จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกเมืองพิมาย

จารึก

จารึกเมืองพิมาย ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2564 เวลา 20:33:57

ชื่อจารึก

จารึกเมืองพิมาย

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

P’imay (K. 952), ศิลาจารึกเมืองพิมาย, นม. 17, K. 952

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 18

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 104 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 24 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 28 บรรทัด (ชำรุด) ด้านที่ 3 มี 26 ด้านที่ 4 มี 26 บรรทัด

ผู้อ่าน

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2527)

ผู้แปล

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2527)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ชะเอม แก้วคล้าย : คำจารึกด้านที่ 1 ที่วงเล็บไว้นั้น ได้คัดลอกมาจากจารึกด่านประคำ จังหวัดบุรีรัมย์ และจารึกปราสาทจังหวัดสุรินทร์
2. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “จนฺทโรจิะ” เหมือนกันกับจารึกด่านประคำ และจารึกปราสาท ส่วนจารึกปราสาทตาเมียนโตจ เป็น “จนฺทโรจิศฺ” ซึ่งก็เป็นการถูกทั้งสองอย่างเพราะคำที่ตามมาคือ “ศฺรีจนฺทฺร” ฉะนั้น “วิสรคะ” (ะ) จะคงไว้หรือเปลี่ยนเป็น “ศฺ” ก็ได้
3. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “นฺฤปศฺศฺรีธรณีนฺทฺร” เหมือนกับจารึกด่านประคำ และจารึกปราสาท แต่จารึกปราสาทตาเมียนโตจ เป็น “นฺฤปศฺรีธรณีนฺทฺร” ซึ่งเป็นการผิดหลักภาษา เพราะวิสรคะที่ “นฺฤปะ” ต้องคงไว้ หรือไม่ก็เปลี่ยนเป็น “ศฺ” จึงได้รูปเป็น “นฺฤปศฺศฺรีธรณีนฺทฺร”
4. ชะเอม แก้วคล้าย : จารึกปราสาทตาเมียนโตจ เป็น “หฺลาทยิติสฺม”
5. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “สฺวรฺคฺคี” เหมือนกันกับจารึกปราสาทตาเมียนโตจ และจารึกปราสาท แต่จารึกด่านประคำจะเป็น “สฺวรฺคี” ซึ่งไม่มีอักษร “คฺ” ซ้อน ตามหลักภาษาสันสกฤตโบราณ ถ้ามี “รฺ” อยู่หน้า จะซ้อนพยัญชนะที่ตามอีกหนึ่งตัว แต่จารึกด่านประคำ ไม่มี “คฺ” ซ้อน แสดงว่าบางคำของภาษาเริ่มคลี่คลายไปสู่หลักภาษาปัจจุบันบ้างแล้ว
6. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “มรฺตฺยา” ของบรรทัดที่ 20 ด้านที่ 1 ก็เช่นกัน เหมือนกับจารึกด่านประคำ และจารึกปราสาท แต่จารึกปราสาทตาเมียนโตจเป็น “มรฺตฺตฺยา” มีลักษณะดังกล่าวแล้ว
7. ชะเอม แก้วคล้าย : การอ่านแปลจารึกทุกครั้ง ผู้อ่านแปลพยายามรักษารูปศัพท์และหลักภาษาไว้อย่างดีที่สุด จึงทำให้เข้าใจยากต่อความหมายที่แอบแฝง เช่น ในโศลกที่ 11 ด้านที่ 1 นี้ โดยความหมายว่า พระองค์ได้เปรียบเทียบยุคที่กำลังเสื่อมโทรมเหมือนเท้าโคที่หัก แต่ด้วยการกระทำความดีของพระองค์ จึงทำให้กลายเป็นยุคที่เจริญด้วยคุณธรรม เหมือนกับพระองค์ทำให้เท้าโคบริบูรณ์ดังเดิม แม้โศลกอื่นๆ จะแฝงไว้ด้วยความหมายเช่นกัน