อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 24, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 25, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 24-25, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 4, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 5, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 4-5, วัตถุ-จารึกบนหิน, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกที่เสาหอระฆัง, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร นครปฐม, เรื่อง-การบูชาพระพุทธเจ้า, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2562 20:44:00 )
ชื่อจารึก |
จารึกที่เสาหอระฆัง พระปฐมเจดีย์ หอที่ ๑ แผ่นที่ ๒ |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
จารึกที่เสาหอระฆัง พระปฐมเจดีย์ ๒ |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ไทย, บาลี |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๖ บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หิน |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นรูปสี่เหลี่ยม |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง ๔๓.๕ ซม. ยาว ๒๒.๕ ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
ในหนังสือ จารึกที่องค์พระปฐมเจดีย์ กำหนดเป็น “ขท. ๒” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
หอระฆัง หอที่ ๑ (นับจากวิหารตะวันออกเวียนขวากับองค์พระเจดีย์) วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
หอระฆัง หอที่ ๑ (นับจากวิหารตะวันออกเวียนขวากับองค์พระเจดีย์) วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม |
พิมพ์เผยแพร่ |
จารึกที่องค์พระปฐมเจดีย์ (กรุงเทพฯ : จุฑารัตน์การพิมพ์, ๒๕๒๘), ๒๕๙-๒๗๓. |
ประวัติ |
หอระฆังบริเวณระเบียงพระปฐมเจดีย์มีจำนวน ๒๔ หอ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างในสมัย ร. ๔ โดยแล้วเสร็จในสมัย ร. ๕ ต่อมาในสมัย ร. ๖ มีการซ่อมแซมเนื่องจากชำรุดทรุดโทรมลงมาก จารึกที่เสาหอระฆังทุกหอนั้น มีจารึก ๑ แผ่น ในทุกเสาของหอระฆัง ดังนั้น ใน ๑ หอ จึงมีจารึกจำนวน ๔ แผ่น ทุกแผ่นมีข้อความ ๖ บรรทัด ๒ บรรทัดแรกเป็นภาษาบาลี อีก ๔ บรรทัดเป็นคำแปลของภาษาบาลี ในทุกๆ หอระฆังนั้น จารึก ๓ แผ่นแรก จะมีท่อนบนเป็นจารึกอักษรขอม ภาษาบาลี ท่อนล่างเป็นโคลงไทย โคลง ๔ สุภาพ ซึ่งเป็นคำแปลของภาษาบาลีท่อนบน ส่วนจารึกแผ่นที่ ๔ ของหอระฆังแต่ละหลังนั้น จะมีท่อนแรกเป็นจารึกภาษาบาลีและท่อนล่างเป็นภาษาไทยเหมือนแผ่นที่ ๑-๓ แต่จะจารด้วยอักษรมอญ ธรรมอีสาน หรือไทยน้อย คละกันไป |
เนื้อหาโดยสังเขป |
เสียงระฆังจะช่วยเรียกเทวดาและมนุษย์ มาบูชาพุทธเจดีย์แห่งนี้ |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
ตามประวัติการสร้างหอระฆังซึ่งมีข้อสันนิษฐานว่า น่าจะเริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ โดยแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ ๕ และมีการปฏิสังขรณ์ในรัชกาลที่ ๖ ดังนั้น จารึกนี้จึงน่าจะถูกสร้างขึ้นภายในช่วงเวลาดังกล่าว |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย: พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร (๒๕๔๘) ; นวพรรณ ภัทรมูล (๒๕๕๖), แก้ไขเพิ่มเติม, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., จาก:
เจษฎ์ ปรีชานนท์, “จารึกที่หอระฆัง ณ ระเบียงองค์พระปฐมเจดีย์,” จารึกที่องค์พระปฐมเจดีย์ (กรุงเทพฯ : จุฑารัตน์การพิมพ์, ๒๕๒๘), ๒๕๙-๒๗๓.
|