จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images
  • images

ชุดคำค้น 17 คำ

อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 16, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร-พระเจ้าชัยวรมันที่ 5, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนหลักสี่เหลี่ยม, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายที่ดิน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร-พระเจ้าราเชนทรวรมัน, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร-พระเจ้าชัยวรมันที่ 5, บุคคล-พระเจ้าราเชนทรวรมัน, บุคคล-พระเจ้าชัยวรมันที่ 5,

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 3

จารึก

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 3

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2566 14:43:02 )

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 3

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

บร. 18, บร.16, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 94/2532

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 16

ภาษา

สันสกฤต, เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 3 ด้าน มี 63 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 20 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 23 บรรทัด ด้านที่ 3 มี 20 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทราย

ลักษณะวัตถุ

สี่เหลี่ยม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 33.5 ซม. สูง 70 ซม. หนา 18 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “บร. 18”
2) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 กำหนดเป็น “จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 3”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ปราสาทหินพนมรุ้ง ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ (ข้อมูลเดิมว่า อำเภอนางรอง) จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (บันทึกข้อมูลวันที่ 30/11/2563)

พิมพ์เผยแพร่

จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 235-243.

ประวัติ

จารึกนี้มีรูปร่างสี่เหลี่ยม โดยส่วนบนของจารึกระหว่างบรรทัดที่ 4 กับที่ 5 ได้สลักลวดลายทำเป็นคั่นไว้ ส่วนด้านต่างๆ ที่จารึกตัวอักษรไว้นั้น เกิดชำรุดหรือกะเทาะหลุดออกไปเป็นส่วนมาก บางด้านเหลืออักษรให้เห็นเพียงไม่กี่บรรทัด สำหรับอายุของการสร้างจารึกหลักนี้ คงจะสร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 หรือพระบาทบรมวีรโลก (พ.ศ. 1511-1544) เพราะด้านที่ 2 ได้มีคำว่า “ศรีชยวรฺมฺมเทว” ปรากฏอยู่ ฉะนั้นจึงสันนิษฐานว่า จารึกหลักนี้ได้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5

เนื้อหาโดยสังเขป

ด้านที่ 1 กล่าวถึงพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 ที่ทรงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติในประเทศกัมพูชาเมื่อปี พ.ศ. 1487 พระองค์ทรงถวายเพดาน ทรงสร้างสระน้ำ ทรงทำกองอิฐ และทรงถวายอาศรมพร้อมทาสและสิ่งของต่างๆ แด่เทวสถาน ด้านที่ 2 กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ตามด้วยรายการสิ่งของและรายชื่อทาสที่พระองค์ทรงถวายแด่เทวสถาน ด้านที่ 3 กล่าวถึงพวกโขลญที่ได้ซื้อที่ดินให้แก่ผู้เป็นประภูวิษัยต่างๆ นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงการถวายทาสและสิ่งของแด่เทวสถานไว้ด้วย

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกด้านที่ 2 บรรทัดที่ 4 ได้ปรากฏคำว่า ศรีชยวรฺมฺมเทว ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าคือพระนามของพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 เนื่องจากจารึกหลักนี้กล่าวถึงพระเจ้าราเชนทรวรมันที่เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติในประเทศกัมพูชาเมื่อปี พ.ศ. 1487 ดังนั้น “ศรีชยวรฺมฺมเทว” ในที่นี้จึงน่าจะหมายถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ซึ่งครองราชย์หลังจากนั้น (พ.ศ. 1511-1544)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
อำไพ คำโท, “จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 3,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 15-16 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 235-243.

ภาพประกอบ

1) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 16-19 พฤษภาคม 2551
2) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-09, ไฟล์; BR_006f1, BR_006f2 และ BR_006f3)