จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 4

จารึก

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 4

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2566 14:09:45 )

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 4

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Stele de Phnom Rung (K. 1068), บร.9, K.1068, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 29/2563

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 16

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 34 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 18 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 16 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลาประเภทหินทราย

ลักษณะวัตถุ

หลักสี่เหลี่ยม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 31 ซม. สูง 64 ซม. หนา 7.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “บร. 9”
2) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 กำหนดเป็น “จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 4”
3) ในหนังสือ Nouvelles Inscriptions du Cambodge II กำหนดเป็น “Stele de Phnom Rung (K. 1068)”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ปราสาทหินพนมรุ้ง ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ (ข้อมูลเดิมว่า อำเภอนางรอง) จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (บันทึกข้อมูลวันที่ 30/11/2563)

พิมพ์เผยแพร่

1) จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง (กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2521), 55-65.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 258-263.
3) Nouvelles Inscriptions du Cambodge II (Paris : École Française d’Extrême-Orient, 1996), 144-147.

ประวัติ

ศิลาจารึกหลักนี้พบในบริเวณปราสาทหินพนมรุ้ง อำเภอนางรอง (ปัจจุบันแยกเป็น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ) จังหวัดบุรีรัมย์ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ได้ให้เลขทะเบียนไว้ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge II เลขที่ K. 1068 นอกจากนั้นจารึกหลักนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง ศิลาจารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2521

เนื้อหาโดยสังเขป

ด้านที่ 1 กล่าวถึงข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ได้ซื้อที่ดิน ทาส และสิ่งของเพื่อถวายแด่พระกัมรเตงชคตพนมรุ้ง (เทวสถาน) ด้านที่ 2 เป็นรายการสิ่งของที่ถวาย และรายชื่อทาสที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในเทวสถาน

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

หอสมุดแห่งชาติได้กำหนดไว้ว่าจารึกหลักนี้เป็นจารึกขอมโบราณ อายุพุทธศตวรรษที่ 16

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) Saveros Pou, “Stele de Phnom Rung (K. 1068),” in Nouvelles Inscriptions du Cambodge II (Paris : École Française d’Extrême-Orient, 1996), 144-147.
2) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง (กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2521), 55-65.
3) อำไพ คำโท, “จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 4,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 15-16 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 258-263.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)
2) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-09, ไฟล์; BR_007)