จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกคำปู่สบถ

จารึก

จารึกคำปู่สบถ ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2564 02:43:54

ชื่อจารึก

จารึกคำปู่สบถ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

แผ่นศิลาจารึกตัวอักษรไทยแบบสุโขทัย จารึกภาษาไทย, หลักที่ 64 ศิลาจารึกอักษร แบบสุโขทัย ลักษณะตัวอักษรแบบ พ.ศ. 2000 พบที่วัดช้างค้ำ จังหวัดน่าน, ศิลาจารึกคำปู่สบถ พุทธศตวรรษที่ 20, นน. 1 จารึกคำปู่สบถ สันนิษฐานว่า พ.ศ. 1935, นน. 1

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 36 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 26 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 10 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2502)
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

ผู้ปริวรรต

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2502)
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

ผู้ตรวจ

1) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2508)
2) กรมศิลปากร (พ.ศ. 2526)
3) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

เชิงอรรถอธิบาย

1.  ฉ่ำ ทองคำวรรณ : คุณในปลา = หมายถึง  การเสกปลาให้เป็นสื่อใช้ในการทำให้คนรัก เจริญ หรือ ฉิบหาย ตามลักษณะของมนต์นั้นๆ
2.  ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ยา = ยาพิษ
3.  ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ไศพาคม = คัมภีร์ศาสนาพราหมณ์ แผนกอาถรรพณเวท
4.  คณะทำงานพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย (พ.ศ. 2567) : ในคำอ่านของ โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2434) อ่านเป็น ฅ และเมื่อพิจารณาจากรูปอักษรในจารึกจะเห็นเป็นตัว ฅ ชัดเจน
5.  ฉ่ำ ทองคำวรรณ : กับ = แก่
6.  ฉ่ำ ทองคำวรรณ : โมกขนิพพาน = พระนิพพานที่พ้นจากกิเลสและกองทุกข์
7.  ฉ่ำ ทองคำวรรณ : มีเครื่องหมาย + บอกข้อความที่จารึกตก จึงจารึกไว้ด้านที่ 2 ของแผ่นศิลา ดูคำจารึกด้านที่  2
8.  ฉ่ำ ทองคำวรรณ : อนตราย = อันตราย
9.  ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ช่อย = ช่วย
10.  ฉ่ำ ทองคำวรรณ : มล้าง = ล้าง หรือ ฆ่า
11.  ฉ่ำ ทองคำวรรณ : หิญริพยาน = น่าจะเป็น หิริพยาน คือ พยานที่ตั้งอยู่ในความละอายบาป
12.  ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ปรีชญาพล = กำลังแห่งสติปัญญา
13.  คณะทำงานพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย (พ.ศ. 2567) : ในคำอ่านของ โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2434) อ่านเป็น ชลยง และเมื่อพิจารณาจากรูปอักษรในจารึกจะเห็นเป็น ชลยง ชัดเจน
14.  ฉ่ำ ทองคำวรรณ : พาหุพล = กำลังแขน หมายถึงกำลังกาย
15.  คณะทำงานพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย (พ.ศ. 2567) : เมื่อพิจารณาจากรูปอักษรในจารึกจะเห็นเป็น อำมรุง ชัดเจน
16.  ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ดังอั้น = ดังนั้น
17.  ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ทุกอำรุง = ทนุบำรุง
18.  คณะทำงานพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย (พ.ศ. 2567) : เมื่อพิจารณาจากรูปอักษรในจารึกจะเห็นเป็น อำมรุง ชัดเจน