จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

จารึกคำปู่สบถ

จารึก

จารึกคำปู่สบถ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2566 14:11:25 )

ชื่อจารึก

จารึกคำปู่สบถ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

แผ่นศิลาจารึกตัวอักษรไทยแบบสุโขทัย จารึกภาษาไทย, หลักที่ 64 ศิลาจารึกอักษร แบบสุโขทัย ลักษณะตัวอักษรแบบ พ.ศ. 2000 พบที่วัดช้างค้ำ จังหวัดน่าน, ศิลาจารึกคำปู่สบถ พุทธศตวรรษที่ 20, นน. 1 จารึกคำปู่สบถ สันนิษฐานว่า พ.ศ. 1935, นน. 1

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 36 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 26 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 10 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

แผ่นสี่เหลี่ยม (ชำรุด) สันนิษฐานว่า เดิมคงเป็นแผ่นรูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 56.5 ซม. ยาว 39 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นน. 1”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2502) กำหนดเป็น “แผ่นศิลาจารึกตัวอักษรไทยแบบสุโขทัย จารึกภาษาไทย”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 64 ศิลาจารึกอักษร แบบสุโขทัย ลักษณะตัวอักษรแบบ พ.ศ. 2000 พบที่วัดช้างค้ำ จังหวัดน่าน”
4) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “ศิลาจารึกคำปู่สบถ พุทธศตวรรษที่ 20”
5) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 กำหนดเป็น “นน. 1 จารึกคำปู่สบถ สันนิษฐานว่า พ.ศ. 1935”

ปีที่พบจารึก

วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2500

สถานที่พบ

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

ผู้พบ

นายธนิต อยู่โพธิ์

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2502) : 52-58.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 148-151.
3) จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 175-181.
4) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 52-54.

ประวัติ

ศิลาจารึกคำปู่สบถ นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ครั้งยังรับราชการพร้อมด้วยคณะเดินทางขึ้นไปตรวจงานโบราณวัตถุสถานภาคเหนือ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2500 ได้พบแผ่นศิลาจารึก 3 แผ่น วางอยู่ที่ข้างวิหารวัดช้างค้ำที่กำลังสร้างใหม่ ตรงชายคาน้ำตก เห็นเป็นของสำคัญจึงกราบเรียนเจ้าอาวาสวัดช้างค้ำทราบ และขอให้ท่านช่วยเก็บรักษาไว้ ได้สืบทราบว่าแผ่นศิลาจารึกทั้ง 3 แผ่น นำมาจากบ่อว้าในจังหวัดน่าน ครั้นถึงวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 นายธนิต อยู่โพธิ์ พร้อมด้วยคณะได้เดินทางขึ้นไปตรวจงานโบราณวัตถุสถานภาคเหนืออีกครั้งหนึ่ง เดินทางถึง จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ทำการถ่ายภาพ และทำสำเนาศิลาจารึกคำปู่สบถ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2502 เมื่อกลับมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว ได้มอบสำเนาจารึกดังกล่าวให้ศาสตราจารย์ ฉ่ำ ทองคำวรรณ เจ้าหน้าที่อ่านจารึก ดำเนินการอ่าน-ถ่ายถอด

เนื้อหาโดยสังเขป

เรื่องราวที่จารึก ได้กล่าวถึงการกระทำสัตย์สาบานระหว่างพระยาลิไทยกับปู่พระยาเป็นเจ้า และได้กล่าวถึงความสามัคคีระหว่างเมืองแพร่ เมืองงาว เมืองน่าน และเมืองพลั่ว ว่าถ้าเมืองหนึ่งเมืองใดมีอันตรายเกิดขึ้น เมืองนอกนั้นจะต้องให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ผู้สร้าง

พระยาลิไทย

การกำหนดอายุ

ศาสตราจารย์ ฉ่ำ ทองคำวรรณ อธิบายว่า ลักษณะตัวอักษรเป็นแบบที่ใช้อยู่ใน พ.ศ. 2000 ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร สันนิษฐานว่า น่าจะจารึกขึ้นใน พ.ศ. 1935 พร้อมกับจารึกหลักที่ 45 (จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “แผ่นศิลาจารึกตัวอักษรไทยแบบสุโขทัย จารึกภาษาไทย,” ศิลปากร 3, 3 (กันยายน, 2502), 52-58.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “ศิลาจารึกคำปู่สบถ พุทธศตวรรษที่ 20,” ใน จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 175-181.
3) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 64 ศิลาจารึกคำปู่สบถ,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 148-151.
4) ประเสริฐ ณ นคร, “นน. 1 จารึกคำปู่สบถ สันนิษฐานว่า พ.ศ. 1935,” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 52-54.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-29, ไฟล์; นน.1 ด้าน1.รูป1 และ นน.1 ด้าน2.รูป1)