จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

ชุดคำค้น 22 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2035, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 21, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา-พญายอดเชียงราย, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, วัตถุ-จารึกบนหินทรายสีเทา, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพระสิงห์ เชียงใหม่, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างวัดหรือศาสนสถาน, การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายเงิน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายทองคำ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายที่ดิน, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-กัลปนา, เรื่อง-กษัตริย์และผู้ครองนคร-เมืองพิงเชียงใหม่, เรื่อง-กษัตริย์และผู้ครองนคร-เมืองพิงเชียงใหม่-พระยาอรรคราชภูมิบาล, บุคคล-พระยาอรรคราชภูมิบาล, บุคคล-อะตะปาเทวี,

จารึกวัดตโปทาราม

จารึก

จารึกวัดตโปทาราม

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2566 11:21:23 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดตโปทาราม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 13, ชม. 13 จารึกอะตะปาเทวี, ชม. 13 จารึกวัดตโปทาราม พ.ศ. 2035

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2035

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 45 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 23 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 22 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีเทา

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 57 ซม. สูง 143 ซม. หนา 23 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 13 จารึกอะตะปาเทวี”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 13 ฉบับที่ 6 (มีนาคม 2513) กำหนดเป็น “คำอ่านศิลาจารึก อักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย”
3) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ชม. 13 จารึกวัดตโปทาราม พ.ศ. 2035”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ด้านหลังพระวิหารวัดพระสิงห์ ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 13 ฉบับที่ 6 (มีนาคม 2513) : 93-100.
2) จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 40-44.

ประวัติ

ศิลาจารึกหลักนี้ เดิมอยู่ที่วัดตะโปทาราม (วัดลำเปิง) ได้ย้ายเข้ามาไว้ที่วัดพระสิงห์พร้อมทั้งพระพุทธรูป 1 องค์ เมื่อ พ.ศ. 2485

เนื้อหาโดยสังเขป

เมื่อปี พ.ศ. 2035 พระยาอรรคราชภูมิบาลได้ขึ้นครองเมืองพิงเชียงใหม่ ทรงมีอัครมเหสีชื่อ อะตะปาเทวี ครั้งนั้น พระนางอะตะปาเทวีได้ขอพระราชทานอนุญาตจากพระสวามีในอันที่จะสร้างวัดตะโปทาราม พระนางได้อาราธนาพระสงฆ์ประมาณร้อยรูปมาชุมนุม พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ข้าราชการเพื่อประดิษฐานแก้วสามประการไว้ ณ วัดแห่งนี้ ในพิธีมีการอุทิศที่ดิน เงิน ทองคำ และข้าพระจำนวนมาก

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ตัวเลขด้านขวาของวงดวงชาตา ระบุ จ.ศ. 854 และข้อความในจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 4-5 ก็ระบุข้อความว่า “...มีจุลศักราชได้ แปดร้อยห้าสิบสี่ตัว” ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2035 อันเป็นสมัยที่พระเจ้ายอดเชียงรายปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2030-2038)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2557, จาก :
1) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ชม. 13 จารึกวัดตโปทาราม พ.ศ. 2035,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 40-44.
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “บัญชีจารึก จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), (29)-(59).
3) ประสาร บุญประคอง, “คำอ่านศิลาจารึก อักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย,” ศิลปากร 13, 6 (มีนาคม 2513) : 93-100.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-33, ไฟล์; ChM_1301_p และ ChM_1302_p)