความหายคือหัวใจของงานพิพิธภัณฑ์ และการบอกเล่าได้สร้างหนทางให้ก้าวแรกในการเปิดพิพิธภัณฑ์สู่ความหลากหลาย ของ “เสียง” หรือการบอกเล่า และมุมมองที่แตกต่างออกไป (p.152) เราเชื่อมั่นอย่างมากว่าการเรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุด้วยการสร้างเรื่องเป็น สิ่งที่ควรศึกษาเป็นอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมของ ILEs คำถามเกี่ยวกับการพัฒนาว่าเด็กในช่วงวัยและพื้นหลังที่ต่างกันจะสร้างเรื่อง เล่าเกี่ยวกับวัตถุไปอย่างไร การวิจัยเชิงพัฒนาการเกี่ยวกับความเข้าใจของเด็กในแง่วิชาการ คุณค่าและความหมายเชิงสุนทรียะ และพื้นที่ของคนๆ หนึ่งต่อเรื่องราว เรื่องเล่าเหล่านี้คือเส้นใยที่จะถักทอเด็กเข้าไปในเรื่องราวธรรมชาติและ วัฒนธรรมของวัตถุ ข้อมูลและการวิเคราะห์เหล่านี้จะนำไปสู่ความเข้าใจในการรับรู้และพัฒนาการ ทางสังคมของเด็ก

ความอยากรู้ การรับข้อมูล และการสร้างความหมาย
วัตถุในพิพิธภัณฑ์หาได้ยากและผิดแปลกไปจากชีวิตประจำวัน จึงทำให้วัตถุเหล่านั้นกลายเป็นสิ่งสะสมและทำไมพิพิธภัณฑ์ถึงเคยได้รับการ ขนานานามว่า “โถงแห่งความอยากรู้อยากเห็น” (Weil, 1995) คนโดยส่วนใหญ่เห็นด้วยว่า ILEs เป็นสถานที่ที่น่าสนใจเพราะที่เหล่านี้เก็บรักษาวัตถุที่มาจากความอยากรู้ และการสำรวจ คำถามที่เกิดขึ้นกับผู้ชมเป็นหลักฐานยืนยันได้ดี : อเวจีคืออะไร? นั่นนะศิลปะจริงๆ หรือ? ทำไมสัตว์ถึงทำอย่างนั้น? คำถามเผยให้เห็นว่าวัตถุเข้าไปกระตุ้นความอยากรู้ และกลายเป็นช่องทางให้ ILEs ใช้ความอยากรู้อยากเห็นดังกล่าวในการแนะแนวการเรียนรู้ หากกล่าวให้ถึงที่สุด พื้นฐานของการเรียนรู้เชิงการแนะแนวคือการผลักดันให้เด็กค้นหาความรู้ บางครั้งเด็กตั้งคำถาม แต่สิ่งที่เด็กได้อาจตกผลึกอยู่ภายในหรือเพิ่มมุมมองเชิงวิเคราะห์ การนำคำถามของเด็กมาเปิดเป็นประเด็น และสนทนาเกี่ยวกับวัตถุจะช่วยให้การอรรถาธิบายมีความชัดเจนมากขึ้น (Callanan, Jipson & Soennichsen, chapter 15, this volume) เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าพื้นฐานของการเรียนเชิงการแนะแนวในโรงเรียนปรากฏใน บริบทของ ILEs เช่นกัน และหากเราศึกษาบริบททั้งสอง เราจะได้ข้อมูลที่มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย

เรารู้ต่อไปอีกว่าเด็กจะมีความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น ริเริ่มอยากเรียนรู้มากขึ้น เมื่อข้อมูลที่จะได้มาใหม่เชื่อมโยงกับความสนใจของพวกเขา (Renninger, 1992) ILEs เปิดโอกาสให้เด็กให้ความสนใจของตนเองผนวกเข้ากับทรัพยากรเพื่อให้ปรารถนาที่ จะสืบค้น ครูในห้องเรียนอาจพบความลำบากที่จะกระตุ้นให้เด็กอยากรู้อยากเห็นเรื่องของ เพชรและไดโนเสาร์ แต่การเข้าชมพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยากลับเปิดโอกาสนั้นมากกว่า พิพิธภัณฑ์อีกจำนวนมากพยายามสร้างประสบการณ์สำรวจและค้นหาด้วยตนเอง ผู้ชมจะเข้าไป “เล่น” กับชิ้นงาน เช่น สิ่งจัดแสดงที่โลกแห่งการสำรวจ (Exploratorium) ในซานฟรานซิสโก เชื้อเชิญให้ผู้เยี่ยมชมหรือกลุ่มผู้ชมเล็ก “เล่น” กับวัตถุ เช่น เลือกระจกแท่งผลึกที่มีรูปลักษณ์แตกต่างไปรอบๆ แหล่งกำเนิดแสง เงื่อนไขเช่นนี้ปล่อยให้ผู้ชมตัวคำถามและหาคำตอบจากการลงมือทดลอง

การวิจัยที่ว่าด้วยการเรียนรู้ที่อิงกับปัญหาและวิชาการที่อิงกับการสำรวจเป็น ปัจจัยหลักที่จะทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมโดยตลอด (Blumenfeld et al., 1991; Krajcik et al., 1998) เงื่อนไขเหล่านี้ทรงพลังอย่างมากในการกำหนดลักษณะการเรียนรู้ (ก) คำถามจะหยั่งไปถึงปัญหาในโลกของความเป็นจริงที่จะกระตุ้นไปสู่การหาคำตอบ (ข) การเกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในระหว่างการสำรวจ (ค) วิธีการมากมายที่จะสาธิตความรู้และแสดงเนื้อหาวิชาการ ทั้งด้วยการสร้างวัตถุสิ่งของหรือกิจกรรมการเรียนรู้แบบอื่นๆ (ง) การใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่กระตุ้นให้คิดมากกว่าจะเป็นการให้ “คำตอบสุดท้าย” (จ) ทางเลือกบางอย่างหรือการกำหนดหัวข้อที่จะให้เรียนรู้ และวิธีการจะต้องนำไปสู่การสำรวจค้นหา (ฉ) การใช้สื่อและรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย และ (ช) การใช้เครื่องมือเทคโนโลยี Barron et al. (1998) ย้ำถึงความสำคัญของการใช้ระบบการเรียนรู้ที่เป็นการตั้งคำถาม และเปิดโอกาสในการคิดทบทวนระหว่างการค้นหา ทั้งนี้ กิจกรรมเน้นถึงการพึ่งตนเองและความเข้าใจ มากกว่าการเน้นถึงการทำกิจกรรมนั้นให้เสร็จสิ้นลงไป

เราเชื่อว่า ILEs ที่จัดแสดงวัตถุและกำหนดเงื่อนไขของประสบการณ์ที่จะกระตุ้นความอยากรู้อยาก เห็นของเด็ก และสนับสนุนการเรียนรู้เชิงแนะแนว การวิจัยใน ILEs ต้องให้ข้อมูลต่อผู้ปกครองและนักการศึกษาเกี่ยววิธีการที่มีประสิทธิภาพและ รูปแบบการเรียนรู้อื่น แก่นหนึ่งของ ILEs คือวิธีการหลากหลายที่จะก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กและวัตถุ ทั้งนี้ สัมพันธภาพนี้จะเป็นไปตามความรู้และความสนใจของแต่ละคนอย่างที่ Gardner (1991) ได้กล่าวไว้ นอกจากนี้ ILEs ปล่อยให้ผู้คนเลือกสิ่งแวดล้อมที่ตนเองต้องการเข้าไปเรียนรู้ และปล่อยให้ผู้ชมเป็นนายของตัวเอง ฉ
วันที่เผยแพร่ครั้งแรก: 29 ธันวาคม 2554
วันที่แก้ไข: 22 มีนาคม 2556