อายุ-จารึก พ.ศ. 1551, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร-พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1, วัตถุ-จารึกบนหิน, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ปทุมธานี, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายที่ดิน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-กัลปนา, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร, บุคคล-พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2568 17:28:25 )
ชื่อจารึก |
จารึกพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
Stèle Provenant de la Province de Prachinburi (K. 991), ปจ. 10, K. 991, 99/283/2550 |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมโบราณ |
ศักราช |
พุทธศักราช 1551 |
ภาษา |
สันสกฤต, เขมร |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 33 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา |
ลักษณะวัตถุ |
รูปใบเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 40 ซม. สูง 72 ซม. หนา 13 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ปจ. 10” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
จังหวัดสระแก้ว |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) Inscriptions du Cambodge vol. VII (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1964), 191-193. |
ประวัติ |
ท่านศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ (George Coedes) ได้พิมพ์และอ่านจารึกจากจังหวัดปราจีนบุรีไว้ในหนังสือเรื่อง ศิลาจารึกประเทศเขมร (Inscriptions du Cambodge) เล่มที่ 7 ค.ศ. 1941 หน้า 191-193 ว่า จารึกหลักนี้ได้มาจากจังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นจารึก 33 บรรทัด คือ ภาษาสันสกฤต 4 บรรทัด ภาษาเขมร 29 บรรทัด ใช้ตัวอักษรซึ่งมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 อักษรลบเลือนไปมาก ศาสตราจารย์ เซเดส์ จึงถ่ายถอดเฉพาะตัวอักษรที่ค่อนข้างแน่นอน และแปลเฉพาะบรรทัดแรกๆ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ได้กล่าวถึงการอุทิศที่ดินซึ่งประกอบด้วยอาศรมแห่งเดียว หรือหลายแห่ง และทาสหญิงชายตามพระราชโองการของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 จากนั้นได้กล่าวถึงขอบเขตของที่ดินซึ่งเป็นสถานที่อุทิศในคราวนี้ |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
จารึกภาษาสันสกฤต 4 บรรทัดแรกซึ่งดูเหมือนจะไม่ใช่ตอนเริ่มต้นของศิลาจารึก และอาจจะเป็นโศลกสุดท้าย 4 บทมากกว่านั้นได้กล่าวถึงบุคคล 3 ท่าน ซึ่งนามได้ขาดหายไปคือ .... ตีนทรวรมัน พี่ชายแห่ง... ตีนทรลักษมี ลุงทางด้านมารดาแห่ง .... วรรธนะนามเหล่านี้น่าจะต่อเติมได้เป็น นรปตีนทรวรมัน เชษฐาของพระนางนฤปตีนทรลักษมี และปิตุลาของวีรวรรธนะ (ดังที่มีปรากฏอยู่ในจารึกแห่งปราสาทเบง) ยิ่งกว่านรปตีนทรวรมัน ซึ่งปรากฏอยู่ในจารึกภาษาเขมร ซึ่งมีศักราช 92-ปรากฏอยู่ ศักราชนี้ใกล้เคียงกับศักราชที่ปรากฏอยู่ในจารึกของปราสาทเบง คือ มหาศักราช 930 (เท่ากับ พ.ศ. 1551) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 22 ธันวาคม 2565 |