จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกมุจลินทอาราม 1

จารึก

จารึกมุจลินทอาราม 1 ด้านที่ 2

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 เวลา 17:03:19

ชื่อจารึก

จารึกมุจลินทอาราม 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ศิลาจารึก ขก. 8 อักษรและภาษาไทย จ.ศ. 956, ศิลาจารึกเมืองห้วยหลวง (ขก. 8), จารึกวัดมุจลินทอาราม 1 (ขก. 8), ขก. 7

อักษรที่มีในจารึก

ไทยน้อย

ศักราช

พุทธศักราช 2137

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 34 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 20 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 14 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2519)
2) ธวัช ปุณโณทก (พ.ศ. 2530)

ผู้ปริวรรต

1) เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2519)
2) ธวัช ปุณโณทก (พ.ศ. 2530)

ผู้ตรวจ

1) ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2519)
2) กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ตน = รูป (ลักษณนามของพระสงฆ์), องค์, พระองค์
2. ธวัช ปุณโณทก : ปลงประสิทธิอาชญา = ประกาศพระราชโองการ
3. ธวัช ปุณโณทก : พิบัติ = ต้องรับความพินาศ, โทษความผิด
4. ธวัช ปุณโณทก : เผิ้ง = ผึ้ง, เทียนขี้ผึ้ง
5. ธวัช ปุณโณทก : สินไหม = ปรับไหมเป็นเงิน
6. ธวัช ปุณโณทก : ข่อย, ข้อย = ข้าทาส (ดูคำอธิบายข้อ 8 เพิ่มเติม)
7. ธวัช ปุณโณทก : เวียก = การงาน
8. สงวน รอดบุญ : ข้อความที่ว่า - - - - - - - - - - - “ครั้นใส่สินไหมแล้ว ข่อยให้หาเวียกข่อยไพ ให้หาเวียกไพ - - - -” เมื่อดูอธิบายคำ (ศิลปากร ปีที่ 19 ฉบับที่ 6 มีนาคม 2519 หน้า 108) แล้ว อธิบายว่า (13) ไพ = ไป ลองแปลความหมายตามศัพท์ที่ให้ไว้ก็จะได้ความว่า “ครั้นใส่สินไหมแล้ว ข่อยให้หาเวียกข่อยไป ให้หาเวียกไป” อ่านไปอ่านมาอยู่หลายเที่ยวยังไม่เข้าใจอยู่นั่นเอง ความจริงแล้ว คำว่า “ไพ” ก็คือ ไพร่ ซึ่งหมายถึง ชาวเมือง, คนสามัญ ส่วนคำว่า “ข้อย” หมายถึงข้าหรือบ่าว (ไม่ใช่ข่อย) ถ้าเราแปลว่า “คั้นใส่สินไหมแล้ว ข้อยให้หาเวียกข้อย ไพร่ให้หาเวียกไพร่” ก็ได้ความชัดเจนดีขึ้น ฉะนั้น คำว่า “ไพ” จึงไม่น่าจะแปลว่า “ไป” ถ้าแปลว่า “ไป” แล้วทำให้เสียความหมาย ความจริงคำว่า ไพ = ไป นี้ก็ถูกต้องอยู่ แต่จะใช้เฉพาะศิลาจารึกของลานนาไทยมากกว่า สำหรับจารึกลาวไม่ใช้คำนี้เลย ถ้าพิจารณาคำต่างๆ จากศิลาจารึกลาวหลักนี้แล้ว จะพบคำว่า “ไป” อยู่แล้ว เช่น “แต่ท่าเรือไปเถิงหัวนา” (บรรทัดที่ 14 ด้านที่ 1) และ “ให้มันนั้นได้ไปหลงทุกข์ใน . . .” (บรรทัดที่ 11 ด้านที่ 2)
9. ธวัช ปุณโณทก : นรหิต = ประโยชน์
10. ธวัช ปุณโณทก : มล้าง = ทำลาย, ม้าง ก็ว่า
11. ธวัช ปุณโณทก : ถกถอน = เพิกถอน, ลบล้าง
12. ธวัช ปุณโณทก : ข้อย = ข้าทาส (ดูคำอธิบายข้อ 11 เพิ่มเติม)
13. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ฝูง = พวก, หมู่
14. ธวัช ปุณโณทก : คุงนู, คุงนุ = ประสิทธิ์, สำเร็จด้วยดี, ใช้ลงท้ายประกาศพระราชโองการ
15. ธวัช ปุณโณทก : 956 = จ.ศ. 956 ตรงกับ พ.ศ. 2137
16. ธวัช ปุณโณทก : แล่น = วิ่ง, วิ่งเข้าไป
17. ธวัช ปุณโณทก : คองเมือง = ซึ่งแปลว่า ระเบียบแบบแผน