อายุ-จารึก พ.ศ. 2102, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 22, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา-พระเมกุฏิสุทธิวงศ์, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-ผูกพัทธสีมา, บุคคล-มหาเถรหลวงเจ้าป่า, บุคคล-มหาสามีเจ้าป่าแดง, บุคคล-มหาคำสวน,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2562 20:44:00 )
ชื่อจารึก |
จารึกสมบัติขันธเสมาวัดกู่แก้ว |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
ลพ./25, พช. 13, 343, ศิลาจารึก ลพ. 25 อักษรไทยฝักขามและไทยเหนือ ภาษาไทยและบาลี |
อักษรที่มีในจารึก |
ฝักขาม |
ศักราช |
พุทธศักราช 2102 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 27 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 10 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 17 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินทราย สีเทา |
ลักษณะวัตถุ |
รูปใบเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 34 ซม. สูง 60 ซม. หนา 17 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. 25” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญชัย จังหวัดลำพูน |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) วารสารศิลปากร ปีที่ 17 ฉบับที่ 6 (มีนาคม 2517) : 59-61. |
ประวัติ |
- |
เนื้อหาโดยสังเขป |
เป็นเรื่องการผูกพัทธสีมาที่วัดกู่แก้ว ดังความที่จารึกว่า “พระสงฆ์ 15 องค์ มีมหาเถรหลวงเจ้าป่า ตนได้ 44 พรรษา พระมหาสามีเจ้าป่าแดง ได้ 10 พรรษา และมหาสวนคำ 27 พรรษา ได้เป็นประธานแก่สงฆ์สมมติขันธสีมา มหาสีมา ในป่ากู่แก้ว” จารึกหลักนี้ ถ้ายุติตามศักราชแล้ว ตกราว พ.ศ. 2102 นั้น ทางล้านนาได้ตกเป็นประเทศราชของพม่า ซึ่งพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง เข้ายึดครองเมืองเชียงใหม่ไว้ได้แต่ปี พ.ศ. 2101 จาก ตำนานเมืองเชียงใหม่ และใน พงศาวดารโยนก ดังนั้นการผูกพัทธสีมาตามจารึกนี้ ควรจะอยู่ในระยะที่หมดสายราชตระกูลกษัตริย์ที่เคยครองราชสมบัติสืบๆ กันมา ตั้งแต่พระยาเม็งรายเป็นปฐมวงศ์นั้น |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 2 ระบุ จ.ศ. 921 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2102 อันเป็นรัชสมัยของพระเมกุฏิสุทธิวงศ์ (พ.ศ. 2094-2107) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพสำเนาจารึกจาก : วารสารศิลปากร ปีที่ 17 ฉบับที่ 6 (มีนาคม 2517) |