อายุ-จารึก พ.ศ. 2115, อายุ-จารึก พ.ศ. 2113, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 22, ยุคสมัย-จารึกสมัยอาณาจักรล้านช้าง, ยุคสมัย-จารึกสมัยอาณาจักรล้านช้าง-สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมหาราช, ยุคสมัย-จารึกสมัยอาณาจักรล้านช้าง-พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดผดุงสุข หนองคาย, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายที่ดิน, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ-สาปแช่ง, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองปากห้วยหลวง, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรล้านช้าง, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรล้านช้าง-พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย, บุคคล-พระยาปากเจ้า, บุคคล-พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2562 20:44:00 )
ชื่อจารึก |
จารึกวัดผดุงสุข ๒ (ศิลาจารึกวัดถิ่นดุ่ง) |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
ศิลาจารึกวัดผดุงสุข ผ. ๒ |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยน้อย |
ศักราช |
พุทธศักราช ๒๑๑๕ |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน ๒ ด้าน มี ๒๗ บรรทัด ด้านที่ ๑ มี ๑๖ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๑๑ บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา ประเภทหินทราย |
ลักษณะวัตถุ |
รูปใบเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง ๕๐ ซม. สูง ๗๕ ซม. หนา ๑๒.๕ ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นค. ๑๑” |
ปีที่พบจารึก |
วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ |
สถานที่พบ |
วัดผดุงสุข ตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย |
ผู้พบ |
เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
วัดผดุงสุข ตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย |
พิมพ์เผยแพร่ |
๑) อักษรไทยน้อย (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๒), ๑๒๒-๑๒๔. |
ประวัติ |
ศิลาจารึกวัดผดุงสุขนี้ มี ๒ หลัก เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้พบที่วัดผดุงสุข ตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ขณะสำรวจเอกสารโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ อาจารย์ธวัช ปุณโณทก กล่าวถึงจารึกหลักนี้ว่า เดิมปักอยู่หน้าพระประธาน ภายหลังสร้างโบสถ์ใหม่ย้ายมาปักไว้ด้านหลังโบสถ์ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ด้านที่ ๑ พระยาปากเจ้า (เจ้าเมืองปากห้วยหลวง) และเจ้านายอื่นๆ ได้อุทิศที่ดินแก่พระเถระฝ่ายอรัญวาสี เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๑๓ ด้านที่ ๒ ปรากฏนามพระสุมังคลไอยโกโพธิสัตว์ ข้อความต่อจากนี้ชำรุด ตอนท้ายกล่าวถึงการอุทิศที่ดิน และอาณาเขตของที่ดินที่อุทิศ ใน ปี พ.ศ. ๒๑๑๕ |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
ข้อความจารึกด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑ ระบุ จ.ศ. ๙๓๒ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๑๑๓ และข้อความจารึกด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๗ ระบุศักราช ๙๓๔ คือ จ.ศ. ๙๓๔ ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๑๕ อันเป็นช่วงปลายสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. ๒๐๙๓-๒๑๑๕) ถึงต้นสมัยพระสุมังคลไอยโกโพธิสัตว์ (พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย) (ครั้งที่ ๑ ; พ.ศ. ๒๑๑๕-๒๑๑๗) ปกครองราชอาณาจักรล้านช้าง |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๕๐, จาก : |