อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 18, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, อายุ-จารึกสมัยขอมพระนคร-พระเจ้าชัยวรมันที่ 7, วัตถุ-จารึกบนหิน, ลักษณะ-จารึกบนหลักสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนหลักสี่เหลี่ยมทรงกระโจม, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในหอพระสมุดวชิรญาณ กรุงเทพมหานคร, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายเครื่องพลีทาน, เรื่อง-การสรรเสริญบุคคล, เรื่อง-การสรรเสริญบุคคล-พระเจ้าชัยวรมันที่ 7, เรื่อง-การเมืองการปกครอง-ลงโทษ, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร-พระเจ้าชัยวรมันที่ 7, บุคคล-พระเจ้าชัยวรมันที่ 7,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 22:54:20 )
ชื่อจารึก |
จารึกเมืองพิมาย |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
P’imay (K. 952), ศิลาจารึกเมืองพิมาย, นม. 17, K. 952 |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมโบราณ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 18 |
ภาษา |
สันสกฤต |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 104 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 24 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 28 บรรทัด (ชำรุด) ด้านที่ 3 มี 26 ด้านที่ 4 มี 26 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา ประเภทหินทรายละเอียด |
ลักษณะวัตถุ |
แท่งสี่เหลี่ยม ยอดทรงกระโจม หรือทรงยอ เนื้อศิลาชำรุดหักหายไป 1 ซีก |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 26 ซม. สูง 106 ซม. หนา 20 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นม. 17” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
ปราสาทหินพิมาย บ้านพิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร (บันทึกข้อมูลวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2528), 26-32. |
ประวัติ |
ศิลาจารึกนี้ ไม่มีหลักฐานว่า หอสมุดแห่งชาติได้รับไว้เมื่อใด ใครเป็นผู้พบ สภาพของจารึกชำรุดมาก เนื้อศิลาด้านที่ 2 หักหายไปทั้งหมด ด้านที่ 1 และ 3 เหลือเพียงครึ่งหนึ่ง ส่วนด้านที่ 4 ยังสมบูรณ์ดีมาก หลักฐานที่มีอยู่ในหอสมุดแห่งชาติบอกแต่เพียงว่า เป็นจารึกที่ได้มาจากเมืองพิมาย จังหวัดนครราชสีมา จารึกเมืองพิมายนี้มีข้อความจารึกเหมือนกับจารึกด่านประคำ จังหวัดบุรีรัมย์ จารึกปราสาทตาเมียนโตจ และจารึกปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เกือบทุกประการ จะมีส่วนที่แตกต่างกันในด้านที่ 2, 3 และ 4 เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งได้ทำเชิงอรรถาธิบายไว้แล้ว จารึกทั้ง 4 หลักนี้สันนิษฐานว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานไว้ ณ เมืองต่างๆ เพื่อประกาศเรื่องการสร้างโรงพยาบาล ให้เป็นที่รักษาโรคต่างๆ และพระองค์ทรงบริจาควัสดุอุปกรณ์ พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ให้ประจำสถานพยาบาล เป็นจำนวนมากน้อยต่างกัน ตามขนาดของเมืองหรือชุมชนนั้นๆ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ด้านที่ 1 เริ่มต้นด้วยการกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้า แล้วกล่าวสรรเสริญพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ด้านที่ 2 ชำรุด ไม่ทราบใจความ ด้านที่ 3 ข้อความซีกซ้ายชำรุด ข้อความซีกขวากล่าวถึงรายการสิ่งของที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประทานเป็นเครื่องพลีทาน ส่วนใหญ่เป็นรายชื่อสมุนไพร ด้านที่ 4 กล่าวถึงสิ่งของที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประทานเป็นเครื่องพลีทาน ต่อจากด้านที่ 3 จากนั้นมีการกล่าวห้ามไม่ให้มีการทำร้ายกัน หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ ลงท้ายด้วยการถวายพระพรแด่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ให้ได้รับความสุขจากบุญกุศลในครั้งนี้ |
ผู้สร้าง |
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 |
การกำหนดอายุ |
จารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 7 ได้ระบุพระนามของกษัตริย์พระองค์หนึ่ง คือ ศรีชัยวรมัน ว่าเป็นพระโอรสของพระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 2 ดังนั้น พระนาม “ศรีชัยวรมัน” ในที่นี้ ก็น่าจะหมายถึง พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครองราชย์ในช่วง พ.ศ. 1724-1761 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-05, ไฟล์; NM_031f1, NM_031f3 และ NM_031f4) |