อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 15, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, ยุคสมัย-ขอมพระนคร-พระเจ้าศรีชยสิงหวรมัน, วัตถุ-จารึกบนหิน, ลักษณะ-จารึกบนหลักสี่เหลี่ยม, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา, เรื่อง-การสรรเสริญบุคคล-พระจุฑามณี, เรื่อง-การสรรเสริญบุคคล-พระเจ้าศรีชยสิงหวรมัน, เรื่อง-บุคคล-พระจุฑามณี, เรื่อง-บุคคล-พระเจ้าศรีชยสิงหวรมัน,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 22:09:57 )
ชื่อจารึก |
จารึกภูเขียว |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
Stèle de Phu Khiao Kao (K. 404), K. 404, ชย. 1, 14/2508 |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมโบราณ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 15 |
ภาษา |
สันสกฤต, เขมร |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 11 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา |
ลักษณะวัตถุ |
หลักสี่เหลี่ยม |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 90 ซม. หนา. 35 ซม. สูง 208 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชย. 1” |
ปีที่พบจารึก |
พุทธศักราช 2460-2465 |
สถานที่พบ |
ห้วยมะอึ (ข้อมูลเดิมว่า หนองหินตั้ง) ตำบลบ้านยาง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ |
ผู้พบ |
พระยาราชเสนา |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (บันทึกข้อมูลวันที่ 1/12/2563) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) Inscriptions du Cambodge vol. VII (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1964), 73. |
ประวัติ |
ในรายงานของ Erik Seidenfaden ใน Bulletin de l’École Française d’Éxtrême-Orient XII (1922) (พ.ศ. 2465) กล่าวว่าได้ทราบมาว่าในเขตอำเภอผักปัง (อีกชื่อคือ ภูเขียว) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอเกษตรสมบูรณ์ บริเวณห้วยมะอึ แถวๆ กอไผ่ มีหินตั้งกระจัดกระจายอยู่ 13 หลัก แผนกโบราณคดีในขณะนั้น เรียกบริเวณนี้ว่า “หนองหินตั้ง” ซึ่งมีอยู่ 2 หลัก ที่มีจารึกปรากฏอยู่ ต่อมา ศ. ยอร์ช เซเดส์ ได้ตีพิมพ์ข้อมูลดังกล่าวในหนังสือชุด Inscriptions du Cambodge vol. VII (พ.ศ. 2507) และกำหนดชื่อจารึกทั้ง 2 หลักนี้ เป็น จารึกภูเขียวเขา หรือ หนองหินตั้ง โดยแยกเป็น K. 404 (จารึกภูเขียวเขา) และ K. 512 (จารึกหนองหินตั้ง) ต่อมา จารึก K. 404 ได้ถูกย้ายไปเก็บไว้ที่ศาลากลางเมืองชัยภูมิโดยพระยาราชเสนา แต่ จารึก K. 404 ยังคงอยู่ ณ ที่เดิม คือ ที่หนองหินตั้ง และในเอกสารชิ้นเดียวกันนี้ ศ. ยอร์ช เซเดส์ ได้ถอดคำอ่านและคำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส ต่อมา ในปี พ.ศ. 2529 อ. ชะเอม แก้วคล้าย ได้อ่านและแปลจารึกภูเขียวนี้อีกครั้ง โดยนำไปตีพิมพ์ในหนังสือชุด จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 และ ในปี พ.ศ. 2532 ได้อ่านและแปลใหม่อีกครั้งเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 เมื่อเปรียบเทียบคำอ่านของ ศ. ยอร์ช เซเดส์ กับ อ. ชะเอม แก้วคล้าย แล้ว พบว่ามีแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวสรรเสริญพระจุฑามณี ว่าเป็นผู้มีปัญญา และเกิดในสกุลสูง นำความรุ่งเรืองมาสู่อาณาจักรของพระเจ้าศรีชยสิงหวรมัน |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
จารึกบรรทัดที่ 10-11 ได้ระบุชื่อบุคคล คือ “จุฑามณี” ซึ่งสันนิษฐานได้ว่า บุคคลที่ชื่อ “จุฑามณี” นี้ น่าจะเป็นคนเดียวกับ “พระนางชัยราชจุฑามณี” ธิดาของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1443-1466) กับพระนางลักษมี ทั้งนี้เนื่องจากในจารึกบรรทัดที่ 9-10 ได้ระบุถึงบุคคลที่ชื่อ “จุฑามณี” นี้ว่า “ลกฺ (ษฺ) มิ (ชา) ต มณฺ (ยา)…จุฑามณี” ซึ่งแปลว่า “ผู้เป็นแก้วมณีที่เกิดจากพระนางลักษมี” จึงเป็นไปได้ที่ “จุฑามณี” ในจารึก กับ “พระนางชัยราชจุฑามณี” นี้เป็นคนเดียวกัน เพราะมีมารดาชื่อ “พระนางลักษมี” เหมือนกัน |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-15, ไฟล์; ChP_013) |