โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2568 15:40:23 )
ชื่อจารึก |
จารึกวัดเขมา |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
หลักที่ 14 ศิลาจารึกวัดเขมา จังหวัดสุโขทัย, ศิลาจารึกวัดเขมา พุทธศักราช 2079, สท. 11 |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยสุโขทัย |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 2079 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 59 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 41 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 18 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินชนวน |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นรูปใบเสมา (ชำรุด) |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 63 ซม. สูง 200 ซม. หนา 20 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 11” |
ปีที่พบจารึก |
พุทธศักราช 2430 |
สถานที่พบ |
วัดเขมา ริมถนนพระร่วง จังหวัดสุโขทัย |
ผู้พบ |
นายพลโท พระยาสโมสรสรรพการ (ทัด ศิริสัมพันธ์) เมื่อครั้งเป็นหลวงสโมสรสรรพการ และหลวงกำจัดไพรินทร์ (เล็ก ปัทมศริน) |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 ([กรุงเทพฯ] : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 148-154. |
ประวัติ |
ศิลาจารึกวัดเขมา พบเมื่อ พ.ศ. 2430 แล้วถูกส่งไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 จึงย้ายไปไว้ในหอพระสมุดสำหรับพระนคร คำจารึกอ่านเป็นครั้งแรกโดย ศ. ยอร์ช เซเดส์ และถูกนำไปตีพิมพ์รวมอยู่ในหนังสือ ประชุมจารึก ภาคที่ 1 เป็นจารึกกรุงสุโขทัยที่ได้พบก่อน พ.ศ. 2467 เมื่อ ปี พ.ศ. 2467 และหนังสือเล่มนี้ ถูกตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้งในปี พ.ศ. 2521 โดยคณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยได้แปลตรวจทานคำอ่านและคำแปลใหม่อีกครั้ง โดยมอบหมายให้ ศ. ดร. ประเสริฐ ณ นคร, ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล, ดร. อุไรศรี วรสริน, นายตรี อมาตยกุล, นายทองสืบ ศุภะมาร์ค, นายเฉลียว จันทรทรัพย์ และนายประสาร บุญประคอง เป็นคณะอนุกรรมการในการตรวจทาน ต่อมากรมศิลปากรได้นำงานที่ชำระในครั้งนั้น มาตีพิมพ์รวมอยู่ในหนังสือจารึกสมัยสุโขทัย ในปี พ.ศ. 2527 |
เนื้อหาโดยสังเขป |
คำจารึกตอนต้นชำรุดมากอ่านไม่ใคร่ได้ความ เท่าที่ยังเหลืออยู่เป็นเรื่องเจ้าเทพรูจี อุปสมบทเป็นภิกษุ และภายหลังได้บำเพ็ญกุศลต่างๆ พร้อมด้วยญาติและพวกสัตบุรุษ เมื่อปี พ.ศ. 2079 |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
ในจารึกปรากฏมหาศักราชที่ชำรุดอยู่คือ ศักราช 14 . 8 ซึ่งเลขหลักสิบชำรุดหายไป แต่อย่างไรก็ตาม เราทราบว่าในจารึกนี้ระบุปีนักษัตรคือปีวอก ดังนั้น เมื่อพิจารณารอบปีที่ตรงกันระหว่างปีนักษัตรกับมหาศักราชแล้ว ศักราชที่ชำรุดดังกล่าวจึงน่าจะตรงกับ ปีวอก มหาศักราช 1458 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2079 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก: |
ภาพประกอบ |
1) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2566 |