จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 4

จารึก

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 4 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2564 เวลา 22:56:12

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 4

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Stele de Phnom Rung (K. 1068), บร.9, K.1068, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 29/2563

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 16

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 34 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 18 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 16 บรรทัด

ผู้อ่าน

อำไพ คำโท (พ.ศ. 2529)

ผู้แปล

อำไพ คำโท (พ.ศ. 2529)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ในคำอ่านของจารึกหลักนี้ ที่เผยแพร่ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 ตัวพยัญชนะ “ต” บางตัว ถูกอ่าน เป็น “ด” ทั้งที่เมื่อพิจารณารูปอักษรแล้ว อักษรที่ถูกอ่านเป็น “ต” และ “ด” ไม่มีความแตกต่างแต่ประการใด ดังนั้นเพื่อไม่ให้สับสน คณะทำงานพัฒนาฐานข้อมูลฯ จึงแก้ไขคำอ่าน จากที่อ่านเป็น “ด” ให้อ่านเป็น “ต” ทั้งหมด
2. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ในคำอ่านของจารึกหลักนี้ ที่เผยแพร่ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 ตัวพยัญชนะ “ป” บางตัว ถูกอ่าน เป็น “บ” ทั้งที่เมื่อพิจารณารูปอักษรแล้ว อักษรที่ถูกอ่านเป็น “ป” และ “บ” ไม่มีความแตกต่างแต่ประการใด ดังนั้นเพื่อไม่ให้สับสน คณะทำงานพัฒนาฐานข้อมูลฯ จึงแก้ไขคำอ่าน จากที่อ่านเป็น “บ” ให้อ่านเป็น “ป” ทั้งหมด
3. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Inscriptions du Cambodge อ่านเป็น “โชวฺ” แต่เมื่อพิจารณาจากรูปอักษรในจารึกแล้ว เห็นเป็น “เชาวฺ” ชัดเจน
4. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Inscriptions du Cambodge อ่านเป็น “วุทฺธาคว” แต่เมื่อพิจารณาจากรูปอักษรในจารึกแล้ว เห็นว่าน่าจะอ่านเป็น “จงฺวาตฺ” มากกว่า เพราะ อักษรตัวแรกเห็นเป็น “จ” ชัดเจน
5. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Inscriptions du Cambodge อ่านเป็น “ต” แต่เมื่อพิจารณาจากรูปอักษรในจารึกแล้ว เห็นว่าน่าจะอ่านเป็น “จตฺ” มากกว่า
6. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ในคำอ่านที่พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 อ่านเป็น “ปาญฺชีย” แต่เมื่อพิจารณารูปอักษรในจารึกพบว่ารูปสระที่อยู่บน “ญฺช” นั้น เป็นรูปสระ “อิ” ชัดเจน ดังนั้นจึงน่าจะอ่านเป็น “ปาญฺชิย“ มากกว่า
7. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Inscriptions du Cambodge อ่านเป็น “ถฺวายฺ”
8. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Inscriptions du Cambodge อ่านเป็น “ราชธรฺมฺม” แต่เมื่อพิจารณารูปอักษรในจารึก พบว่าใต้ตัวอักษร “ช” มีเชิง “ย” อยู่ด้วยดังนั้นคำนี้จึงน่าจะอ่านเป็น “ราชฺยธรฺมฺม” อย่างไรก็ตามแต่ คำทั้งสองนี้ใช้ในความหมายเดียวกัน
9. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Inscriptions du Cambodge อ่านเป็น “อายฺ” [วฺระ]
10. อำไพ คำโท : คำว่า “อุตฺตรอีศาน” นี้ไม่ค่อยชัดนัก ดูคล้ายๆ จะเป็น “อุตฺตรวศาต” และการที่มีคำ “อุตฺตรอีศาน” อยู่ด้วยนี้ ไม่ทราบว่าเป็นศัพท์เข้ากับประโยคใด เพราะจารึกกะเทาะตรงโน่นตรงนี้มากเหลือเกิน
11. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Inscriptions du Cambodge อ่านเป็น “ติ”
12. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Inscriptions du Cambodge อ่านเป็น “วุทฺธา ต” แต่เมื่อพิจารณาจากรูปอักษรในจารึกแล้ว เห็นว่าน่าจะอ่านเป็น “จงฺวาตฺ” มากกว่า เพราะ อักษรตัวแรกเห็นเป็น “จ” ชัดเจน
13. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Inscriptions du Cambodge อ่านเป็น “อายฺ”
14. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ดูคำอธิบายข้อ 11