อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 18, ยุคสมัย-จารึกอาณาจักรตามพรลิงค์, ยุคสมัย-จารึกอาณาจักรตามพรลิงค์-พระเจ้าจันทรภานุศรีธรรมราช, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินชนวน, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายสิ่งของ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2562 20:44:00 )
ชื่อจารึก |
จารึกวัดหัวเวียงเมืองไชยา ๒ |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
หลักที่ ๒๔ (ก.) ศิลาจารึกวัดหัวเวียง เมืองไชยา, จารึกที่ ๒๔ จารึกที่วัดหัวเวียง อำเภอไชยา |
อักษรที่มีในจารึก |
กวิ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ ๑๘ |
ภาษา |
บาลี |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๑๕ บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา ประเภทหินชนวน |
ลักษณะวัตถุ |
สี่เหลี่ยม |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง ๓๑ ซม. สูง ๗๐ ซม. หนา ๑๒ ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สฏ. ๓” |
ปีที่พบจารึก |
พุทธศักราช ๒๔๔๗ |
สถานที่พบ |
วัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
ผู้พบ |
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
หอพระสมุดวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
๑) ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ ๒ (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๗๒), ๔๑-๔๒. |
ประวัติ |
จารึกนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงได้มาจากวัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมกับจารึก สฏ. ๔ ขณะเสด็จไปตรวจราชการหัวเมืองชายทะเลภาคใต้ เมื่อรัตนโกสินทร์ศก ๑๒๓ (พ.ศ. ๒๔๔๗) เมื่อแรกพบศิลาจารึกนี้ปักอยู่ห่างจากวัดเวียงไปทางทิศตะวันตก ประมาณ ๑ เส้น ใกล้ผนังกำแพงซึ่งยาวไปตามทิศเหนือและใต้ ที่ใกล้จารึกปักอยู่นั้นมีเทวรูป ๑ องค์อยู่ทางเหนือ หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และมีศิลาจารึกอีกหลักหนึ่ง คือ จารึก สฏ. ๔ อยู่ไปทางทิศเหนือของเทวรูป ห่างประมาณ ๓๐ ศอก วางนอนอยู่ มีขนาดใหญ่กว่าจารึกที่ปักอยู่นั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โปรดเกล้าฯ ให้พระยาวรสิทธิ์เสวีวัตร์ (ใต้ฮัก) ซึ่งเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลชุมพรอยู่ในขณะนั้น จัดส่งขึ้นมา ณ กรุงเทพฯ พร้อมกันนั้นมีจารึกทั้งสองหลักกับพระพุทธรูปนาคปรกในพระวิหาร คือจารึก สฏ. ๓ สฏ. ๔ และ สฏ. ๙ พระยาวรสิทธิ์เสวีรัตน์ ได้ให้หลวงเสวีวรราช (แดง) ซึ่งเป็นนายอำเภอพุมเรียงอยู่ขณะนั้นนำขึ้นมาถวาย ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ศิลาจารึกซึ่งได้มาจากวัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี เมื่อถึงกรุงเทพฯ ได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๐๙ หอสมุดแห่งชาติได้ย้ายมาอยู่อาคารใหม่ที่ท่าวาสุกรี อาคารเก่าที่พระสมุดวชิราวุธจึงว่างลง ประกอบกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ต้องการใช้สถานที่พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน จัดแสดงพิพิธภัณฑ์ก่อนประวัติศาสตร์ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ จึงได้ย้ายจารึกซึ่งจัดแสดงอยู่ในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ไปเก็บรักษาไว้ที่อาคารหอพระสมุดวชิราวุธ คือ ตึกถาวรวัตถุข้างวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์นั่นเอง ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ กรมศิลปากรมีความประสงค์จะให้ศิลาจารึก ซึ่งจัดไว้เป็นโบราณวัตถุ ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตามกฎหมาย จึงได้ย้ายจารึกส่วนใหญ่ไปเก็บรักษา และตั้งแสดงในหมู่พระวิมาน ห้องอุตราภิมุข และห้องอื่นๆ ในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แต่จารึกบางหลักที่ยังมิได้อ่าน-แปลหรืออยู่ในระหว่างการศึกษาวิเคราะห์ ทางหอสมุดแห่งชาติได้ขอยืมไว้ เพื่อดำเนินการต่อไป ฉะนั้น จารึกกลุ่มนี้จึงได้ย้ายมาอยู่ที่อาคารหอพระสมุดวชิรญาณ ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ในบริเวณด้านหลังอาคาร ๑ หอสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรี จารึก สฏ. ๓ ซึ่งขณะนั้นยังมิได้อ่าน-แปล ได้ถูกนำมาเก็บรักษาในอาคารหอพระสมุดวชิรญาณด้วยเช่นกัน แต่จารึก สฏ. ๔ ซึ่งอ่าน-แปลและพิมพ์เผยแพร่แล้ว จึงเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ดังกล่าวข้างต้น ศิลาจารึก สฏ. ๓ นี้ใน ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ ๒ ลงพิมพ์แต่รูปภาพยังมิได้มีการอ่าน-แปล ฉะนั้น ในครั้งนี้จึงนับว่าเป็นการพิมพ์เผยแพร่คำอ่าน-แปลเป็นครั้งแรก |
เนื้อหาโดยสังเขป |
เริ่มต้นด้วยการกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้า จากนั้นกล่าวถึงการบริจาคทานของกลุ่มบุคคลที่มาชุมนุมกัน |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
- |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร และนวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., จาก: |