จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

ชุดคำค้น 20 คำ

อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 17, ยุคสมัย-จารึกอาณาจักรหริภุญชัย, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างวัดหรือศาสนสถาน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างเจดีย์, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-จารพระไตรปิฏก, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างอาสน์สงฆ์, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-อุปสมบท, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรหริภุญชัย, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรหริภุญชัย-พระเจ้าสววาธิสิทธิ, บุคคล-พระเจ้าสววาธิสิทธิ, บุคคล-มหานาม, บุคคล-กัจจายะ, บุคคล-ราชคุรุ,

จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ 1 (วัดดอนแก้ว)

จารึก

จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ 1 (วัดดอนแก้ว)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2566 16:54:27 )

ชื่อจารึก

จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ 1 (วัดดอนแก้ว)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลพ. 1, Inscription de Văt Don, Vat Don, จารึกจากวัดดอน, ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ./1, ารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ (วัดดอนแก้ว)” (ลพ./1, พช. 19, 353), ศิลาจารึกวัดดอน

อักษรที่มีในจารึก

มอญโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 17

ภาษา

บาลี, มอญโบราณ

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 35 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 18 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 17 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 88 ซม. สูง 156 ซม. หนา 47.7 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. 1”
2) ในวารสาร Bulletin de l’École Française d’Éxtrême-Orient XXV (1925) กำหนดเป็น “Inscription de Văt Don”
3) ในวารสาร Bulletin de l’École Française d’Éxtrême-Orient XXX (1930) กำหนดเป็น “Vat Don”
4) ในวารสาร โบราณคดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (กรกฎาคม 2515) กำหนดเป็น “จารึกจากวัดดอน”
5) ในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (พ.ศ. 2522) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ./1”
6) ในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (พ.ศ. 2533) กำหนดเป็น “จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ (วัดดอนแก้ว)” (ลพ./1, พช. 19, 353)
7) ในหนังสือ แย้มบรรยาย กำหนดเป็น “ศิลาจารึกวัดดอน”
8) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 กำหนดเป็น “จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ 1 (วัดดอนแก้ว)”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2460

สถานที่พบ

วัดดอน (วัดดอนแก้ว) ซึ่งอยู่ราว 250 เมตร ทางทิศตะวันออกของเมืองลำพูน ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

พิมพ์เผยแพร่

1) Bulletin de l’École Française d’Éxtrême-Orient XXV (1925) : 172-200.
2) Bulletin de l’École Française d’Éxtrême-Orient XXX (1930) : 6-105.
3) วารสารโบราณคดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (กรกฎาคม 2515) : 57-62.
4) วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2522), 8-13.
5) แย้มบรรยาย (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2523), 87-126.
6) จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 119-122.
7) วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533), 1-14.
8) จารึกในประเทศไทย เล่ม 2, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2559), 152-160.

ประวัติ

จารึกหลักนี้ถูกพบเมื่อ พ.ศ. 2460 โดยบัญชีทะเบียนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน ระบุว่า พบจารึกดังกล่าวที่วัดต้นแก้ว แต่ในบทความชื่อ “Liste des Chroniques et autres Documents Relatifs a l’Histoire du Laos Yuen Conservés à la Bibliothéque Nationale de Bangkok” ของ ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ (George Cœdès) ระบุว่าพบจารึกดังกล่าวที่วัดดอน ซึ่งอยู่ราว 250 เมตร ทางทิศตะวันออกของเมืองลำพูน ในบริเวณทิศตะวันออกของวัดต้นแก้ว บทความชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสารสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ (BEFEO) เล่มที่ 25 ค.ศ. 1925 (พ.ศ. 2468) ถือเป็นงานชิ้นแรกที่มีการตีพิมพ์คำอ่าน-แปลจารึกหลักนี้ ต่อมาท่านได้มอบสำเนาจารึกดังกล่าวให้ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต ฮัลลิเดย์ (Robert Halliday) เมื่อครั้งที่ท่านมาหอสมุดสำหรับพระนคร กรุงเทพฯ (ปัจจุบันคือ หอสมุดแห่งชาติ) หลังจากนั้นศาสตราจารย์ ชาร์ลส์ อ๊อตโต บล็ากเด็น (Charles Otto Blagden) ได้อ่านจารึกหลักนี้และให้ความคิดเห็นต่างๆ รวมถึงแก้ไขคำแปลบางส่วนของ ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต ฮัลลิเดย์ แล้วเขียนบทความ “Les Inscription Môn du Siam” ตีพิมพ์ในวารสารของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ (BEFEO) ปีที่ 30 ค.ศ. 1925 (พ.ศ. 2473) ต่อมา ใน พ.ศ. 2515 ศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงแปลบทความดังกล่าวลงในวารสารโบราณคดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 1-3 โดยจารึกหลักนี้อยู่ในเล่มที่ 1 ชื่อบทความว่า “ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่1” หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2522 กรมศิลปากรได้ตีพิมพ์ข้อมูลเกี่ยวกับจารึกดังกล่าวลงในหนังสือชื่อ “วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย” โดยเรียกว่า “ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ./1” ต่อมามีการตีพิมพ์คำแปลในส่วนที่เป็นภาษาบาลีพร้อมทั้งบทวิเคราะห์ในหนังสือ แย้มบรรยาย โดยศาสตราจารย์แย้ม ประพัฒน์ทอง ซึ่งพิมพ์เนื่องในงานฉลองปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในความอุปถัมภ์ของมหาเถรสมาคม หลังจากนั้นมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 ในปี 2529 โดยให้ชื่อว่า “จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ 1 (วัดดอนแก้ว)” ต่อมา มีการพิมพ์หนังสือวิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ซ้ำอีกครั้งใน พ.ศ. 2533 โดยใช้ชื่อว่า “จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ (วัดดอนแก้ว)”

เนื้อหาโดยสังเขป

(1) พระเจ้าสววาธิสิทธิ ทรงสถาปนาวัดเชตวันเมื่อพระชนมายุได้ 26 พรรษา ต่อมา เมื่อพระชนมายุได้ 31 พรรษา โปรดให้สร้างกุฏิ และเสนาสนะแด่ภิกษุสงฆ์ อีกทั้งจารพระไตรปิฎกไว้เป็นจำนวนมาก
(2) การสร้างพระเจดีย์ 3 องค์ ทางด้านหน้าของวัดเชตวัน โดยพระเจ้าสววาธิสิทธิ พระชายา 2 พระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ และพระโอรส โดยมีการกล่าวถึงบริเวณที่ตั้งของเจดีย์ ซึ่งเรียงกันจากทิศตะวันออกไปหาทิศตะวันตก
(3) การผนวชของพระเจ้าสววาธิสิทธิ และพระราชโอรส 2 พระองค์ ซึ่งมีพระนามว่า มหานาม และ กัจจายะ ตามลำดับ โดยพระมหาเถระนามว่า ราชคุรุ เป็นประธานในการผนวช ในขณะนั้นพระเจ้าสววาธิสิทธิทรงมีพระชนมายุได้ 32 พรรษา

ผู้สร้าง

พระเจ้าสววาธิสิทธิ

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากรูปอักษรมอญโบราณ ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอักษรที่ปรากฏบนศิลาจารึก ”มยเจดีย์” (Mayazedi) ของพระเจ้าจันสิตถา (Kyanzittha) (อักษรโรมัน Ky ในภาษาพม่าแทนเสียง /c/ ซึ่งเท่ากับ จ ในภาษาไทย) กษัตริย์พุกาม (พม่า) ซึ่งจารึก ไว้เมื่อ พ.ศ. 1628 และ 1630 ดังนั้นจารึกหลักนี้จึงน่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 เช่นเดียวกัน ในการกำหนดอายุจารึกหลักนี้ ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ เคยแสดงความคิดเห็นไว้ในบทความ “Liste des Chroniques et autres Documents Relatifs á l’Histoire du Laos Yuen Conservés á la Bibliotéque Nationale de Bangkok” ในวารสารของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ เล่มที่ 25 (EFEO : 1925) พ.ศ. 2468 ว่า ปีที่ปรากฏในจารึกตรงกับ พ.ศ. 1756 และ 1762 (แต่จากหลักฐานด้านต่างๆ ในปัจจุบัน ทั้งรูปอักษร และประวัติศาสตร์ศิลปะ ชี้ให้เห็นว่าน่าจะอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 17) อนึ่ง อาณาจักรพุกามมีการรับอิทธิพลด้านตัวอักษรไปจากมอญ เมื่อพระเจ้าอนิรุทธ (อโนรธามังฉ่อ) กษัตริย์พุกาม (พม่า) ทรงยกทัพไปตีเมืองสะเทิม (ถะทน หรือ สุธรรมวดี) ซึ่งเป็นราชธานีของหัวเมืองมอญฝ่ายใต้สำเร็จ พระองค์ทรงกวาดต้อนผู้คน ช่างฝีมือ ตลอดจนภิกษุสงฆ์ และคัมภีร์ทางพุทธศาสนาที่มีอยู่ในดินแดนดังกล่าวไปสู่พุกาม จึงเป็นเหตุให้วัฒนธรรมมอญแพร่หลายสู่พุกาม ทั้งนี้รวมไปถึงการใช้ตัวอักษรด้วย ในเรื่องการยืมตัวอักษรนี้ ศาสตราจารย์ เรอชินาล์ด เลอ เมย์ (Reginald Le May) กล่าวว่า พม่ารับวัฒนธรรมการเขียนหนังสือไปจากมอญ เมื่อราว พ.ศ. 1606 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าจันสิตถา ผู้ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าอนิรุทธ (อโนรธามังฉ่อ) นั่นเอง

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) George Cœdès, “Liste des Chroniques et autres Documents Relatifs à l’Histoire du Laos Yuen Conservés à la Bibliothéque Nationale de Bangkok,” Bulletin de l’École Française d’Éxtrême-Orient XXV (1925) : 189-200.
2) Okell John, A reference grammar of colloquial Burmese (Oxford : Oxford University Press, 1969), 16.
3) Robert Halliday, “Les Inscriptions Môn du Siam,” Bulletin de l’École Française d’Éxtrême-Orient XXX (1930) : 6-105.
4) จำปา เยื้องเจริญ, เทิม มีเต็ม และคงเดช ประพัฒน์ทอง, “จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ (วัดดอนแก้ว),” ใน วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2533), 11-14.
5) จำปา เยื้องเจริญ, เทิม มีเต็ม และคงเดช ประพัฒน์ทอง, “ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ./1,” ใน วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2522), 8-13.
6) เทิม มีเต็ม, “จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ 1 (วัดดอนแก้ว),” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 : อักษรปัลลวะ อักษรมอญ พุทธศตวรรษที่ 12-21 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 119-122.
7) ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล, “ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 1,” โบราณคดี 4, 1 (กรกฎาคม 2515) : 57-62.
8) แย้ม ประพัฒน์ทอง, “คำบรรยายการวิเคราะห์ วรรณคดีบาลี จากศิลาจารึกวัดดอน จังหวัดลำพูน,” ใน แย้มบรรยาย : บรวณาการสนองมุทิตาจิต ในงานฉลองปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในความอุปถัมภ์ของมหาเถรสมาคมและสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ชุตินธรมหาเถร) วัดสามพระยา 16 สิงหาคม 2523 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2523), 87-126.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-27, ไฟล์; LPh_0101_c และ LPh_0102_c)