จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกเมืองพิมาย

จารึก

จารึกเมืองพิมาย ด้านที่ 4

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2564 เวลา 20:33:57

ชื่อจารึก

จารึกเมืองพิมาย

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

P’imay (K. 952), ศิลาจารึกเมืองพิมาย, นม. 17, K. 952

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 18

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 104 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 24 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 28 บรรทัด (ชำรุด) ด้านที่ 3 มี 26 ด้านที่ 4 มี 26 บรรทัด

ผู้อ่าน

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2527)

ผู้แปล

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2527)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ชะเอม แก้วคล้าย : ด้านที่ 4 ทั้งสี่หลักก็มีการเปลี่ยนแปลงคำจารึกในส่วนบน นอกนั้นเหมือนกันคือ จารึกพิมาย ตั้งแต่บรรทัดที่ 11-26 จารึกด่านประคำตั้งแต่บรรทัดที่ 9-24 จารึกปราสาทตาเมียนโตจตั้งแต่บรรทัดที่ 7-22 และ จารึกปราสาทตั้งแต่บรรทัดที่ 11-26 เหมือนกัน
2. ชะเอม แก้วคล้าย : ข้อน่าสังเกตอย่างหนึ่งคือ การจารึกอักษร “ห” แห่งคำว่า “ราชสึหานฺ” ของบรรทัดที่ 12 ด้านที่ 4 จารึกด่านประคำเป็นบรรทัดที่ 10 จารึกปราสาทตาเมียนโตจเป็นบรรทัดที่ 8 และจารึกปราสาทเป็นบรรทัดที่ 12 รูปสระอาจม ที่ประกอบกับ รูปพยัญชนะ “ห” ในจารึกปราสาทตาเมียนโตจ จะลากต่อจากปลายเส้นหลังแล้วตวัดขึ้นบน ลากปลายขึ้นไปอยู่เหนือรูปพยัญชนะ “ห” ซึ่งต่างจากจารึกอื่นทั้งสามหลักที่รูปสระอาจมในพยางค์ “หา” นั้น ลากต่อจากศกที่อยู่ปลายเส้นหน้าแล้วตวัดปลายลงล่าง
3. ชะเอม แก้วคล้าย : จารึกปราสาทตาเมียนโตจ ด่านประคำ และปราสาท เป็น “ปฺรกฺฤษฺฏํ” คงจะเป็นการพลั้งเผลอ ไม่ใส่ขีดเครื่องหมายอักษร “ษ”
4. ชะเอม แก้วคล้าย : จารึกปราสาทตาเมียนโตจ ด่านประคำ และปราสาท เป็น “ปฺรติษฺำ” คงจะเป็นการพลั้งเผลอ ไม่ใส่ขีดเครื่องหมายอักษร “ษ”
5. ชะเอม แก้วคล้าย : จารึกปราสาทตาเมียนโตจ เป็น “โมกฺษปุรฺณา”