จารึกวัดผดุงสุข 1

จารึก

จารึกวัดผดุงสุข 1

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 19:21:35 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดผดุงสุข 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นค. 10, ศิลาจารึกวัดผดุงสุข ผ. 1

อักษรที่มีในจารึก

ไทยน้อย

ศักราช

พุทธศักราช 2106

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 23 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 15 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 8 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทราย

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 38 ซม. สูง 57 ซม. หนา 15 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นค. 10”
2) ในหนังสือ อักษรไทยน้อย (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2522) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกวัดผดุงสุข ผ. 1”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กำหนดเป็น “จารึกวัดผดุงสุข 1”
4) ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว กำหนดเป็น “ศิลาจารึกวัดผดุงสุข 1”

ปีที่พบจารึก

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518

สถานที่พบ

วัดผดุงสุข ตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ผู้พบ

เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดผดุงสุข ตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

พิมพ์เผยแพร่

1) อักษรไทยน้อย (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2522), 120-121.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 331-335.
3) ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 241-243.

ประวัติ

ศิลาจารึกวัดผดุงสุขนี้ มี 2 หลัก เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้พบที่วัดผดุงสุข ตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ขณะสำรวจเอกสารโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 อาจารย์ธวัช ปุณโณทก กล่าวถึงจารึกหลักนี้ว่า เดิมอยู่หน้าฐานชุกชีพระประธานในโบสถ์ด้านซ้ายคู่กับหลักผดุงสุข 2 โบกปูนติดกับฐานชุกชี ทำให้อักษรด้านหลังเสียหาย ปัจจุบันนำมาปักไว้ด้านหลังพระอุโบสถใหม่ คู่กับจารึกวัดผดุงสุข 2

เนื้อหาโดยสังเขป

พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้อุทิศที่ดินแก่วัด และเป็นหลักฐานว่า พ.ศ. 2094 พระเจ้าไชยเชษฐาฯ ได้กลับจากเชียงใหม่มาครองหลวงพระบางแล้ว

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 1 ด้านขวาของวงดวงชาตา ระบุศักราช 913 คือ จ.ศ. 931 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2094 และข้อความจารึกด้านที่ 2 บรรทัดที่ 7 ระบุศักราช 925 คือ จ.ศ. 925 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2106 อันเป็นสมัยที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชปกครองราชอาณาจักรล้านช้าง (พ.ศ. 2093-2115)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก :
1) ธวัช ปุณโณทก, “ศิลาจารึกวัดผดุงสุข 1,” ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 241-243.
2) ธวัช ปุณโณทก, อักษรไทยน้อย : การศึกษาในด้านอักษรวิทยา (กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2522), 120-121.
3) บุญนาค สะแกนอก, “จารึกวัดผดุงสุข 1,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 331-335.
4) สิลา วีระวงส์, เรียบเรียง ; สมหมาย เปรมจิตต์, แปล, ประวัติศาสตร์ลาว, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : มติชน, 2540), 84-106.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)