โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2566 13:45:59 )
ชื่อจารึก |
จารึกฐานสถูปดินเผาวัดหนองกระโดน |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
นว. 16 |
อักษรที่มีในจารึก |
หลังปัลลวะ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 14 |
ภาษา |
บาลี, มอญโบราณ |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด (รอบฐานสถูปจำลอง) |
วัตถุจารึก |
ดินเผา |
ลักษณะวัตถุ |
สถูปจำลอง (ชำรุด ส่วนยอดหักหายไป) |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) ในหนังสือ ภาษา-จารึก ฉบับที่ 6 กำหนดเป็น “จารึกฐานสถูปดินเผาวัดหนองกระโดน” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ผู้พบ |
นายประสิทธิ์ และนายสม กาญจนา |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
วัดหนองกระโดน ตำบลหนองกระโดน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) ภาษา-จารึก ฉบับที่ 6 : คุรุบูชา คุรุรำลึก (กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2542), 143-149. |
ประวัติ |
นายประสิทธิ์ และนายสม กาญจนา ถวายสถูปจำลองนี้แด่เจ้าอาวาสวัดหนองกระโดน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จึงมีการมอบหมายให้ อาจารย์ทัศน์สมร ทองโปร่ง ติดต่อกับภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อขอให้อ่านจารึกที่อยู่บริเวณฐานสถูป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กรรณิการ์ วิมลเกษม ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และอาจารย์พงศ์เกษม สนธิไทย สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตบพิตรพิมุขมหาเมฆ ได้ร่วมกันอ่าน-แปลจารึกดังกล่าวและตีพิมพ์บทความเรื่อง “จารึกฐานสถูปดินเผาวัดหนองกระโดน” ใน ภาษา-จารึก ฉบับ 6 : คุรุบูชา คุรุรำลึก เนื่องในวาระครบ 5 รอบและเกษียณอายุราชการของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อุไรศรี วรศะริน เมื่อ พ.ศ. 2542 อนึ่ง สถูปดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกับสถูปดินเผาเมืองทัพชุมพล ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ทั้งลักษณะของสถูปและรูปแบบอักษร รวมไปถึงเนื้อหาของจารึกซึ่งเป็นคาถา เย ธมฺมา และบอกการทำบุญเป็นภาษามอญเช่นเดียวกัน |
เนื้อหาโดยสังเขป |
เนื้อหาของจารึกเป็นคาถา เย ธมฺมา ตอนท้ายเป็นภาษามอญกล่าวถึงพระบุญ ศาลา และวิหาร |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากรูปอักษรหลังปัลลวะ ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 14 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : ภาษา-จารึก ฉบับที่ 6 : คุรุบูชา คุรุรำลึก (กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2542) |