จารึกวัดโพธิ์หอม

จารึก

จารึกวัดโพธิ์หอม

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2566 20:27:40 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดโพธิ์หอม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

สท. 35, แผ่นจารึกดินเผา อักษรขอมและไทย ได้มาจากวัดโพธิ์หอม ตำบลดงเดือย อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย, หลักที่ 96 จารึกวัดโพธิ์หอม

อักษรที่มีในจารึก

ขอมอยุธยา

ศักราช

พุทธศักราช 2225

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 24 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 10 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 14 บรรทัด

วัตถุจารึก

ดินเผา

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 16.5 ซม. สูง 27 ซม. หนา 2 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 35”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (พฤษภาคม 2507) กำหนดเป็น “แผ่นจารึกดินเผา อักษรขอมและไทย ได้มาจากวัดโพธิ์หอม ตำบลดงเดือย อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 กำหนดเป็น “หลักที่ 96 จารึกวัดโพธิ์หอม”
4) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กำหนดเป็น “จารึกวัดโพธิ์หอม”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดโพธิ์หอม ตำบลดงเดือย อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย

ผู้พบ

กองโบราณคดี

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (พฤษภาคม 2507) : 68-71.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 65-68.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 2529), 152-156.

ประวัติ

ศิลาจารึกหลักนี้ เจ้าหน้าที่กองหอสมุดแห่งชาติได้เดินทางขึ้นไปสำรวจ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2515 พบอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความที่จารึกเป็นเรื่องมหาธรรมเถียรและยศเถียร พี่น้อง 2 คน ได้สร้างพระพุทธรูป สร้างวิหารไว้ในพระพุทธศาสนา แล้วตั้งความปรารถนาไว้ในอนาคตกาล

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกด้านที่ 2 บรรทัดที่ 5 บอกพุทธศักราช 2225

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ประสาร บุญประคอง, “คำอ่านแผ่นจารึกดินเผา อักษรขอมและไทย ได้มาจากวัดโพธิ์หอม ตำบลดงเดือย อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย,” ศิลปากร 8, 1 (พฤษภาคม 2507) : 68-71.
2) ประสาร บุญประคอง, “จารึกวัดโพธิ์หอม,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 152-156.
3) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 96 จารึกวัดโพธิ์หอม,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 65-68.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)