จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกพญาแสนหลวงพิงไชย

จารึก

จารึกพญาแสนหลวงพิงไชย ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2563 15:06:58

ชื่อจารึก

จารึกพญาแสนหลวงพิงไชย

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลพ. 43, ลพ. 43 จารึกพญาแสนหลวงพิงไชย, ศิลาจารึก (วัดช้างค้ำ) ลพ./43 อักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย จ.ศ. 919, จารึกวัดป่าญางเถียงแชง

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2100

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 22 บรรทัด แต่ละด้านมี 11 บรรทัด

ผู้อ่าน

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2518)

ผู้ปริวรรต

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2518)

ผู้ตรวจ

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2518)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ประสาร บุญประคอง : 919 เป็นจุลศักราช = พุทธศักราช 2100
2. ประสาร บุญประคอง : เข้า = ปี
3. ประสาร บุญประคอง : ฉนำ (คำเขมร) = ปี
4. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : กัมโพช = หมายถึง ขอม
5. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ขอมพิสัย = ถิ่นขอม
6. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ปีเมิงไส้ = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีมะเส็ง นพศก ตามจุลศักราช
7. ประสาร บุญประคอง : ทวิราสาฒ = คือ เดือน 8 ที่ 2 หรือเดือน 8 หลัง
8. ประสาร บุญประคอง : เดือน 10 ของไทยภาคเหนือ = เดือน 8 ของไทยภาคกลาง
9. ประสาร บุญประคอง : ออก = ข้างขึ้น, ขึ้น
10. ประสาร บุญประคอง : วันขึ้น 3 ค่ำ = ตรงกับ
11. ประสาร บุญประคอง : พร่ำ = ซ้ำๆ
12. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : วันกาบสัน = ชื่อวันไทยแบบโบราณ รอบหนึ่งมี 60 วัน
13. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ตน = รูป (ลักษณนามของพระสงฆ์), องค์, พระองค์
14. ประสาร บุญประคอง : ปลง = เอาลง
15. ประสาร บุญประคอง : หื้อ = ให้