จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

จารึกวัดตาพระยา

จารึก

จารึกวัดตาพระยา

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2567 17:36:32 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดตาพระยา

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ศิลาจารึกภาษาขอมวัดตาพระยา, Stele de Ta Praya (K. 1152), ปจ. 9, K. 1152

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1520

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 41 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 22 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 19 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทราย

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 24 ซม. สูง 72 ซม. หนา 6 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ปจ. 9”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 24 ฉบับที่ 4 (กันยายน 2523) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกภาษาขอมวัดตาพระยา”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 กำหนดเป็น “จารึกวัดตาพระยา”
4) ในหนังสือ Nouvelles Inscriptions du Cambodge II กำหนดเป็น “Stele de Ta Praya (K. 1152)”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดตาพระยา ตำบลตาพระยา อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดตาพระยา ตำบลตาพระยา อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว (21 กุมภาพันธ์ 2564)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 24 ฉบับที่ 4 (กันยายน 2523) : 31-37.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 118-125.
3) Nouvelles Inscriptions du Cambodge II (Paris : École Française d’Extrême-Orient, 1996), 126-130.

ประวัติ

ศิลาจารึกนี้ เจ้าหน้าที่กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้สำรวจและจัดทำสำเนาครั้งสุดท้ายเมื่อตุลาคม 2522 เมื่อนำคำอ่าน-แปลพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 24 ฉบับที่ 4 กันยายน 2523 นั้นใช้ชื่อเรื่องว่า “ศิลาจารึกภาษาขอมวัดตาพระยา” แต่การจัดพิมพ์จารึกในประเทศไทยครั้งนี้ คณะกรรมการดำเนินงาน กำหนดให้ใช้ชื่อใหม่ว่า จารึกวัดตาพระยา

เนื้อหาโดยสังเขป

ด้านที่ 1 กล่าวถึงมรตาญโขลญศรีนรบดีวีรวรมัน ส่งคนให้นำพระราชโองการมาบอกวาบสรรพศิวะ พร้อมทั้งหมู่ญาติซึ่งตั้งถิ่นฐานที่สรุกเสร (บ้านนา) ดินแดนแห่งสระโมเอม (สมอหวาน) เพื่อให้ทราบถึงการได้รับบำเหน็จความดีความชอบ และนอกจากนี้ ยังมีข้าราชการบางคนได้มอบบ้านเรือน และโคกระบือ ให้บุคคล ในนามของทางราชการ และพร้อมทั้งอุทิศที่ดิน ถวายเป็นส่วนพระราชกุศล เกี่ยวกับการที่เสด็จสู่รุทรโลก ต่อมาวาบสรรพศิวะก็ได้รับพระราชโองการ ให้ใช้คนไปจัดการปักหลักเขตที่ดินแห่งสระโมเอม ซึ่งเขาเองได้รับพระกรุณาประสาท พร้อมทั้งหมู่ญาติของเขาอีกด้วย ด้านที่ 2 กล่าวถึงพระราชโองการ ให้บรรดาข้าราชการไปจัดทำคำประกาศทางราชการ บนศิลาจารึก ที่บ้านสระโมเอม เพื่อให้พระกรุณาประสาทแก่มรเตญโสมศิวะ ผู้เป็นหลานของวาบสรรพศิวะพร้อมทั้งหมู่ญาติ และกล่าวถึงพระราชโองการห้ามพวกข้าราชการ ที่จะออกไปปฏิบัติงานตามชนบทนั้น อย่าได้ไปจับกุมคุมขัง หรือริบทรัพย์สินของชาวบ้านสระโมเอม แห่งกันเมียงพระกระลาละอองเป็นอันขาด และสุดท้าย ได้กล่าวถึงการปักหลักเขตที่ดินแห่งสระโมเอม

ผู้สร้าง

บรรดาข้าราชการในรัชสมัยของพระเจ้าอินทรวรมัน (มหาศักราช 887-889, ด้านที่ 1) และรัชสมัยพระเจ้ายโศวรมัน (มหาศักราช 889-900, ด้านที่ 2)

การกำหนดอายุ

จารึกด้านที่ 2 บรรทัดที่ 1 บอกมหาศักราช 899 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1520

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) อำไพ คำโท, “จารึกวัดตาพระยา,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 15-16 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 118-125.
2) อำไพ คำโท, “ศิลาจารึกภาษาขอมวัดตาพระยา,” ศิลปากร 24, 4 (กันยายน 2523) : 31-37. 3) Saveros Pou, “Stele de Ta Praya (K. 1152),” in Nouvelles Inscriptions du Cambodge II (Paris : École Française d’Extrême-Orient, 1941), 126-130.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 22 ธันวาคม 2565