จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images
  • images
  • images

ชุดคำค้น 17 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 1595, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 16, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร-พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินชนวน, ลักษณะ-จารึกบนหลักสี่เหลี่ยม, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร-พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายที่ดิน, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-กัลปนา, เรื่อง-การสรรเสริญบุคคล-พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2, เรื่อง-การสรรเสริญบุคคล-ชเยนทรวรมัน, บุคคล-พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2, บุคคล-ชเยนทรวรมัน,

จารึกสด๊กก๊อกธม 2

จารึก

จารึกสด๊กก๊อกธม 2

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2567 15:18:14 )

ชื่อจารึก

จารึกสด๊กก๊อกธม 2

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 57 จารึกปราสาทสด๊กก๊อกธม ณ อรัญประเทศ, ปจ. 4, K. 235, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 25/11/2561

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 1595

ภาษา

สันสกฤต, เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 340 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 60 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 77 บรรทัด ด้านที่ 3 มี 84 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 119 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินชนวน

ลักษณะวัตถุ

หลักสี่เหลี่ยม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 43 ซม. สูง 191 ซม. หนา 32 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ปจ. 4”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 57 จารึกปราสาทสด๊กก๊อกธม ณ อรัญประเทศ”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 กำหนดเป็น “จารึกสด๊กก๊อกธม 2”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2463

สถานที่พบ

บริเวณปราสาทเมืองพร้าว (ปราสาทสด๊กก๊อกธม) ตำบลโคกสูง อำเภอโคกสูง (ข้อมูลเดิมว่า อำเภออรัญประเทศ) จังหวัดสระแก้ว

ผู้พบ

เจ้าอาวาสวัดโคกสูง ตำบลโคกสูง กิ่งอำเภอโคกสูง (ข้อมูลเดิมว่า อำเภออรัญประเทศ) จังหวัดสระแก้ว

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี (สำรวจ 7 พฤศจิกายน 2563)

พิมพ์เผยแพร่

1) Inscription of Kambuja (Calcutta : The Asiatic Society, 1953), 362-382.
2) The Sdok Kak Thomฺ Inscription (Calcutta : Sanskrit College, 1980), xvii-255.
3) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 115-118.
4) จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 181-227.

ประวัติ

เมื่อแรกได้จารึกหลักนี้เข้ามากรุงเทพฯ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โปรดให้เก็บรักษาจารึกหลักนี้ไว้ในหอพระสมุดวชิรญาณ คืออาคารพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ต่อมาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 หลักจารึกนี้ถูกไฟไหม้พร้อมกับโรงละครของกรมศิลปากร ทำให้เนื้อศิลาแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กรมศิลปากรจึงให้นายอาภรณ์ ณ สงขลา เจ้าหน้าที่กองโบราณคดีดำเนินการอนุรักษ์ ซ่อมเสริมเนื้อศิลาส่วนที่แตกหักเสียหาย พร้อมทั้งเติมเส้นอักษรจารึกให้เต็ม ตามอย่างอักษรจารึกของเดิม ที่ปรากฏอยู่ในสำเนาจารึก เสร็จสมบูรณ์เมื่อ มีนาคม 2511 ขณะที่ยังซ่อมจารึกไม่เสร็จ นายปรีดา ศรีชลาลัย ได้อ่าน-แปลเศษจารึกส่วนหนึ่งซึ่งแตกออกเป็นก้อนใหญ่ มีอักษรข้อความอยู่ในระหว่างด้านที่ 4 บรรทัดที่ 9-27 จารึกเป็นภาษาเขมร และพิมพ์เผยแพร่ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 ใช้ชื่อว่า “หลักที่ 57 จารึกปราสาทสด๊กก๊อกธม ณ อรัญประเทศ” แต่การจัดพิมพ์จารึกในประเทศไทยครั้งนี้ ใช้ชื่อว่า จารึกสด๊กก๊อกธม ตามนามของปราสาทที่ประดิษฐานจารึกนั้น การพิมพ์จารึกครั้งนี้ นายชะเอม แก้วคล้าย ได้ดำเนินการถ่ายถอดคำจารึก และแปลส่วนที่เป็นภาษาสันสกฤตก่อน ต่อมาได้แปลคำจารึกภาษาเขมรจากฉบับภาษาอังกฤษของ R.C. Majumdar ในหนังสือ Inscription of Kambuja ทำให้การอ่าน-แปลจารึกหลักนี้สำเร็จครบถ้วนทั้ง 4 ด้าน

เนื้อหาโดยสังเขป

เนื้อหาโดยสังเขป ด้านที่ 1 เริ่มต้นด้วยการกล่าวนมัสการพระศิวะ พระพรหม พระนารายณ์ ตามด้วยการกล่าวสรรเสริญพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ว่ารูปงามเหมือนกามเทพ มีปัญญาดุจพระพรหม และทรงปกครองแผ่นดินด้วยความยุติธรรม จากนั้นก็กล่าวถึงพราหมณ์ศิวไกวัลย์ ว่าเป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นมุนี ผู้ประกอบพิธีกรรมตามประเพณี หลังจากที่ได้เรียนรู้เรื่องเวทมนตร์จากพราหมณ์หิรัณยทามะแล้ว ตอนท้ายของจารึกด้านนี้ได้กล่าวสรรเสริญ ชเยนทรวรมัน ผู้เป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ผู้มีบรรพบุรุษต้นตระกูลคือ “พราหมณ์ศิวไกวัลย์” ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมตามประเพณี ด้านที่ 2 เป็นการลำดับความสัมพันธ์ และผลงานของผู้ที่อยู่ในสายตระกูล ที่มีหน้าที่ประกอบพิธีกรรมในราชสำนักกัมพูชา เริ่มตั้งแต่พราหมณ์ศิวไกวัลย์เรื่อยมาจนถึง ชเยนทรวรมัน หรือ สทาศิวะ ด้านที่ 3 กล่าวสรรเสริญพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 แจงรายการสิ่งของจำนวนมาก ที่พระองค์ทรงถวายแด่เทวสถาน ณ เมืองภัทรนิเกตนะ จากนั้นก็กล่าวถึงการบริจาคที่ดินของพระราชครูชเยนทรวรมัน ตามด้วยการลำดับสายสกุล และผลงานของผู้ประกอบพิธีกรรมในราชสำนัก ของแต่ละรัชกาล ด้านที่ 4 เป็นการลำดับสายสกุล และผลงานของผู้ประกอบพิธีกรรมในราชสำนัก ของแต่ละรัชกาลต่อจากจารึกด้านที่ 3

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกด้านที่ 4 บรรทัดที่ 81 บอกมหาศักราช 971 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1595

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) Adhir Chakravarti, The Sdok Kak Thom Inscription Part II (Calcutta : Sanskrit College, 1980), 143.
2) R.C. Majumdar, “Sdok Kok Thom Stele Inscription of Udayāditya-varman,” in Inscription of Kambuja (Calcutta : The Asiatic Society, 1953), 368.
3) ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกสด๊กก๊อกธม 2,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 15-16 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 181-227.
4) ปรีดา ศรีชลาลัย, “หลักที่ 57 จารึกปราสาทสด๊กก๊อกธม ณ อรัญประเทศ,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 221-224.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547 (ด้านที่ 4) 
2) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 8 กันยายน 2566 (ด้านที่ 1-3)