โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2567 17:43:44 )
ชื่อจารึก |
จารึกเพนียด 1 |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
จบ. 2, P’ăniet (K. 479), K. 479, 99/278/2550 |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมโบราณ, นาครี |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 15 |
ภาษา |
สันสกฤต, เขมร |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 13 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 8 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 5 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา ประเภทหินทราย |
ลักษณะวัตถุ |
หลักจารึกชำรุด |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 49 ซม. สูง 47 ซม. หนา 16.5 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “จบ. 2” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
เมืองเพนียด บ้านคลองนารายณ์ ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565) |
พิมพ์เผยแพร่ |
จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 60-67. |
ประวัติ |
จารึกนี้มีหลักฐานสั้นๆ ว่า พบที่เมืองเพนียด ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี แม้ว่าจะยังไม่เคยมีการอ่าน-แปลมาก่อนหน้านี้ แต่จารึกก็ได้มีการกล่าวถึงในหนังสือ Inscriptions of Kambuja ของ R.C. Majumdar และในเรื่อง จารึกบนเสาหินที่ตำบลพระบาทของพระเจ้ายโสวรมัน พิมพ์เผยแพร่ใน วารสารศิลปากร ปีที่ 22 ฉบับที่ 4 และ ปีที่ 23 ฉบับที่ 1-3 จึงนับว่าเป็นจารึกที่สำคัญหลักหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นว่า ในพุทธศตวรรษที่ 15 นั้น บริเวณเมืองเพนียดนี้ เป็นแหล่งอารยธรรม มีฐานะเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ของอาณาจักรกัมพูชา |
เนื้อหาโดยสังเขป |
เป็นพระราชโองการว่าด้วยธรรมเนียมปฏิบัติของบรรดาบุคคล ผู้เฝ้าแหนติดตามพระมหากษัตริย์ ที่จะเสด็จไปประกอบพระราชพิธีทางศาสนาในอาศรม ว่าบุคคลแต่ละตำแหน่ง แต่ละชนชั้นควรประพฤติปฏิบัติตนอย่างไร เช่น ถ้าเป็นสามัญชนก็ห้ามสวมเครื่องประดับ และห้ามเข้าไปในอาศรม ส่วนนักบวช ให้เข้าพักในอาศรมได้ แต่ถ้าเป็นนักบวชที่มีความประพฤติไม่ดี ก็ห้ามเข้าพักในอาศรม เป็นต้น |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุตามรูปแบบตัวอักษรขอมโบราณ ดังจะเห็นได้จากข้อความในจารึก ซึ่งเหมือนกับจารึกหลักอื่นอีก 11 หลัก พบที่พระตะบอง เสียมราบ นครจำปาศักดิ์ ตะโบงฆมุม บาพนม บันทายมาส และมาสัก ซึ่งมีลักษณะการจารึกอักษร และข้อความในจารึกเหมือนกันเกือบทุกประการคือ ด้านที่ 1 จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ ประพันธ์เป็นโศลกภาษาสันสกฤต 49 บท มีข้อความร้อยแก้วภาษาเขมรสั้นๆ จารึกไว้ตอนท้าย ส่วนด้านที่สองจารึกด้วยอักษรอินเดียเหนือ ภาษาสันสกฤต ประพันธ์เป็นโศลกเนื้อความตรงกับด้านที่ 1 และมีโศลกสุดท้ายจารึกด้วยอักษรขอมโบราณ ซึ่งตรงกับตำแหน่งของจารึกภาษาเขมรในด้านที่ 1 นั่นเอง และเมื่อมาพิจารณารูปแบบอักษร พบว่านอกจากจะพบศกเล็กๆ อยู่ด้านบนตัวอักษร “ก” “ค” “ต” “ธ” “ว” และ “ศ” ซึ่งแสดงว่าเป็นอักษรขอมโบราณแล้ว ในส่วนของอักขรวิธี เมื่อมีการประสมรูปพยัญชนะกับรูปสระบนได้แก่รูปสระอิ จะมีการตัดศกออกแล้วเพิ่มสระลงไปแทนที่ศก เช่น “คิ” (บรรทัด 7/ด้าน 1) “ติ” ในคำว่า “อติถินานฺ” (บรรทัด 5/ด้าน 1) และ “วิ” ในคำว่า “วิธาตวฺยํ” (บรรทัด 6/ด้าน 1) และเมื่อมีการประสมรูปพยัญชนะกับรูปสระไอ ก็จะมีการตัดศกออกแล้วเพิ่มสระลงไปแทนที่ศกเช่นกัน ได้แก่ “ใต” ในข้อความว่า “ปรานาจฺฉาทิตศฺฉใตฺร” (บรรทัด 4/ด้าน 1) ดังนั้นจึงกำหนดได้ว่า จารึกหลักนี้เป็นจารึกอักษรขอมโบราณ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547 |