จารึกพญาแสนหลวงพิงไชย

จารึก

จารึกพญาแสนหลวงพิงไชย

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2566 16:03:02 )

ชื่อจารึก

จารึกพญาแสนหลวงพิงไชย

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลพ. 43, ลพ. 43 จารึกพญาแสนหลวงพิงไชย, ศิลาจารึก (วัดช้างค้ำ) ลพ./43 อักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย จ.ศ. 919, จารึกวัดป่าญางเถียงแชง

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2100

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 22 บรรทัด แต่ละด้านมี 11 บรรทัด

ขนาดวัตถุ

กว้าง 38 ซม. สูง 62 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. 43 จารึกพญาแสนหลวงพิงไชย”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 18 ฉบับที่ 6 (มีนาคม 2518) กำหนดเป็น “ศิลาจารึก (วัดช้างค้ำ) ลพ./43 อักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย จ.ศ. 919”
3) จารึกล้านนา ภาค 2 กำหนดเป็น "ลพ. 43 จารึกป่าญางเถียงแชง"

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพระธาตุหริภุญไชย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

หอกังสดาล วัดพระธาตุหริภุญไชย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

พิมพ์เผยแพร่

วารสารศิลปากร ปีที่ 18 ฉบับที่ 6 (มีนาคม 2518) : 56-58.

ประวัติ

คณะกรรมการค้นคว้าประวัติศาสตร์แห่งสหภาพพม่าให้สำเนาจารึกกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2504 เจ้าหน้าที่กองหอสมุดแห่งชาติ เดินทางไปทำการสำรวจจารึกที่จังหวัดลำพูน เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2515 ยังไม่พบจารึกหลักนี้

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกกล่าวถึง พระเจ้าอยู่หัวพระองค์หนึ่ง ว่าทรงมีบัญชาให้พระยาแสนหลวงพิงชัยทำพิธีทานด้วยการอุทิศข้าพระให้ปฏิบัติดูแลแก่อารามป่าญางเถียงแชง

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 919 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2100 อันเป็นรัชสมัยของพระเมกุฏิสุทธิวงศ์ (พ.ศ. 2094-2107)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) เทิม มีเต็ม, “คำอ่านศิลาจารึก (วัดช้างค้ำ) ลพ./43 อักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย จ.ศ. 919,” ศิลปากร 18, 6 (มีนาคม 2518) : 56-58.
2) คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย. จารึกล้านนา เล่ม 1-2 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 374-376.