จารึกสมิงสิริมะโนราชา

จารึก

จารึกสมิงสิริมะโนราชา

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 12 ส.ค. 2566 16:11:37 )

ชื่อจารึก

จารึกสมิงสิริมะโนราชา

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

กท. 27, จารึกลานทองแดง อักษรและภาษารามัญ, หลักที่ 53 จารึกลานทองแดง อักษรและภาษามอญ

อักษรที่มีในจารึก

มอญโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 2048

ภาษา

มอญโบราณ

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 12 บรรทัด ด้านละ 6 บรรทัด

วัตถุจารึก

ทองแดง

ลักษณะวัตถุ

แผ่นทองแดงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะเดียวกับใบลาน

ขนาดวัตถุ

กว้าง 9.05 ซม. ยาว 53 ซม. หนา 0.02 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “กท. 27”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2504) กำหนดเป็น “จารึกลานทองแดง อักษรและภาษารามัญ”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 53 จารึกลานทองแดง อักษรและภาษามอญ”
4) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 กำหนดเป็น “จารึกสมิงสิริมะโนราชา”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2504) : 119-122.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 95-98.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 140-157.
4) จารึกในประเทศไทย เล่ม 2, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2559), 182-192.

ประวัติ

จารึกนี้ได้รับการตีพิมพ์ทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งแรกตีพิมพ์ในวารสารศิลปากร ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2504 ต่อมา สำนักนายกรัฐมนตรีได้จัดพิมพ์ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 พ.ศ. 2508 โดยให้ชื่อว่า “หลักที่ 53 จารึกแผ่นทองแดง อักษรและภาษามอญ” ผู้อ่าน-แปล คือ นายฉ่ำ ทองคำวรรณ ต่อมา ใน พ.ศ. 2533 ได้รับการตีพิมพ์อีกครั้งในหนังสือ จารึกในประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า “จารึกสมิงสิริมะโนราชา” ซึ่งนายเทิม มีเต็ม และ นายจำปา เยื้องเจริญ เป็นผู้อ่าน-แปล

เนื้อหาโดยสังเขป

พ.ศ. 2048 สมิงสิริมโนราชาและตะละสุวรรณวดีผู้เป็นภรรยา ได้สถาปนาพระฆรเจดีย์ขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏบนจารึกด้านที่ 1 ซึ่งระบุ พ.ศ. 2048

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “คำอ่านจารึกลานทองแดง อักษรและภาษารามัญ,” ศิลปากร 5, 3 (กันยายน 2504) : 57-58.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 53 จารึกลานทองแดง อักษรและภาษามอญ,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 95-98.
3) เทิม มีเต็ม และจำปา เยื้องเจริญ, “จารึกสมิงสิริมะโนราชา,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 : อักษรปัลลวะ อักษรมอญ พุทธศตวรรษที่ 12-21 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 119-122.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508)