จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

ชุดคำค้น 18 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2137, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 22, ยุคสมัย-จารึกสมัยอาณาจักรล้านช้าง, ยุคสมัย-จารึกสมัยอาณาจักรล้านช้าง-พระหน่อเมือง, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, วัตถุ-จารึกบนหินทรายสีเทา, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายที่ดิน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-กัลปนา, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรล้านช้าง, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรล้านช้าง-พระหน่อเมือง, บุคคล-พระวรรัตนธรรมประโชติฯ, บุคคล-พระหน่อเมือง,

จารึกมุจลินทอาราม 1

จารึก

จารึกมุจลินทอาราม 1

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2568 18:47:37 )

ชื่อจารึก

จารึกมุจลินทอาราม 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ศิลาจารึก ขก. 8 อักษรและภาษาไทย จ.ศ. 956, ศิลาจารึกเมืองห้วยหลวง (ขก. 8), จารึกวัดมุจลินทอาราม 1 (ขก. 8), ขก. 7

อักษรที่มีในจารึก

ไทยน้อย

ศักราช

พุทธศักราช 2137

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 34 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 20 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 14 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทรายสีเทา

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 50 ซม. สูง 114 ซม. หนา 11.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ขก. 7”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 19 ฉบับที่ 6 (มีนาคม 2519) กำหนดเป็น “ศิลาจารึก ขก. 8 อักษรและภาษาไทย จ.ศ. 956”
3) ในวารสาร จันทรเกษม ฉบับที่ 130 (พฤษภาคม-มิถุนายน 1519) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกเมืองห้วยหลวง (ขก. 8)”
4) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กำหนดเป็น “จารึกมุจลินทอาราม 1”
5) ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว กำหนดเป็น “จารึกวัดมุจลินทอาราม 1 (ขก. 8)”

ปีที่พบจารึก

กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518

สถานที่พบ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้พบ

เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (สำรวจ 24 มีนาคม 2559)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 19 ฉบับที่ 6 (มีนาคม 2519) : 105-108.
2) วารสารจันทรเกษม ฉบับที่ 130 (พฤษภาคม-มิถุนายน 1519) : 54-57.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 367-372.
4) ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 284-287.

ประวัติ

ศิลาจารึกวัดมุจลินทอารามนี้ เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้พบที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ขณะทำการสำรวจเอกสารโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 จารึกหลักนี้ เมื่อพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปากร ใช้ชื่อเรื่องว่า ศิลาจารึก ขก. 8 อักษรและภาษาไทย จ.ศ. 956 การนำมารวมพิมพ์ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 นี้ ได้ปรับปรุงทะเบียนวัตถุ และชื่อจารึกใหม่ เป็นเลขที่ ขก. 7 จารึกมุจลินทอาราม 1 ตามหลักฐานของพิพิธภัณฑ์ฯ ขอนแก่น ระบุว่าได้นำมาจากวัดศรีบุญเรือง อ. เมือง จ. หนองคาย แต่จากการศึกษาเนื้อหาที่จารึกอยู่ในศิลาจารึกหลักนี้แล้ว น่าจะเชื่อได้ว่าได้โยกย้ายมาไว้ที่วัดศรีบุญเรืองระยะหนึ่ง เพราะเนื้อหาของจารึกได้กล่าวถึงเขตวัดมุจลินท์ ซึ่งอยู่ติดฝั่งแม่น้ำห้วยหลวง เมืองห้วยหลวง (อ. โพนพิสัย จ. หนองคาย) ฉะนั้นจึงสันนิษฐานว่า เดิมคงอยู่ที่วัดมุจลินทอาราม ริมฝั่งน้ำห้วยหลวง เมืองโพนพิสัย จ. หนองคาย ครั้นเมื่อเป็นวัดร้างจึงได้เคลื่อนย้ายมาไว้ที่วัดศรีบุญเรืองดังกล่าวข้าง ต้น จารึกหลักนี้ได้มีการอ่านครั้งแรกโดย เทิม มีเต็ม และตรวจแก้โดย ประสาร บุญประคอง พิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปากร ปีที่ 19 ฉบับที่ 6 เดือนมีนาคม 2519 ต่อมา สงวน รอดบุญ ไม่เห็นด้วยกับคำอ่านเหล่านั้น และวิจารณ์การอ่านครั้งแรกไว้ในวารสาร จันทรเกษม ฉบับที่ 130 ประจำเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน 2519 สงวน รอดบุญ ได้เสนอให้เปลี่ยนแปลงการอ่านจารึกหลักนี้หลายตอน ฉะนั้นคำอ่านจารึกมุจลินทอาราม 1 ครั้งนี้จึงต่างกับการอ่านครั้งแรกจำนวนมาก โดยเฉพาะชื่อบ้านนามเมืองและสาระบางส่วน

เนื้อหาโดยสังเขป

พระวรรัตนธรรมประโชติฯ หรือในพงศาวดารเรียกว่า พระหน่อเมือง (พ.ศ. 2134-2141) มีพระราชโองการเถราภิเษกพระสังฆราชมุจลินทมุนีจุฬาโลก วัดมุจลินทอาราม ที่เมืองห้วยหลวง และอุทิศที่ดิน นาจังหัน ที่สำคัญที่สุดคือ ได้กำหนดเขตวัดมุจลินทอารามเป็นเขตปลอดอาญาแผ่นดิน นั่นคือ ผู้ที่ถูกอาญาแผ่นดินหนีเข้ามาพึ่งศาสนาในบริเวณวัดจะได้รับอภัยโทษ คือจากโทษประหาร จองจำ โบยตี มาเป็นเพียงปรับไหม และยกให้เป็นข้าโอกาสของวัด

ผู้สร้าง

พระวรรัตนธรรมประโชติฯ (พระหน่อเมือง, พ.ศ. 2134-2141)

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 2 บรรทัดที่ 13 ระบุ จ.ศ. 956 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2137 อันเป็นสมัยที่พระหน่อเมืองปกครองราชอาณาจักรล้านช้าง (พ.ศ. 2134-2141)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) เทิม มีเต็ม, “คำอ่านศิลาจารึก ขก. 8 อักษรและภาษาไทย,” ศิลปากร 19, 6 (มีนาคม 2519) : 105-108.
2) เทิม มีเต็ม, “จารึกมุจลินทอาราม 1,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 367-372.
3) ธวัช ปุณโณทก, “จารึกวัดมุจลินทอาราม 1 (ขก. 8),” ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 284-287.
4) สงวน รอดบุญ, “ข้อคิดจากศิลาจารึก เมืองห้วยหลวง (ขก. 8),” จันทรเกษม 130 (พฤษภาคม-มิถุนายน, 2519) : 54-57.
5) สิลา วีระวงส์, เรียบเรียง ; สมหมาย เปรมจิตต์, แปล, ประวัติศาสตร์ลาว, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : มติชน, 2540), 110-111.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-27, ไฟล์; Khk_0701_c และ Khk_0702_c)
2) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 23-27 มีนาคม 2559
3) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2566