อายุ-จารึก พ.ศ. 2144, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 22, ยุคสมัย-จารึกสมัยอาณาจักรล้านช้าง, ยุคสมัย-จารึกสมัยอาณาจักรล้านช้าง-พระเจ้าวรวงศาธรรมิกราช, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดมณีโคตร หนองคาย, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายที่ดิน, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรล้านช้าง, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรล้านช้าง-เจ้าชมพู, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรล้านช้าง-พระยาหล้าแสนไทไตรภูวนาถ, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรล้านช้าง-พระเจ้าวรวงศาธรรมิกราช, บุคคล-เจ้าชมพู, บุคคล-พระยาหล้าแสนไทไตรภูวนาถ, บุคคล-พระเจ้าวรวงศาธรรมิกราช,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 19:34:40 )
ชื่อจารึก |
จารึกวัดมณีโคตร |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
นค. 7 |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยน้อย |
ศักราช |
พุทธศักราช 2144 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 33 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 13 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 20 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา ประเภทหินทราย |
ลักษณะวัตถุ |
รูปใบเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 65 ซม. สูง 37 ซม. หนา 8 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นค. 7” |
ปีที่พบจารึก |
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 |
สถานที่พบ |
วัดมณีโคตร ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย |
ผู้พบ |
เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
วัดมณีโคตร ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) อักษรไทยน้อย (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2522), 129-131. |
ประวัติ |
ศิลาจารึกวัดมณีโคตรนี้ เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้พบที่วัดมณีโคตร ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ขณะสำรวจเอกสารโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2518 อาจารย์ธวัช ปุณโณทก กล่าวไว้ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว ว่า ศิลาจารึกหลักนี้อยู่ที่พระอุโบสถหลังเดิม บัดนี้ (พ.ศ. 2527) กำลังสร้างพระอุโบสถใหม่ และนำมาไว้ที่หน้าพระประธาน คำอ่าน-แปลจารึกหลักนี้ อาจารย์ธวัช ปุณโณทก เคยอ่านและแปลมาก่อนแล้วเป็นครั้งแรก ในวิทยานิพนธ์เรื่อง อักษรไทยน้อย ซึ่งการอ่าน-แปลครั้งนั้น ได้อ่าน-แปลเพียงด้านที่ 1 ด้านเดียว และกำหนดอายุจารึกไว้เป็น พ.ศ. 2151 |
เนื้อหาโดยสังเขป |
เป็นพระราชโองการของสมเด็จพระโพธิวรวงศา อุทิศที่ดินแก่วัดที่เมืองปากห้วยหลวง และได้กล่าวถึงพระนามสมเด็จสังฆราชวัดกลาง เมืองจันทบุรี (เวียงจันทน์) และพระนามของ พระเจ้าชมพู และพระเจ้าตนหล้า ซึ่งเป็นกษัตริย์ของล้านช้าง อีกด้วย |
ผู้สร้าง |
พระโพธิวรวงศากษัตราธิราช |
การกำหนดอายุ |
ข้อความจารึกด้านที่ 2 บรรทัดที่ 20 ระบุ จ.ศ. 963 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2144 อันเป็นสมัยที่พระวรวงศาธรรมิกราชปกครองราชอาณาจักรล้านช้าง (พ.ศ. 2141-2165) (ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย กำหนดอายุจารึกหลักนี้เป็น พ.ศ. 2118) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-28, ไฟล์; Nk_0701_c และ Nk_0702_c) |