จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกมุจลินทอาราม 1

จารึก

จารึกมุจลินทอาราม 1 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 เวลา 17:03:19

ชื่อจารึก

จารึกมุจลินทอาราม 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ศิลาจารึก ขก. 8 อักษรและภาษาไทย จ.ศ. 956, ศิลาจารึกเมืองห้วยหลวง (ขก. 8), จารึกวัดมุจลินทอาราม 1 (ขก. 8), ขก. 7

อักษรที่มีในจารึก

ไทยน้อย

ศักราช

พุทธศักราช 2137

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 34 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 20 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 14 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2519)
2) ธวัช ปุณโณทก (พ.ศ. 2530)

ผู้ปริวรรต

1) เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2519)
2) ธวัช ปุณโณทก (พ.ศ. 2530)

ผู้ตรวจ

1) ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2519)
2) กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ธวัช ปุณโณทก : ลายจุ้ม = พระราชสาส์น, ตราตั้ง
2. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ตน = รูป (ลักษณนามของพระสงฆ์), องค์, พระองค์
3. ธวัช ปุณโณทก : คามเขต = บริเวณวัด, เขตวัด
4. ธวัช ปุณโณทก : เมือ = ไป, กลับไป
5. ธวัช ปุณโณทก : มาท่า = มาทางด้านท่าน้ำ
6. สงวน รอดบุญ : เมื่อพิจารณาข้อความตั้งแต่บรรทัดที่ 8 จะพบว่าเป็นการบริจาคที่นา หรือ “ให้ทานนาเป็นอุปรการ” ไม่ใช่ “ให้ธรรมมาเป็นอุปรการ” ข้อความในวรรคต่อไปเป็นข้อความที่บอกให้รู้ว่า มีนาบ่อนใดบ้าง แต่เมื่อแปลความหมายว่า ผู้นั้นก็มา ผู้นี้ก็มา ผู้โน้นก็มา เมื่ออ่านแล้วจึงจับเนื้อความไม่ถูกว่า “มาทำไมกัน?” ผู้อ่านคงเข้าใจผิด มองเห็นเลข “1” เป็นตัว “ก” เห็นคำว่า “นา” เป็น “มา” เป็นแน่ ที่จริงลักษณะตัว “น” และ “ม” มีความแตกต่างกันอยู่ นอกจากนี้ยังตัดวรรคตอนผิดอีก จึงทำให้ความหมายผิดแผกกันไปคนละเรื่อง ตัวอย่างเช่น “นาหอกลองบอนก็มา จ่าน้อยก็มา” ที่ถูกน่าจะอ่านเป็น “นาหอกลองบอน 1 นาจ่าน้อย 1 นา - - -” ผู้เขียน (สงวน รอดบุญ) ใคร่ขอเสนอคำอ่าน (ปริวรรต) ใหม่ที่คิดว่าถูกต้องนับตั้งแต่บรรทัดที่ 8 ถึงบรรทัดที่ 12 ดังนี้ “- - - - - - - - - - - - - มาตราหนึ่งให้ทานนาเป็นอุปรการแก่พระพุทธเจ้า นาหอกลองบ่อน 1 นาจ่าน้อย 1 นาเรือ 1 นา ต (?) 1 นากว้านน้ำส่วยหน้า 1 นาถิ่นตอง 1 นาแขวงบอน 1 นาแก้วสมคาม 1 นาหอหน้า 1 นาหมาตายดีก 1 นาท่าเรือ 1 นาลองของ 1 นาพวกไก 1 นาแพ 1 หอกลอง - - - -”
7. สงวน รอดบุญ : สำหรับบรรทัดที่ 12 นี้ ความเดิมอ่านไว้ว่า “แพคเขตนาทั้งมวลนี้” อ่านแล้วรู้สึกงง ที่ถูกน่าจะเป็น “นาแพ 1 เขตนาทั้งมวลนี้” เพราะคำว่า “แพค” ดูแล้วยิ่งมีรูปคำคล้ายภาษาต่างประเทศ เมื่อพลิกดูในหน้า อธิบายคำ (ศิลปากร ปีที่ 19 ฉบับที่ 6 มีนาคม 2519 หน้า 108) มีคำอธิบายว่า … (3) แพค = เทียบ จากคำอธิบายทำให้งงงวยยิ่งขึ้น ต้องขอสารภาพว่าไม่เคยพบศัพท์คำนี้มาก่อนเลย และคิดว่าคงจะเป็นคำศัพท์ที่แปลกใหม่สำหรับผู้เขียน (สงวน รอดบุญ) กระมัง ลองค้นดูใน “วัจนานุกรมพาสาลาว” (หน้า 827) พบแต่คำว่า “แพด” มีคำอธิบายดังนี้ : แพด 1 น. หมอยา, หมอปัว (รักษา) พยาด; 2 ก. เปียบ, เทียบ, เอาแปะกันให้รู้จักส่วน; 3 น. ไม้เคื่องเกียนที่อยู่สองฟากข้างตีนเกียน (เกวียน) ออกมา; 4 น. ชื่อหญ้าแนวหนึ่งใบบ่ยาว สีเขียวงาม เอิ้นหญ้าแพด เพื่อความแน่ใจจึงค้นดูใน “พจนานุกรมภาคอีสาน – ภาคกลาง” (หน้า 296) ก็พบแต่คำว่า “แพด” เช่นเดียวกันและมีความหมายอย่างเดียวกัน เพราะฉบับนี้ได้ยึดเอาฉบับภาษาลาวเป็นหลัก มีคำอธิบายดังนี้ : แพด 1 น. ชื่อหญ้าชนิดหนึ่งเป็นเถาเลื้อยไปตามดิน = หญ้าแพรกอย่างภาษิตว่า “ควายชนกันแพ้หญ้าแพด”, ชื่อเครื่องเกวียนที่ขนาบล้อสองข้างเพื่อไม่ให้หลุด เรียก “แพดเกวียน”, ปะแหลก ก็ว่า; 2 ก. เทียบ, เปรียบขนาดของสิ่งของ อย่างว่า “เพียงแพดด้ามระดูไข่ในฮัง” (ศิลป์) ผู้อ่านศิลาจารึกคงจะเอาความหมายของ “แพค” ในความหมายข้อที่ 2 มาใช้แปลคำว่า “แพค” เป็นแน่ อย่างไรก็ดี ผู้เขียน (สงวน รอดบุญ) มีความเชื่อว่า น่าจะเป็นคำว่า “นาแพ 1” มากกว่าจะเป็น “แพค” ซึ่งไม่เคยปรากฏในศิลาจารึกลาวเลย
8. ธวัช ปุณโณทก : แทก = วัด, วัดระยะ
9. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เถิง = ถึง
10. ธวัช ปุณโณทก : แคม = ริม, ริมน้ำ
11. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ฝูง = พวก, หมู่