จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 4

จารึก

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 4 ด้านที่ 2

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2564 เวลา 22:56:12

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 4

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Stele de Phnom Rung (K. 1068), บร.9, K.1068, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 29/2563

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 16

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 34 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 18 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 16 บรรทัด

ผู้อ่าน

อำไพ คำโท (พ.ศ. 2529)

ผู้แปล

อำไพ คำโท (พ.ศ. 2529)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Inscriptions du Cambodge อ่านเป็น “กํนลฺ ต” และเมื่อพิจารณารูปอักษรในจารึกแล้ว ไม่พบคำว่า “ต” แต่ประการใด
2. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Inscriptions du Cambodge อ่านเป็น “ทฺวกฺ” และเมื่อพิจารณาจากรูปอักษรในจารึกแล้ว พบว่าอักษรต้นคำน่าจะเป็น “ท” มากกว่า พิจารณาจากเส้นล่างของตัวอักษรที่โค้งขึ้นแล้วตวัดปลายโค้งลงล่าง ซึ่งหากเป็น “ฏ” เส้นล่างของตัวอักษรจะหยักกลางแล้วตวัดปลายขึ้นบน
3. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Inscriptions du Cambodge อ่านเป็น “ยา” แต่เมื่อพิจารณารูปอักษรในจารึกแล้ว พบรูปสระเอและสระอาประกอบอยู่ที่ตัว “ย” ชัดเจน จึงน่าจะอ่านว่า “โย”
4. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Inscriptions du Cambodge อ่านเป็น “ช”
5. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Inscriptions du Cambodge อ่านเป็น “จํนตฺ” และเมื่อพิจารณารูปอักษรในสำเนาจารึกแล้ว พบรูปอักษร “ต” เป็นตัวสะกดชัดเจน นอกจากนั้น คำว่า “จํนคฺ” ก็ไม่มีความหมาย เชื่อว่าการที่อ่าน “คฺ” เป็น “ตฺ” น่าจะเกิดจากความผิดพลาดในการพิมพ์
6. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Inscriptions du Cambodge อ่านเป็น “ศิวาจาร” และเมื่อพิจารณาจากรูปอักษรในสำเนาจารึกแล้วเห็นว่า ส่วนที่อ่านว่า “ต” ในหนังสือ “จารึกประเทศไทย” นั้น น่าจะอ่านว่า “วา