จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดผดุงสุข 2 (ศิลาจารึกวัดถิ่นดุ่ง)

จารึก

จารึกวัดผดุงสุข 2 (ศิลาจารึกวัดถิ่นดุ่ง) ด้านที่ 2

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17:18:26

ชื่อจารึก

จารึกวัดผดุงสุข 2 (ศิลาจารึกวัดถิ่นดุ่ง)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นค. 11, ศิลาจารึกวัดผดุงสุข ผ. 2

อักษรที่มีในจารึก

ไทยน้อย

ศักราช

พุทธศักราช 2115

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 27 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 16 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 11 บรรทัด

ผู้อ่าน

บุญนาค สะแกนอก (พ.ศ. 2529)

ผู้ปริวรรต

บุญนาค สะแกนอก (พ.ศ. 2529)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : “พระไอยโกธิราช” น่าจะหมายถึง พระสุมังคลไอยโกโพธิสัตว์ (พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย) ที่ปกครองราชอาณาจักรล้านช้าง (ครั้งที่ 1 ; พ.ศ. 2115-2117)
2. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : กำเหนือ, ก้ำเหนือ = ด้านทิศเหนือ
3. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ขอก = ขอบ
4. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ศักราช 934 = จุลศักราช 934 ตรงกับพุทธศักราช 2115
5. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : วันพฤหัสปัตติ = วันพฤหัสบดี
6. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ปีเปิกไจ้ = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีชวด สัมฤทธิศก ตามจุลศักราช
7. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ต่อเท่า, ต่อเท้า = จนถึง, ตราบเท่า, ตราบถึง, ตราบกระทั่ง
8. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : วัสสา = ปี
9. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : คึด = คิด
10. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : คงนู, คุงนุ = ตลอดตาม